บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2015

ลูกไม้..หล่นไกลต้น 1

รูปภาพ
สำหรับเรื่องราวของ “ลูกไม้..หล่นไกลต้น”  จะโฟกัสไปที่ลูกไม้ที่มีปีก  4  แบบ  คือ แบบใบพัดเดียว   ปีกแบบใบพัดสองใบ หรือหลายใบ   ปีกแบบครีบ   และปีกแบบใบเรือ   มากที่สุด  ทั้งนี้สืบเนื่องจากมีความแปลกตา  น่าสนใจ และมีความสวยงามมากกว่าลูกไม้แบบอื่น ๆ  อนึ่ง “ ลูกไม้..หล่นไกลต้น ”  มีปริมาณสาระต่าง ๆ โดยรวมเป็นจำนวนมาก  จำเป็นต้องจัดแบ่งการนำเสนอเป็นชุด ๆ และในครั้งนี้นับเป็นชุดที่ 1  ประกอบด้วยลูกไม้มีปีก ได้แก่  มะฮอกกานีใบใหญ่  มะฮอกกานีใบเล็ก และยมหอม *********************************************************************************** ชื่อ ( Thai Name )    มะฮอกกานีใบใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ ( Scientific Name )     Swietenia  macrophylla . King ชื่อวงศ์ ( Family )   MELIACEAE ชื่อเรียกอื่น ( Other Name )    - ลักษณะ ( Characteristics )   มะฮอกกานีใบใหญ่จะเป็นทรงกระบอก ลำต้นเปลาตรง  ใช้เวลานานกว่าที่กิ่งก้านจะแผ่พุ่มกว้างออกไป  โตเต็มที่จะสูงได้ถึง 15-20เมตร  ขนาดของทรงพุ่มกว้างประมาณ 4-6 เมตร ลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มปนดำ เปลือกลำต้นหยาบ ใบประกอบแบบข

ปีกของลูกไม้...ความงดงามแห่งธรรมชาติ

รูปภาพ
การเขียนเกี่ยวกับปีกของลูกไม้ครั้งนี้  สืบเนื่องมาจากมีความสนใจและรักต้นไม้เป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว  และยิ่งเป็นลูกไม้ที่มีความพิเศษต่างจากลูกไม้ทั่ว ๆไป  ก็ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นถึงความสร้างสรรค์ของธรรมชาติ  บวกกับความแปลกและมุมมองทางด้านศิลปะ ความงดงามจากวิวัฒนาการของรูปร่าง และขนาดของปีกเหล่าลูกไม้นานาพันธุ์ในป่าไม้ของเมืองไทยเรา อีกประการหนึ่ง  มีความตั้งใจที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกไม้มีปีกที่น่าสนใจให้ได้มากที่สุด  เพื่อบันทึกไว้สำหรับการสืบค้นเชิงวิชาการ และเรียนรู้แก่บรรดาเด็กเยาวชน  รวมทั้งผู้ที่มีความสนใจและรักต้นไม้อีกด้วย  ผู้เขียนตระหนักดีว่าสถานการณ์ปัจจุบันจำนวนป่าไม้ลดลงไปเป็นจำนวนมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฝนลดจำนวนลงตามไปด้วย  การปลูกนิสัยความรักต้นไม้จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่ต้องอาศัยความเข้าถึงและร่วมมือกัน  เพื่อให้ป่าไม้ของเมืองไทยเพิ่มพื้นที่ขึ้นอย่างต่อเนื่องครับ หลายท่านคงค้นเคยกับสำนวนไทย ๆ ที่ว่า  “ลูกไม้หล่น..ไม่ไกลต้น”   เป็นสำนวนไทยที่ใช้เชิงเปรียบเทียบของคนเรา  แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นลูกไม้ของต้นไม้ละก้อ   ต้องเปลี่ยนเป็นใช้คำว่า  “ลู

“บุหรงช้าง” และ “บุหรงดอกทู่” .....พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก

รูปภาพ
ภาพบุหรงช้าง (ซ้าย) .......ภาพบุหรงดอกทู่ (ขวา) พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ค้นพบ บุหรงช้างและบุหรงดอกทู่...พรรณไม้ในสกุลบุหรงชนิดใหม่ของโลก พร้อมต่อยอดงานวิจัยด้านขยายพันธุ์ และหาแนวทางการใช้ประโยชน์ทางเภสัชกรรม เพื่ออนุรักษ์พรรณไม้อย่างยั่งยืน  นายอนันต์ รุ่งพรทวีวัฒน์  รองผู้ว่าการกลุ่มพัฒนาธุรกิจและการตลาด วว. ชี้แจงว่า  ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น  ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ วว. ประสบความสำเร็จในการค้นพบและตั้งชื่อบุหรงชนิดใหม่ของโลก 2 ชนิด ได้แก่  บุหรงช้างและบุหรงดอกทู่  โดยพรรณไม้ทั้ง 2 ชนิด ได้มีการตรวจสอบการตั้งชื่อและนำไปตีพิมพ์รายงานในวารสาร Systematic Botany ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 หน้า 252-265 ประจำปี 2552 ทั้งนี้วารสารดังกล่าวเป็นวารสารการจำแนกพรรณไม้นานาชาติที่ออกในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยต้นแบบของตัวอย่างแห้ง (Type specimen) ของทั้งบุหรงช้างและบุหรงดอกทู่ได้มีการเก็บไว้ที่หอพรรณไม้ กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (BKF) นับเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น  ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ วว. ชี้แจงเพิ่มเติมว่า  บุหรงช้าง  มีชื่อวิทย