' รู้เท่า..รู้ทัน !! ทีวีดิจิตอล '

ทีวีดิจิตอล คืออะไร รู้กันยัง?  

 อีกไม่นานระบบการออกอากาศโทรทัศน์ในประเทศไทย ก็กำลังจะเปลี่ยนจากระบบอนาล็อกไปเป็นดิจิตอลกันแล้ว ซึ่งก็จะทำให้เราได้รับชมทีวีที่มีสัญญาณภาพและเสียงคมชัดขึ้น ไม่มีสัญญาณรบกวนและมีช่องฟรีทีวีให้ดูมากขึ้นอีกด้วย แต่ก็ยังมีคำถามอยู่ว่าระบบดิจิตอลกับระบบดาวเทียมที่เราใช้ดูช่องเคเบิ้ลทีวีต่างๆในปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร เรามีคำตอบมาฝาก

การติดตั้ง  

ทีวีดาวเทียมนั้นต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก ยิ่งถ้าเป็นจานดำ (c-band) จะยิ่งมีขนาดหน้าจานใหญ่ และจุดติดตั้งต้องสามารถหันไปในทิศที่ท้องฟ้าเปิดของดาวเทียมที่ต้องการรับ แต่ทีวีดิจิตอล สามารถใช้เสาอากาศก้างปลาแบบ UHF เดิมที่มีอยู่ หรือติดตั้งใหม่ได้เลย โดยจะมีให้เลือกหลายรูปแบบหลายขนาดตามความเหมาะสม ซึ่งบางจุดอาจใช้เพียงเสาอากาศภายนอกขนาดกะทัดรัดติดตั้งริมหน้าต่างหรือระเบียง

รูปแบบการรับชม

โดยทั่วไปทีวีดาวเทียมสามารถรับชมได้เฉพาะจุด เช่นติดตั้งที่บ้าน ก็ดูได้เพียงภายในบ้าน ส่วนการติดตั้งในรถยังมีราคาสูง และต้องอยู่ในพื้นที่เปิดโล่ง ฝนไม่ตกจึงจะรับชมได้ แต่ทีวีดิจิตอล มีหลายรูปแบบในการรับชม เช่น รับชมเฉพาะจุดภายในอาคาร จากอุปกรณ์พกพาโน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ตหรือรับชมภายในรถ
  
พื้นที่ให้บริการ

สามารถให้บริการในพื้นที่กว้างและพื้นที่ห่างไกลเช่น ดาวเทียมไทยคม 5 c-band ครอบคลุมพื้นที่หลายประเทศในภูมิภาค แต่ทั้งนี้ขอบเขตพื้นที่การให้บริการของดาวเทียมอาจมีปัญหาในด้านลิขสิทธิ์การออกอากาศ เช่น ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอล ซึ่งทีวีดิจิตอลสามารถควบคุมพื้นที่การให้บริการได้ดีกว่า มีช่องรายการที่แพร่ภาพได้ทั่วประเทศ หรือช่องรายการที่แพร่ภาพเฉพาะภูมิภาคหรือบางพื้นที่ได้ เช่นทีวีภูมิภาค ทีวีชุมชน เป็นต้น หรือเพื่อรองรับในด้านความมั่นคง หรือการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติภัย ที่สามารถเลือกแจ้งเตือนเฉพาะพื้นที่ได้

คุณภาพและความเสถียรของสัญญาณ
การรับสัญญาณดาวเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ KU Band มักมีปัญหาไม่สามารถรับชมได้ในกรณีที่มีเมฆครึ้มมาก หรือฝนตกหนัก นอกจากนี้สัญญาณอาจถูกบล็อกจากสิ่งกีดขวางที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น ต้นไมบัง , มีตึกสูงบัง เป็นต้น แต่ทีวีดิจิตอลมีความเสถียรของสัญญาณมากกว่า สามารถปรับแต่งเพิ่มกำลังส่ง หรือเพิ่มสถานีส่งย่อย หรือเพิ่ม Gap Filler ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขยายสัญญาณสำหรับพื้นที่อับสัญญาณได้ เช่น มุมอับสัญญาณเนื่องจากตึกสูงหนาแน่นในตัวเมือง เป็นต้น

