รักษ์ป่า...รักษ์เห็ด 3 " เห็ดพิษที่สำคัญในประเทศไทย "

ภาพจาก http://nongkhainewsonline.blogspot.com

ในทุก ๆ ปี เรามักจะได้ข่าวเกี่ยวกับการเจ็บป่วย หรืออาจถึงเสียชีวิตจากเห็ดพิษมาโดยตลอด ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากมีจำนวนชนิดของเห็ดอยู่ค่อนข้างมาก  อีกทั้งรูปร่างลักษณะที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน ดูผิวเผินแล้วแยกไม่ออกว่ามีพิษหรือไม่มีพิษ ดังนั้น ในฐานะของคนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้บริโภคจึงควรมีข้อมูลเชิงป้องกันเพื่อพิจารณาคัดเลือกสิ่งที่ปลอดภัยแก่ตนเองและคนใกล้ชิดได้ดีที่สุด

เห็ดพิษที่สำคัญในประเทศไทย

1


 2 


3


4


5


6


7


8


9


วิธีสังเกตเห็ดพิษ เห็ดพิษในประเทศไทยมีอยู่หลายชนิด ทั้งที่มีพิษร้ายแรงที่สุดที่ทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ คือ เห็ดในสกุลอะมานิตา (Amanita) และเห็ดในสกุลเฮลเวลลา (Helvella) ส่วนเห็ดในสกุลอื่นๆ ไม่เป็นอันตรายมากนัก เพียงแต่ทำให้เกิดอาการมึนเมา สำหรับในประเทศไทยเห็ดอะมานิตาเป็นเห็ดมีพิษที่ควรระวังมากที่สุด 

 

เห็ดที่ควรหลีกเลี่ยงไม่เก็บมากิน คือ เห็ดที่มีสีน้ำตาล เห็ดที่มีปลอกหุ้มโคน เห็ดที่มีวงแหวน ใต้หมวก เห็ดที่มีโคนอวบใหญ่ เห็นที่มีปุ่มปม เห็ดที่มีหมวกสีขาว เห็ดที่มีหมวกเห็นเป็นรูๆ แทนที่จะเป็นช่องๆ คล้ายครีบปลา เห็ดตูมที่มีเนื้อในสีขาว เห็ดที่ขึ้นในมูลสัตว์หรือใกล้มูลสัตว์

ที่สำคัญคือไม่ควรเก็บหรือซื้อหาเห็ดป่าที่ไม่รู้จักมาปรุงอาหารกิน ในการเก็บเห็ดที่ขึ้นตามธรรมชาติ ให้เก็บเห็ดที่มีรูปร่างสมบูรณ์ เก็บให้ครบทุกส่วนโดยขุดให้ลึก อย่าเก็บเห็ดหลังพายุใหม่ๆ เพราะสีบนหมวกของเห็ดบางชนิดอาจถูกฝนชะล้างให้จางลงได้ ไม่เก็บเห็ดที่ขึ้น ใกล้โรงงานสารเคมี สนามกอล์ฟ หรือข้างถนน เนื่องจากเห็ดสามารถดูดซับสารพิษและโลหะหนักไว้ในตัวได้มาก 

เห็ดที่ไม่เคยกินมาก่อนควรกินเพียงเล็กน้อยก่อน เพราะอาจมีอาการแพ้ได้ และห้ามกินเห็ดดิบๆโดยเด็ดขาด  วิธีทดสอบความเป็นพิษของเห็ด การสังเกตลักษณะต่างๆของ เห็ดเป็นการยากที่จะจำแนกได้ว่าเห็ดชนิดใดมีพิษหรือชนิดใด ไม่มีพิษ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่นอกวงการเห็ดหรือชาวบ้านทั่วไป ดังนั้น ถ้าเก็บเห็ดชนิดหนึ่งชนิดใดได้และไม่แน่ใจว่าเป็นเห็ดพิษหรือไม่ วิธีการง่ายๆ ที่ใช้ ทดสอบกันอยู่ในปัจจุบัน คือ

1. นำข้าวสารมาต้มกับเห็ด ถ้าไม่เป็นพิษข้าวสารจะสุก ถ้าเป็นพิษข้าวสารจะสุกๆ ดิบๆ

2. ใช้ช้อนเงินคนต้มเห็ด ถ้าช้อนเงินกลายเป็นสีดำ จะเป็นเห็ดพิษ

3. ใช้ปูนกินหมากป้ายดอกเห็ด ถ้าเป็นเห็ดพิษจะกลายเป็นสีดำ

4. ใช้หัวหอมต้มกับเห็ด ถ้าเป็นเห็ดพิษจะเป็นสีดำ

5. ใช้มือถูเห็ดจนเป็นรอยแผล ถ้าเป็นพิษรอยแผลนั้นจะเป็นสีดำ แต่เห็ดแชมปิญองเป็นเห็ดที่รับประทานได้ เมื่อเป็นแผลก็จะเป็นสีดำ

6. ดอกเห็ดที่มีรอยแมลงและสัตว์กัดกิน เห็ดนั้นไม่เป็นพิษ แต่กระต่ายและหอยทากสามารถกินเห็ดพิษได้

