พม่า : เพื่อนบ้านที่กำลังเปลี่ยนแปลงท่ามกลางความขัดแย้ง

'ผ้าโสร่ง' และ 'ทานาคา' โลกแฟชั่นของพม่่ากับกระแสความเปลี่ยนแปลง

ชาวพม่ากำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงในหลายด้­านหลังการเปิดประเทศโดยเฉพาะการได้สัมผัสว­ัฒนธรรมแปลกใหม่จากโลกตะวันตกมากขึ้น เรื่องราวการสะท้อนการปรับตัวด้านแฟชั่นผ่­านการนุ่ง ‘ผ้าโสร่ง’ และ การใช้แป้งทาผิว ‘ทานาคา’ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญของชาวพม่ามาตลอดกั­บคำถามว่าชาวพม่ารับมือกับกระแสตะวันตกกัน­อย่างไร 

หนึ่งในเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของผู้หญิงชาวพม่าที่แทบจะขาดไม่ได้ คือ การทาแก้มและใบหน้าด้วยผงแป้งผสมน้ำสีขาวเหลือง ที่เรียกว่า ทานาคาไม่เว้นแม้แต่หนุ่มๆ ชาวพม่าบางคนที่ในบางครั้งก็เลือกใช้เครื่องประทินผิวที่ทำมาจากรากไม้ชนิดนี้เช่นกัน  

ชาวพม่าสืบทอดทอดภูมิปัญญาในเรื่อง ทานาคา มานับพันปี โดยเชื่อว่ามีความสะอาดปลอดภัย มีคุณสมบัติควบคุมสิวและรักษาบาดแผลบนใบหน้า  

อายี ทานดาร์ อ่อง แม่ค้าแผงลอยชาวพม่า บอกว่า ทานาคาทำให้ผิวหน้าของเธอเย็นชุ่มชื่นเสมอแม้ในสภาวะอากาศที่ร้อนท่ามกลางแดดแรง พ่อแม่ของเธอก็ใช้ทานาคาทาหน้าให้เธอมาตั้งแจ่เธอลืมตาดูโลก และจนถึงตอนนี้เธอก็ยังไม่เคยแต่งหน้าด้วยเครื่องสำอางอื่นๆ หรือแม้แต่โลชั่นทาผิว 
แม้ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทานาคาสำเร็จรูปจะมีให้เลือกซื้อหาได้ตามใจ แต่สาวชาวพม่าไม่น้อยก็อยากจะทำทานาคามาใช้เอง   

คา เย พนักงานขายเครื่องสำอางในห้างกลางกรุงย่างกุ้ง บอกว่า แม้วัยรุ่นชาวพม่าส่วนใหญ่จะเริ่มแต่งหน้ากันมากขึ้นแต่พวกเขาก็ยังมีทานาคามาปรับใช้เป็นส่วนประกอบ เธอบอกด้วยว่า ที่จริงงานของเธอจำเป็นต้องแต่งหน้าเพื่อให้ดูสะดุดตา แต่บางวันหากไม่สะดวกเหมือนเช่นวันที่เธอมาทำงานวันนี้ ทานาคาก็เป็นทางออกของเธอได้เสมอ 

ขณะที่ เมย์ เมียว วาโซ นักออกแบบเสื้อผ้าชาวพม่า บอกว่า ทานาคาคือความโดดเด่นที่ลงตัวของชาวพม่า เพราะว่าคุณสมบัติของการทำให้ผิวเย็นชุ่มชื่นอยู่เสมอ เธอบอกด้วยว่า แม้เธอจะแต่งคิ้วทาปากบ้างในตอนทำงาน แต่ยามเธออยู่ที่บ้านแล้ว ทานาคาคือคำตอบสุดท้าย

ขณะที่เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวพม่าอีกอย่าง คือ การนุ่งผ้าโสร่ง หรือ ที่เรียกว่า ลองจี่ เครื่องนุ่งห่มยอดนิยมของชายชาวพม่า ที่เรียกว่าเห็นปุ๊บก็ทราบได้เลยว่ามาจากประเทศพม่า
ผ้าโสร่งคลุมยาว ที่มีประวัติสืบทอดมาจากอินเดียตอนใต้ ตั้งแต่ยุคอาณานิคมอังกฤษ ยังคงได้รับความนิยมจากหนุ่มๆ ชาวพม่า แม้ว่ากางเกงยีนส์จะกลายเป็นทางเลือกที่ท้าทายการแต่งกายของหนุ่มๆ ชาวพม่ามาพักใหญ่แล้วก็ตาม

อ่อง ซิน พนักงานขายกางเกงยีนส์นำเข้าจากจีนที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง บอกว่า พวกเขายังคงนุ่ง โสร่ง หรือ ลองจี่ ในโอกาสต่างๆ เสมอ เช่น ใช้นุ่งตอนเข้าวัดเป็นต้น และเขาเชื่อว่า ลองจี่จะยังคงเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตชาวพม่าอย่างแน่นอน

เช่นเดียวกับ มอง มอง คนขายโสร่ง ในห้างเดียวกัน บอกว่า ความนิยมในกางเกงยีนส์เพิ่มขึ้นมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จนทำให้เขาเคยกังวลว่าการนุ่งโสร่งจะสูญหายไป แต่จนถึงขณะนี้ เขาพบว่า ลองจี่ หรือโสร่ง แบบดั้งเดิมของชาวพม่านั้น ยังคงได้รับความนิยมอยู่เสมอ 