แผนการกระจายสัญญาณทีวิดิจิตอล 

แผนการกระจายสัญญาณทีวิดิจิตอล
                     

แผนการกระจายสัญญาณระบบทีวิดิจิตอล

หลังจากที่การประมูลขอรับใบอนุญาตการส่งสัญญาณทีวีระบบดิจิตอลผ่านพ้นไปแล้ว คาดว่าประมาณปลายเดือนมกราคมนี้จะมีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ และตามข้อกำหนดแล้วจะมีการเริ่มออกอากาศทีวีระบบดิจิตอลกันอย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี 2557 นี้ โดยจะเริ่มจากในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลก่อน ซึ่งปัจจุบันนั้นอยู่ในระหว่างการทดลองออกอากาศ
สำหรับประชาชนที่อยู่ต่างจังหวัดก็ไม่ต้องกังวลใจกันนะครับ เพราะระบบเครือข่ายการถ่ายทอดสัญญาณนั้นเป็นของผู้ให้บริการจำนวน 4 รายที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งก็คือ ไทยพีบีเอส กรมประชาสัมพันธ์ กองทัพบก และ อสมท. ที่ปัจจุบันก็มีเครือข่ายการถ่ายทอดสัญญาณระบบอนาลอกเป็นของตัวเองอยู่แล้ว การปรับเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอลก็คงจะไม่มีความยุ่งยากแต่อย่างใด เพราะมีระบบโครงข่ายเดิมพร้อมระบบบริหารจัดการอยู่แล้ว
ตามข้อกำหนดของ กสทช. นั้นการกระจายสัญญาณทั่วประเทศจะมีแผนดังนี้คือ
ปีที่ 1 พื้นที่กระจายสัญญาณครอบคลุม 50%
ปีที่ 2 พื้นที่กระจายสัญญาณครอบคลุม 80%
ปีที่ 3 พื้นที่กระจายสัญญาณครอบคลุม 90%
ปีที่ 4 พื้นที่กระจายสัญญาณครอบคลุม 95%
โดยประมาณการว่าจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมดมีอยู่ด้วยกัน 22 ล้านครัวเรือน
ตัวเลขด้านบนจะเป็นการบอกถึงการครอบคลุมสัญญาณอย่างคร่าวๆ แต่ท่านอาจจะต้องการรู้ว่าจังหวัดของท่านจะได้ดูทีวีดิจิตอล พร้อมการส่งสัญญาณความคมชัดสูงระบบ HD นั้นจะมาเมื่อใดก็ไม่ต้องกังวลใจนะครับ กำหนดการคร่าวๆ รายจังหวัดก็จะเป็นไปตามด้านล่างนะครับ
ปี 2556 พ.ย. ธ.ค  ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด  กทม. นครราชสีมา   เชียงใหม่   สงขลา อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี ระยอง นครศรีธรรมราช
ปี 2557 ม.ค มี.ค ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด สุโขทัย ขอนแก่น อุดรธานี เชียงราย สระแก้ว นครสวรรค์
ปี 2557 มี.ค พ.ค. ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด สิงห์บุรี ภูเก็ต ตรัง ลำปาง สกลนคร ร้อยเอ็ด
ปี 2557 มิ.ย พ.ย. ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด สุรินทร์ น่าน ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี ชุมพร ตราด
ปี 2557 พ.ย. – 2558 ก.พ. ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด มุกดาหาร ตาก แม่ฮ่องสอน ระนอง เลย ชัยภูมิ
ปี 2558 มี.ค. พ.ค. ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด เพชรบูรณ์ สตูล แพร่ บึงกาฬ ศรีสะเกษ ยะลา

*** จากการทดลองล่าสุด วันที่ 3 มิถุนายน  2556  พบว่า   เสาส่งดิจิตอลทีวี ซึ่งอยู่ที่ตึกใบหยกสอง  มีรัศมีการส่งสัญญาณ 100 กม.  แต่ห่างจากใบหยกประมาณ 110 กม. ก็ยังสามารถรับสัญญาณได้ดี**

                 1 เมษายน 57 ทีวีดิจิตอลเริ่มออกอากาศ
                              
                              
                             

