เอกสารต้นฉบับ "แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑" ชุดที่ ๓



ตัวอย่าง  โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 

โรงเรียน............................

(ขออภัย..ไม่สามารถแสดงข้อมูลในรูปแบบตารางได้)


              กลุ่มสาระการเรียนรู้ /รายวิชาพื้นฐาน   หมายถึง   องค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้     กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา    สำหรับผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ซึ่งโรงเรียนทุกแห่งใช้จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน   ดังตัวอย่างเช่น  


กลุ่มสาระการเรียนรู้ /รายวิชาพื้นฐาน   ชั้น  ประถมศึกษาปีที่ ๑ -  มัธยมศึกษาปีที่ ๖
โรงเรียน………………           สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา…………………

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
                                
ท๑๑๑๐๑                  ภาษาไทย                                 เวลาเรียน……. ชั่วโมง/ปี
ค๑๑๑๐๑                           คณิตศาสตร์                                               เวลาเรียน……. ชั่วโมง/ปี
ว๑๑๑๐๑                  วิทยาศาสตร์                               เวลาเรียน……. ชั้วโมง/ปี
ส๑๑๑๐๑                  สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม        เวลาเรียน……. ชั่วโมง/ปี
พ๑๑๑๐๑                 สุขศึกษาและพลศึกษา                     เวลาเรียน……. ชั่วโมง/ปี
ศ๑๑๑๐๑                          ศิลปะ                                                          เวลาเรียน……..ชั่วโมง/ปี
ง๑๑๑๐๑                           การงานอาชีพและเทคโนโลยี                     เวลาเรียน……. ชั่วโมง/ปี
อ๑๑๑๐๑                  ภาษาอังกฤษ                              เวลาเรียน……. ชั่วโมง/ปี    
ฯลฯ

         สำหรับรายละเอียดของหลักสูตรสถานศึกษา    สาระการเรียนรู้/รายวิชาพื้นฐาน นั้น ทางโรงเรียนได้จัดทำแยกไว้เป็นการเฉพาะจำนวน    ฉบับ         
                        
                   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น   หมายถึง  องค์ความรู้และทักษะในด้านใดด้านหนึ่งที่สถานศึกษาพิจารณาคัดเลือกจากสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของเขตพื้นที่การศึกษา   หรือพิจารณาเพิ่มจากที่เขตพื้นที่การศึกษากำหนด   แล้วนำไปจัดการเรียนการสอนในลักษณะกลุ่มสาระการเรียนรู้ / รายวิชา   ตัวอย่างเช่น

ตารางวิเคราะห์เพื่อสอดแทรกสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
กลุ่มสาระการเรียนรู้   ……………….. ชั้น ป.๓ – ม.๕
โรงเรียน…………………………สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา……………...

(ขออภัย...ไม่สามารถแสดงตารางข้อมูลนี้ได้)

                  รายวิชาเพิ่มเติม   หมายถึง   องค์ความรู้และทักษะที่สถานศึกษาพิจารณาเชื่อมโยงจากกลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชา   แล้วกำหนดให้จัดการเรียนการสอนในลักษณะรายวิชาใหม่ รายวิชาที่น่าสนใจ  รายวิชาที่มีความยากในระดับสูงขึ้น   รายวิชาเลือกเฉพาะทาง  หรือรายวิชาที่มีความเข้ม (Honour  Course)  ซึ่งจะต้องเขียนองค์ประกอบของเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาเพิ่มเติม  ใหม่ทั้งหมดตั้งแต่  วิสัยทัศน์ - ภาคผนวก  (คล้ายกับกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาพื้นฐาน)    ตัวอย่างเช่น 

           โรงเรียน………………กำหนดให้มีรายวิชาเพิ่มเติมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่   –  ดังต่อไปนี้

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

ภาคเรียนที่ ๑

ท๔๑๒๐๑        เสริมภาษาไทย ๑                                     เวลาเรียน……. ชั่วโมง/ปี    
ท๔๑๒๐๒        เสริมภาษาไทย ๒                                    เวลาเรียน……. ชั่วโมง/ปี
ค๔๑๒๐๑        เสริมทักษะคณิตศาสตร์๑                              เวลาเรียน……. ชั่วโมง/ปี
ว๔๑๒๐๑         วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา                         เวลาเรียน……. ชั้วโมง/ปี
ส๔๑๒๐๑        วัฒนธรรมสำคัญของคนอุตรดิตถ์                      เวลาเรียน……. ชั่วโมง/ปี    
ง๔๑๒๐๑         คอมพิวเตอร์๑                                         เวลาเรียน……. ชั่วโมง/ปี
จ๔๑๒๐๑         ภาษาจีนเบื้องต้น๑                                    เวลาเรียน……. ชั่วโมง/ปี    
ฯลฯ
             
      สำหรับรายละเอียดของหลักสูตรสถานศึกษา  รายวิชาเพิ่มเติม นั้น ทางโรงเรียนได้จัดทำแยกไว้เป็นการเฉพาะจำนวน  ……..  ฉบับ      
  
              กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน   หมายถึง   การจัดกิจกรรมสำหรับผู้เรียนทุกคนทั้งผู้เรียนปกติ อัจฉริยะ  พิการ  และด้อยโอกาส  โดยจัดอย่างเป็นระบบ  มีกระบวนการที่หลากหลาย  เพื่อพัฒนาความสมดุลด้านร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  อารมณ์และสังคม  ส่งเสริมเจตคติ  คุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยมที่พึงประสงค์  ให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง  สร้างจิตสำนึกต่อธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  การปรับตัว  ปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติ  และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข  (สมนึก   ธาตุทอง ,  ๒๕๔๘)

           กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในภาพรวม  จึงควรแสดงให้เห็นว่าสถานศึกษาได้จัดกิจกรรมใดให้กับนักเรียน   ตัวอย่างเช่น
                ๑)   กิจกรรมแนะแนว              ทุกชั้น ๆ ละ       ชั่วโมง / สัปดาห์
                ๒)   กิจกรรมนักเรียน               
                   -  ลูกเสือสำรอง   หรือลูกเสือสามัญ   ทุกชั้น ๆ ละ   ๑    ชั่วโมง /สัปดาห์
                   -  ยุวกาชาด  หรือเนตรนารี            ทุกชั้น ๆ ละ    ๑    ชั่วโมง/สัปดาห์
                   -  ชมรมดนตรีไทย                      ชั้น ป.๔ – ม.๓         ชั่วโมง/สัปดาห์  
               ๓)  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์     ทุกชั้น ๆ ละ       ชั่วโมง /สัปดาห์
   สำหรับรายละเอียดของหลักสูตรสถานศึกษา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ทางโรงเรียนได้จัดทำแยกไว้เป็นการเฉพาะจำนวน……………ฉบับ                        
                                ­   
          การจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้    หมายถึง    รูปแบบ  แนวทางหรือวิธีการที่สถานศึกษาใช้ในการจัดการเรียนรู้และส่งเสริมการเรียนรู้ควบคู่กันไป   ซึ่งอาจแยกนำเสนอทีละด้าน  ตัวอย่างเช่น

     การจัดการเรียนรู้    โรงเรียน…………….จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๔๔   แบ่งออกเป็น……..ชั้น  คือ  ……………………………รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมี……..รูปแบบ  คือ   การสอนประจำชั้นสอนทุกวิชา  หรือ การสอนประจำชั้นเป็นบางวิชา หรือสอบแบบครูประจำวิชา  หรือ สอนแบบรวมชั้น…….เทคนิคการสอนหรือการจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนใช้จะเป็นไปตามธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้ / รายวิชานั้น ๆ    แต่ที่สำคัญ ๆ  คือ  การจัดการเรียนรู้แบบส่งเสริมกระบวนการคิด     การจัดการเรียนรู้แบบส่งเสริมการแก้ปัญหา   การจัดการเรียนรู้แบบส่งเสริมการใช้ภาษาไทยและต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร  เป็นต้น
           ส่วนการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้  โรงเรียน……………มีแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้เป็นที่เรียนรู้ หรือสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน  ดังนี้
              - แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน  ได้แก่…………………………………………………………………………....................................
              - แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน  ได้แก่………………………………………………………………...................................................
ฯลฯ

             การวัดและประเมินผล   หมายถึง   แนวทางการรวบรวมข้อมูล  สารสนเทศที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการความก้าวหน้า   และความสำเร็จของผู้เรียน   เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน และการจัดการเรียนรู้     การเขียนองค์ประกอบการวัดและประเมินผล  เสนอให้เขียนเห็นว่าสถานศึกษามีระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลใดบ้าง   ตัวอย่างเช่น

            โรงเรียน………………………..กำหนดให้มีระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผล  ตามหลักสูตรสถานศึกษา  ประกอบด้วย   การวัดและประเมินผล     ระดับ  คือ  ระดับชั้นเรียน   ระดับสถานศึกษา   ระดับเขตพื้นที่การศึกษา  และระดับชาติ   ตลอดจนการประเมินจากภายนอก   ซึ่งรายละเอียดของระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้    ทางโรงเรียนได้จัดทำแยกไว้เป็นการเฉพาะอีกฉบับหนึ่ง      
  
             การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา   หมายถึง   การแสดงออกซึ่งการสร้างหรือการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา    การใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  และการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา   อย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน   ทำให้การใช้หลักสูตรมีประสิทธิภาพมากที่สุด   ตัวอย่างเช่น

           โรงเรียน………………………..ได้ดำเนินการตามหลักการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา  ซึ่งประกอบด้วย      ภารกิจ   ดังนี้
                         ๑)   การเตรียมความพร้อม
                         ๒)   การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
                         ๓)   การวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร
                         ๔)   การดำเนินการบริหารหลักสูตร (ใช้หลักสูตร)
                         ๕)   การนิเทศ  กำกับ  ติดตาม  ประเมิน
                         ๖)   การสรุปผลการดำเนินงาน
                         ๗)  การปรับปรุงพัฒนา
             ทั้ง   ๗  ภารกิจข้างต้น  ต้องเขียนให้เห็นถึงภาพการปฏิบัติงานว่า   ทำอะไร  อย่างไร  ตามสภาพที่ใกล้เคียงความเป็นจริง  หรือสามารถปฏิบัติได้สำเร็จตามที่ระบุ  (สืบค้นข้อมูลการเขียนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา  ได้จากเอกสารหลักการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา )

            ความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   หมายถึง   การให้เกียรติและความสำคัญแก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน   ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน   โดยใช้หลักสูตรสถานศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ    ควรใช้   –    หน้ากระดาษสำหรับการเขียนข้อความและการลงนามของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน   ตัวอย่างเช่น     

ความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
           จากการที่โรงเรียน………………………..ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา   ที่ประกอบด้วยผู้บริการสถานศึกษา  คณะครู  นักเรียนตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้ปกครอง  และชุมชน   รวมทั้งสิ้น         คน  ระหว่างวันที่..เดือน……พ.ศ……เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนฉบับเดิม    ให้มีองค์ประกอบของเอกสารหลักสูตรที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ   สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและความต้องการของท้องถิ่น  นั้น  
            บัดนี้  การดำเนินงานดังกล่าวทำให้ได้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่ที่มีความสมบูรณ์ และพร้อมใช้เพื่อการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนต่อไป   จึงเสนอมาเพื่อให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ให้ความเห็นชอบ และลงนาม


              (นายสดใส    แสนดี)                                                         (นายบุญมี    ช่วยชาติ)                                           

       ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ฯ                                         คณะกรรมการสถานศึกษา ฯ   

                                                                           ฯลฯ   

            ภาคผนวก     สำหรับภาคผนวกมีไว้เพื่อแสดงเอกสาร หรือภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้แก่   คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   หนังสือเชิญคณะกรรมการ / วิทยากร   และภาพถ่ายบรรยากาศการจัดทำหลักสูตร ฯ  เป็นต้น

             ๒. องค์ประกอบที่สำคัญของเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา    กลุ่มสาระ / รายวิชา (เล่มที่ ๒ – ๙ )   มีข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  ดังนี้ 
              วิสัยทัศน์   การเขียนวิสัยทัศน์ของเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา    กลุ่มสาระ/รายวิชาคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ฯ  ร่วมกันพิจารณาจากวิสัยทัศน์ของแต่ละกลุ่มสาระ/รายวิชา  จากเอกสารหลักสูตรที่ทางราชการเคยแจกจ่ายให้  แล้วปรับให้เป็นวิสัยทัศน์ของแต่ละกลุ่มสาระ/รายวิชาของโรงเรียน
              จุดหมาย   การเขียนจุดหมายของเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา    กลุ่มสาระ/รายวิชาคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ฯ  ร่วมกันพิจารณาจากจุดหมายของแต่ละกลุ่มสาระ/รายวิชา  จากเอกสารหลักสูตรที่ทางราชการเคยแจกจ่ายให้  แล้วปรับให้เป็นจุดหมายของแต่ละกลุ่มสาระ/รายวิชาของโรงเรียน
                 คุณภาพของผู้เรียน  การเขียนคุณภาพของผู้เรียนของเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา    กลุ่มสาระ/รายวิชา    คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ฯ  ร่วมกันพิจารณาคุณภาพของผู้เรียนของแต่ละกลุ่มสาระ/รายวิชา  จากเอกสารหลักสูตรที่ทางราชการเคยแจกจ่ายให้       แล้วปรับให้เป็นคุณภาพของผู้เรียนของแต่ละกลุ่มสาระ/รายวิชาของโรงเรียน
                   สาระ/มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดชั้นปี/สาระการเรียนรู้รายปี ในองค์ประกอบนี้ต้องการเสนอให้เห็นว่าแต่ละกลุ่มสาระ/รายวิชา  และแต่ละระดับชั้น   มีสาระหลัก /มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัดชั้นปี    เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร    รวมทั้งการนำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น หรือสาระการเรียนรู้ที่ควรเรียนรู้มาสอดแทรกเพิ่มเติมอย่างกลมกลืนในสาระการเรียนรู้รายปีของแต่ละชั้นอีกด้วย     ตัวอย่างเช่น 

                                                (ขออภัย..ไม่สามารถแสดงตารางข้อมูลนี้ได้)




                   คำอธิบายรายวิชา    การเขียนคำอธิบายรายวิชาน่าจะต้องมีการปรับปรุงจากวิสัยทัศน์เดิมบ้าง  เพราะเดิมมีสาระสำคัญ ๆ  จากมาตรฐานการเรียนรู้  มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  และสาระการเรียนรู้รายปี   ที่ใช้ในการสังเคราะห์เป็นคำอธิบายรายวิชา    แต่จากการปรับปรุงหลักสูตร ฯ  ใหม่   เหลือเพียงมาตรฐานการเรียนรู้   ตัวชี้วัดชั้นปี  และสาระการเรียนรู้รายปี   จึงทำให้สาระสำคัญในการเขียนต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย
                    หน่วยการเรียนรู้    การแสดงหน่วยการเรียนรู้ใช้การเชื่อมโยงข้อมูลจากตารางแสดงสาระ/มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดชั้นปี/สาระการเรียนรู้รายปี  วิเคราะห์จัดเป็นหน่วยการเรียนรู้และหน่วยย่อย (แผนการจัดการเรียนรู้)  ของแต่ละระดับชั้น   ตัวอย่างเช่น

(ขออภัย..ไม่สามารถแสดงตารางข้อมูลนี้ได้)

