บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2014

เรื่องการปลูกข้าว : เยาวชนไทยต้องเรียนรู้ให้เก่ง

รูปภาพ
ทุกครั้งที่ได้ยินข่าวและได้เห็นภาพการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ และปลูกจิตสำนึกอาชีพการเกษตร  โดยเฉพาะการทำนาปลูกข้าวด้วยแล้ว  ขอบอกว่า..โดนใจถูกใจเป็นที่สุดเลยครับ  และขอเอาใจช่วยเชียร์ทุก ๆ ท่านที่เกี่ยวข้อง อาทิ   หน่วยงานด้านการเกษตร  องค์การส่งเสริมต่าง ๆ  ปราชญ์ท้องถิ่น  สถานศึกษา และชุมชน    ที่ได้ร่วมมือกันพาเยาวชนของเราในหลายพื้นที่...สู่การเรียนรู้ เรื่องการปลูกข้าว   ซึ่งมีความสำคัญในอันดับต้นๆที่เยาวชนไทยควรได้เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติจริงอย่างตั้งใจ  ประสบการณ์ที่ดีจะฝังแน่นอยู่ในใจและกายของพวกเขาเหล่านั้นอย่างยั่งยืนและภาคภูมิใจ ช่วยให้เกิดวิสัยทัศน์ มีความคิดกว้างไกลในการสืบทอดอาชีพการปลูกข้าวที่เป็นเลิศได้ต่อไป  ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง  “การปลูกข้าว”    ที่อยากให้มีและเกิดขึ้นในทุกพื้นที่ที่สามารถทำได้  ซึ่งไม่จำเป็นต้องลอกเรียนแบบให้เหมือนกัน  แตกต่างกันได้ในรูปแบบ...แต่เป้าหมายเดียวกันครับ 1.  เรียนรู้ข้าว-ฟังเรื่องเล่าจากชาวนา ปลูกสำนึกเยาวชน     'รักษ์บ้านเกิด' นาแปลงหนึ่งที่บ้านกล

เล่าเรื่องเมืองอุตรดิษฐ์ ตอน “ตักบาตรหาบจังหัน” ประเพณีท้องถิ่นแห่งเดียวในไทย

รูปภาพ
ชาวบ้านหาดสองแคว...กำลังหาบจังหันไปวัด ที่  “บ้านหาดสองแคว”  อ.ตรอน  จ.อุตรดิตถ์ ก็คล้ายคลึงกับหมู่บ้านในต่างจังหวัดอื่นๆ  ที่บ้านและวัดยังคงผูกพันกันเหนียวแน่น  แต่การใส่บาตรยามเช้าของคนหาดสองแควไม่ธรรมดาเหมือนที่อื่นๆ เพราะเป็นการ  “ตักบาตรหาบจังหัน”  ที่มีความพิเศษแตกต่างจากที่อื่น หมู่บ้านแห่งนี้มีความเป็นมายาวนาน บริเวณที่ตั้งชุมชนมีแม่น้ำสองสายไหลมาบรรจบกัน คือแม่น้ำน่าน และคลองตรอน  ทำให้เกิดหาดสันทรายเป็นแนวยาวจนกลายเป็นชื่อเรียกของหมู่บ้าน  นอกจากนั้น ชาวบ้านหาดสองแควยังมีเชื้อสาย  “ลาวเวียง”  หรือเชื้อสายของชาวลาวจาก เมืองเวียงจันท์ ประเทศลาว ที่ถูกกวาดต้อนมาในสมัยรัชกาลที่ 3 เข้ามาตั้งถิ่นฐานจำนวน 2 แห่งด้วยกัน คือ ที่ บ้านกองโค  ต.คอรุม อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์  และที่ บ้านหาดสองแคว       ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์  ทำให้ชาวบ้านหาดสองแควกว่า 90% ยังคงพูดคุยกันด้วย ภาษาลาวเวียง  กินอาหาร และมีวัฒนธรรมแบบชาวลาวเวียงอยู่จนปัจจุบัน ชาวบ้านหาดสองแคว...กำลังหาบจังหันไปวัด ชาวบ้านหาดสองแคว...กำลังหาบจังหันไปวัด ส่วนการตักบาตรยามเช้าของคนบ้านหาดสองแค

เล่าเรื่องเมืองอุตรดิษฐ์ ตอน สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๔

รูปภาพ
ธงช้างแห่งสยามประเทศ สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๓๐  (ค.ศ. 1887) เมื่อนายพันเอก  เจ้าหมื่นไวยวรนารถ   แม่ทัพฝ่ายเหนือปราบปรามพวกฮ่อ  กับตรวจตราจัดการให้รักษาด่านทางตามเขตแขวงเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกตลอดขึ้นไปจนถึงเมืองแถง  (ปัจจุบันคือ เดียน เบียน ฟู)  เมืองสิบสองจุไทย    เสร็จเรียบร้อย  และได้นำกองทัพกลับถึงกรุงเทพพระมหานครฯ  ตามกระแสพระบรมราชโองการเมื่อ  วันที่  ๗  มิถุนายน  ๒๔๓๐  แล้วนั้น  และได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็น นายพลตรี  พระยาสุรศักดิ์มนตรี เมืองนครหลวงพระบาง   พ.ศ.๒๔๓๐ เจ้ามหินทรเทพนิภาธร(เจ้าอุ่นคำ) เจ้านครหลวงพระบาง (อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง) พ.ศ.๒๔๑๕ - ๒๔๓๑                    ประทับบนราชบัลลังก์ ในพระราชวังหลวงเมืองนครหลวงพระบาง ศุภอักษร ของ เจ้ามหินทรเทพนิภาธร   เจ้านครหลวงพระบาง  และใบบอกของ หลวงพิศณุเทพ ข้าหลวง ความว่า     “..เจ้านครหลวงพระบางแต่งให้พระยาเชียงเหนือ พระยาหมื่นน่า และพระยานาใต้  คุมไพร่ท่านละ  ๑๐๐  ไปรักษาเมืองงอย  เมืองขวา  และบ้านเพี้ยพันธุระโกไสย ในลำน้ำนัว  ตามลำดับ  พระยาเชียงเหนือ  และพระยานาใต้ รายงานว่า