เที่ยวกำแพงเพชรแบบชิว ๆ

วามจริงจังหวัดกำแพงเพชร หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองชากังราว  ครอบครัวของผู้เขียนได้เคยไปเยี่ยมเยือนด้วยกันหลายครั้งแล้ว  ล่าสุดราว ๆ กรกฎาคม 2557  อ้าว !  ว่าไปก็ครบ 1 ปีแล้วนะครับ  วันเวลาดูช่างรวดเร็วว่องไวเสียเหลือเกิน  แต่ด้วยความอยากเดินทางท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจนเกินไปนัก เราจึงตัดสินใจกำหนดเป้าหมายการเดินทางแบบชิว ๆ ครั้งนี้กันทันที  กล่าวคือ ไปกำแพงเพชร  เพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์  2  สถานที่ คือ  พระหลักเมืองกำแพงเชร (ผ่านไปหลายครั้งผู้คนมากมาย  จึงได้แต่ภาวนาในใจเท่านั้น)  พระบรมธาตุเจดียาราม หรือพระบรมธาตุนครชุมมหาเจดีย์ (ปีที่แล้วกำลังปรับปรุงสภาพแวดล้อม..ไม่สะดวกเท่าใดนัก)  และอีกประการหนึ่งที่พลาดไม่ได้ คือ แหนม + ไส้เมี่ยง  ของกำแพงเพชร (เรียกน้ำหนักเพิ่มได้มาก ๆ)

อกเดินทางจากอุตรดิตถ์  26 ส.ค. 58  เวลา 09.00 น.เศษ  โดยรถเก๋ง  Honda Civic  ไปตามเส้นทาง อุตรดิตถ์ - ศรีสัชนาลัย (ถนนหมายเลข 102) ,  ศรีสัชนาลัย - สุโขทัย (ถนนหมายเลข 101)  และสุโขทัย - กำแพงเพชร (ถนนหมายเลข 101) ตามลำดับ  ถึงศาลพระหลักเมืองกำแพงเพชร เกือบ 11.00 น.  บรรยากาศการเดินทางเป็นอย่างไร   เรามีภาพและเรื่องราวดี ๆ มาฝากกัน



ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรเป็นศาลที่เก่าแก่มานานกว่า 700 ปี  จะอยู่ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชร ล่าสุดได้รับการบูรณะในปี 2550  โดยปรับภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบให้มีความสวยงาม และกลมกลืนไปกับเมืองเก่าที่อยู่ใกล้เคียง  รถเกือบทุกคันที่แล่นผ่านจะได้ยินเสียงแตรดังจนเป็นที่คุ้นเคย


ตัวศาลาทรงไทย ที่ประดิษฐานของพระหลักเมือง(เสาหลักเมือง)กำแพงเพชร  มองเห็นด้านในเป็นพระหลักเมือง (เสาหลักเมือง) และเศียรเทพารักษ์ 


ตัวศาลาทรงไทย ที่ประดิษฐานของพระหลักเมือง(เสาหลักเมือง)กำแพงเพชร  มองจากด้านข้างจะพบความสวยงามทางด้านศิลปะการก่อสร้าง


พระหลักเมือง(เสาหลักเมือง) และเศียรเทพารักษ์  มองผ่านประตูกระจกได้ทั้ง 4  ทิศ  ไม่อนุญาตให้เข้าไปกราบไหว้และปิดทองภายใน


พระหลักเมือง(เสาหลักเมือง) และเศียรเทพารักษ์  มองผ่านประตูกระจกได้ทั้ง 4  ทิศ  ไม่อนุญาตให้เข้าไปกราบไหว้และปิดทองภายใน




ทางทิศเหนือของศาลหลักเมือง  มีรูปปั้นสิงห์ 2  ตัว  นั่งเฝ้าประตูทางขึ้นศาลาทรงไทย ที่ประดิษฐานของพระหลักเมือง(เสาหลักเมือง) และเศียรเทพารักษ์


ข้าง ๆ ศาลพระหลักเมือง(เสาหลักเมือง) และเศียรเทพารักษ์  จะเป็นเสาหลักเมืองจำลอง  เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้และปิดทอง



เสาหลักเมืองจำลอง  เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้และปิดทอง   มองจากทางด้านข้าง


ด้านหลังอาคารเสาหลักเมืองจำลอง  จะเป็นที่ที่จำหน่าย ดอกไม้ ธูปเทียนทอง พวงมาลัย และประทัด


