อาหารและเครื่องดื่มในช่วงฤดูร้อน


          อาหารและเครื่องดื่มในช่วงฤดูร้อน



ประเทศไทยกับอากาศร้อนเป็นของคู่กัน ดังที่กล่าวกันว่า “เมืองไทยเมืองร้อน” การหาอาหารหรือเครื่องดื่มดับร้อนจึงเป็นวิธีหนึ่งที่คนส่วนใหญ่คิดว่าสามารถช่วยระบายและทำให้ร่างกายผ่อนคลายจากความร้อนได้ ซึ่งตามศาสตร์แผนจีนเองก็มีทฤษฎีนี้ระบุในคัมภีร์รักษา " โรคร้อนดับด้วยยาเย็น  โรคเย็นอุ่นด้วยยาร้อน "  จากทฤษฎีนี้ทำให้หลาย ๆ คนพยายามแสวงหาวัตถุดิบ หรือวิธีต่าง ๆ มาช่วยในการดับร้อนนั่นเอง

หากดูจาดอุณหภูมิสูงสุดในช่วงปี  ประเทศไทยจะมีอุณหภูมิที่ 35-42  องศาเซลเซียส  ซึ่งเทียบกับอุณหภูมิประเทศจีนที่ 22-40  องศาเซลเซียส  จะเห็นว่าอุณหภูมิของฤดูร้อนในประเทศไทยต่างกับอุณหภูมิในฤดูร้อนของประเทศจีนเพียงไม่กี่องศาเซลเซียส   แต่ร้านอาหารในประเทศจีนก็ยังไม่มีบริการเสิร์ฟน้ำแข็งให้แก่ลูกค้าเพื่อดับร้อนแต่อย่างใด  ยิ่งไปกว่านั้นคนจีนยังชอบดื่มชาร้อนตลอดปี
ความหมายของทฤษฎีหยินหยาง  หากจะพูดให้เข้าใจง่ายจะหมายถึง  ความสมดุล  หากเปรียบหยินเป็นความเย็น  หยางเป็นความร้อน  หยินหยางตามศาสตร์แผนจีนจึงหมายถึง  " ร้อนเย็นสมดุล " นั่งเอง  ร้อนแต่ไม่ร้อนเกินไป  เย็นแต่ไม่เย็นเกินไป  แต่ต้องมีทั้งความร้อนและความเย็นที่สมดุล  ร่างกายจึงจะมีสุขภาพที่แข็งแรงได้

เมืองไทยเป็นเมืองร้อน  คนไไทยจึงมักมีนิสัยติดการดื่มน้ำเย็น  มิหนำซ้ำน้ำเย็นยังใส่น้ำแข็งลงไปอีก  คนไทยชอบอยู่ที่เย็น  สังเกตจากบ้านเรือนหรือที่ทำงานมักติดเครื่องปรับอากาศ  นอกจากนั้นคนไทยยังชอบรับประทานอาหารและผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น 

                


หากร่างกายได้รับความเย็นมากเกินไปจะเกิดผลอย่างไร ?

ตามทฤฎีของศาสตร์แผนจีนมองว่า ถ้าเย็นเกินไปหยินหบางก็ขาดสมดุล  นั่นคือ ความเย็นมากเกินไปความร้อนก็จะถดถอย  ก่อให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า " หยางพร่อง " เช่นกลัวหนาวกลัวลม  มือเท้าเย็น  ไม่มีความกระตือรือร้น  เป็นต้น


นอกจากนี้ " ม้าม "  ตามศาสตร์แผนจีนซึ่งหมายถึง ระบบย่อยและการดูดซึมอาหารทั้งหมด  ม้ามต้องอาศัยลมปราณหยางเพื่อเป็นพลังในการทำงาน  หากเกิดภาวะหยางพร่อง  ม้ามก็ไม่สามรถทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหารได้ตามปกติ  ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ทางระบบย่อยอาหารตามมา  เช่น  ท้องอืดท้องเฟ้อ  เรอบ่อย  เบื่ออาหาร  เหนื่อยง่าย  ถ่ายเหลว  เป็นต้น

ดังนั้น  การดับร้อนจึงควรอยู่บนพื้นฐานของความสมดุล

1. การดื่มน้ำทดแทนการเสียเหงื่อ
เมื่ออากาศภายนอกร้อนก็จะทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วย  ร่างกายของคนเราก็จะมีวิธีการระบายความร้อนออกมาทางเหงื่อ  ดังนั้นการจิบน้ำตลอดวันในวันที่อากาศร้อนเพื่อทดแทนเหงื่อที่เสียไป ก็นับว่าเป็นการดับร้อนที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง  เพื่อไม่ให้ลมปราณหยางถูกทำลาย  ทางที่ดีที่สุดจึงควรดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำที่อุณหภูมิห้อง

                                     

