ความก้าวหน้าการก่อสร้างเขื่อนทดน้ำผาจุก จ.อุตรดิตถ์

จากการที่ได้เคยนำเสนอรายละเอียดการดำเนินงานตาม " โครงการพัฒนาชลประทานอุตรดิตถ์ (เขื่อนทดน้ำผาจุก) "  ไปแล้วเมื่อวันที่  11 พฤษภาคม 2557  นั้น   ถึง ณ ปัจจุบันหลายท่านคงอยากทราบว่าการก่อสร้างได้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว   7 กุมภาพันธ์  2558  เราได้ผ่านเข้าไปบริเวณเขตการก่อสร้างและได้บันทึกภาพความก้าวหน้าการก่อสร้างเขื่อนทดน้ำผาจุก จ.อุตรดิตถ์ มาฝากกันครับ



ขอทบทวนความจำของทุกท่านด้วยการดูภาพจำลองเขื่อนทดน้ำผาจุก จ.อุตรดิตถ์  ส่วนบนของภาพจำลอง = ทิศตะวันออก  ส่วนล่างของภาพ = ทิศตะวันตก  ซ้ายมือของภาพ = ทิศเหนือ  และขวามือของภาพ = ทิศใต้

ภาพนี้เป็นภาพมุมสูงแสดงองค์ประกอบของเขื่อนทดน้ำผาจุก และที่ตั้งของอาคารสถานที่ใกล้เคียงกับตัวเขื่อนทดน้ำ



การวางฐานเขื่อนระยะแรก ๆ  


การปรับแนวตลิ่งท้ายเขื่อน..ภายหลังเปลี่ยนเส้นทางการไหลของแม่น้ำเป็นการชั่วคราว


 การก่อสร้างฐานตัวเขื่อนในแนวทิศตะวันออก - ทิศตะวันตก


การก่อสร้างฐานตัวเขื่อนในแนวทิศเหนือ - ทิศใต้


บริเวณด้านหน้าเขื่อน  มองเห็นคลองผันน้ำ/ชักน้ำ อยู่ทางด้านซ้ายมือ


บริเวณด้านหน้าเขื่อน  มองเห็นคลองผันน้ำ/ชักน้ำ อยู่ทางด้านซ้ายมือ


บริเวณด้านหน้าเขื่อน  มองเห็นคลองผันน้ำ/ชักน้ำ อยู่ทางด้านซ้ายมือ


แนวเขื่อนดินที่สร้างขวางแม่น้ำบริเวณด้านหน้าเขื่อน ซึ่งกำลังก่อสร้างช่องประตูระบายน้ำ


แนวเขื่อนดินที่สร้างขวางแม่น้ำบริเวณด้านหน้าเขื่อน ซึ่งกำลังก่อสร้างช่องประตูระบายน้ำ 


บริเวณด้านหน้าเขื่อน  กำลังก่อสร้างช่องประตูระบายน้ำ


บริเวณด้านหน้าเขื่อน  กำลังก่อสร้างช่องประตูระบายน้ำ


แนวสันเขื่อนตะวันออก - ตะวันตก


แนวสันเขื่อนตะวันออก - ตะวันตก


การก่อสร้างด้านท้ายเขื่อน


บริเวณด้านหลังเขื่อนกำลังก่อสร้างแนวตลิ่งทั้งสองด้าน  รวมทั้งอาคารต่าง ๆ เรียงรายอยู่ฝั่งตะวันออก


บริเวณด้านหลังเขื่อนกำลังก่อสร้างแนวตลิ่งทั้งสองด้าน  รวมทั้งอาคารต่าง ๆ เรียงรายอยู่ฝั่งตะวันออก


บริเวณด้านหลังเขื่อนกำลังก่อสร้างแนวตลิ่งทั้งสองด้าน  รวมทั้งอาคารต่าง ๆ เรียงรายอยู่ฝั่งตะวันออก


โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก จังหวัดอุตรดิตถ์ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอลับแล อำเภอตรอน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัยและอำเภอพรหมพิราม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ชลประทาน 481,400 ไร่ โดยส่วนหนึ่งเป็นการส่งน้ำสนับสนุนและปรับเปลี่ยนระบบส่งน้ำจากเดิม โดยการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเป็นระบบส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วง พื้นที่ 134,800 ไร่ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 ประกอบด้วย ระบบชลประทานคลองส่งน้ำฝั่งซ้าย ความยาวรวม 362 กม. และ ฝั่งขวาความยาวรวม 418 กม. รวมความยาวทั้งสิ้น 780 กม. ระยะเวลาดำเนินการ 9 ปี (พ.ศ. 2553-2561) ในช่วง 4 ปี ของการดำเนินงานที่ผ่านมา การประสานงานของกรมชลประทานกับราษฎรในพื้นที่มีมากน้อยเพียงใด ราษฎรในพื้นที่รับทราบประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น และ ผลกระทบมากน้อยเพียงใดการดำเนินงานมีปัญหา อุปสรรคอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจติดตาม สำหรับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ พื้นที่ก่อสร้างครอบคลุม 8 อำเภอ 38 ตำบลของ 3 จังหวัด ปัญหามีความซับซ้อน ทั้ง ผลกระทบจากการเสียที่ดินทำกิน การกังวลเรื่องราคาค่าทดแทนของราษฎร ปัญหาเชิงพื้นที่มีที่ลุ่มน้ำท่วมขัง ปัญหาอุทกภัย การประสานงาน การชี้แจงทำความเข้าใจย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย


นายอโนทัย จันทร์พูล ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้าง 14  (คนซ้ายมือ)

นายอโนทัย จันทร์พูล ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้าง 14 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน รับผิดชอบโครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า ปี 2557 ที่ผ่านมาโครงการได้ประชุมชี้แจงผู้นำในท้องที่ และ ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 52 ครั้ง ใน 27 ตำบล ทำให้เราได้รับทราบปัญหาในพื้นที่มากขึ้น ตลอดจนการรับฟังความเห็นความต้องการของพี่น้องเกษตรกรโดยตรง มีทั้งที่อยากขอขยายพื้นที่ชลประทานเพิ่มเติม และบางส่วนที่บอกว่ามีแหล่งน้ำในพื้นที่อยู่แล้วไม่ต้องการคลองส่งน้ำเพิ่ม แล้วจะนำไปพิจารณาปรับปรุงแนวทางการก่อสร้างให้เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ และสอดคล้องความต้องการของราษฎรที่เสนอมา อีกทั้งต้องมีความเหมาะสมเป็นไปได้ในทางวิศวกรรมด้วย ปีที่ผ่านมาเราเน้นลงพื้นที่เพื่อให้สามารถสรุปแนวทาง และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุดในหลายพื้นที่มีความพอใจ แต่อีกหลายพื้นที่อาจยังรอการชี้แจงเพิ่มเติม

ประเด็นแรก ผลกระทบด้านพื้นที่ของราษฎรเนื่องจากพื้นที่ทำกินของราษฎรส่วนใหญ่มีน้อย หากคลองส่งน้ำตัดผ่านราษฎรจะสูญเสียที่ดินจนเหลือไม่เพียงพอที่จะทำการเกษตรได้ ซึ่งกรมชลประทานได้แก้ไขปัญหาโดยการแก้แบบก่อสร้างคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาช่วง กม.0+000 ถึงกม.60+000 เพื่อลดพื้นที่การก่อสร้างลง จากเดิมความกว้าง 100-110 เมตร ให้เหลือไม่เกิน 60 เมตร ซึ่งการแก้ไขแบบก่อสร้างไม่ได้เป็นการลดความสามารถในการส่งน้ำ แต่ไปลดในส่วนองค์ประกอบอื่นของคลองส่งน้ำรวมทั้งปรับเปลี่ยนแนวก่อสร้างคลองส่งน้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และการถือครองที่ดินของราษฎร

