10 ยอดดอยของไทยที่สูงเกินกว่า 2,000 ม.จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
เมื่อพูดถึงยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยมีชื่อและอยู่ที่ใดบ้างนั้น ใครหลายคนคงนึกชื่อ และสถานที่ของยอดเขาเหล่านั้นได้เพียง 1-3 เท่านั้น ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นว่าน่าจะศึกษาและรวบรวมมานำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอดเขาของไทยที่มีความสูงเกินกว่า 2,000 เมตรขึ้นไป เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจว่ายอดเขาดังกล่าวมีจำนวนเท่าไร ตั้งอยู่ที่ใด และมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง OK..มาเริ่มกันเลยนะ..ครับ
อันดับที่ 1 ดอยอินทนนท์
ดอยอินทนนท์ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ
อันดับที่ 2 ดอยผ่าห่มปก
ดอยผ้าห่มปก อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ดอยผ้าห่มปกมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,285 เมตร ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ทิวทัศน์จากบนดอยผ้าห่มปกจึงมีความสวยงามมาก เมื่อมองไปทางทิศตะวันตก จะเห็นทิวเขาสลับซับซ้อนในประเทศพม่า ทางทิศใต้เห็นยอดดอยหลวงเชียงดาว ทางทิศตะวันออกเห็นอำเภอแม่อาย ฝาง และไชยปราการ ในหน้าหนาวจะมีทะเลหมอกปกคลุมทั่วหุบเขา จนเป็นจุดชมทะเลหมอกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่ง ผู้ที่จะชมทิวทัศน์ทะเลหมอกที่ยอดดอย ต้องพักแรมที่บริเวณจุดพักแรมลานกางเต็นท์ดอยกิ่วลม จากนั้นเดินตามทางเดินขึ้นเขาที่ไม่สูงชันมากนัก ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ก็จะถึงจุดชมวิว ดังนั้นจึงต้องออกเดินจากที่พักตั้งแต่ตอนตี 4 เพื่อให้ทันชมพระอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางทะเลหมอก นอกจากนี้ บนยอดดอยผ้าห่มปกยังเป็นถิ่นอาศัยของผีเสื้อหายาก เช่น ผีเสื้อไกเซอร์ รวมทั้งนกเฉพาะถิ่นสวยงามและหายาก เช่น นกขัติยา นกปีกแพรสีม่วง ระหว่างทางจะผ่านป่าดิบเขาที่มีเฟินห่มคลุมลำต้นเขียวครึ้ม จนดูคล้ายป่าดึกดำบรรพ์
ดอยหลวงเชียงดาว ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวงเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นภูเขาหินปูนที่สูงเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศไทย มีความสูง 2,225 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง รองจากดอยอินทนนท์และดอยผ้าห่มปก ภูเขาหินปูนของดอยหลวงเชียงดาวมีอายุระหว่าง 230-250 ล้านปี เกิดจากการทับถมของตะกอนทะเลซากสัตว์ที่มีหินปูนเป็นโครงสร้าง คาดว่าในอดีตเคยเป็นทะเลน้ำตื้นมาก่อน ถ้ามองจากภาพทางอากาศจะเห็นแนวยอดของดอยหลวงเชียงดาวเป็นสันคมแนวยาวต่อเนื่องเป็นรูปเกือกม้าคล้ายวงล้อม ตรงกลางเป็นหุบเขาแคบ ๆ ตามสันดอยจะเป็นหินแหลมคม มีรอยแยก และรอยแตกเป็นตะปุ่มตะป่ำ เกิดจากการทำปฏิกิริยาของน้ำฝนกับหินปูน บางแห่งเป็นหลุมหุบที่เรียกว่า "อ่างสลุง" เป็นจุดชมวิวทะเลหมอกที่สวยงามของดอยหลวงเชียงดาว บนยอดดอยมีอากาศที่หนาวเย็น ลมพัดเย็นสบายตลอดเวลา