10 สมุนไพรพื้นบ้านลดไขมันในเลือด...อาหารเป็นยาคู่ครัวไทย


    10 สมุนไพรพื้นบ้านลดไขมันในเลือด....อาหารเป็นยาคู่ครัวไทย 

    สมุนไพรลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันเลือด ใครที่รู้ตัวว่าเป็นคนชอบกินของทอด ของมัน ควรรีบมาทำความรู้จักกับสมุนไพรไทยให้ไว้เลยเชียว 

    อย่าเพิ่งเหมารวมว่า คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นผู้ร้ายทำอันตรายต่อสุขภาพเรา เพราะความจริงแล้วร่างกายของเราสร้างคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ขึ้นเอง เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆ แต่ตัวการสำคัญที่ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) เพิ่มสูงขึ้นเกินความจำเป็นนั้น ดูเหมือนจะเป็นตัวเราเองมากกว่าที่ชอบกินอาหารประเภทของทอดของมันเป็นประจำ จนทำให้ร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลชนิดเลวมากกว่าคอเลสเตอรอลชนิด­ดี ดังนั้น หากไม่อยากให้สุขภาพแย่ลงเรื่อย ๆ เพราะคอเลสเตอรอลชนิดเลว ก็รีบหันมาผูกมิตรกับสมุนไพรไทยทั้ง 10 ชนิดนี้ไว้ก่อนดีกว่า  

    โดยเฉพาะอาหารมื้อโปรดของคุณมีสมุนไพรสรรพคุณเด่นเหล่านี้อยู่มากน้อยแค­­­่ไหน มาดูกันว่ามีสมุนไพรไทยอะไรบ้าง ที่กินแล้วช่วยลดการสะสมไขมันในร่างกายเรา 

1. กระเจี๊ยบแดง 

กระเจี๊ยบแดง

    สรรพคุณของกระเจี๊ยบแดงนั้นน่าทึ่งทีเดียว เพราะนอกจากจะช่วยลดระดับไขมันเลว เพิ่มระดับไขมันดีในร่างกายแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมากใกล้เคียงกับผลบลูเบอร์รี เชอร์รี และแครนเบอร์รี เพราะอย่างนี้กระเจี๊ยบแดงจึงมีสรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง และชะลอวัยได้อีกด้วย ส่วนของกระเจี๊ยบที่นิยมนำมาบริโภคก็คือ ผล และกลีบเลี้ยง นำมาคั้นเป็นน้ำกระเจี๊ยบแดง หรือนำมาทำเป็นสารสกัดกระเจี๊ยบแดง 

2. กระเทียม

กระเทียม

    เครื่องเทศที่ใกล้ชิดครัวเรือนมากที่สุดอย่างกระเทียม มักจะเป็นสมุนไพรที่หลายคนไม่ชอบเอาซะเลย เพราะมีกลิ่นฉุน กินแล้วเกิดกลิ่นปาก แต่รู้ไหมว่า กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกเชียวนะคะ ขึ้นชื่อว่า มีสรรพคุณเจ๋ง ๆ ต่อร่างกายทั้งนั้น ได้แก่ ช่วยลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือด ช่วยรักษาแผลทั้งแผลสดและแผลเรื้อรังลดการเกิดลิ่มเลือด ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย 

3. ดอกคำฝอย

ดอกคำฝอย

    ดอกคำฝอย เป็นสมุนไพรที่เรามักเห็นอยู่ในรูปแบบของชา และอาหารเสริมลดน้ำหนักชนิดต่าง ๆ ก็เพราะว่าสรรพคุณของดอกคำฝอยนั้น ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดนั่นเอง ในดอกคำฝอยมีกรดไลโนเลอิค (Linoleic Acid) อยู่มาก ซึ่งกรดชนิดนี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือด และจะถูกขับออกทางปัสสาวะและทางอุจจาระ จึงทำให้ไขมันในร่างกายเราลดน้อยลง 

4. ถั่วลันเตา


 ถั่วลันเตา

    ถั่วลันเตา ก็ถือเป็นสมุนไพรไทยด้วยเหมือนกัน และเพราะเป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูลถั่วด้วย จึงทำให้ถั่วลันเตามีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไม่น้อยเล­­­ยทีเดียว นั่นคือ อุดมด้วยวิตามีนบี 2 โปรตีนสูง และไขมันต่ำ ลดคอเลสเตอรอล ควบคุมความดันโลหิต ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน ป้องกันอาการตะคริว ช่วยบำรุงสายตา กระดูกและฟันให้แข็งแรง

5. ไมยราบ

ไมยราบ สรรพคุณเด็ด ใครว่าเป็นแค่วัชพืช

    ต้นไมยราบที่ใครหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแค่วัชพืชนั้น ความจริงแล้วเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติทางยาอยู่มากทีเดียว ได้แก่ แก้ไอ ขับเสมหะ รักษาอาการหลอดลมและกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดคอเลสเตอรอล และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เราสามารถนำต้นไมยราบมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้นเลยค่ะ โดยนำมาต้มกับน้ำ ใช้จิบบำรุงร่างกายได้เหมือนเครื่องดื่มประเภทชา

