บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2015

๖ คำถามน่ารู้ : โรคไขมันสะสมในตับ

รูปภาพ
ภาวะอ้วนลงพุงของคนเราที่เกิดจาก “พฤติกรรมสุขภาพ” พบมากขึ้นในสังคมไทย ส่งผลให้เกิดปัญหาโรคแทรกซ้อนตามมาอีกหลายโรคที่สัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุง นั่นคือโรคไขมันสะสมในตับ มาทำความรู้จักที่มาของปัญหาไขมันสะสมในตับ การป้องกัน และการแก้ไข ผ่าน ๖ คำถามน่ารู้ ๑. โรคไขมันสะสมในตับพบได้บ่อยแค่ไหนและลักษณะการดำเนินโรคเป็นไปอย่างไร? โรคไขมันสะสมในตับจัดเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากข้อมูลที่มีการศึกษาพบว่ามีความชุกของโรคไขมันสะสมในตับ สูงถึงร้อยละ ๙-๔๐ และมีความสัมพันธ์กับความชุกของโรคอ้วน ส่วนความชุกของโรคไขมันสะสมในตับที่มีการอักเสบร่วมด้วยนั้นพบร้อยละ ๖-๑๓ ของประชากรทั่วไป ในการศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่ามีผู้ป่วยโรคไขมันสะสมในตับสูงถึงร้อยละ ๗๒  ในกลุ่มผู้ป่วยตับอักเสบที่ไม่พบสาเหตุจากไวรัสตับอักเสบบี ซี และแอลกอฮอล์ ส่วนที่เหลือร้อยละ ๒๘ เป็นกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ   โรคนี้พบได้บ่อยขึ้นในผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น คนอ้วน จะพบปัญหาโรคไขมันสะสมในตับหรือ Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD) หรือ Non-alcoholic-steatohepatitis (NASH) ได้ ถึงร้อยละ ๓๗-๙๐ ส่ว

ส.ศิวรักษ์ : ความเห็นต่อกรณีธมฺมชโย "ตะแบงพระวินัยอย่างชัดเจน"

รูปภาพ
กรณีวัด พระธรรมกาย   ซึ่งกำลังอยู่ในความสนใจของผู้คนทั่วไปว่าจะจบลงด้วยวิธีการอย่างไร  มีหลายท่านได้ออกมาให้ความเห็นในมุมมองต่าง ๆ  ซึ่งครั้งนี้เราได้นำบทความจาก    สำนักข่าวอิศรา   www.isranews.org  :  "สุลักษณ์ ศิวรักษ์" หรือ "ส.ศิวรักษ์"   ปัญญาชนสยาม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก  Sulak Sivaraksa  ความเห็นต่อกรณีธมฺมชโย เมื่อวันที่ 21 ก.พ.58  มาเผยแพร่กันอีกต่อหนึ่งครับ..!! "...แต่นี่ไม่ใช่คราวแรกที่มหาเถรสมาคมมีพฤติกรรมเช่นนี้ เช่นเมื่อคราวกิตฺติวุฒฺโฑภิกขุสั่งรถวอลโว่เข้ามาโดยไม่ยอมเสียภาษี นี่ก็เป็นอทินนาทานปราชิกเช่นเดียวกัน เพราะพระมีค่าเพียงแค่เงินบาทเดียว ฉ้อฉลเพียงบาทเดียวก็ต้องอทินนาทานปราชิกหมดความเป็นภิกษุภาวะ ..กรณีธมฺมชโยก็เช่นกัน อ้างว่าได้คืนเงินคืนทองไปแล้ว ยังสามารถคงความเป็นลัชชีไว้ได้ นี่เป็นตัวอย่างแห่งความอัปลักษณ์ของกรรมการมหาเถรสมาคม .." การที่  มหาเถรสมาคมลงมติ ว่าธมฺมชโยไม่เป็นปราชิกนั้น   แสดงว่ากรรมการมหาเถรสมาคมที่ลงคะแนนให้ธมฺมชโย น่าจะมีชนักติดหลังในทำนองเดียวกัน ในเมื่อลายพระหัตถ์สมเด็จพระสังฆราชชี้ชัดว่าบุคคลผู้นี้ต้อ

“การศึกษาบนฐานชุมชน” รูปแบบที่เด็กยุคใหม่ต้องการ

รูปภาพ
ได้อ่านบทความข้างล่างนี้แล้ว  เห็นว่าเป็นบทความที่มีเนื้อหาสาระและมุมมองทางการศึกษาที่สามารถนำไปเป็นแนวคิดแนวปฏิบัติในการปฏิรูปการศึกษาได้เป็นอย่างดี  ดังนั้นจึงอดมิได้ที่ต้องนำมาเผยแพร่กันต่อ ๆ ครับ.... “การศึกษาบนฐานชุมชน ไม่ใช่แค่เรื่องในชุมชนท้องถิ่นที่เด็กจะได้เรียนรู้ แต่คือการสอนให้เด็กได้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยีสมัยใหม่และให้เกิดการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเองและชุมชน เรียกได้ว่า  'การศึกษาบนฐานชุมชน'  เป็นการสร้างคนให้มีราก ไม่ลืมรากเหง้าของตนเองแต่ก็เท่าทันความเปลี่ยนแปลง เพื่อจะได้เติบโตเป็นผู้นำของสังคมที่มีคุณภาพ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมไทย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีการถอดบทเรียนเรื่องดังกล่าวทำเป็นหนังสือ รวมทั้งยังมีการขยายองค์ความรู้ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ฉะนั้น ต่อไปจะเกิดเครือข่ายเยาวชนในลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศในภูมิภาคอาเซียนด้วย” นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ   ผู้จัดการโครงการพัฒนารูปแบบส