7. เห็ดที่เกิดผิดฤดูกาล มักจะเป็นพิษ แต่ในทุกวันนี้สามารถเพาะเห็ดได้ตลอดปี

8. เห็ดพิษมักจะมีสีฉูดฉาด เห็ดรับประทานได้จะมีสีอ่อน

การบริโภคเห็ดโดยทั่วไปควรปฏิบัติดังนี้

1. การรับประทานอาหารที่ประกอบ ขึ้นด้วยเห็ดควรจะ รับประทาน แต่พอควรอย่ารับประทาน จนอิ่มมากเกินไป เพราะเห็ดเป็นอาหารที่ย่อยยาก อาจจะทำให้ผู้มีระบบย่อย อาหารที่อ่อนแอ เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้

2. การปรุงอาหารที่ประกอบขึ้นด้วยเห็ด ต้องระมัดระวัง คัดเห็ดที่เน่าเสียออกก่อน เพราะเห็ดที่เน่าเสียจะทำให้เกิด อาการอาหารเป็นพิษได้เช่นกัน

3. อย่ารับประทานอาหารที่ปรุงขึ้นสุก ๆ ดิบ ๆ หรือเห็ดดิบดอง เพราะเห็ดบางชนิดยังจะมีพิษอย่างอ่อนเหลืออยู่ ผู้รับประทานจะไม่รู้สึกตัวว่ามีพิษ จนเมื่อรับประทานหลายครั้งก็สะสมพิษ มากขึ้นและเป็น พิษร้ายแรงถึงกับเสีย ชีวิตได้ในภายหลัง

4. ผู้ที่รู้ตัวเองว่าเป็นโรคภูมิแพ้เกี่ยวกับเห็ดบางชนิด หรือกับเห็ดทั้งหมด ซึ่งถ้ารับประทานเห็ดเข้าไปแล้ว จะทำให้เกิดอาการเบื่อเมา หรืออาหารเป็นพิษ จึงควรระมัดระวัง รับประทานเฉพาะเห็ดที่รับประทาน ได้โดยไม่ แพ้หรือหลีกเลี่ยงจากการรับประทานเห็ด

5. ระมัดระวังอย่ารับประทานเห็ดพร้อมกับดื่มสุรา (แอลกอฮอล์) เพราะเห็ดบางชนิดจะเกิดพิษทันที ถ้าหากดื่มสุราหลังจากรับประทานเห็ดแล้วภายใน 48 ชั่วโมง เช่น เห็ด Coprinus atramentrius แม้แต่เห็ดพิษอื่นทั่วไป หากดื่มสุราเข้าไปด้วย ก็จะเป็นการช่วยให้พิษกระจายได้รวดเร็วและรุนแรงขึ้นอีก  


การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่รับประทานเห็ดพิษ

การปฐมพยาบาลมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากผู้ป่วยรับ ประทาน เห็ดพิษและเกิดอาการพิษขึ้น ควรจะรู้จักวิธีปฏิบัติ ที่ถูกต้องกับผู้ป่วย แต่ตามชนบทมัก จะปฏิบัติกับผู้ป่วยผิด ๆ แล้วทำให้เสียชีวิตกันอยู่เสมอ อนึ่ง อาการพิษของเห็ดจะแสดงอาการหลังรับประทานแล้ว หลายชั่วโมง ซึ่งพิษมักจะกระจายไปมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรู้จัก วิธีปฐมพยาบาล แล้วรีบนำส่งแพทย์ เพื่อทำการรักษาโดยรีบด่วนต่อไป

การปฐมพยาบาลนั้น ที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเศษอาหารที่ตกค้างออกมาให้มาก  และทำการช่วยดูดพิษจากผู้ป่วยโดยวิธีใช้น้ำอุ่นผสมผงถ่าน activated charcoal และดื่ม 2 แก้ว  โดยแก้วแรกให้ล้วงคอให้อาเจียนออกมาเสียก่อนแล้วจึงดื่มแก้วที่ 2 แล้วล้วงคอให้อาเจียนออกมาอีกครั้ง  จึงนำส่งแพทย์พร้อมกับ ตัวอย่างเห็ดพิษหากยังเหลืออยู่ หากผู้ป่วยอาเจียนออกยากให้ใช้กลือแกง 3 ช้อนชาผสมน้ำอุ่นดื่ม จะทำให้อาเจียนได้ง่ายขึ้น แต่วิธีนี้ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ

อนึ่ง ห้ามล้างท้องด้วยการสวนทวารหนักโดยพละการ วิธีนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น เพราะวิธีนี้จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยหากร่างกายขาดน้ำ  หลังจากปฐมพยาบาลผู้ป่วยแล้วให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน พร้อมกับตัวอย่างเห็ดพิษ (หากยังเหลืออยู่) หรืออาจจะทำการปฐมพยาบาลผู้ป่วยในระหว่างนำส่งแพทย์ด้วยก็ได้ 


ภาพจาก  http://akaratnews.com 



ขอบคุณ  :  1) http://www.thaimushroomsoc.com

               2) http://akaratnews.com

               3) http://www.dnppl.com

               4) http://banhed116.blogspot.com

               5) http://nongkhainewsonline.blogspot.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์