หลังจากได้กราบไหว้บูชาพระหลักเมืองและเทพารักษ์  เป็นที่ชุ่มชื่นจิตใจแล้ว   คณะของเราได้เดินออกไปทางด้านข้าง  เห็นป้ายเขียนบอกไว้เสียค่าเข้าชมท่านละ 20 บาท (อายุ 60 ปีขึ้นไป..ฟรี)  จึงได้เข้าไปสอบถามน้อง ๆ ที่ยิ้มต้อนรับอยู่  ทำให้ได้ข้อมูลว่า....โบราณสถานที่อยู่บริเวณเดียวกันกับศาลพระหลักเมืองนั้น  คือ วัดพระแก้ว  ซึ่งมีความพิเศษตรงที่เป็นวัดหนึ่งที่อยู่ในเขตกำแพงเมืองชั้นใน  ซึ่งนักท่องเที่ยวไทยส่วนใหญ่มักจะพลาดเข้าชมอดีตอันรุ่งเรือง  


ภายในมีถนนปูด้วยอิฐสีแดง และศิลาแลง  ที่สามารถเดิน หรือปั่นจักรยานได้โดยรอบ...น่าเดินมาก


หลักเสาศิลาแลง หรือหินแลง  ตั้งเรียงรายเป็นแถวเป็นแนวแสดงอาณาบริเวณศาสนสถาน



  

ณ ขณะเวลานั้น  มีเพียงคณะของผู้เขียน  3  คน เท่านั้น  ที่กำลังเดินชมพร้อมกับวาดภาพกลับไปในอดีตซึ่งก็น่าจะมีความใหญ่โตและสวยงามมากกว่าที่เห็นในปัจจุบัน



วัสดุหลักที่ใช้ในการก่อสร้างโบราณสถาน  คือศิลาแลง  ซึ่งเมื่ออยู่ใต้ดินจะยังไม่แข็ง  ต่อเมื่อถูกนำขึ้นมาใช้ปั้นขึ้นรูป หรือทำให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ  ปล่อยให้ถูกลมหรือแดดจนแห้งจะมีความแข็งคล้ายหิน  สมัยก่อนจึงมีคนเรียกศิลาแลงอีกอย่างหนึ่งว่า "หินแลง"




ส่วนหหนึ่งของพระพุทธรูป  ที่ได้รับการบูรณะให้มีความใกล้เคียงสภาพเดิมมากที่สุด  


พระพุทธรูปส่วนใหญ่ของบริเวณวัดพระแก้ว  คงเหลือแต่เค้าโครงที่เป็นศิลาแลงเท่านั้น




รูปปั้นช้างที่นิยมปั้นไว้บริเวณฐานขององค์พระเจดีย์  บางส่วนได้บูรณะให้เห็นถึงภาพจริงในอดีต


เดินรอบวัดพระแก้วพอเหงื่อซึม ๆ  ดูเวลาก็ใกล้เที่ยง..แต่เพื่อให้เป็นไปตามที่คาดหวังไว้  คณะของผู้เขียนจึงรีบเดินทางต่อไปยังวัดพระบรมธาตุนครชุม  โดยใช้เส้นทางถนนมหายเลข 101  ถึงหน้าศากลางหลังเก่าเลี้ยวขวาตรงไปข้ามสะพานใหญ่  ข้ามแม่น้ำปิง  แล้วชิดขวาเพื่อกลับรถไปใช้ถนนเรียบฝั่งแม่น้ำปิงขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 400 เมตร เศษ ๆ  วัดพระบรมธาตุเจดียาราม หรือพระบรมธาตุนครชุมมหาเจดีย์  จะอยู่ทางด้านขวามือ


วัดพระบรมธาตุนครชุมมหาเจดีย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดเก่าแก่อยู่คู่เมืองกำแพงเพชรมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ภายในมีศาสนสถานที่สำคัญหลายอย่าง เช่น พระบรมธาตุเจดีย์ภายในบรรจุพระสารีริกธาตุ 9 องค์ ,ต้นศรีมหาโพธิ์ขนาดใหญ่ที่พระยาลิไททรงปลูกไว้ ,พระอุโบสถหลังเก่า ,พระวิหาร ,วิหารพระนอน ,ศาลาเรือนไทย นอกจากนี้ยังมีศาลาการเปรียญที่ใช้เป็นศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้แก่ชุมชน อีกด้วย

