บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2015

หันหัวนอนไปทิศไหนดี ?

รูปภาพ
เรื่องของการนอนหันศีรษะไปในทิศทางใดนั้น  ถือเป็นวัฒนธรรมความเชื่อหนึ่ง..ของคนในแต่ละภูมิภาค และแต่ละท้องถิ่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลจากการนับถือศาสนา  ที่ถ่ายทอดความเชื่อต่าง ๆ สู่คนในแต่ละยุคสมัย  ความเชื่อหลายอย่างได้ถูกลืมเลือนไม่นำมาปฏิบัติในคนรุ่นใหม่  แต่ก็ยังมีอีกหลายความเชื่อที่ปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน  การถกเถียงเกี่ยวกับการนอนหันศีรษะไปในทิศต่าง ๆ  ยังเป็นกระแสที่ผู้คนให้ความสนใจกันอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ข้อมูลชุดที่ 1  :  จาก  https://th.answers.yahoo.com “ ท่านอนสีหไสยาสของพระพุทธเจ้า ทรงนอนตะแคงขวาหันพระเศียรไปสู่ทิศใต้ พระพักตร์จะหันสู่ทิศตะวันออก พระบาทพุ่งสู่ทิศเหนือ ” “ ที่นอนหันหัวไปทางทิศใต้นั้นเพราะ พระพุทธเจ้าเสด็จมาจากทางนั้น ” “ ในสมัยพุทธกาล พระสารีบุตร ต้องเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ก่อนจำวัดก็จะตรวจตราดูว่า พระศาสดาอยู่ทางทิศไหน แล้วก็จะนอนหันศรีษะไปทางทิศนั้น (แม้ว่าจะเป็นทิศตะวันตกก็เถอะ) ” “ ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยและในหนังสือ ไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงหัวนอนคือทิศใต้ ส่วนทิศปลายตีนคือทิศเหนือ เมื่อคนเป็นๆนอนหันหัวสู่ทิศใต้ คนตายจะต้องหันหัวสู่ท

ทำไม...ผมหงอก ?? (ผมเป็นสีเทา-ขาว)

รูปภาพ
ผมหงอกเกิดขึ้นได้อย่างไร?? เป็นที่รู้กันดีว่า สีเทา ของเส้นผมนั้นเป็นผลมาจากการลดลงของเม็ดสี ในขณะที่ ผมขาว ไม่มีเม็ดสีเลย สมมติฐานหนึ่งของการเกิดผมสีขาว-เทา ก็คือมาจาก กรรมพันธ์ุ หรือพ่อแม่เรานั่นเอง  แต่นักวิทยาศาสตร์จะต้องสืบค้นให้ลึกลงไปอีกว่าทำไม และทำไม??  เพราะเมื่อแก่ตัวลงเส้นผมของทุกคนก็ต้องเปลี่ยนสีเหมือนๆกัน ซึ่งโอกาสที่ผมจะหงอกนั้นเพิ่มขึ้นถึง 10-20% เมื่อเข้าสู่วัย 30 ปีแล้ว !! แรกเริ่มนั้นเส้นผมก็มีสีขาวนี่แหละ แต่ เส้นผมของแต่ละคนได้สีธรรมชาติมาจาก เม็ดสี (pigment) ที่เรียกว่า “เมลานิน (melanin)”   เมลานินในคนนั้น ถูกสร้างมาตั้งแต่ก่อนเกิดเสียอีก  สีตามธรรมชาติของเส้นผมนั้นจึงขึ้นอยู่กับ การกระจายตัว ชนิด และปริมาณเม็ดสีเมลานินในชั้นกลางของตัวเส้นผมหรือเรียกชั้นนี้ว่า  คอร์เทกซ์ (cortex) เม็ดสีผมนั้นมี 2 ชนิด คือ เม็ดสีเข้ม เรียกว่า  ยูเมลานิน (eumelanin)  และเม็ดสีอ่อน เรียกว่า  ฟีโอเมลานิน (pheomelanin)  ซึ่งเม็ดสีทั้ง 2 ชนิดเมื่อผสมกันแล้วจะได้เฉดสีผมที่หลากหลาย เม็ดสีเมลานินนั้นถูกสร้างมาจากเซลล์เม็ดสีที่มีชื่อเฉพาะว่า  เมลาโนไซต์ (melanocyte

สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช...อีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ

รูปภาพ
ชื่อของ  สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อาจไม่เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันเท่าไรนักของคนทั่ว ๆ ไป  ดังนั้น วันนี้จึงขอแนะนำให้ทุกท่านได้ทำความรู้จักกับสถานที่แห่งนี้กันพอสมควร   สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช  เป็นหน่วยงานหนึ่งของ  ฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   ประวัติความเป็นมา สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชหรือแหล่งสงวนชีวมณฑลสะแกราช   ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2510 โดยมีภารกิจการวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา  จนถึงขณะนี้มีผลงานวิจัยในพื้นที่แห่งนี้มากกว่า 200 เรื่อง  ขณะเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2519   สถานีฯ สะแกราชได้รับการรับรองจาก UNESCO ภายใต้โครงการ MAB (Man and Biosphere   Program) ให้เป็นแหล่งสงวนชีวมณฑลแห่งหนึ่งของโลกซึ่งเป็นแห่งแรก ของประเทศไทย  และเป็น 1 ใน 7 แห่งของเอเซียในขณะนั้น ขณะนี้แหล่งสงวนชีวมณฑลมีจำนวน  529  แห่ง ใน  105  ประเทศ  (ข้อมูล 23 พฤศจิกายน  ปี  2550) จากความสำคัญของพื้นที่และมีผลงานวิจัยจำนวนมากซึ่งกระจัดกระจายกันอยู่ ทำให้การรวบรวมและจัดระบบฐานข้อมูลของผลงานวิจ

ผักขี้หูด สรรพคุณและประโยชน์ของผักขี้หูด 9 ข้อ !

รูปภาพ
ผักขี้หูด ชื่อวิทยาศาสตร์ Raphanus sativus Linn. var. caudatus Alef จัดอยู่ในวงศ์ BRASSICACEAE (CRUCIFERAE) เช่นเดียวกับผักกาดขาว ผักขี้หูด คงเป็นชื่อเรียกที่มาจากการเปรียบเทียบกับขี้หูดที่มีลักษณะขึ้นเป็นตะปุ่มตะป่ำ เนื่องจากฝักของผักชนิดนี้จะมีลักษณะขอดเป็นปุ่มๆ ยาวตลอดทั้งฝัก ชาวบ้านจึงนำลักษณะของผักชนิดนี้มาตั้งชื่อว่า "ผักขี้หูด" และด้วยความที่ว่ามีกลิ่นฉุน ผักขี้หูดจึงได้รับฉายานามว่าเป็น "วาซาบิเมืองไทย"    นอกจากนี้ผักขี้หูดยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า ผักเปิ๊ก ลักษณะของผักขี้หูด ต้นผักขี้หูด จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุ 1 ปี หรือ 2 ปี ลำต้นตั้งตรงมีขนแข็งปกคลุมเล็กน้อย ต้นขึ้นเป็นกอเหมือนกับผักกาดเขียว มีความสูงได้ประมาณ 30-100 เซนติเมตร ลำต้นเป็นรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก ส่วนกลางของลำต้นจะกลวง ก้านใบแทงขึ้นจากดิน โดยเป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบขึ้นในที่มีอากาศหนาวเย็นหรือที่มีความชุ่มชื้น หาพบในภาคอื่นได้น้อยมาก ส่วนทางภาคอีสานก็พบได้เฉพาะบนภูสูงเท่านั้น ดังนั้นผักชนิดนี้จึงเป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างกว้างขวางทางภา