               การออกแบบการจัดการเรียนรู้     การออกแบบการจัดการเรียนรู้นับว่าเป็นปัญหาหรือจุดอ่อนในลำดับต้น ๆ  ของคณะครู    จนทำให้หลายคนมีคำถามว่า   “  ทำไมต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้   และถ้าจะออกแบบการจัดการเรียนรู้ทำได้อย่างไร ”    ดังนั้นผู้เขียนจึงขอเสนอแนวคิดต่อสถานศึกษา และคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา   เพื่อเป็นทางเลือกในการดำเนินงาน   กล่าวคือ 
             ๑)   การออกแบบการจัดการเรียนรู้      ถือเป็นการคิดล่วงหน้าไว้ว่าในหน่วยการเรียน และหน่วยย่อย/แผนจัดการเรียนรู้  ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา / แต่ละระดับชั้น………ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ
                    -   จัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรในแต่ละเนื้อหา/สาระ  (ภาคเรียนรู้ +  ภาคปฏิบัติ)
                    -   ใช้สื่อประกอบประเภทใดในแต่ละกิจกรรม
                    -   ผลงาน/ชิ้นงานน่าจะเป็นอะไร (เหมือนกันทั้งห้อง หรือแตกต่างกันได้)
                    -   การประเมินผลการเรียนรู้จะประเมินจากอะไร (การทดสอบ ,  ชิ้นงาน.ฯ )
              ๒)  การออกแบบการจัดการเรียนรู้    เสนอแนะให้ออกแบบการเรียนรู้โดยยึดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปีเป็นสำคัญ    เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจสามารถทราบได้อย่าง  คร่าว ๆ ว่าในแต่ละหน่วยย่อย/แผนจัดการเรียนรู้   ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ / แต่ละระดับชั้น   มีการจัดการเรียนรู้อย่างไรและในลักษณะใดบ้าง   คล้าย ๆ กำหนดการสอนเดิมที่นำเสนอข้อมูลในรูปของตาราง  หรืออาจแสดงในรูปแบบอื่น   ตัวอย่างเช่น

๑. การออกแบบการจัดการเรียนรู้ (แบบตาราง)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ / รายวิชา ………………………….ชั้น………ภาคเรียนที่……

(ขออภัย...ไม่สามารถแสดงตารางข้อมูลนี้ได้)


๒. การออกแบบการจัดการเรียนรู้ (แบบผังความคิด)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ / รายวิชา  ………………………….ชั้น………ภาคเรียนที่……

(ขออภัย...ไม่สามารถแสดงตารางข้อมูลนี้ได้)

    ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้   แผนการจัดการเรียนรู้มีหลากหลายรูปแบบ  และขึ้นอยู่กับธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชานั้น ๆ  ดังนั้นแต่ละโรงเรียนควรมีรูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ (กลาง) ที่ใช้ร่วมกัน  และอาจมีรูปแบบอื่น ๆ ได้อีก  ในที่นี้ผู้เขียนเสนอรูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งเชื่อมโยงกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ข้างต้น    ตัวอย่างเช่น

(ขออภัย...ไม่สามารถแสดงตารางข้อมูลนี้ได้)      

             ๓. องค์ประกอบที่สำคัญของเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา   กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  (เล่มที่ ๑๐)   มีข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  ดังนี้

         วิสัยทัศน์   การเขียนวิสัยทัศน์ของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน    ควรเขียนในภาพรวมเพื่อให้มองเห็นผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน    ตัวอย่างเช่น
        “  โรงเรียนจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นกระบวนการ  ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายในการพัฒนาผู้เรียน  ทั้งด้านร่างกาย   จิตใจ  สติปัญญา  อารมณ์และสังคม   มุ่งเสริมสร้างเจตคติ  ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์  ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง  สร้างจิตสำนึกในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   การปรับตัวและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติ  ตลอดจนดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข  ”  ( สมนึก     ธาตุทอง ,  ๒๕๔๘ )

         จุดหมาย    การเขียนจุดหมายของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน   เป็นการถอดสาระสำคัญจากวิสัยทัศน์มาเขียนเรียบเรียงเป็นข้อ ๆ    ตัวอย่างเช่น
              ๑)   ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย  เกิดความรู้ความชำนาญการทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
             ๒)    ผู้เรียนค้นพบความสนใจ  ความถนัดและพัฒนาความสามารถพิเศษเฉพาะตัว  มองเห็นช่องทางในการสร้างงานอาชีพในอนาคตที่เหมาะสม
             ๓)   ผู้เรียนเห็นคุณค่าขององค์ความรู้ต่าง ๆ   สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง และประกอบสัมมาอาชีพ
            ๔)   ผู้เรียนพัฒนาบุคลิกภาพ  เจตคติ  ค่านิยมที่ดีในการดำเนินชีวิต และสร้างเสริมศีลธรรม จริยธรรม
             ๕)   ผู้เรียนมีจิตสำนึกและทำประโยชน์เพื่อสังคมและประเทศชาติ

         โครงสร้างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน   ควรนำเสนอให้เห็นโครงสร้างของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ต่อเนื่องจากโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา  เพื่อแสดงการจัดกิจกรรมแนะแนว และกิจกรรมนักเรียนอย่างชัดเจน   ตัวอย่างเช่น
                                          
                                           (ขออภัย...ไม่สามารถแสดงตารางข้อมูลนี้ได้)

