รู้สึกอย่างไรกับการพบเห็ดเผาะในสวนของเราเอง


เห็ดเผาะที่เก็บได้จากสวน  จำนวน 33 ก้อน


บ่ายของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558  ผู้เขียนและครอบครัวได้เดินทางไปรดน้ำต้นไม้ที่ปลูกใหม่ในสวนตามปกติ  ซึ่งการรดน้ำในสวนของเราใช้วิธีการตักแล้วหิ้วไปรดตามจุดต่าง ๆ ที่ต้องการ ทั้งนี้เนื่องจากระบบน้ำประปาหมู่บ้านที่สวนของเราตั้งอยู่ยังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านยังไม่แล้วเสร็จ  และอีกประการหนึ่งยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะลงทุนเจาะน้ำบาดาลดีหรือไม่ 


เห็ดเผาะที่เก็บได้จากสวน จำนวน 33 ก้อน

ภายหลังที่รดน้ำต้นไม้เสร็จแล้ว  ผู้เขียนได้เดินไปสำรวจบริเวณโคนต้นพะยอมซึ่งขึ้นแข่งความสูงกับต้นกระท้อนอยู่ปัจจุบัน  พลันสายตาได้เห็นวัตถุทรงกลมคล้ายกับเห็ดเผาะปรากฏให้เห็นอยู่หลายจุดด้วยกัน  ค่อย ๆ หยิบขึ้นมาพิจารณาพร้อมทั้งเรียกภรรยาและลูกสาวให้มาดูด้วยกัน  ใช่ครับใช่เห็ดเผาะจริง ๆ ความรู้สึกในตอนนั้นมีทั้งดีใจ ประหลาดใจและเหลือเชื่อสุด ๆ  แต่ยังไม่ทราบว่าจะเป็นเห็ดเผาะหนังหรือเห็ดเผาะฝ้ายกันแน่  วันนั้นพวกเราช่วยกันหาขยายบริเวณออกไปได้จำนวน 33 ก้อน


ส่วนหนึ่งของเห็ดเผาะที่เก็บได้จากสวน


โคนต้นพะยอมเป็นจุดแรกที่พบเห็ดเผาะ



บริเวณที่เป็นต้นสัก และไม้อื่น ๆ 



ลักษณะการพบเห็ดเผาะ

12 พฤศจิกายน 2558  ผู้เขียนได้ผ่าพิสูจน์ก้อนเห็ดเผาะดังกล่าวข้างต้น  พบว่าเป็นเห็ดที่ค่อนข้างแก่เพราะข้างในจะพบแต่ถุงสปอร์สีดำทุกก้อน ในขณะเดียวกันก็เกิดความคิดใหม่ 2 อย่าง คือ อย่างแรกจะใช้เศษชิ้นส่วนเห็ดและสปอร์สีดำผสมน้ำนำไปรดกล้าต้นไม้ที่เตรียมไว้แล้วบางส่วน (จากข้อมูลความรู้ที่มีเผยแพร่อยู่ปัจจุบัน)  และอีกส่วนหนึ่งจะเก็บสปอร์สีดำใส่แก้วพลาสติกปิดฝาพร้อมหุ้มด้วยถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่งแช่เย็นเก็บไว้ใช้หยอดสปอร์+รดน้ำตามทีหลัง (ถ้าใช้ได้ผลจริงจะเป็นความรู้ใหม่)


 ต้นรังจำนวนหนึ่งที่ได้ทดลองรดด้วยสปอร์เห็ดเผาะครั้งที่ 1


เห็ดเผาะที่เก็บเพิ่มได้อีกจำนวน 11 ก้อน

บ่ายของวันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 ผู้เขียนและครอบครัวได้เดินทางไปรดน้ำต้นไม้ที่ปลูกใหม่ในสวนตามปกติ  หลังจากรดน้ำเสร็จแล้ว ได้เดินสำรวจบริเวณที่เคยพบก้อนเห็ดเผาะไปแล้วเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 อีกครั้งหนึ่ง  พบว่ายังมีก้อนเห็ดเผาะที่ยังไม่แตกกระจายพันธุ์อีก จำนวน 11 ก้อนด้วยกัน  

จากปรากฏการณ์จริงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น  ผู้เขียนวิเคราะห์ได้ดังนี้

1. ระบบนิเวศของสวนที่เป็นสวนป่าแบบผสมผสาน (ไม้ป่า+ไม้ผล)  หน้าดินที่เป็นดินทรายลูกรัง  และมีระนาบเอียงระบายน้ำได้ดี ผนวกกับอายุของสวนที่มากว่า 20 ปี ไม่นิยมเผาวัชพืช และใช้สารเคมี  อาจช่วยให้เชื้อเห็ดเผาะที่อาจมีอยู่เดิมแล้วในพื้นที่ค่อย ๆ พัฒนาและกระจายพันธุ์อย่างช้า ๆ จนสามารถพบเห็นได้ต่อมา

2. เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ  กระจายตัวอยู่บริเวณใกล้กับต้นพะยอมซึ่งเป็นไม้วงศ์ยางเช่น เดียวกันกับ ไม้เต็ง ไม้รัง และอื่น ๆ ซึ่งชุดความรู้เดิมกล่าวไว้ว่า “เชื้อเห็ดเผาะสามารถอาศัยอยู่กับรากของต้นรัง  ทำให้รากมีขนาดใหญ่ขึ้น  เป็นการอยู่ร่วมแบบได้ประโยชน์กันและกัน (symbiosis) และจะอยู่ด้วยกันไปตลอดชีวิตของต้นรัง หากไม่มีเชื้อเห็ดที่ราก ต้นรังจะโตช้า....”

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์