วัดกลางธรรมสาคร : วัดเก่าของอุตรดิตถ์อีกวัดหนึ่งที่ไม่ควรพลาด


พระอุโบสถหลังเก่าแก่ของวัดกลางธรรมสาคร หรือ วัดกลาง ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 


สวัสดัครับ  วันนี้ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปเปิดหูเปิดตาในสิ่งที่เคยมองข้ามและคาดไม่ถึง เพราะวัดดังกล่าวเป็นวัดที่ผู้เขียนได้เคยเข้าไปเยี่ยมหลายครั้ง  แต่ด้วยความไร้การสังเกตและความอยากรู้เห็นทำให้พลาดในสิ่งที่น่าจะได้รู้ได้เห็นไปเสียนาน  เกริ่นนำมาขนาดนี้หลายท่านคงอยากรู้แล้วว่าวัดนี้มีอะไรดีและน่าสนใจจริงหรือไม่

ข้อมูลจาก http://www.dooasia.com และ https://th.wikipedia.org  ระบุเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาไว้ว่า วัดกลางธรรมสาคร เดิมชื่อวัดโพธาราม ห่างจากตัวอำเภอ 3 กิโลเมตร  สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณปี พ.ศ. 2285 ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณปี พ.ศ. 2300 เคยเป็นท่าจอดเรือ เพื่อเดินเท้าไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์  ต่อมาลำน้ำเปลี่ยนทางเดินจึงเลิกใช้กัน และทางน้ำเดิมกลายเป็นบุ่งน้ำหน้าวัด  ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดบุ่งวัดกลาง

ปัจจุบันยังคงเหลือพระอุโบสถหลังเก่าอยู่ 1 หลัง สภาพค่อนข้างทรุดโทรม  กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ และได้เคยบูรณะไปบางส่วน   ภายในอุโบสถมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองมีพุทธลักษณะงดงาม เป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้นผสมศิลปะแบบลาวหลวงพระบาง และจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่หายากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นภาพพระเวสสันดรชาดกและเทพชุมนุม 



พระอุโบสถหลังเก่าที่มีสถาปัตยกรรมเชิงช่างแตกต่างจากทั่ว ๆ ไป  


 ลวดลายปูนปั้นช่วงบนหลังคาที่ได้รับการบูรณะให้คงความสวยงามไว้


 ลายปูนปั้นที่ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์และตัวเหรา 


ภาพด้านข้างของพระอุโบสถหลังเก่า


 ด้านหน้าพระอุโบสถหลังเก่า  มองเห็นใบเสมาตั้งอยู่ด้านหน้า และมีทางเข้าอยู่ทางซ้ายขวา


ภาพหน้าตรงมองสูง จุดเด่นอยู่ที่ซุ้มหน้าต่างประตูมีความวิจิตรงดงามอย่างยิ่ง  หน้าบันเป็นไม้จำหลักลายเครือเถาก้านขด มีเทพนมอยู่เป็นระยะ มีรูปสัตว์สอดแทรกอยู่ตามลายเครือเถาที่เกี่ยวพันกันไปอย่างต่อเนื่อง 




ลวดลายเครือเถาไม้ และงานไม้แกะสลักอื่น ยังถูกใช้ประดับเพิ่มจากลายปูนปั้น


ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถหลังเก่า


 ลวดลายของบานประตูที่มีความละเอียดละออ


เทียบเคียงกับลวดลายของบานหน้าต่าง และมองเลยบานหน้าต่างเข้าไปจะเห็นร่องรอยภาพเขียนสีที่ลบเลือน


ภายในพระอุโบสถหลังเก่าประดิษฐานพระประธานพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองพุทธลักษณะงดงามศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้นผสมศิลปะแบบลาวหลวงพระบาง และจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่หายากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นภาพพระเวสสันดรชาดกและเทพชุมนุม


 องค์พระประธาน


 องค์พระประธาน


บางส่วนของภาพภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ยังค่อนข้างสมบูรณ์









เครื่องบนยังแสดงให้เห็นการใช้ตัวไม้ที่มีความแข็งแรง และเรียบง่าย


ด้านข้างของพระอุโบสถหลังเก่า  ทางวัดได้จัดทำวิหารแบบเปิดโล่ง มีพระพุทธรูปขาวองค์ใหญ่เป็นพระประธาน


ด้านหลังวิหารแบบเปิดโล่ง ยังมีวิหารเเล็ก ๆ เก่าอีกหลังหนึ่งที่น่าจะสร้างภายหลัง และใช้ศิลปะการตกแต่งของพระอุโบสถหลังเก่า

 

จุดเด่นของวิหารเล็กหลังเก่านี้อยู่ที่ลวดลายและการแกะสลักของบานประตูทางเข้าวิหาร


 และอีกจุดหนึ่ง คือ หน้าบันไม้ที่จำหลักรูปครุฑจับนาคช่างสวยงามยิ่ง


นอกจากนั้น  ภายในวัดยังมีอาคารพิพิธภัณฑ์ ขนาด 2 ชั้น จัดแสดงวัตถุโบราณ เครื่องใช้โบราณ ดาบน้ำพี้ ตู้พระไตรปิฎกและ พระเครื่องขนาดและปางต่างๆ  ที่หาชมได้ยากจริง ๆ ท่านที่ต้องการเข้าเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อกับทางวัดโดยตรง




ขอบคุณ :  http://www.dooasia.com  &  https://th.wikipedia.org

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์