                  ตอนที่ ๑  กิจกรรมแนะแนว   สถานศึกษา หรือคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ฯ  ควรนำเสนอรายละเอียดของกิจกรรมแนะแนว   ที่จัดในแต่ละภาคเรียน/ชั้นปี   โดยมีหัวข้อสำคัญ ๆ   ได้แก่
                        วัตถุประสงค์    ตัวอย่างเช่น
                        ๑)  เพื่อให้นักเรียนค้นพบความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตนเอง
                        ๒) เพื่อให้นักเรียนได้รับข้อมูล ข่าวสาร ด้านการศึกษาและอาชีพเพื่อนำไปวางแผนการศึกษาต่อและเลือกอาชีพที่เหมาะสม สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตนเอง
                       ๓)  เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาบุคลิกภาพและสามารถปรับตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
                      ๔)  เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และปลูกฝังค่านิยมที่เป็นพื้นฐานแก่นักเรียน
                      ๕)  เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และมีเจตคติที่ดีต่อสัมมาชีพทุกประเภท
                       มาตรฐานกิจกรรมแนะแนว     
                       มาตรฐานที่ ๑   รู้จัก เข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
                       มาตรฐานที่ ๒  มีความสามารถในการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ
                       มาตรฐานที่ ๓  มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
                       มาตรฐานที่ ๔  มีความสามารถในการปรับตัวและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
                       กิจกรรมแนะแนว    กิจกรรมแนะแนวประกอบด้วย    การให้บริการ     ด้าน   และการจัดกิจกรรมแนะแนวด้านการศึกษา  ด้านบุคลิกภาพ  และด้านอาชีพ  โรงเรียนควรนำเสนอกิจกรรมแนะแนวของทุกระดับชั้น   ในรูปของตาราง    ตัวอย่างเช่น 

                                            (ขออภัย...ไม่สามารถแสดงตารางข้อมูลนี้ได้)

             ตอนที่ ๒   กิจกรรมนักเรียน (ลูกเสือ)  สถานศึกษา หรือคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ฯ  ควรนำเสนอรายละเอียดของกิจกรรมนักเรียน (ลูกเสือ)   ที่จัดในแต่ละภาคเรียน/ชั้นปี   โดยมีหัวข้อสำคัญ ๆ   ได้แก่
                วัตถุประสงค์    ตัวอย่างเช่น
                 (๑)  มีความรู้  ความเข้าใจ  และสามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของลูกเสือ
                 (๒)  มีทักษะการสังเกต จดจำ การใช้มือ เครื่องมือ การแก้ปัญหา และทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
                 (๓)   มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความกล้าหาญ อดทน เชื่อมั่นในตนเอง  มีระเบียบวินัย มีความสามัคคี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเสียสละ บำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
                 (๔)   มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สร้างสรรค์งานฝีมือ  สนใจและพัฒนาเรื่องของธรรมชาติ

                                           โครงสร้างกิจกรรมนักเรียน (ลูกเสือ)     ตัวอย่างเช่น                      

 (ขออภัย...ไม่สามารถแสดงตารางข้อมูลนี้ได้)

                นอกจากนั้นการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ  ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ  ควรแบ่งเนื้อหาสาระของหลักสูตรกิจกรรมลูกเสือทุกประเภท หรือเรียกว่า   “มวลกิจกรรม”    ออกเป็น  ๑๐ หน่วยกิจกรรม  คือ
                                ๑.   ระเบียบวินัย และทักษะทางลูกเสือ
                                ๒.   การดำรงชีวิต
                                ๓.   ศรัทธายึดมั่น ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และวัฒนธรรม
                                ๔.   สนองพระคุณบิดา  มารดา และผู้มีพระคุณ
                                ๕.  เทิดทูนเกียรติคุณ สถานศึกษา บูชาพระคุณครู  อาจารย์
                               ๖.   เพื่อนช่วยเพื่อน
                                ๗.   ลูกเสือทั่วโลกเป็นพี่น้องกัน
                                ๘.   วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  เพื่อแก้ปัญหาพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม
                                ๙.   สืบสานมรดก ภูมิธรรม  ภูมิปัญญาไทย
                                ๑๐. สู่ความเป็นเลิศ
                อนึ่ง  การกำหนดตัวกิจกรรมจากเนื้อหาสาระของหลักสูตรกิจกรรมลูกเสือทุกประเภท และทุกช่วงชั้นเรียนในแต่ละปี    ให้มีสาระการเรียนรู้ทั้ง  ๑๐  หน่วยกิจกรรมดังกล่าวนั้น   ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสถานศึกษาและลูกเสือแต่ละประเภทด้วย     
        
                ตอนที่ ๓   กิจกรรมนักเรียน (ยุวกาชาด)   สถานศึกษา หรือคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ฯ  ควรนำเสนอรายละเอียดของกิจกรรมนักเรียน (ยุวกาชาด)   ที่จัดในแต่ละภาคเรียน/ชั้นปี   โดยมีหัวข้อสำคัญ ๆ   ได้แก่
           วัตถุประสงค์     ตัวอย่างเช่น
              (๑)  มีความรู้ความเข้าใจและทักษะตามหลักการของกาชาดและยุวกาชาด
            (๒) มีสุขภาพและสมรรถภาพที่ดี  สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
            (๓) มีเมตตา กรุณาและมีไมตรีจิตต่อบุคคลทั่วไป
            (๔) บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
            (๕) มีทักษะในการปฏิบัติกิจกรรมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

           กิจกรรมนักเรียน (ยุวกาชาด)   ควรนำเสนอกิจกรรมนักเรียนเกี่ยวกับยุวกาชาดของทุกระดับชั้นในรูปของตาราง    ตัวอย่างเช่น

 (ขออภัย...ไม่สามารถแสดงตารางข้อมูลนี้ได้)

