ไหว้พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ 3 จังหวัด ตอนที่ 3

วันที่ 7  กันยายน 2558  ออกจากที่พักแถวประตูท่าแพ เชียงใหม่  ขับรถข้ามสะพานเนาวรัตน์แล้วเลี้ยวขวาเพื่อใช้ถนนหมายเลข 106  เดินทางกันค่อนข้างยาวสำหรับวันนี้  ผ่าน จ.ลำพูน และ อ.ป่าซาง ตามลำดับ และที่ปั้มน้ำมัน อ.ป่าซาง เรารับประทานอาหารเช้าแบบง่าย ๆ จากร้านเซพเว่น   เดินทางต่อเข้าเขต อ.ลี้ได้สักพักหนึ่งจะสังเกตุป้ายข้างทางใกล้ถึงวัดบ้านปาง  ชลอความเร็วเลี้ยวขวาตรงขึ้นไปยัง วัดบ้านปาง ต.ศรีวิชัย  อ.ลี้  จ.ลำพูน



เหตุที่เราแวะเยี่ยมชมที่วัดแห่งนี้ก็เพราะวัดนี้เป็นวัดบ้านเกิดของ "ครูบาศรีวิชัย" นักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองเหนือ  อีกทั้งวัดบ้านปางยังเป็นวัดที่ครูบาศรีวิชัยบวชเรียนเป็นวัดแรกอีกด้วย


วัดบ้านปางเข้าออก - ขึ้นลง ได้อย่างละ 2 ทาง  กล่าวคือ ถ้าเป็นถนนจะแบ่งเป็น 2 ทาง (ซ้าย-ขวา)  แต่ถ้าเป็นทางบันได  จะขึ้นได้ 2 ทางเช่นกัน คือ ด้านข้างวัด และด้านหน้าวัด  จุดแรกที่เข้าเยี่ยมชม คือ พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารพระครูบาเจ้าศรีวิชัย



บริเวณห้องโถงใหญ่ของตัวพิพิธภัณ์ ฯ


หุ่นขี้ผึ้งพระครูบาเจ้าศรีวิชัย


ภาพถ่ายพระครูบาเจ้าศรีวิชัย


สบง จีวร  ของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย  


บานประตูแกะสลักไม้เก่าแก่แสดงวิถีชีวิตของคนกับพุทธศาสนา


บันไดครุฑ ทางขึ้นลงด้านข้างของวัดบ้านปาง


จุดที่ 2  คือ องค์พระเจดีย์สีทองอยู่ด้านหลังวิหารใหญ่ของวัด



จุดที่ 3  คือ รูปปั้นพระครูบาเจ้าศรีวิชัย  อยู่ทางด้านซ้ายมือของวิหารใหญ่  มีความสวยงามและขนาดใหญ่  ทำให้นึกถึงอนุสาวรีย์ของครูบาศรีวิชัยที่ดอยติขึ้นมาทันที


จุดที่ 4  คือ  วิหารใหญ่วัดบ้านปาง  หันหน้าไปทางทิศตะวันออก  มองเห็นบันไดทางขึ้นลง 






ซุ้มประตูด้านหน้าของวิหารใหญ่


จุดที่ 5  คือ  อุโบสถศิลาแลง ที่มีความสวยงามมาก 


ประตูไม้ที่แกะสลักรูปเเทวดาประทับสิงห์ปิดทอง


ด้านบนของซุ้มประตูทางเข้า จุดเด่นอยู่ที่รูปนกยูง


ใบเสมาก็เป็นศิลาแลง



จุดที่ 6  คือ  หลวงพ่อองค์ใหญ่  จะอยู่ทางด้านขวามือของวิหารใหญ่


จุดที่ 7  คือ  กู่พระครูบาเจ้าศรีวิชัย   ครูบาเจ้าศรีวิชัย มรณภาพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2481 ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สิริอายุได้ 59 ปี   อัฏฐิธาตุของท่านแบ่งออกเป็น 7 ส่วน  บรรจุตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วแผ่นดินล้านนาดังนี้   ส่วนที่ 1 บรรจุที่ วัดจามเทวี จ.ลำพูน   ส่วนที่ 2  บรรจุที่ วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่   ส่วนที่ 3  บรรจุที่ วัดพระแก้วดอนเต้า จ.ลำปาง   ส่วนที่ 4  บรรจุที่ วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา  
ส่วนที่ 5  บรรจุที่ วัดพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่   ส่วนที่ 6  บรรจุที่ วัดน้ำออกรู จ.แม่ฮ่องสอน  และ ส่วนที่ 7 บรรจุที่ วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จ.ลำพูน  (ข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://www.bloggang.com)