นับเป็นจุดที่เหมาะแก่การชมทะเลหมอกและแสงแรกในยามรุ่งเช้ามากที่สุด อีกทั้งยั้งสามารถชมวิวได้รอบทิศทางแบบ 360 องศา โดยด้านตะวันออกเป็นสันกิ่วลมเหนือ ทิศตะวันตกเห็นดอยสามพี่น้อง ทิศใต้เป็นสันกิ่วลมใต้ ส่วนทิศเหนือจะเห็นดอยพีระมิดและยอดเขาเล็ก ๆ เรียงสลับซับซ้อน บริเวณยอดดอยยังมีเส้นทางให้เดินชมพรรณไม้ โดยในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน กุหลาบขาวจะบานเต็มที่บนยอดดอยสวยงามสบายตามาก ๆ ตลอดจนมีนกนานาชนิดให้คนรักนกได้แบกกล้องมาส่องกันด้วย
อันดับที่ 4 เขาเขียว(เขากะเจอลา)
เขาเขียว หรือ เขากะเจอลา ในภาษากะเหรี่ยง คือ ยอดเขาในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ที่จัดอันดับได้ว่าสูงเป็น อันดับ 4 ของประเทศไทย หนึ่งในไม่กี่แห่งของผืนแผ่นดินที่สูงกว่าชั้นบรรยากาศ 2,152 ม. จากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทย จุดที่สูงที่สุดของผืนป่าตะวันตก ขุนน้ำแห่ง 2 สายน้ำ เลื่องชื่อ แม่กลอง และ ห้วยขาแข้ง มีเพียงคณะสำรวจไม่กี่คณะเท่านั้นที่ได้เคยขึ้นไปถึง ณ.ผืนป่าดึกดำบรรพ์ ที่ยอดเขาแห่งนี้ ทำให้เขาเขียว หรือกะเจอลา ยังไม่ค่อยมีข้อมูลให้เราได้ล่วงรู้กันมากนัก
ภูสอยดาว อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น ตำบลนาขุม ตำบลบ้านโคกอำเภอบ้านโคกตำบลห้วยมุ่นอำเภอน้ำปาดจังหวัดอุตรดิตถ์ตำบลบ่อภาคอำเภอชาติตระการจังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ปกคลุมไปด้วยป่าธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ยอดสูงสุดของภูสอยดาวสูง จากระดับน้ำทะเล 2,102 เมตร ซึ่งสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย จุดเด่นที่น่าสนใจและเป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว คือ การได้ชมทุ่งดอกไม้สีม่วงที่เรียกว่า"ดอกหงอนนาค" และดอกไม้หลากสีสันสลับให้เห็นอยู่ทั่วลานสน ซึ่งจะบานใน ช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือน ส.ค. - ก.ย ของทุกปี
อันดับที่ 6 ภูเข้
ภูเข้ ยอดสูงสุดแห่งเทือกเขาหลวงพระบาง สูง 2,079 เมตร ซึ่งจัดเป็นความสูงอันดับที่ 6 ของประเทศไทย รอยต่อสองแผ่นดินในช่วงปี 2535 ที่นี้เป็นพื้นที่สีแดงเป็นที่ต้องของคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นก็กลับมาสงบอีกครั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่ชาวบ้านถากถางต้นไม้มาปลุกข้าว ปลูกข้าวโพด ทำเกษตรกรรม ภูเข้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติขุนน่าน อ.บ่อเกลือ จ.น่าน หรือทางไป "โครงการปิดทองหลังพระ" หรือทางที่จะไป "ภูแว" ช่วงที่น่ามาที่สุดคือ ช่วงเดือนกลางฝน-ต้นหนาว เพราะที่นี้จะเต็มไปด้วยต้นข้าว ต้นไม้เขียวขจี ถ้ามาช่วงต้นหนาวต้นข้าวก็จะเปลี่ยนสีจากสีเขียวกลายเป็นสีเหลืองทองอร่ามทั่วเขา เมื่อก่อนการเดินทางมาที่นี้ค่อนข้างลำบากมาสะดวกสบายเมื่อ 3-4 ปี ที่ผ่านมา ท่านอาจจะติดต่อกับทาง อช.โดยตรง ขอคนนำทางกับลูกหาบ หรือจะติดต่อเจ้าหน้าที่ชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านสะไลน้อย
อันดับที่ 7 ภูโล