                 ตอนที่ ๔  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  สถานศึกษา หรือคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร  ควรนำเสนอรายละเอียดของกิจกรรมเพื่อสังคม ฯ   ในแต่ละภาคเรียน/ชั้นปี   โดยมีหัวข้อสำคัญ ๆ   ได้แก่                                
                       วัตถุประสงค์    
                       (๑) ……………………………………………………….
                   (๒)………………………………………………………
                   (๓)………………………………………………………

              กิจกรรมเพื่อสังคม ฯ    ควรนำเสนอกิจกรรมของทุกระดับชั้นในรูปของตาราง    ตัวอย่างเช่น


 (ขออภัย...ไม่สามารถแสดงตารางข้อมูลนี้ได้)


                 ภาคผนวก   สำหรับภาคผนวกของเอกสารหลักสูตรสถานศึกษากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน   ก็เช่นเดียวกันกับเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา (ภาพรวม)  กล่าวคือ ได้แก่ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   หนังสือเชิญคณะกรรมการ / วิทยากร   และภาพถ่ายบรรยากาศการจัดทำหลักสูตร ฯ  เป็นต้น

           ๔.  องค์ประกอบที่สำคัญของเอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษา
                  เล่มที่     ระเบียบโรงเรียนว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียน     มีองค์ประกอบที่สำคัญ  ได้แก่
                           หมวด ๑   หลักการวัดและประเมินผลการเรียน
                           หมวด ๒  วิธีการประเมิน
                           หมวด ๓   การตัดสินผลการเรียน
                           หมวด ๔   การเทียบโอนผลการเรียน
                           หมวด ๕   หน้าที่ของโรงเรียน
                           หมวด ๖   เบ็ดเตล็ด 
                           ภาคผนวก
  
              สำหรับตัวอย่างระเบียบโรงเรียนว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียน  ศึกษาเพิ่มเติมได้ในภาคผนวก

  
การเพิ่มสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษา 
         การเพิ่มสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษา   หมายถึง   การนำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่สถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสม  และได้นำเสนอข้อมูลดังกล่าวไว้ในเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา(ภาพรวม)    ไปลงรายละเอียดในตาราง  สาระ/มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดชั้นปี/สาระการเรียนรู้รายปี   ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา   ตามที่กำหนดไว้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
      จากขั้นตอนการนำเสนอรายละเอียด  สาระ/มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดชั้นปี/สาระการเรียนรู้รายปี   ที่ได้กล่าวมาแล้วในขั้นตอนการปรับปรุงเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา   ทั้ง     กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา   ผู้เขียนมีความเห็นว่า  ควรนำมาอธิบายพร้อมยกตัวอย่างให้มีความเข้าใจและชัดเจนมากยิ่งขึ้น  ทั้งนี้เพราะการเพิ่มสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษา   เป็นการสนองต่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  ๒๕๔๔   และสร้างทัศนคติค่านิยมที่ดีต่อผู้เรียน   อาศัยหลักการ      ข้อ  คือ
         ๑.   คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา    ร่วมวิเคราะห์  สาระ/มาตรฐานการเรียนรู้   ตัวชี้วัดชั้นปี / ตัวชี้วัดช่วงชั้น   และสาระการเรียนรู้แกนกลาง (ทั้งระดับชาติ และระดับเขตพื้นที่)  ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  เพื่อจะได้ทราบว่ามีมาตรฐานการเรียนรู้ใด    ตัวชี้วัดชั้นปี/ช่วงชั้นใด  และสาระการเรียนรู้แกนกลางใด   ที่เปิดโอกาสหรือระบุให้สอดแทรกสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน
         ๒.  กรณีที่สาระการเรียนรู้แกนกลาง   ตัวชี้วัดชั้นปี/ช่วงชั้น   และมาตรฐานการเรียนรู้    ในระดับชั้น/ช่วงชั้น   ของกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาใดวิชาหนึ่ง    เปิดโอกาสหรือระบุให้เพิ่มสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน   ให้คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา   พิจารณาสอดแทรกสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นนั้น ๆในสดมภ์สาระการเรียนรู้รายปี  ตามลำดับ    ตัวอย่างเช่น

 (ขออภัย...ไม่สามารถแสดงตารางข้อมูลนี้ได้)

         ๓. กรณีที่ สาระการเรียนรู้แกนกลาง  ตัวชี้วัดชั้นปี/ช่วงชั้น  และมาตรฐานการเรียนรู้  ในระดับชั้น/ช่วงชั้น   ของกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาใดวิชาหนึ่ง    เปิดโอกาสหรือระบุให้สอดแทรกสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นไว้กว้าง ๆ ไม่ชัดเจน   ให้คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา    พิจารณาสอดแทรกสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นในสดมภ์สาระการเรียนรู้รายปี  ตามลำดับ   ตัวอย่างเช่น

 (ขออภัย...ไม่สามารถแสดงตารางข้อมูลนี้ได้)

     ๔. กรณีที่สถานศึกษาพิจารณาเห็นว่าสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น   บางเรื่องมีความสำคัญและมีเนื้อหาสาระมากพอที่จะจัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติม  โดยเฉพาะในชั้นมัธยมศึกษาศึกษาตอนปลาย  ก็สามารถดำเนินการได้โดยอาศัยหลักการเดิม  คือ   การจัดทำรายละเอียดใหม่ทั้งหมด  ตั้งแต่คำอธิบายรายวิชา     สาระ/มาตรฐานการเรียนรู้    ตัวชี้วัด / ภาคเรียน   และสาระการเรียนรู้ / ภาคเรียน