1 เมษายน 57 ทีวีดิจิตอลเริ่มออกอากาศ

หลังจากได้มีการประมูลทีวีดิจิตอลเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา ทาง กสทช. ก็ได้ออกมารับรองผลการประมูลทีวีดิจิตอลเรียบร้อยแล้ว จากการประชุมบอร์ดครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา
ขั้นตอนต่อจากนี้ก็จะเป็นการนำผลการรับรองดังกล่าวไปประกาศไว้บนเว็บไซท์ของ กสทช. และส่งหนังสืออย่างเป็นทางการแจ้งไปยังผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลทั้ง 24 รายต่อไป โดยหลังจากผู้ประกอบการได้รับหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการแล้ว 30 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือ จะต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตงวดแรกจำนวน 50% ของราคาขั้นต้น พร้อมชำระอีก 10% ของราคาที่เกินมาจากราคาตั้งต้นในการการประมูล โดยเงินรายได้ทั้งหมดจะนำเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะต่อไป
นอกจากนี้แล้วการรับรองการประมูลในวันนี้ถือเป็นการสิ้นสุด Silent Period ตามประกาศของ กสทช. ตามที่ได้เป็นข้อกำหนดเมื่อก่อนหน้านี้
ส่วนแผนการดำเนินการติดตั้งและกำหนดการให้บริการสถานีวิทยุคมนาคมสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลในปีแรก จะมีจำนวน 11 จังหวัดโดยกำหนดให้บริการตามลำดับดังนี้
1 เมษายน 2557         กรุงเทพฯ   นครราชสีมา   เชียงใหม่   สงขลา
1 พฤษภาคม 2557      อุบลราชธานี   สุราษฏร์ธานี   ระยอง
1 มิถุนายน 2557         สิงห์บุรี   สุโขทัย   ขอนแก่น   อุดรธานี
รวม 11 จังหวัดจะครอบคลุมประมาณ 10 ล้านครัวเรือน ซึ่งถือว่ามากกว่า 50% ตามประกาศ กสทช. ที่กำหนดไว้ให้ผู้ประกอบการโครงข่ายจะต้องติดตั้งสถานีให้ครอบคลุมพื้นที่ 50% ทั่วประเทศในปีแรก
ในขณะที่ความคืบหน้าในการช่วยเหลือประชาชนในการเปลี่ยนผ่านระบบการรับชมโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล ด้วยการแจกคูปองเงินสดให้กับครัวเรือนจำนวน 22 ล้านครัวเรือนเพื่อให้ประชาชนนำไปเลือกซื้ออุปกรณ์รับชมทีวีในระบบดิจิตอล ทั้งกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล หรือทีวีเครื่องที่สามารถจูนเนอร์สัญญาณทีวีดิจิตอลได้ในมูลค่า 690 บาท แต่ทั้งนี้หากราคากล่องไม่ลดลงจริง บอร์ดอาจมีการพิจารณาถึงราคาคูปองที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่งก็เป็นได้ โดยคาดว่าการแจกคูปองช่วยเหลือดังกล่าวจะสามารถเริ่มแจกได้ประมาณเดือน เม.ย. 2557 ที่จะถึงนี้
ก็ถือเป็นข่าวดีสำหรับท่านที่อาศัยอยู่ในจังหวัดใหญ่ๆ ที่จะได้รับชมทีวีดิจิตอลก่อนใคร ส่วนท่านที่อยู่ในจังหวัดเล็กๆ ก็คงรอกันอีกไม่นานแล้วนะครับ

รู้ทันการตลาด ยุคดิจิตอลทีวี ผู้บริโภคจะโดนตบตา


                             รู้ทันการตลาด ยุคดิจิตอลทีวี ผู้บริโภคจะโดนตบตา         


เมื่อการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลทีวีใกล้จะมาถึง ทุกหน่วยงานทุกภาคส่วนรวมถึงภาคประชาชนอย่างเราๆก็หันมาตื่นตัวกันมากขึ้น ยิ่งได้ฟังข้อมูลข่าวสารว่าโทรทัศน์สมัยใหม่แบบดิจิตอลรับชมช่องทีวีดิจิตอลได้โดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์เสริม อาจจะยิ่งตื่นตูมตามืดตามัวโดนพ่อค้าโทรทัศน์หัวใสทั้งหลายแหล่ วางแผนการตลาดหลอกให้ซื้อโทรทัศน์รุ่นเก่าธรรมดาอนาล็อก สุดท้ายก็ต้องซื้ออุปกรณ์เสริมมานั่งหน้าเซ็ง ที่ต้องเสียเงินซื้อทั้งโทรทัศน์ใหม่(แต่ระบบเก่า) แถมยังต้องซื้ออุปกรณ์แปลงสัญญาณมาอีก


เนื่องมาจากว่ามีข่าวคราวของโทรทัศน์ยี่ห้อหนึ่งไม่ขอเอยนาม แต่ไปหาอ่านได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ดันเขียนโฆษณาตัวใหญ่เท่าบ้านว่า รับสัญญาณดิจิตอลได้ นั้นหมายถึงว่า โทรทัศน์ยี่ห้อนี้ต้องเป็นระบบดิจิตอลในตัว แต่แต๊แต่ หากเลื่อนสายตาลงมาข้างล่างอีกสักนิ๊ดดดนึงจะเห็นดอกจันตัวเท่ามดเขียนเอาไว้ว่า เมื่อต่อกับกล่อง DVB-T2 SetTopBox” นั้นหมายถึง ว่ามันไม่ใช่ดิจิตอลทีวี!  แต่มันคือโทรทัศน์บ้านๆที่รับสัญญาณแบบอนาล็อก ช่างเป็นการตลาดที่หลอกผู้บริโภคได้อย่างเนียนๆ แม้ในทางการตลาดแล้วการเขียนโฆษณาแบบนี้จะไม่ผิดในฐานหลอกลวง แต่มันดูเหมือนเป็นการโฆษณาที่ขัดหูขัดตา อยากเดินไปบอกให้เอาดอกจันตัวเท่ามดข้างล่างมาเขียนให้มันใหญ่ขึ้นอีกสักหน่อย เพราะเกรงว่าคนสาย ม.คตาสั้นจะมองไม่เห็นหรือมองไม่ทัน ดันตกลงซื้อไปนั่งเน่าอยู่ที่บ้านเรียบร้อย

