ชมวัดในคูเวียง..เรียนรู้เมืองเชียงใหม่

วัสดีครับ..ช่วงวันหยุดยาวปลายเดือนตุลาคม 2558  ได้เดินทางขึ้นไปทำธุระบางอย่างที่เชียงใหม่พร้อมทั้งถือโอกาสไปพักผ่อนอีกด้วย  และได้เข้าพัก ณ โรงแรมแห่งหนึ่งในคูเวียงใกล้ ๆ กับประตูท่าแพ  การพักอยู่ในบริเวณคูเวียงทำให้สะดวกต่อการเที่ยวชมสถานที่ต่าง ๆ เช่น วัดพระสิงห์  วัดเจดีย์หลวง วัดเชียงมั่น เป็นต้น  ซึ่งครั้งนี้ได้เลือกวัด 4 วัดที่มีบริเวณใกล้ชิดกันแบบเดินเท้าได้สะดวก เพื่อไปเรียนรู้และรู้จักเมืองเชียงใหม่ให้มากยิ่งขึ้น

* วัดดวงดี


เราเลือกวัดดวงดีเป็นวัดแรกของการไหว้พระศักดิ์สิทธิ์  วัดดวงดีตั้งอยู่ที่ 228 ถ.พระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่  ข้อมูลจาก  http://www.chiangmaipao.go.th (องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่) ระบุว่า วัดดวงดี เดิมชื่อ “วัดต้นหมากเหนือ” ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังจากพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว และมีเจ้านายเมืองเชียงใหม่องค์หนึ่งเป็นผู้คิดค้นการสร้าง


 ภาพนี้มองจากประตูทางเข้าด้านหน้าของวัดดวงดี


ทางวัดได้จัดเครื่องบูชาสังฆทานไว้เพื่อความสะดวกแก่ญาติโยม  ซึ่งเราก็ได้ร่วมทำบูญกับทางวัดไปจำนวน 1 ชุด


วิหารพระดวงดี(องค์เล็ก) รูปทรงสวยงามแบบล้านนา..ถ่ายจากด้านข้าง


พระพุทธรูป "พระดวงดี" องค์เล็ก  


องค์พระเจดีย์สีขาวทรงปราสาทแบบล้านนา


วิหารหลังเล็กขนาดย่อมพอดีที่ก่อสร้างด้วยปูนและไม้ ประดับกระจกสีและลวดลายทองที่งดงาม


ภาพถ่ายวิหารหลวงพ่อดวงดี  


ซุ้มประตูวิหารหลวงพ่อดวงดี  เห็นแล้วต้องรีบกดชัทเตอร์เพื่อเก็บภาพความประณีตบรรจงของช่างฝีมือเอาไว้


รวมทั้งมองสูงขึ้นไป ณ หน้าบรรณวิหารที่บรรจงตกแต่งเป็นประดับด้วยลวดลายดอกไม้

 

หลวงพ่อดวงดี พระประธานของวิหารแห่งนี้



ภาพถ่ายด้านหน้าของหอไตรแห่งวัดดวงดี


ภาพถ่ายด้านข้างของหอไตรแห่งวัดดวงดี


* วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์


ห่างจากวัดดวงดีไปทางตะวันออกเกือบ 100 เมตร จะเป็นประตูทางเข้าด้านหลังของ วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์  ซึ่งข้อมูลจาก http://www.tripchiangmai.com  ระบุว่า วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์  ตั้งอยู่ที่ 129 ถนนราชภาคินัย ตำบลศรีภูมิ  อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมช่ือวัดโพธิ์น้อย  เป็นวัดเล็กๆ ในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่  บนถนนราชภาคินัย บรรยากาศภายในวัดสงบเงียบ เหมาะเป็นสถานปฏิบัติธรรม


หากเข้าทางด้านหลังวัด  สิ่งแรกที่จะพบเห็นก็คือ องค์พระเจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านสัดส่วนสวยงามมาก สร้างเมื่อปี พ.ศ. 1916  ช่วงเวลาเดียวกับการสร้างวิหาร ถือเป็นรูปแบบเจดีย์ยุคต้นของเมืองเชียงใหม่


ถัดจากองค์พระเจดีย์ของวัดจะเห็นพระอุโบสถขนาดเล็กอยู่ทางขวามือ ศิลปะแบบล้านนา ก่ออิฐถือปูน ลวดลายวิจิตรสวยงามมาก สร้างขึ้นพร้อมๆ กับการหล่อพระประธาน "หลวงพ่อสมใจนึก" หรือ “พระพุทธเชียงแสนสิงห์หนึ่ง” และการสร้างวัด ราวปี พ.ศ. 1839 – 1840


ชมกันใกล้ ๆ อีกภาพหนึ่งของด้านหน้าพระอุโบสถ


บานประตูที่แกะสลักลวดลายที่วิจิตรบรรจง และปิดทองเพิ่มความงดงามยากที่จะหาที่ติ


ภาพถ่ายด้านหลังของเจดีย์อุโมงค์


 ภาพถ่ายด้านหน้าของเจดีย์ ภายในพระเจดีย์จัดทำเป็นอุโมงค์ใช้เป็นที่นั่งวิปัสสนาของพระสงฆ์ในอดีต


ด้านหน้าเจดีย์อุโมงค์จะเป็นบริเวณบ่อน้ำทิพย์


พระประธานของวิหารแห่งวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ คือ พระพุทธประฏิมากร หรือ หลวงพ่อโต ปางมารวิชัย เกศาแบบเปลวเพลิง ปากแดง อิทธิพลศิลปะพม่า