รัง : สุดยอดไม้แห่งความแข็งแรงทนทาน

รูปภาพ
  คนยุคก่อนถือว่า "ต้นรัง" เป็นไม้มงคล เชื่อว่าหากปลูกแล้วจะทำให้ชีวิตมีความมั่นคง อยู่เย็นเป็นสุข   รัง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Shorea siamensis  Miq. อยู่ในวงศ์ DIPTEROCARPACEAE เป็นต้นไม้ขนาดกลางถึงใหญ่ สูงระหว่าง ๑๐-๒๐ เมตร รูปทรงต้นเป็นทรงกลมหรือพุ่มทรงเจดีย์ ลำต้นไม่เปลาตรงนัก (เมื่อเทียบกับต้นไม้บางชนิด เช่น ยางนา หรือยมหอม) เปลือกหุ้มลำต้น สีเทา เปลือกหนา มักแตกเป็นร่องและเป็นสะเก็ดล่อน ใบเป็นชนิดเดี่ยว เรียงสลับบนกิ่งก้าน ใบรูปไข่ โคนใบหยักเว้าเป็นรูปหัวใจ ปลายใบค่อน ข้างมน ใบอ่อนเมื่อแตกออกใหม่ๆ มี สีแดงและเมื่อเข้าหน้าแล้งจะเปลี่ยน เป็นสีเหลืองก่อนร่วงหล่นจนหมดต้น ดอกรังจะออกหลังจากทิ้งใบหมดแล้ว โดยออกตามปลายกิ่งเป็นช่อขนาดใหญ่ ประกอบด้วยดอกย่อย มีกลีบสีเหลืองอ่อน ๕ กลีบ เรียงซ้อน กันเป็นรูปกังหัน ปลายกลีบม้วนซ้อน เข้า ดอกร่วงหลุดออกจากช่อได้ง่าย มีกลิ่นหอมอ่อนๆ   ผลรัง....จาก   www.suansavarose.com ผลรัง....จาก   www.magnoliathailand.com เมื่อดอกรังหลุดร่วงไปแล้ว จะติดผลรูปกระสวยขนาดเล็ก มีปีกสั้นผลละ ๒ ปีก ปีกยาวรูปใบพ

พะยอม หอมเช้า หอมเย็น

รูปภาพ
ดอกพะยอมสีขาวนวล หรือเหลืองอ่อน ๆ ช่วงเวลากลางวันที่ออกจะมีสภาพอากาศที่ร้อน ๆ เช่นนี้  ทำเอาหลายคนอยากได้ต้นไม้ใหญ่มาบังแดด กลางร่มให้บ้านกัน ซึ่งต้นไม้ที่ทรงพุ่มช่วยบังแดด กันร้อนให้บ้านได้ก็มีอยู่หลายตัวเลือก แต่ถ้าเพิ่ม option อีกนิดว่า ดอกมีกลิ่นหอมด้วยแล้วล่ะก็  พะยอม เป็นตัวเลือกอีกต้นหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้ต้นอื่นๆ เลยล่ะ เพราะนอกจากจะได้ร่มเงาจากต้นแล้ว ช่วงหน้าหนาวปลายธันวาคมไปถึงกุมภาพันธ์ ต้นพะยอมจะมีออกดอกขาวไปทั้งต้น พร้อมส่งกลิ่นหอมๆ ตอนเย็นและเช้ามืดให้ได้ชื่นใจกัน พะยอม เป็นไม้ไทยๆ ที่ปลูกกันมาตั้งแต่ปูย่าตายายเราแล้ว และก็ไม่ใช่เพราะว่าดอกหอมเท่านั้น แต่ปู่ยาตายายมองการณ์ไกล เล็งเห็นประโยชน์ของต้นพะยอมด้านอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเนื้อไม้ที่แข็งพอๆ กับไม้เต็ง สามารถเอามาสร้างบ้านสร้างเรือนได้ หรือจะเอาไปทำเป็นไม้หมอนรองรถไฟ ดอกอ่อนเป็นอาหาร ลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือเอาไปปรุงเป็นยาลมยาหอม บำรุงหัวใจ เปลือกต้นเอาไปต้มน้ำ ดื่มแก้ท้องไส้ไม่ดี ลำไส้อักเสบ เปลือกดิบๆ เอามาฝนทาเป็นยาสมานแผล เป็นสารกันบูดธรรมชาติที่ชาวสวนน้ำตาลมะพร้าวเอาไว้ใช้ปนไปกับน้ำตาลสดเพื่อไม่ให้น้ำตาลม