6. มะเขือยาว

มะเขือยาว

    ผักสวนครัวที่เรามักนำไปเป็นผักเครื่องเคียงไว้จิ้มน้ำพริกอย่า­­­งมะเขือยาวนั้น ก็มีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้เช่นกันจากผลการทดลองในห้องแล็บโดยการเลี้ยงกระต่าย ด้วยอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และมีมะเขือยาวเป็นอาหารเพิ่ม พบว่า ไม่มีคอเลสเตอรอลเกาะในหลอดเลือด จึงคาดว่ามะเขือยาวยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลผ่านผนังลำไส้ แต่หากจะบริโภคโดยใช้วิธีการทอดคงจะไม่เหมาะนัก เพราะมะเขือยาวจะดูดซับน้ำมันไว้ด้วย ทางที่ดีให้ใช้วิธีการอบ หรือเผาแทนดีกว่า 

7. เสาวรส

เสาวรส

    เสาวรส เป็นผลไม้ที่นิยมบริโภคแพร่หลายในต่างประเทศ แต่ในบ้านเรากลับไม่ค่อยนิยมนำมากินสด ๆ เหมือนกับผลไม้ชนิดอื่นเท่าไรนัก ส่วนใหญ่เราจะเห็นว่านำผลเสาวรสมาคั้นเป็นน้ำ หรือไม่ก็นำไปเป็นส่วนประกอบในอาหารชนิดอื่น ๆ เช่น ไอศกรีมเสาวรส ขนมเค้ก คุ้กกี้ เป็นต้น จากการศึกษาพบว่าวิตามินซีในผลเสาวรส มีมากกว่าในผลมะนาวเสียอีก และยังพบอีกด้วยว่า สาร Albumin homologous protein ในเมล็ด สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ มีสรรพคุณ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ลดไขมันในเลือด และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้อีกด้วย 

    อย่างไรก็ตาม ผลสดของเสาวรสนั้น ยังมีข้อควรระวังอยู่ด้วย นั่นคือ ไม่ควรเคี้ยวให้เมล็ดสดแตก เพราะร่างกายจะได้รับผลข้างเคียงจากสารไซยาไนต์ในเมล็ด และอีกกรณีก็คือ ผู้ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงควรดื่มพอประมาณ 

8. เห็ดฝาง

 เห็ดฟาง

    อาหารสีขาวอย่างเช่น เห็ดฟางนั้น ดีต่อร่างกายมากทีเดียวนะคะ เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แล้ว ยังช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ป้องกันโรคหวัด ต้านมะเร็ง ลดการติดเชื้อและช่วยสมานแผล ที่สำคัญคือ ใครที่ธาตุหนัก ท้องผูกบ่อย ขับถ่ายยาก ควรกินค่ะ เพราะเห็ดฟางมีเส้นใยสูงช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้ด้วย

9. หอม
หอม

    อมก็เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่คนส่วนมากมักเขี่ยทิ้งประจำ เพราะกินแล้วทำให้เกิดกลิ่นปาก ทั้ง ๆ ที่หอมมีสรรพคุณเพียบเลย ดังนี้ 

           - หอมแดง อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดคลอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตและโรคหัวใจ บำรุงสมอง และมีสรรพคุณช่วยรักษาสิวฝ้า 

        - หอมหัวใหญ่ มีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ ช่วยสลายลิ่มเลือด ลดไขมันในเลือด รักษาอาการหวัด แก้อาการจุกเสียดแน่ท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีสรรพคุณรักษาเบาหวาน ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้และหอบหืด 

    ประโยชน์ของหอมมากมายแบบนี้ คงต้องแข็งใจทานกันสักหน่อยเนอะ เพื่อสุขภาพที่ดี 

    10. ขิง



      ขิง สมุนไพรรสชาติเผ็ดร้อนก็มีสรรพคุณช่วยลดคอเลสเตอรอลด้วยเช่นกัน­­­ จากรายงานการศึกษา เผยว่า ขิงมีประโยชน์ต่อผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง โดยพบว่า การผสมขิงสดลงลงในอาหารทีมี่คอเลสเตอรอลผสมอยู่ จะช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดและตับ สำหรับวิธีกินขิงนั้น แนะนำให้กินแบบสดพร้อมกับอาหาร หรือ ฝานเหง้าขิงสด ต้มกับน้ำ หรือ น้ำชา ใช้จิบดื่มเป็นน้ำขิง ชาขิง 

      อย่างไรก็ตาม การกินสมุนไพรเพื่อลดไขมัน ลดคอเลสเตอรอลเพียงอย่างเดียว คงไม่มีทางเห็นผลร้อยเปอร์เซ็นต์แน่นอน เราควรงดกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงไขมันสูงควบคู่กันไปด้วย  มิเช่นนั้น เราก็ยังมีความเสี่ยงเป็นโรคที่เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลสูง และไขมันสูงอยู่ดี เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้เป็นอัมพาต โรคเส้นเลือดที่ขาตีบตัน และโรคเบาหวานเป็นต้น เมื่อรู้ประโยชน์ดี ๆ ของสมุนไพรไทยกันแล้ว ก็อย่าลืมนำไปลิ้มลองรสชาติกันดูนะครับ




    ขอบคุณ  :  http://health.kapook.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์