บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2017

การทำปุ๋ยหมักในบ้านจากใบไม้แบบไม่พลิกในตะกร้า เข่ง หรือวงตาข่าย

รูปภาพ
การทำปุ๋ยหมักในบ้านจากใบไม้แบบไม่พลิกในตะกร้า เข่ง หรือวงตาข่าย  เป็นวิธีที่จำลองและย่อส่วนมาจากการทำปุ๋ยหมักแบบกองแถวยาวไม่พลิกกลับกอง วิศวกรรมแม่โจ้ 1  ซึ่งเหมาะสำหรับบ้าน  สถานศึกษา (น.ร.จะได้เรียนรู้วิธีการผลิตและมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม)  หน่วยงาน  หรือส่วนราชการต่าง ๆ เป็นอย่างมาก   การทำปุ๋ยหมักในบ้านจากใบไม้แบบไม่พลิกในตะกร้า เข่ง หรือวงตาข่าย แบบนี้รับประกันว่าไม่มีกลิ่น  ไม่มีแมลงวัน  แต่อาจมีไส้เดือนมาร่วมด้วยบ้าง 1. วางใบไม้ 3 ส่วนหนา 5 ซม. โรยทับด้วยขี้วัว 1 ส่วน รดน้ำ ... วางอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนเต็มเข่งหรือตะกร้า ด้านบนเป็นขี้วัว ... ใครจะเอาอึน้องหมาน้องแมวซ่อนตามชั้นก็ได้ รับรองไม่มีกลิ่นครับ ... รวมทั้งเศษอาหารหรือเศษผัก 2. รดน้ำภายนอกบ่อย ๆ ถ้าไม่ลืม ... ทุก 10 วันเอาสายยางน้ำเสียบลงไป ระยะห่าง 10 ซม. ... ให้วางบนดินเพราะอาจมีน้ำซึมออกมาบ้าง 3. ครบ 2 เดือน แกะเอาใบไม้ด้านบนส่วนที่ไม่เปื่อยออก 4. คว่ำปุ๋ยหมักในเข่งหรือตะกร ้าออก 5. แกะใบไม้รอบ ๆ ที่ไม่เปื่อยออก ที่เหลือคือปุ๋ยหมักทั้งหมดครับ 6. ใบไม้จะเปลี่ยนสภา

ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกอง

รูปภาพ
สวัสดีครับ..พบกันครั้งนี้อยากชักชวนท่านที่เป็นเกษตรกร หรือผู้ที่สนใจอยากได้ปุ๋ยจากธรรมชาติ  โดยทดลองปฏิบัติตาม  "  การผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง ของมหาวิทยาลัยแม่โจ "    ที่สามารถทำในปริมาณมากหรือน้อยตามความต้องการนำไปใช้บำรุงดินและพืชให้มีความสมบูรณ์ เป็นการประหยัดรายจ่ายในครัวเรือน อีกทั้งยังมีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วยการไม่เผาทำลาย โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง+หน้าร้อน จะเป็นช่วงที่มีใบไม้แห้งล่วงหล่นให้เราเห็นจำนวนมาก หรือจะเป็นฟางข้าวจากการทำนา หรือเศษเปลือกจากการสีข้าวโพด เป็นต้น        ความจำเป็นของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์   ในการเพาะปลูกของเกษตรกร สิ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญที่สุดคือความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินจะได้มาจากการที่มีอินทรีย์วัตถุสะสมอยู่ในดินอยู่มาก จุลินทรีย์ดินจะใช้อินทรีย์วัตถุเป็นสารอาหารแล้วปลดปล่อยแร่ธาตุที่จำเป็นให้แก่พืชในปริมาณที่พืชต้องการอย่างเพียงพอ ซึ่งได้แก่ ธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน-N ฟอสฟอรัส-P2O5 และโพแทสเซียม-K2O) ธาตุอาหารรอง (ซัลเฟอร์ แคลเซียม และแมกนีเซียม) และจุลธาตุ (แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม เหล็ก คลอร