ตอนนี้ผู้บริโภคอย่างเราๆก็อาจจะต้องละเอียดถี่ถ้วนในการเลือกซื้อโทรทัศน์กรณีที่เป็นทีวีดิจิตอลจริงๆ ไม่ใช่พวกหลอกขายแบบนี้ แต่สิ่งหนึ่งเราสามารถมั่นใจได้ว่าเป็นดิจิตอลทีวีก็คือจะมีสติกเกอร์รับรองจาก กสทช.โดยตรงแปะไว้ให้ได้มั่นใจ 100% ว่าไม่ต้องไปดิ้นรนหาซื้อตัว set top box เพิ่มอีก แต่สงสัยเราก็คงต้องเห็นใจเหล่าแบรนด์โทรทัศน์เหล่านี้เพราะเมื่อโทรทัศน์ระบบดิจิตอลเข้าสู่ตลาดแล้ว โทรทัศน์รุ่นเก่าๆจะตกรุ่น ลดราคากันฮวบจัดโปรโมชั่นกับอย่างมโหฬารบานตะไท แต่ในตอนนี้หากใครจะออกไปจับจองโทรทัศน์ดิจิตอลละก็ต้องดูให้ดีๆก่อนจะกลับบ้านด้วยรอยเยิ้มของน้ำตาแทนที่จะเป็นรอยยิ้มอิ่มสุข

ช่องทางรับทีวีดิจิตอล                                                               
นอกจากนั้น  บทความทีวีบันเทิงของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับบวันที่ 9  มกราคม  2557  ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการรับชมทีวีดิจตอลที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนหน้านี้ด้วยกัน  4  หัวข้อ ตามลำดับ คือ

1. ท่านที่ติดจานดาวเทียมอยู่แล้วทุกยี่ห้อ ทุกระบบ  ท่านจะสามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ทันที เมื่อเขาเริ่มออกอากาศ  หากแต่จะมีการจัดเรียงเลขช่องกันใหม่ และกล่องเข้ารหัสดาวเทียมทุกกล่อง ทุกยี่ห้อ จะรับชมกีฬาได้ปกติ ไม่เจอปัญหาจอดำตามกฎ กสทช.

2. การรับชมทีวีดิจิตอล สามารถรับชมผ่านเสาก้างปลา หรือหนวดกุ้งได้ แต่ต้องมีกล่องดิจิตอล  ดังนั้น ทีวีเครื่องเดิมที่ทุกๆบ้านมีอยู่แล้ว (ที่สามารถต่อเล่นวีดิโอ มีช่อง AV  ช่องสายแดง  เหลือง ขาว) สามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้  ไม่ต้องซื้อทีวีใหม่  ท่านเพียงแต่ต้องหาซื้อกล่องดิจิตอลมาต่อ  หรือท่านสามารถซื้อทีวีใหม่ที่มีดิจิตอลจูนเนอร์ฝังอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องใช้กล่อง  "แต่ไม่แนะนำ เพราะหากดิจิตอลจูนเนอร์เสีย ทีวีท่านจะใช้ชมอะไรไม่ได้...ถ้าท่านใช้กล่อง หากกล่องเสียท่านแค่เปลี่ยนกล่อง"  ท่านสามารถรอการแจกคูปองส่วนลดการแลกซื้อกล่องดิจิตอลจูนเนอร์ จาก กสทช. ได้เร็ว ๆ นี้

3. การรับชมผ่านเสาก้างปลา หรือหนวดกุ้งนั้น ท่านต้องคอยเช็คว่าจังหวัดที่ท่านอยู่รับชมได้เมื่อไหร่ มิเช่นนั้นท่านจะยังรับชมไม่ได้ เพราะจะใช้เวลากระจายเสา 2-4 ปี  ดังนั้น หากท่านรีบ ขอแนะนำให้ติดจานดาวเทียมก่อน จะรับชมได้ครบทุกช่องในทันที 

4. หากทีวีท่านมีช่อง HDMI ท่านจะสามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ครบทุกช่องอยู่ดดี ไม่ว่าจะเป็นช่องประเภทใดก็ตาม เพราะทีวีดิจิตอลชัดอยู่แล้ว " ลักษณะเหมือนท่านดูแผ่น DVD ชัด ๆ ได้...แต่ดูแบบ HD หรือ Blue - Ray ไม่ได้ " 


ขอบคุณ :  1)  http://ch3.sanook.com                                                                         2)  http://www.thaidigitaltelevision.com 
            3)  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 9 ม.ค. 57

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์