ภายในกู่พระครูบาเจ้าศรีวิชัย 


การออกแบบอาคารเป็นแบบล้านนางดงามยิ่งนัก


เราใช้เวลานานพอควรสำหรับวัดบ้านปาง  เดินทางต่อเข้า อ.ลี้ ตามเส้นทาง 106  ถึงวัดพระธาตุดวงเดียว


บริเวณด้านเหนือของวัดจะพื้นที่ของที่ตั้งองค์พระธาตุดวงเดียว และวิหารใหญ่


นอกจากจะได้กราบไหว้บูชาพระธาตุดวงเดียวแล้ว  ท่านยังจะไดกราบไหว้บูชาองค์พระธาตุประจำปีเกิด ซึ่งทางวัดได้จำลองมาตั้งไว้ให้บูชาเช่นกัน


จุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ อุโบสถหลังงามที่ด้านซ้ายและขวาเป็นรูปเรือสุพรรณหงส์ 


จากวัดพระธาตุดวงเดียว  วิ่งรถต่อไปยังวัดพระธาตุ 5 ดวง ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก  ตามตำนานกล่าวว่า พระนางจามเทวี กษัตริย์ครองเมืองหริภุญไชยได้ยินข่าวจากราษฎรเมืองลี้ว่ามีดวงแดว 5 ดวง ปรากฎให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง  จึงได้เสด็จมาทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง และได้ทรงเห็นแสงสว่างจากดวงแก้วทั้ง 5 ดวงลอยอยู่บนกองดิน 5 กอง  พระนางจึงเกิดศรัทธาสร้างพระธาตุเจดีย์ครองกองดินทั้ง 5 กองไว้ 


ผู้เขียนต้องใช้ความพยายามที่จะถ่ายภาพเพื่อให้มองเห็นองค์พระเจดีย์ครบทั้ง 5 องค์


ด้านหน้าขององค์พระธาตุ 5 ดวง  จะเป็นวิหารใหญ่ที่มีความงดงาม  

โดยเฉพาะหลังคาหน้าจั่วที่ประดับด้วยรูปพญานาคดูสวยงาม


ซุ้มจตุรมุขที่ประดิษฐานพระประธานพระพุทธชินราช



บันไดนาคทางขึ้นสู่วิหารใหญ่อีกหลังหนึ่ง


บันไดนาคชั้นที่ 2  ของวิหารใหญ่หลังใหม่


วัดสุดท้ายที่พลาดไม่ได้เช่นกัน คือ วัดพระบาทห้วยต้ม  เป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอลี้  เป็นวัดประจำหมู่บ้านชาวเขาพระบาทห้วยต้ม  ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงนี้นอกจากจะทำไร่ทำสวนแล้ว ยังมีอาชีพเป็นช่างฝีมือ  ทอผ้า  ทำสร้อย และเครื่องเงินอีกด้วย   เมื่อเราไปถึงได้สอบถามถึงอาคารที่กำลังปรับปรุง(ดังภาพข้างบน) รับทราบว่าเป็นอาคารที่เรียกว่า สธูป


เข้าไปข้างในจะเห็นความแปลกตามด้วยกระจกใส


สูงขึ้นไปบนเพดานมีการเขียนลวดลายสีทองในแต่ละชั้นของหลังคา 


บานประตูไม้แกะสลักลวดลายรามเกียรติ์


วิหารหลังใหญ่ที่สวยงามและมีความสำคัญ คือ วิหารพระเมืองแก้ว


การประดับตกแต่งต้องถือว่างดงามจริง ๆ 


ลวดลายหน้าบรรณของวิหาร


มองลึกเข้าไปดูแล้วต้องการเน้นสีขาวที่แสดงถึงความบริสุทธิ์


ด้านหน้าพระประธานของวิหารพระเมืองแก้ว  ทางวัดพระบาทห้วยต้มได้จัดทำแแท่นวางสรีระสังขารครูบาชัยวงศา  ไว้ให้คนทั่วไปได้กราบไหว้บูชาระลึกถึงพระคุณของท่าน