พระบรมธาตุนครชุมมหาเจดีย์ มีรูปทรงสูงใหญ่ สวยงามไปด้วยสถาปัตยกรรมแบบพม่า และสีทองอร่ามทั้งองค์ นับเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่อยู่คู่เมืองกำแพงเพชรมาตั้งแต่สมัยเป็นเมืองนครชุมกินเวลายาวนานมากกว่า 600 ปี และยังคงยั่งยืนสืบต่อกันมาเป็นองค์มหาเจดีย์แห่งศรัทธา จวบจนปัจจุบัน


คณะของผู้เขียนเดินทางถึงประมาณ เที่ยงเศษ ๆ  อากาศค่อนข้างร้อน และแดดแรงมาก  พวกเราตรงเข้าไปยังศาลาด้านข้างขององค์พระบรมธาตุเจดีย์   กราบไหว้บูชาและร่วมบริจาคทรัพย์กับทางวัด พร้อมอธิษฐานขอบุญบารีของพระบรมธาตุ  ปกปักรักษาคุ้มครองครอบครัวให้อยู้ดีมีสุข




การตกแต่งยอดฉัตรขององค์พระบรมธาตุเจดีย์  ด้วยแผ่นทองฉลุลวดลายเพิ่มความสง่างามยิ่งขึ้น


อุโบสถหลังเก่าที่ยังมองเห็นร่องรอยของความสวยงาม  และที่หลายคนต้องร้องว่า "ไอเดียเจ๋ง"  ก็ตรงที่รอบ ๆ อุโบสถจะมีวงบ่อสำหรับปลูกมะนาวไว้เพื่อใช้บริโภค (มะนาวกำลังติดผลจำนวนมาก)


อิ่มบุญไปพร้อมกันแล้ว  ออกเดินทางไปหาของรับประทานเพื่อให้อิ่มท้อง  โดยย้อนกลับเส้นทางเดิม ถึง 4 แยกหน้าศาลากลางหลังเก่า  เลี้ยวขวาแล้วตรงไปจะเป็นถนน Oneway  เลยวัดพระเสด็จไปเล็กน้อยก็ถึงเป้าหมายสุดท้าย คือ  ร้านแหนมแม่แยง   





ร้านแหนมแม่แยง  เป็นร้านค้าริมทางเล็ก ๆ ที่ครอบครัวของผู้เขียนต้องแวะซื้อ "แหนม+ไส้เมี่ยง" ทุกครั้งที่ไปกำแพงเพชร  เจ้าของร้านใจดีแอบเล่าประวัติให้ฟังว่า ....ไม่ใช่เป็นคนกำแพงเพชรโดยกำเนิด...เป็นคนทางภาคเหนือ...ครับ


การหมักแหนมในโหลแก้ว  ถือเป็นเอกลักษณ์ของร้านแหนมแม่แยงโดยเฉพาะ  แหนมร้านนี้จำหน่ายกันเป็นกิโลกรัม (ก.ก. ละ 250.-)


ภาพนี้ ถ้าสังเกตุให้ดี ๆ  จะเห็นว่าโหลแก้วที่มีแหนมหมูอยู่เต็มโหล...ถูกจับคว่ำไว้...หากสังสัยแวะไปถามได้


ไส้เมี่ยงที่ปรุงพร้อมรับประทานก็เช่นเดียวกัน คือ ใส่โหลแก้วโชว์เพื่อเรียกลูกค้า  รับรองว่าอร่อยจริง ๆ



นอกจากจะจำหน่ายแหนมหมูรสเด็ด + ไส้เมี่ยงที่กรอบอร่อยแล้ว  ยังมีสินค้าอีกหลายรายการให้เลือกซื้อ


แม่ค้าคิดเงิน ผู้ซื้อกำลังจ่ายเงิน...อิ่มทั้งบุญ และได้ของกินที่ถูกใจ


ก่อนเดินทางกลับ  ผู้เขียนและครอบครัว  ได้แวะรับประทานอาหารกลางวัน พร้อมพักผ่อนที่ห้าง Big-C ส่วนเส้นทางกลับ  ใช้ถนนหมายเลข115 (กำแพงเพชร - พิจิตร) ,  ถนนหมายเลข 117 (พิจิตร - พิษณุโลก) และถนนหมายเลข 11 (พิษณุโลก - อุตรดิตถ์)  พบกันใหม่กับการเดินทางครั้งต่อไป..สวัสดี




ขอบคุณ  :  ข้อมูลบางส่วนของ http://www.onep.go.th

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์