พระปรางค์บรรจุอัฐิของพระยาพิชัยดาบหัก



7 เมษายน พ.ศ. 2325 ที่ผ่านมาในอดีตเป็นวันที่ "พระยาพิชัยดาบหัก" ถูกประหารชีวิต เมื่อสิ้นแผ่นดินพระเจ้าตากสิน สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตั้งกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวง พระยาพิชัยดาบหักทูลขอถวายความกตัญญู ความจงรักภักดี และถวายชีวิตเป็นราชพลีตามสมเด็จพระเจ้าตากสิน เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2325 สิริอายุรวมได้ 41 ปี  ปัจจุบันพระปรางค์บรรจุอัฐิของท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก อยู่ที่วัดราชคฤห์วรวิหาร แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

  

"วัดราชคฤห์วรวิหาร" ในกรุงเทพมหานคร  มีบันทึกภายในวัด ที่กล่าวว่า "อัฐิของพระยาพิชัยบรรจุไว้ที่นี่" . "วัดราชคฤห์วรวิหาร" (หรือวัดมอญ) ตั้งอยู่ในแขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

  
   

ตามประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ.2325  หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถูกสำเร็จโทษ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เล็งเห็นว่าพระยาพิชัยเป็นขุนนางคู่พระทัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่มีฝีมือและมีความซื่อสัตย์ จึงชวนพระยาพิชัยเข้ารับราชการในแผ่นดินใหม่ แต่พระยาพิชัยไม่ขอรับตำแหน่ง ด้วยท่านเป็นคนจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และถือคติว่า "ข้าสองเจ้า บ่าวสองนายมิดี" จึงขอให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก สำเร็จโทษตนเป็นการถวายชีวิตตายตามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 

   

หลังจากท่านได้ถูกสำเร็จโทษแล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษก เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เฉลิมพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ได้มีรับสั่งให้สร้างพระปรางค์ นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ ณ วัดราชคฤห์วรวิหาร ซึ่งพระปรางค์นี้ก็ยังปรากฎสืบมาจนปัจจุบัน

  

ด้านหลังมีพระอุโบสถเดิมของวัด ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นพระวิหาร สร้างโดย พระยาพิชัยดาบหัก เรียกกันว่า โบสถ์พิชัยดาบหัก ก่ออิฐถือปูนเป็นผนังโดยรอบ รับขื่อเครื่องบน ไม่มีเสา มุงกระเบื้อง มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันสลักไม้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณของวัด ต่อมารัชกาลที่ 1 ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า วัดราชคฤห์ และได้รับการปฏิสังขรณ์ และดัดแปลงในสมัยรัชกาลที่ 3

   
  

และเพื่อเป็นการรำลึก และสดุดีวีรกรรมท่านพระยาพิชัยดาบหัก  จึงขออนุญาตนำเพลงหนึ่งชื่อ “วีรชนพระยาพิชัยดาบหัก” ซึ่งคนในจังหวัดอุตรดิตถ์ และใกล้เคียงรู้จักกันดี  มานำเสนอปิดท้ายสำหรับครั้งนี้ 




ผู้ขับร้องและบันทึกเสียงเพลงนี้ คือ คุณพี่สุคนธ์ มณฑา หรือ เพชรโยธิน ปัจจุบันล่วงลับไปแล้ว ส่วนผู้แต่งคือ นายสมยิ่ง คล้ายบุญส่ง ปัจจุบัน ยังมีชีวิตอยู่ครับ




ขอบคุณ  :  1. FB อุตรดิตถ์ 24 ชั่วโมง 
                 2. FB สมยิ่ง  คล้ายบุญส่ง
                 3. https://www.youtube.com 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์