บทสรุปการพัฒนาหลักสูตร

        จากการศึกษาเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ  “ การพัฒนาหลักสูตร ”   ซึ่งมีผู้เขียนค่อนข้างน้อยมากจำนวน     เล่ม   คือ  เล่มที่ ๑      แนวทางการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา   ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒   กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ  ๒๕๔๓  เล่มที่ ๒  แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแบบอิงมาตรฐาน   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ  ๒๕๔๗ เล่มที่ ๓   เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา    ดร. สมนึก    ธาตุทอง    ๒๕๔๘   เล่มที่ ๔  การพัฒนาหลักสูตร  ชวลิต   ชูกำแพง  ๒๕๕๑    มีหลักการและองค์ความรู้ในการพัฒนาหลักสูตร   ดังนี้

เล่มที่ ๑   แนวทางการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา   ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒   กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ  ๒๕๔๓   
                  การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา  เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒   มาตรา  ๒๔  และมาตรา  ๒๗   จึงได้เสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา   ดังนี้
                ๑.   การพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น   สถานศึกษาสามารถดำเนินการในลักษณะต่าง ๆ  ดังนี้
                         ๑.๑   ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือกิจกรรมเสริม
                         ๑.๒  ปรับรายละเอียดของเนื้อหา
                         ๑.๓   ปรับปรุงและ/หรือเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสม
                         ๑.๔   จัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่
                         ๑.๕   จัดทำคำอธิบายรายวิชาหรือรายวิชาเพิ่มเติม    
                ๒. การพัฒนาหลักสูตรตามความสนใจ    ความสามารถและความถนัดของผู้เรียน      สถานศึกษาสามารถดำเนินการพัฒนาหลักสูตร  เพื่อให้มีความสอดคล้องกับความสนใจ   ความสามารถ  และความถนัดของผู้เรียน   โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ   ดังนี้
                         ๒.๑   ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น  เช่น  ด้านการศึกษา  เศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  สิ่งแวดล้อม  ประชากร  และศักยภาพของสถานศึกษา  เป็นต้น
                         ๒.๒  ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร   ในส่วนที่เกี่ยวกับจุดประสงค์  คำอธิบายรายวิชา  เพื่อจะทำให้ทราบว่าในแต่ละเนื้อหา/รายวิชา  ควรมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับความสนใจ  ความสามารถ  และความถนัดของผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง      
                           ๒.๓  ศึกษาสำรวจความสนใจ  ความสามารถและความถนัดของผู้เรียน   โดยอาจจะใช้แบบสำรวจต่าง ๆ  รวมทั้งศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากหลักฐานแสดงผลการเรียนของผู้เรียน    ข้อมูลจากการสำรวจจะช่วยให้สถานศึกษาวางแผนเพื่อจัดทำแผนการเรียนที่สอดคล้องกับความสนใจ  ความสามารถและความถนัดของผู้เรียน  
                            ๒.๔  การจัดทำแผนการเรียนตามความสนใจ  ความสามารถและความถนัดของผู้เรียน   โดยกำหนดกิจกรรม หรือรายวิชาที่สถานศึกษาเปิดสอนได้ในแต่ละภาคเรียน /แต่ละปีการศึกษา

เล่มที่ ๒   แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแบบอิงมาตรฐาน   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ  ๒๕๔๗
                หลักสูตรอิงมาตรฐาน  คือ  หลักสูตรที่มีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมาย  หรือเป็นกรอบทิศทางในการกำหนดเนื้อหา   ทักษะกระบวนการ  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  และการประเมินผล  เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถบรรลุมาตรฐานที่กำหนด
                ลักษณะสำคัญของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาแบบอิงมาตรฐาน  มีดังนี้
                ๑.   ทุกองค์ประกอบของหลักสูตรต้องเชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้
                ๒. หน่วยการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญของหลักสูตร
                ๓.  การจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้  ต้องนำพาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานที่ระบุในหน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ
                ๔.  การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงาน   ที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้  ควรเป็นการประเมินการปฏิบัติ หรือการแสดงความสามารถของผู้เรียน (Performance  Assessment)
                ๕.  ชิ้นงานหรือภาระงานที่กำหนดให้นักเรียนปฏิบัติ  ควรเชื่อมโยงมาตรฐาน  ๒-๓  มาตรฐาน
                ๖.  มีความยืดหยุ่นในกระบวนการ และขั้นตอนการจัดทำหน่วยการเรียนรู้  เช่น  อาจเริ่มต้นจากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้   หรืออาจเริ่มจากความสนใจของนักเรียน  หรือสภาพปัญหาของชุมชนก็ได้