ด้านคุณ เมย์ เมียว วาโซ นักออกแบบเสื้อผ้าชาวพม่า บอกว่าในสายตาของนักออกแบบและหญิงชาวพม่าอย่างเธอนั้น ชอบที่จะเห็นหนุ่มๆ นุ่งโสร่งและสวมเสื้อเชิร์ตมากกว่า แต่เธอก็ยอมรับว่าในโสร่งหรือ ลองจี่นั้น อาจไม่เหมาะที่จะสวมในทุกโอกาสในสังคมปัจจุบัน

ชาวพม่าจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าแม้หนุ่มสาวชาวพม่าจะมีทางเลือกในแฟชั่นใหม่ๆ มากขึ้นจากวัฒนธรรมโลกตะวันตกที่กำลังหลั่งไหลเข้าสู่พม่า แต่จนถึงทุกวันนี้ ก็แสดงให้เห็นว่าพวกเขาก็จะมีแนวทางของตัวเองที่จะหาจุดลงตัวระหว่างการรับเอาแฟชั่นใหม่ๆ และการรักษามรดกที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของชาวพม่าเอาไว้ได้อย่างน่าทึ่ง

  


เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไทย-พม่า ความหวังสันติภาพบนดินแดนความขัดแย้ง

บรรยากาศการค้าชายแดนไทยและพม่าด้านอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่กำลังคึกคักจากแผนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ สร้างแรงจูงใจด้านลงทุนและทำธุรกิจ กลายเป็นความหวังที่จะช่วยปรับเปลี่ยนดินแดนที่เคยเป็นเขตความขัดแย้งกับชนกลุ่มน้อยในพม่าให้ก้าวไปสู่สันติภาพมากขึ้น  

จุดส่งสินค้าข้ามแดนริมแม่น้ำเมย ชายแดนไทย-พม่าด้านอำเภอแม่สอด จังหวัดตากคึกคักด้วยการขนถ่ายสินค้านานาชนิดเกือบทุกวัน 

นักเศรษฐศาสตร์ประมาณการณ์ว่าการค้าชายแดนด้านนี้มีมูลค่ารวมกันมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท เมื่อปีที่ผ่านมา 

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไทย-พม่า ความหวังสันติภาพบนดินแดนความขัดแย้ง 
นอกจากนี้หากสะพานข้ามแดนไทย-พม่าแห่งที่ 2 ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้างแล้วเสร็จก็จะสามารถรองรับรถบรรทุกขนาดใหญ่เพื่อขนส่งสินค้าได้มากขึ้นและคาดว่ามูลค่าการค้าจะเพิ่มมากขึ้นอีกกว่าเท่าตัว 

แม้เศรษฐกิจโดยรวมของไทยในปีก่อนจะได้รับผลกระทบทางการเมือง แต่รัฐบาลชุดปัจจุบันก็ยังคงมุ่งกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยโครงการพัฒนา และการจัดเขตการค้าเสรีเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนให้มากขึ้น  

พล.ต. นพพร เรือนจันทร์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4  ในฐานะตัวแทนของทางการไทย เชื่อว่า การเสริมเม็ดเงินลงทุนและการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยในพื้นที่กับกองทัพพม่าที่มีมายาวนานจนกลายเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้เกิดสันติภาพอย่างถาวรได้

มาตรการกระตุ้นด้านภาษีและความสะดวกในการให้ใบอนุญาตทำงานของไทยมีส่วนสร้างแรงจูงใจต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะงานมหกรรมแสดงสินค้าที่มีนักธุรกิจชนกลุ่มน้อยจากรัฐกระเหรี่ยงให้ความสนใจไม่น้อย 

ซอ ทิน เลขาธิการหอการค้ารัฐกระเหรี่ยง ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าววีโอเอ ว่า ความสำเร็จของการสร้างสันติภาพขณะนี้ ทำให้ในพื้นที่เริ่มมีการพัฒนาเกิดขึ้น มีทรัพยากรมนุษย์และธรรมชาติที่เพียงพอ จึงทำให้พวกเขาพยายามเร่งพัฒนารัฐกระเหรี่ยงให้ก้าวไปข้างหน้ามากขึ้น 

แต่ดูเหมือนว่าไม่ใช่ชาวกระเหรี่ยงทุกคนที่คิดเช่นนั้น อย่างน้อยชาวกระเหรี่ยงในค่ายอพยพ 9 แห่ง ตามแนวชายแดนไทย-พม่ามากกว่า 1 แสน 2 หมื่นคนก็ยังไม่มีบ้านให้พวกเขากลับ 

ชายชาวกระเหรี่ยงในค่ายอพยพคนหนึ่ง ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าววีโอเอ ว่าหลังจากหนีภัยสงครามมาอาศัยที่ศูนย์อพยพกว่า 30 ปีทำให้ต้องสูญเสียผืนที่เคยอาศัยทำกิน และสิ่งที่ทำได้มากที่สุดในมทุกวันนี้คือการเฝ้ามองความเป็นไปของอดีตที่ดินของเขาที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของคนอื่น จากแผนที่บน Google Map เท่านั้น 

เขาบอกว่า แม้หากเขาได้กลับไปก็คงไม่สามารถซื้อที่ดินคืนมาได้ เพราะราคาที่ดินบริเวณใกล้ชายแดนรวมถึงเขตการพัฒนาที่เพิ่มสูงขึ้นหลายเท่า  ซึ่งสิ่งที่คิดได้ก็คือเพียงมองหาที่ทางแห่งอื่นซึ่งเขาอาจจะพออาศัยทำมาหากินได้  

โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและการกระตุ้นการลงทุนตามแนวชายแดนไทย-พม่าอาจจะส่งผลดีต่อการค้าชายแดนในภาพรวม  แต่ก็อาจไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับประโยชน์เหล่านั้น






ขอบคุณ  :  http://www.voathai.com &  https://www.youtube.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์