10 วิธีประหยัดค่าแอร์

รูปภาพ
วิธีต่อไปนี้ จะช่วยเราประหยัดพลังงานและพลังเงินของเราโดยไม่ต้องลงทุน หลายวิธีที่จะกล่าวถึงนี้ อาจเป็นวิธีง่ายๆ ที่เราคิดไม่ถึงหรือเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าเราพร้อมใจกันปฏิบัติอย่างถูกต้อง จะช่วยประหยัดพลังงานและค่าไฟได้อย่างไม่น่าเชื่อ 1. ปิดพัดลมระบายอากาศเมื่อไม่จำเป็น ในห้องปรับอากาศมักติดตั้งพัดลมระบายอากาศไว้สำหรับระบายอากาศออกจากห้อง ปรับอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องที่มีกลิ่นหรือควันจากการสูบบุหรี่ เมื่อมีการระบายอากาศออกจากห้อง ก็จะมีอากาศในปริมาณเท่ากันไหลเข้ามาในห้อง เพื่อทดแทนอากาศส่วนที่ถูกระบายทิ้งออกไป อากาศจากภายนอกที่ไหลเข้ามาแทนที่นี้ ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อทำให้อากาศร้อนจากภายนอกที่เข้ามาเย็นลงจนเท่ากับอากาศภายในห้อง พัดลมระบายอากาศนี้มีความจำเป็น หากเป็นห้องที่มีคนใช้งานมาก หรือมีกลิ่นจากเอกสาร, อาหาร หรือควันบุหรี่ แต่หากเป็นห้องที่มีคนใช้งานไม่มาก และไม่มีกลิ่นรบกวน ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ ทั้งนี้เนื่องจาก โดยธรรมชาติจะมีอากาศรั่วซึมผ่านทางกรอบประตูหน้าต่างอยู่ในปริมาณหนึ่งอยู่ แล้ว ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในการหายใจ นอกจากนี้

20 คำถามเรื่องไฟฟ้าที่คุณอยากรู้ - สาระน่ารู้ เพื่อที่อยู่อาศัย

รูปภาพ
ในชีวิตประจำวันของคนเรา ส่วนใหญ่ต้องใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการดำเนินชีวิต แต่มีคนจำนวนไม่มากนักที่จะให้ความสนใจเรื่องไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ภายในบ้าน เพราะเมื่อพูดถึงไฟฟ้าแล้ว เรามักรู้สึกว่าเป็นเรื่องลึกลับซับซ้อนและอันตราย ต้องอาศัยผู้มีความรู้ความชำนาญเท่านั้นจึงจะหยิบจับหรือทำได้ หาก เรามีความเข้าใจเพียงพอ มีความระมัดระวัง และรู้จักการทำงานที่ปลอดภัยแล้ว มือสมัครเล่นอย่างเราๆก็สามารถซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสวิตช์ ปลั๊ก หลอดไฟ หรือแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ซึ่งช่วยประหยัดเงินและเวลาในการหาช่างมาซ่อมแซมด้วย  ดังนั้นเราจึงได้รวบรวมคำถามเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าในบ้านที่อาจค้างคาใจใครหลายคนมาตอบกันในครั้งนี้...ครับ 1. Q: มิเตอร์ไฟบ้านมีขนาด 5 แอมแปร์ เปิดเครื่องปรับอากาศ 2 เครื่องพร้อมกันได้หรือไม่ A : ไม่ได้ เนื่องจากมิเตอร์ไฟมีขนาดเล็กเกินไป (ไฟฟ้าอาจดับทั้งบ้านหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้) ปกติมิเตอร์ไฟในบ้านทั่วไปที่การไฟฟ้ามาติดตั้งให้จะกำหนดขนาดการใช้กระแสไฟ ไว้ประมาณ 5 แอมแปร์ (5A) และจะเผื่อการใช้งานไว้อีกประมาณสามเท่า แต่เครื่องปรับอากาศที่เจ้าของบ้านซื้อมาเพิ่มเติม