ชี้ช่องมองการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ท่ามกลางของความวิตกกังวลของผู้คนเกี่ยวกับคุณภาพของเด็กไทย โดยเน้นไปที่ผู้เรียนระดับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี (ป.1- ม.3) ที่เป็นส่วน “ฐานราก” ของการศึกษาไทย ได้ถูกนำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะชนในแง่มุมต่าง ๆ ต่อเนื่องมาในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาและปัจจุบัน ก่อให้เกิดคำถามจากผู้ที่รับผิดชอบทางด้านการศึกษาทุกระดับ และผู้ที่อยู่นอกวงการศึกษา “ทำไม” หรือ “เพราะเหตุใด” คุณภาพโดยรวมของผู้เรียนระดับขั้นพื้นฐานจึงมีพัฒนาการที่ด้อยลงและตกต่ำอย่างน่าใจหายเช่นนั้น จนกระทั่งนำไปสู่วาระแห่งการปฏิรูปการศึกษาระดับประเทศอีกคำรบหนึ่ง จากประสบการณ์ที่ได้ทำงานอยู่กับแวดวงการศึกษามาตั้งแต่ “ยุคองค์การบริหารส่วนจังหวัด” (อจ.) “ยุคสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ” (สปช.) และ “ยุคสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน” (สพฐ.) แม้ปัจจุบันเป็นข้าราชการเกษียณแล้วก็ตาม แต่ด้วยจิตสำนึกที่อยากเห็นคุณภาพของผู้เรียน และคุณภาพการศึกษาโดยรวม มีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน จึงขอเสนอแนวความคิดและมุมมองเพื่อชี้ช่องมองการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ ระดั...