2. สมุนไพรจีนดับร้อน

2.1 ดอกเก็กฮวย    สรรพคุณช่วยขับลมร้อน  ถอนพิษร้อน  รักษาอาการร้อนใน  แก้กระหายน้ำ  ยังช่วยรักษาอาการนัยน์ตาแห้ง  ช่วยปรับสมดุลและลดความดันโลหิตในร่างกาย  ชาวจีนนิยมนำมาทำชา  

ส่วนผสม ได้แก่  เก็กฮวย 2-4 ดอก  น้ำ 1  แก้ว


วิธีทำ  1. นำเก็กฮวยตากแห้งมาล้างน้ำให้สะอาด  2. นำเก็กฮวยที่ล้างแล้วมาชงเป็นชา โดยเติมน้ำร้อยเรื่อย ๆ จิบตลอดวันจนกว่ารสชาดจะจาง  

2.2 หล่อฮั่งก้วย  นอกจากจะแก้ร้อนในได้ดีแล้ว  หล่อฮั่งก้วยยังมรสรรพคุณขับเสมหะ  ช่วยให้ชุ่มคอ  ช่วยบรรเทาหลอดบลมอักเสบ  อีกทั้งยังช่วยต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย

ส่วนผสม   หล่อฮั่งก้วย  1-2 ผล  น้ำ  8-10  แก้ว  และเก็กฮวย  10  ดอก

วิธีทำ  1. นนำหล่อฮั่งก้วยมาล้างให้สะอาดและบิผลให้แตก  2.  นำหล่อฮั่งก้วยที่บิแตกแล้วมาแช่ในน้ำ  8-10  แก้ว ทิ้งไว้ 30 นาที   3. นำขึ้นตั้งไฟต้ม  30  นาที  อาจใส่เก็กฮวยลงไปตามใจชอบ  จะได้น้ำหล่อฮั่งก้วยที่มีรสหวานโดยไม่ต้องใส่น้ำตาล

2.3 ถั่วเขียว   นอกจากช่วยแก้ร้อนในและขับพิษในร่างกายแล้ว  ถั่วเขียวซึ่งมีแป้งปริมาณสูง  ไขมันต่ำ  โปรตีนสูง  นักมังสวิรัติจึงมักเลือถั่วเขียวเป็นแหล่งโปรตีน  นอกจากนี้ แป้งถั่วเขียวจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ช้ากว่าแป้งชนิดอื่น  จึงเหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน (ควรทานในปริมาณที่พอดี)  อีกทั้งยังช่วยลดความดันและไขมันในเลือด

ส่วนผสม   ถั่วเขียวดิบ 1  ถ้วย   น้ำตาลทรายแดง  1  ถ้วย  เกลือป่น  1/8  ช้อนชา  และน้ำเปล่า  4  ถ้วย

วิธีทำ   1. ล้างถั่วเขียวให้สะอาดแล้วนำถั่วเขียวไปแช่น้ำประมาณ  4  ชั่วโมง  หรือค้างคืนไว้  เทน้ำทิ้ง   2. ใช้ไฟปานกลางต้มถั่วเขียวกับน้ำ  3  ถ้วย   3. เมื่อน้ำเดือดให้ลดไฟลงเหลือไฟอ่อน  ต้มไปเรื่อย ๆ จนถั่วเขียวสุกนุ่ม  หมั่นคนเป็นระยะ ๆ  4. เมื่อถั่วเขียวบานออกแล้วให้ใส่น้ำตาลทรายแดง และเกลือป่นลงไป  คนให้ละลายแล้วต้มต่อไปอีก 5  นาที  5. จากนั้นใส่น้ำลงไปอีก  1  ถ้วย เพื่อให้น้ำใสขึ้น รอจนเดือดอีกครั้ง ปิดเตาและยกลงได้

2.4 เห็ดหูหนูขาว   สรรพคุณเสริมบำรุงสารน้ำของปอดเพิ่มความชุ่มชื้น  แก้อาการไอที่เกิดจากปอดแห้ง  เช่น  การไอจากวัณโรคปอด  ไอแห้ง ๆ มีเลือดปน  นอกจากนี้เห็ดหูหนูขาวยังช่วยบำรุงหัวใจและสมอง และช่วยให้นอนหลับ

ส่วนผสม   เห็ดหูหนูขาว  1  ดอก  น้ำ  1  ลิตร  น้ำตาลกรวด  1  ช้อนโต๊ะ  แปะก๊วย  1  ถ้วย

วิธีทำ   1. นำเห็ดหูหนูขาวมาล้างให้สะอาดและแช่น้ำทิ้งไว้  1  ชั่วโมง  เทน้ำทิ้ง   2. นำเห็ดหูหนูขาวที่แช่น้ำไว้มาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ   3. ตั้งไฟ  นำเห็ดหูหนูขาวลงต้ม  เมื่อน้ำเดือดให้ลดไฟลงเหลือไฟอ่อน   4. ใส่น้ำตาลกรวดและแปะก๊วยตามชอบ  ตุ๋นต่อประมาณ  1  ชั่วโมง แล้วยกลงได้


ขอบคุณ  :  http://www.posttoday.com



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์