วัดป้านปิง


เดินออกทางด้านหน้าวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์  ข้ามถนนไปทางซ้ายมือเล็กน้อย  จะเห็นป้าย วัดป้านปิง อยู่เหนือกำแพงวัด  จากข้อมูลของ http://www.chiangmaitouring.com  ทำให้ทราบว่า วัดป้านปิง ตั้งอยู่ที่ 194  ถนนราชภาคินัย ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่  สร้างเมื่อ พ.ศ.2025 มีอายุ 500 กว่าปี  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2115 


พระเจดีย์แห่งวัดป้านปิง เป็นเจดีย์แบบฐานสูงย่อมุมไม้ 28 ทรง 12 เหลี่ยม เป็นเจดีย์คู่วัดมาตั้งแต่ต้น มีฐานกว้าง 10.20 เมตร สูงประมาณ 25 เมตร มีทรงแบบล้านนาฝีมือช่างหลวง


จุดเด่นของพระเจดีย์แห่งวัดป้านปิงอยู่ตรงที่ช่วงบนทรงระฆังคว่ำ  จะประดับด้วยกระเบื้องสีทำให้ดูเด่นแปลกตา


พระวิหาร สร้างในปี พ.ศ.2024 เป็นสถาปัตยกรรมล้านนา มีความสวยงามมาก  พระวิหารหลังนี้เป็นพระวิหารหลังใหม่ที่สร้างขึ้นทดแทนหลังเดิมทีถูกไฟไหม้


ซุ้มประตูโขงพระวิหารวัดป้านปิง จะมีรูปปั้นลักษณะจีนปูนตำสูตรล้านนา เป็นรูปพญานาคสองตัวหางพันกัน เหนือขนดลำตัวสองฟากเป็นยอดเขาหิมพานต์ พร้อมพระอาทิตย์ พระจันทร์ แสดงถึงขอบของจักรวาล ขากรอบประตูมีบัวควำบัวหงายปก 


ด้านในพระวิหาร ประดิษฐานพระเพชรสิงห์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ทั้งสององค์ เป็นศิลปะแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง องค์พระประธานหน้าตักกว้าง 1.70 เมตร องค์รองด้านขวาหน้าตักกว้าง 1.30 เมตร เป็นพระพุทธรูปที่มีความงามเป็นเลิศ


ด้านหน้าขึ้นมาจากพระวิหาร จะเป็นพระอุโบสถ มีหลักศิลาจารึกที่มีลักษณะใบเสมา ทำจากหินทรายสีเทาขนาดกว้าง 42 ซม. หนา 15 ซม. สูงประมาณ 75 ซม. ปัจจุบันทางวัดนำมาตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของพระอุโบสถ จารึกด้วยภาษาล้านนาโบราณแต่จารึกไม่จบความ


*  วัดอินทขีลสะดือเมือง 


จากวัดป้านปิง เดินย้อนกลับทางวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ และวัดดวงดี  ตามลำดับ จะเป็นที่ตั้งของวัดอินทขีลสะดือเมือง  ถ.อินทวโรรส ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ข้อมูลจาก http://www.comingthailand.com ระบุว่าวัดอินทขีลสะดือเมือง หรือ วัดสะดือเมือง เป็นวัดโบราณที่ตั้งอยู่ใกล้กับ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (ศาลากลางหลังเก่า) และ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ สร้างขึ้นในรัชสมัย พญามังราย เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของเสาอินทขิล (เสาหลักเมืองเชียงใหม่) ซึ่งตามตำนานพื้นเมืองเหนือกล่าวถึงพระอินทร์ได้ประทานเสาอินทขิลให้แก่ชาวลัวะเพื่อบูชา เมื่อครั้งก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่

  

พระวิหารพระเจ้าอุ่นเมือง  เป็นพระวิหารที่ พระเจ้ากาวิละ ได้สร้างขึ้นเมื่อครั้งบูรณะวัด เมื่อปี พ.ศ.2380 โดยสร้างขึ้นบนฐานเก่า พร้อมกับการสร้างเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมที่หุ้มเจดีย์องค์ใน ภายในพระวิหารประดิษฐาน พระเจ้าอุ่นเมือง (หลวงพ่อขาว) เป็นพระประธาน
พระเจ้าอุ่นเมือง หรือ หลวงพ่อขาว พระประธานภายในพระวิหาร
  
ด้านหลังซ้ายมือของพระวิหารหลวงพ่อขาว  จะเป็นซุ้มที่ตั้งเดิมของเสาหลักเมืองเชียงใหม่
ภายในปรับเปลี่ยนเพื่อคงภาพของเสาหลักเมืองเชียงใหม่เดิมเอาไว้  ปัจจุบันเสาหลักเมืองจริงได้ย้ายไปเก็บรักษา ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร


ด้านหลังพระวิหารพระเจ้าอุ่นเมือง (หลวงพ่อขาว) เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนเป็นฐานหน้ากระดานสูงใหญ่ ถัดขึ้นไปเป็นฐานทรงกลมสามชั้น รองรับองค์ระฆัง ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ก้านฉัตร บัวฝาละมี และปล้องฉไน โดยมีเจดีย์องค์เล็กศิลปะหริภุญชัยอยู่ภายใน


นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อเงินสมปรารถนาทันใจ ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าซ้ายมือของวิหารหลวงพ่อขาว ให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชากันอีกด้วย สวัสดี


ขอบคุณ :   1)   http://www.chiangmaipao.go.th

              2)  http://www.tripchiangmai.com

              3)  http://www.chiangmaitouring.com 

              4)  http://www.comingthailand.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์