เกษตรกรปรับตัวด้วยการทำเฟอร์นิเจอร์ปูนปั้นลายไม้...สู้ภัยแล้ง

รูปภาพ
เกษตรกรในอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ไอเดียเจ๋ง ปั้นปูนเป็นเฟอร์นิเจอร์ลายไม้ เอาใจคนรักธรรมชาติ แบบไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า แถมสร้างรายได้งามในยามประสบปัญหาภัยแล้ง  เฟอร์นิเจอร์ลายไม้สวยๆ เหล่านี้ ไม่ได้ถูกตัดมาจากป่า แต่ทำจากปูนปั้น ที่ริเริ่มโดย นายนิติกร ปะจิราพัง  อายุ 43 ปี ชาวบ้านหมู่ 12 ต.วังแดง อ.ตรอน จากความชอบศิลปะเป็นการส่วนตัว และเล็งเห็นว่าต้นไม้ลดน้อยลงทุกที อีกทั้งยังมีปัญหาภัยแล้งและราคาข้าวก็ตกต่ำ จึงได้หันมาทำอาชีพปั้นปูนลายไม้ ทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้ง ชุดโต๊ะ เก้าอี้ กระถางต้นไม้ พื้นปูถนน โดยทำมา 5 ปีแล้ว ทำให้มีรายได้เพิ่มเป็นหลักหมื่นบาทต่อเดือน วิธีการทำว่า มี 7 ขั้นตอน คือ 1.เตรียมโครงลวดชิ้นงานเพื่อเป็นที่ยึดปูนตามขนาดที่ต้องการ 2.ผสมปูนอัตราส่วน ทรายละเอียด 2 ส่วน ต่อปูน 1 ส่วน 3.เทปูนที่ผสมแล้วเพื่อเป็นพื้นกระถาง แล้วรอให้แห้ง 4.ใส่ทรายในชิ้นงานเพื่อจะได้ขึ้นรูปได้สะดวก 5.ฉาบปูนตามโครงลวด หนาประมาณ 1 เซนติเมตร 6.ฉาบปูนชั้นที่ 2 อัตราส่วน ทรายละเอียด 1 ส่วน ต่อปูน 1 ส่วน และขั้นตอนสุดท้าย ทำลายไม้ เปลือกไม้ ตามแบบ

เตาเผาถ่านแกลบมหัศจรรย์ สำหรับใช้ผลิต กุนตัง (Kuntan) ในระดับครัวเรือน

รูปภาพ
ตอนที่แล้ว  เราได้แนะนำเกี่ยวกับ  "ถ่านแกลบ"  เพื่อช่วยปรับปรุงดินไปแล้ว ซึ่งยังไม่สมบูรณ์พอ มาครั้งนี้จึงขอนำเสนอต่อเป็นภาค 2 หรือ ภาคปฏิบัติก็แล้วกัน   "กุนตัง" (Kuntan)   เป็นภาษาญี่ปุ่น ใช้เรียก "ถ่านแกลบ" ที่ได้จากการเผาแกลบที่อุณหภูมิสูง (ประมาณ 400 องศาเซลเซียส) คาร์บอนในแกลบจึงยังอยู่ใน "กุนตัง" แตกต่างจาก "แกลบดำ" (ขี้เถ้าแกลบ) ตามโรงสีข้าว เพราะแกลบถูกเผาที่อุณหภูมิสูงกว่ามาก (ประมาณ 800-900 องศาเซลเซียส) ทำให้คาร์บอนเปลี่ยนสภาพไปเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกสู่บรรยากาศ  สร้างปัญหาภาวะโลกร้อนตามมา   เกษตรกรในประเทศญี่ปุ่นใช้ "กุนตัง" เป็นวัสดุปรับปรุงดินมานานกว่า 300 ปี "กุนตัง" มีรูพรุนจำนวนมาก ทนทานต่อการย่อยสลาย ถ้าใส่ลงดินในอัตราร้อยละ 20 โดยปริมาตร หรือร้อยละ 2 โดยน้ำหนัก ดินเหนียวจะโปร่ง ร่วนซุย ระบายน้ำและ ถ่ายเทอากาศได้ดี ขณะที่ดินทรายจะอุ้มน้ำได้ดีขึ้น นอกจากนี้ "กุนตัง" ยังให้ธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะ "พี" "เค" และ "ซิลิก้า" เป็นที่อยู่อาศัยของจุลิ

ใช้ถ่านแกลบปรับปรุงดิน ในยุคปุ๋ยแพงช่วยลดโลกร้อน...เทคโนโลยีจากญี่ปุ่น

รูปภาพ
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ http://www.banrainarao.com ที่ได้นำเสนอเรื่องของการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของเกษตรกรไทยทุกคน  เพราะผลผลิตที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ต้องอาศัยแหล่งดินที่ดีมีคุณภาพด้วยกันทั้งสิ้น การใช้ประโยชน์จากดินโดยไม่บำรุงรักษานับเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น เราจึงอยากเชิญชวนให้เกษตรกรทุกท่านได้เรียนรู้และทดลองใช้    "ถ่านแกลบ"  วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ที่วันนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ ถ่านแกลบธรรมดาๆ แต่กลาย เป็นวัสดุปลูกชั้นเยี่ยม   แถมยังช่วยลดภาวะโลกร้อน   ซึ่งเป็นข้อมูลที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.K.Kyuma แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น  ได้แนะนำและสาธิตกระบวนการผลิต พร้อมทั้งวิธีการใช้ให้กลุ่มเกษตรกรไทยด้วยตัวเอง เป็นวิธีการง่ายๆ ที่ชาวนาและเกษตรกรทุกคนสามารถทำได้    ดินแหล่งกักคาร์บอนชั้นเยี่ยม ความสำคัญของดินที่เป็นแหล่งสะสมคาร์บอน ได้มีผู้คาดคะเนว่าในดินลึก 1 เมตร มีคาร์บอนในรูปของอินทรียวัตถุ ประมาณ 1.5 ล้านล้านตัน ซึ่งเท่ากับ 2 เท่า ของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ หรือ 3 เท่าขององค์ประกอบของพืช  และมากกว่าปริมาณที่ละลายในผิวน้ำมห