บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2016

รักษ์ป่า...รักษ์เห็ด 3 " เห็ดพิษที่สำคัญในประเทศไทย "

รูปภาพ
ภาพจาก http://nongkhainewsonline.blogspot.com ในทุก ๆ ปี เรามักจะได้ข่าวเกี่ยวกับการเจ็บป่วย หรืออาจถึงเสียชีวิตจากเห็ดพิษมาโดยตลอด ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากมีจำนวนชนิดของเห็ดอยู่ค่อนข้างมาก  อีกทั้งรูปร่างลักษณะที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน ดูผิวเผินแล้วแยกไม่ออกว่ามีพิษหรือไม่มีพิษ ดังนั้น ในฐานะของคนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้บริโภคจึงควรมีข้อมูลเชิงป้องกันเพื่อพิจารณาคัดเลือกสิ่งที่ปลอดภัยแก่ตนเองและคนใกล้ชิดได้ดีที่สุด เห็ดพิษที่สำคัญในประเทศไทย 1   2   3 4 5 6 7 8 9 วิธีสังเกตเห็ดพิษ เห็ด พิษใน ประเทศไทยมีอยู่หลายชนิด ทั้งที่มีพิษร้ายแรงที่สุดที่ทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ คือ เห็ดใน สกุลอะมานิตา (Amanita)   และเห็ดใน สกุลเฮลเวลลา (Helvella)   ส่วนเห็ดในสกุลอื่นๆ ไม่เป็นอันตรายมากนัก เพียงแต่ทำให้เกิดอาการมึนเมา สำหรับในประเทศไทยเห็ดอะมานิตาเป็นเห็ดมีพิษที่ควรระวังมากที่สุด     เห็ดที่ควรหลีกเลี่ยงไม่เก็บมากิน คือ   เห็ดที่มีสีน้ำตาล เห็ดที่มีปลอกหุ้มโคน เห็ดที่มีวงแหวน ใต้หมวก เห็ดที่มีโคนอวบใหญ่ เห็นที่มีป

รักษ์ป่า..รักษ์เห็ด 2

รูปภาพ
3 เห็ดที่ผู้เขียนต้องการเรียนรู้ ในช่วงที่การทดลองและเรียนรู้การเพาะเห็ดโคนต้องพักไว้ก่อน  สืบเนื่องจากสภาพอากาศทางภาคเหนือตอนล่างในช่วงนี้ยังมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็นอยู่อย่างต่อเนื่อง  ฉะนั้นจึงอยากเชิญชวนผู้ที่สนใจได้ร่วมกันเรียนรู้เกี่ยวกับเห็ดเผาะ และเห็ดตับเต่า  ซึ่งจะมีความน่าสนใจอย่างไรนั้น..ตามไปดูกันครับ รู้จักเห็ดเผาะ & เห็ดตับเต่า..พอสังเขป ชื่อ : เห็ดเผาะ ชื่อสามัญ : Barometer Earthstars ชื่อวิทยาศาตร์ : Astraeus hygrometricus(Pers.) Morgan ชื่ออื่น : เห็ดถอบ เห็ดเหียง เห็ดหนัง เห็ดดอกดิน เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ (Astraeus  hygrometricus(Pers.) Morgan) เป็นเห็ดเศรษฐกิจพื้นเมืองของไทยที่มีผู้นิยมบริโภคกันมากเนื่องจากมีเนื้อสัมผัสที่ดี ดอกเห็ดมีลักษณะกลม ขนาด1.5-4 ซม.ไม่มีก้านดอก ดอกอ่อนมีสีขาวหม่น(ราชบัณฑิตยสถาน, 2539) และกลายเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่  มักพบเห็ดชนิดนี้ในช่วงต้นฤดูฝนในป่าไม้วงศ์ไม้ยาง เช่น ยางนา เต็ง รัง และเหียง เป็นต้น โดยเป็น เห็ดเอคโตไมคอร์ไรซ่า ของพืชเหล่านี้  เส้นใยส่วนใหญ่ของเห็ดเผาะเจริญบริเวณรอบปลายรากพืช  ช่วยย่อยสลายอิ

รักษ์ป่า..รักษ์เห็ด 1

รูปภาพ
3 เห็ดที่ผู้เขียนสนใจที่จะเรียนรู้ สืบเนื่องจากการที่เคยนำเสนอเชิงเล่าสู่กันฟังไปแล้ว เรื่อง  รู้สึกอย่างไรกับการพบเห็ดเผาะในสวนของเราเอง   วันที่ 15 พ.ย. 58   ที่ผ่านมา    ทำให้ผู้เขียนเริ่มให้เวลาเกี่ยวกับเห็ดต่าง ๆ มากขึ้น และยิ่งได้สืบค้นข้อมูลความรู้ที่ถือเป็นสาระดี ๆ จากผู้รู้และมีประสบการณ์  ทำให้ตัดสินใจที่จะเรียนรู้ด้วยการทดลองปฏิบัติ  ภายใต้ภาพชีวิตที่อิงธรรมชาติ คือ  “ รักษ์ป่า ..รักษ์เห็ด..”   มีจุดเน้นสำคัญอยู่ด้วยกัน 3 เห็ด ได้แก่    เห็ดโคน    เห็ดเผาะ  และ เห็ดตับเต่า   สำหรับในช่วงแรก ๆ ขอเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับเห็ดโคนนะครับ แรงบรรดาลใจของผู้เขียนเกิดจากการศึกษาเอกสารชุดความรู้เบื้องต้นของ คุณจักรภฤต  บรรเจิดกิจ ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดพิจิตร  ที่ได้ศึกษาค้นคว้าจนประสบผลสำเร็จในเรื่องดังกล่าว  และข้อมูลเพิ่มเติมจากการเพาะเห็ด.com. ที่ทำให้เรารู้จักธรรมชาติของเห็ดโคน กล่าวคือ   เห็ดโคน หรือ เห็ดปลวก  เป็นเห็ดในสกุล Termitomyces อย่างเช่น Termitomyces Fuliginosus ซึ่งเห็ดโคนชนิดนี้ จะรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง และนิยมนำมารับประทานกันมากที่สุด จึงมีความต้องการใน