ภูโล เป็นยอดเขาสูง 2,077 เมตรจากระดับน้ำทะเล อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติขุนน่าน อ.บ่อเกลือ จ.น่าน อยู่ใกล้กับภูเข้ ดินแดน แห่งทิวเขา ชายแดนไทย ลาว มียอดเขาสูงแบ่งเขตของทั้งสองประเทศ ได้ชื่อว่าเป็น ยอดเขาสูง อันดับ 7 ของประเทศ และมีภูแว ยอดเขาสูงรูปร่างแปลกให้เดินเที่ยวด้วย
อันดับที่ 8 ดอยลังกาหลวง
ดอยลังกาหลวง ความสูง 2,031 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติขุนแจ ครอบคลุมบริเวณรอยต่อสามจังหวัด คือ เชียงราย ลำปางและเชียงใหม่ มีความสูงอยู่ในลำดับที่ 8 ดอยลังกาหลวงมีลักษณะโดดเด่นคือ ตรงยอดเป็นทุ่งหญ้าโล่งๆ ทอดยาวแนวสันเขา ที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม หากใครได้มาในช่วงนี้ ก็จะเป็นช่วงที่ต้นกุหลาบพันปีจะออกดอกบานสะพรั่งให้ได้ชมความสวยงามท่ามกลางป่าเขา
อันดับที่ 9 ดอยขุนแม่ยะ
ขุนแม่ยะ มหัศจรรย์แห่งขุนเขา แห่งดอยสีชมพู เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติตามช่วงฤดูกาล เมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาว ของทุกปี ต้นซากุระ หรือนางพญาเสือโคร่ง ในบ้านเราก็จะทิ้งใบ และผลิดอกเบ่งบานเต็มต้นอย่างดงาม โดย เฉพาะที่ี่หน่วยต้นน้ำขุนแม่ยะจะมีลักษณะเป็นพิเศษที่มี การปลูกกันทั่วดอย หนาแน่น มีความสวยงามด้วย สีชมพูปกคลุมทั่ว ดอย จึงนิยมเรียกกันว่า “ดอยสีชมพู” ละในทุกๆปีของหน้าหนาวช่วงม.ค. แต่ในเนื่องจากในช่วงหลังอากาศ เริ่ม แปรปรวนไป ก่อนเดินทางต้องโทรสอบถามไปอีกครั้งว่าบานแล้วหรือยัง
ดอกพญาเสือโคร่ง ณ ขุนแม่ยะ ตั้งอยู่ในความดูแลของ หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ ในสังกัดส่วนจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ และ แม่ฮ่องสอน คือตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นดอยสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,020 เมตร อาณาเขตพื้นที่ราว 87,500 ไร่ โดยพื้นที่ ทั้งหมดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา–แม่แสะ ในช่วงแรกขุนแม่ยะ เป็นผืนป่าที่เสื่อมโทรม ถูกทำลายจนราบโล่ง แต่ต่อมาทางหน่วยได้เริ่มปลูกต้นพญาเสือโคร่งเพื่อเป็น การฟื้นฟูป่า ในช่วงแรกเนื่องจากต้นพญาเสือโคร่ง เป็นต้นไม้ที่ เจริญเติบโตเร็วและยังมีดอกที่สวยงามอีกด้วยจนทุกวันนี้ต้น พญาเสือโคร่งเป็นที่รู้จักกันนามของ ดอกซากุระเมืองไทย ที่สวยงามไม่แพ้ที่ใด
อันดับที่ 10 ดอยโป่งสะแยน (ดอยโพธิ์)
ดอยโป่งสะแยน หรือ ดอยโพธิ์ เป็นยอดดอยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,004 เมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในลักษณะภูเขาที่มีความสูงมากอีกหนึ่งแห่งที่ได้รับความนิยมจากผู้ที่ชื่นชอบป่าเขาลำเนาไพร
ขอบคุณ : 1) http://forum.dekitclub.com 2) https://cnxtravel.wordpress.com
3) https://www.cpall.co.th 4) http://travel.kapook.com
5) http://www.weekendhobby.com 6) http://board.trekkingthai.com
7) http://topicstock.pantip.com 8) http://www.paiduaykan.com
9) http://muangthai.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น