ด้านหน้าของวิหารพระเมืองแก้ว  จะเห็นรูปปั้นของ ครูบาชัยวงศา พระอารย์ชื่อดังของภาคเหนืออีกองค์หนึ่ง เป็นผู้บูรณะก่อสร้างพัฒนาวัดพระบาทห้วยต้มจนมีชื่อเสียง


พระสี่หูห้าตา (พระอินทร์)  ที่ผู้คนให้ความเคารพกราบไหว้ขอพร 


ภาพวาดหน้าบรรณของประตูของวิหารหลังเก่าด้านใน  สะท้อนวิถีชีวิตชาวเขาพระบาทห้วยต้ม


พระเจดีย์  48,000  พระธรรมขันธ์



หอพระไตร


เรือโบราณจำลอง


รอยพระพุทธบาท


รางไม้สำหรับเทศกาลการสรงน้ำพระพุทธบาท


ธรรมมาสไม้ที่แกะสลักลวดลาย สีสัน งามหาที่ติไม่ได้


วิหารรอยพระพุทธบาท


มองเห็นอยู่ไกล ๆ นั้น คือ  พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย





วันที่เราไปเยี่ยมชม  เป็นเวลาบ่ายอากาศค่อนข้างร้อนมากเพราะอยู่กลางแจ้งและมีแสงแดดตลอด   สังเกตุเห็นได้ว่ายังมีการก่อสร้างเพิ่มเติม  จึงได้แต่ชื่นชมและกราบบูชาในใจเท่านั้นไม่ได้เข้าไปด้านใน
ภาวนาในใจหากก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์จะมากราบไหว้บูชาอีกครั้ง


ภาพ  พระมหาธาตุเจดีย์ศรีวิชัย  ที่นำมาฝากกัน



สถานที่สุดท้ายของการท่องเที่ยวครั้งนี้  คือ อุทยานแห่งชาติแม่ปิง  ที่ทำการตั้งอยู่ในท้องที่ ต.แม่ลาน อ.ลี้  จ.ลำพูน  สิ่งที่เราต้องการเห็นกับตาให้สมกับคำล่ำลือในความสวยงามก็ คือ น้ำตกก้อหลวง


การเดินทางสะดวกสบายจนถึงด้านหน้าน้ำตก



 ยังครับยังไม่ถึง....ต้องออกแรงเดินขึ้นเนินไปอีกนิดหน่อย


ถึงแล้วน้ำตกก้อหลวง...ป้ายเขียนสวนมาก



เรื่องของความปลอดภัย  จะมีเจ้าหน้าที่ขึ้นไปดูแล ณ น้ำตก  ซึ่งปีนี้ปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย


ส่งผลให้น้ำตกมีความสวยงามน้อยกว่าช่วงที่มีปริมาณน้ำมาก ๆ 








ออกจากน้ำตกก้อหลวง  อุทยานแห่งแม่ปิง ประมาณ 16.00 น.เศษ  ถึงเวลาที่ต้องเดินทางกลับอุตรดิตถ์กันเสียที  เพราะขืนชักช้าอาจมืดค่ำก่อนถึงบ้านก็เป็นได้  เรายังคงใช้เส้นทาง 106 เพื่อตรงไปยัง อ.เถิน จ.ลำปาง  ช่วงจาก อ.ลี้ - อ.เถิน  ประมาณ 40 กว่ากิโลเมตร  "เส้นทางค่อนข้างคดเคี้ยวเอาเรื่องเหมือนกัน..ไม่ควรขับเร็ว..ถ้าไม่ชำนาญทางเส้นนี้ "   ถึง อ.เถิน  จะเจอกับถนนสานเอเชียหมายเลข 1 (AH2)  ต้องตัดข้ามไปเข้าถนนสายย่อยหมายเลข 1048 (อ.เถิน - อ.ทุ่งเสลี่ยม)  ถึงสี่แยกเข้า อ.สวรรคโลก  เราเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสายหมายเลข 1113  ตรงเข้า อ.ศรีสีชนาลัย และใช้ถนนหมายเลข 102 (อ.ศรีสัชนาลัย - จ.อุตรดิตถ์)  ถึงบ้านด้วยความปลอดภัย สวัสดีครับ.




ขอบคุณ  :  http://www.bloggang.com           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์