เล่มที่ ๓   เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา   ( ดร. สมนึก    ธาตุทอง    ๒๕๔๘ )
            ผู้เขียนได้เรียบเรียงจากประสบการณ์ตรงที่ได้มีส่วนร่วมจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๔๔   จากการเป็นวิทยากรบรรยายให้กับหน่วยงานทางการศึกษาและสถาบันต่าง ๆ  และจากการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อสร้างหลักสูตรสถานศึกษา   รวมทั้งจากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร  ตำราที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้เป็นหนังสือที่เอื้อต่อครู  อาจารย์  ผู้บริหาร  ศึกษานิเทศก์  และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรทุกฝ่าย  สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน 
                เนื้อหาสำคัญ ๆ  ของหนังสือเทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  มีทั้งหมด      ตอน  คือ
                ๑.   ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักสูตร
                ๒.  จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  ๒๕๔๔  สู่หลักสูตรสถานศึกษา  (กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา)
                ๓.  การตรวจสอบและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  (องค์ประกอบของเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา)
                ๔.  การตรวจสอบและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา :  สาระการเรียนรู้พื้นฐาน
                ๕.  ตรวจสอบและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  :  สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
                ๖.   ตรวจสอบและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  :  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                ๗.  การตรวจสอบและพัฒนาหน่วยการเรียนรู้  :  แผนการจัดการเรียนรู้
                ๘.  การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา 

เล่มที่ ๔   เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา      ( ชวลิต    ชูกำแพง   ๒๕๕๑ )
            ผู้เขียนได้เรียบเรียงหนังสือฉบับนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนรายวิชา การพัฒนาและการจัดการหลักสูตร  สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และวิชาการพัฒนาหลักสูตร  ระดับปริญญาโทสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  มีเนื้อหาที่สำคัญ    บทด้วยกัน คือ
             ๑.      ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร
             ๒.    ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
             ๓.     รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
             ๔.     การบริหารหลักสูตร
             ๕.     การแปลงหลักสูตรสู่กิจกรรมการเรียนการสอน
             ๖.      นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
             ๗.     การประเมินหลักสูตร
             ๘.     การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 
              
             จากหลักการและองค์ความรู้ในการพัฒนาหลักสูตรของเอกสารวิชาการทั้ง    เล่มที่นำเสนอแล้วข้างต้น   สามารถสังเคราะห์สู่การนำไปปฏิบัติพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม   หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่า  แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สามารถดำเนินงานได้เป็น      ลักษณะ   ตามลำดับดังนี้ 
                ๑.  การพัฒนาองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษา    นับเป็นจุดเริ่มที่สำคัญที่สถานศึกษาต้องทุ่มเทเอาใจใส่  เพื่อให้หลักสูตรสถานศึกษามีความเป็นสากล  หรือมีความสมบูรณ์ในด้านองค์ประกอบต่าง ๆ   ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วใน   ตอนที่  ๔.  แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา               
                ๒. การเพิ่มสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น   นอกจากหลักสูตรสถานศึกษา  (ภาพรวม)  และหลักสูตรสถานศึกษา      กลุ่มสาระ/รายวิชา   จะมีความสมบูรณ์ในด้านองค์ประกอบแล้ว   ยังต้องมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาบางกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา   ด้วยการสอดแทรกสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น/เนื้อหาท้องถิ่นเข้าไปเรียนรู้อย่างกลมกลืนกับสาระการเรียนรู้แกนกลางอีกด้วย        
                ๓. การจัดทำรายวิชาใหม่ /รายวิชาเพิ่มเติม    ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย    เปิดโอกาสให้สถานศึกษาจัดทำรายวิชาใหม่หรือรายวิชาเพิ่มเติม จากรายวิชาพื้นฐานได้ตามความต้องการ
                ๔. พัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของผู้เรียน   (หลักสูตรระดับห้องเรียน)  สถานศึกษาสามารถเลือกดำเนินการได้อย่างหลากหลาย  อาทิเช่น   จัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้     เป็นการเรียนรู้แบบโครงงาน    เป็นการวิจัยโดยนักเรียน  หรือเป็นรายวิชาที่นักเรียนสนใจ  เป็นต้น
                ๕.  การปรับกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่    หมายถึง   ครูผู้สอน/คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ    มีการวิเคราะห์ผลการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมาของตนเอง    แล้วเห็นว่าต้องมีการปรับเทคนิคการจัดการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ที่เคยใช้อยู่เดิม   ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   ทั้งนี้อาจดำเนินการในลักษณะของการวิจัยพัฒนาก็ได้
                ๖.  การปรับปรุงและเลือกใช้สื่อการเรียน และจัดทำสื่อการเรียนใหม่    สื่อการเรียนรู้ถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับครูผู้สอน และยังเป็นตัววัดศักยภาพของครูผู้สอนอีกด้วยว่ามีความสามารถมากน้อยเพียงใด การใช้สื่ออย่างถูกต้องและเหมาะสม  จะช่วยเพิ่มประสิทธภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนยิ่งขึ้น


 เอกสารอ้างอิง

          กรมวิชาการ. (๒๕๔๓). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒.  กรุงเทพ ฯ :  โรงพิมพ์การศาสนา  กรมศาสนา.
               
              ชวลิต  ชูกำแพง. (๒๕๕๑). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

         สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๕๐).  คู่มือดำเนินการพัฒนา หลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ สำหรับครูและศึกษานิเทศก์.  นครปฐม :  สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี และราชกิจจานุเบกษา.

        สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๔๗).  แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแบบอิงมาตรฐาน.  กรุงเทพ ฯ :  โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.).

         สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๔๗).  แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๔๔.  กรุงเทพ ฯ :  โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
(ร.ส.พ.).

         สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๔๙).  กรอบแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๔๔.  กรุงเทพ ฯ :  โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย  จำกัด.

         สมนึก   ธาตุทอง. (๒๕๔๘).  เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.




















































   
           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

ต่อหัวเสือ...ไม่ร้ายอย่างเสือ