ประเด็นที่สอง ผู้นำในท้องที่ที่คลองส่งน้ำตัดผ่านต้องการให้ขยายพื้นที่ชลประทานให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ซึ่งได้แก้ปัญหาโดยการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและระบบส่งน้ำเพิ่มเติมในเขตพื้นที่ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 2 สถานี พื้นที่ชลประทานรวมประมาณ 5,500 ไร่ และในเขตพื้นที่ตำบลงิ้วงาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 2 สถานี พื้นที่ชลประทานรวมประมาณ 11,000 ไร่ สถานีสูบน้ำและระบบส่งน้ำดังกล่าว ได้วางแผนที่จะเริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา สำรวจและออกแบบ

ประเด็นที่สาม ราษฎรกังวลเรื่องน้ำท่วมในพื้นที่ทั้งในส่วนที่เป็นการท่วมซ้ำซากที่เกิดขึ้นทุกปี และจากการก่อสร้างคลองส่งน้ำขวางทางน้ำ ซึ่งกรมชลประทานรับไปพิจารณาเพื่อปรับปรุงแก้ไขแบบก่อสร้าง รวมทั้งดำเนินการก่อสร้าง หรือขุดลอกคลองระบายน้ำในแต่ละพื้นที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาแก้ปัญหาการก่อสร้างคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ช่วงที่ผ่านตำบลน้ำริด และช่วงผ่านตำบลท่าเสา เป็นต้น

ประเด็นที่สี่ ผู้นำในท้องที่และราษฎรบางส่วนคัดค้านการก่อสร้างคลองซอยและคลองแยกซอย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทับซ้อนกับคลองระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการก่อสร้าง เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ และกรมชลประทานจะพิจารณาปรับเปลี่ยนแนวคลอง หรือชะลอการก่อสร้างส่วนที่มีปัญหาออกไปก่อนจนกว่าพื้นที่จะมีความพร้อมที่จะดำเนินการก่อสร้าง

ประเด็นที่ห้า ราษฎรกังวลเรื่องค่าอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่เวนคืน เพื่อก่อสร้างในการประชุมคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในเขตท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพิจารณาราคาค่าทดแทนทรัพย์สินต่างๆ ในแต่ละท้องที่เพื่อให้เจ้าของที่ดินได้รับค่าทดแทนที่เป็นธรรม การกำหนดราคาจึงรอรับฟังความเห็นจากคณะทำงานดังกล่าวก่อน ปัจจุบันคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ จึงยังไม่มีมติในการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยความสำเร็จของโครงการนี้ จึงไม่ใช่เพียงการดำเนินงานของกรมชลประทาน หรือ จังหวัดอุตรดิตถ์เท่านั้น แต่ทุกภาคส่วน ท้องถิ่น ท้องที่ เจ้าของที่ดิน และ ชาวอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ที่ได้รับประโยชน์ เป็นทุกองค์ประกอบที่จะทำให้โครงการดังกล่าวสำเร็จลุล่วงสมกับที่เกษตรกรเฝ้ารอรับน้ำกันมาหลายปี ส่วนโครงการได้แก้ไขปัญหาไปแล้วบางส่วน เช่น การปรับลดขนาดเขตคลอง การพิจารณาแนวทางลดปัญหาอุทกภัย ด้านการจัดหาที่ดินนั้นกรมชลประทานมีแนวทางการดำเนินงานใน 2 ส่วน คือ การขอเจรจาซื้อขาย และการประกาศพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ซึ่งโครงการดังกล่าว ฯ ได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนในคลองส่งน้ำสายใหญ่ เนื่องจากแนวคลองยาว และจำเป็นต้องชดเชยต่อเนื่องตลอดสาย สำหรับคลองซอยนั้นใช้วิธีการเจรจาซื้อขาย และถ้าจำเป็นก็จะเสนอใช้พระราชกฤษฎีกาในเฉพาะส่วนที่จำเป็นเท่านั้น ล่าสุดการก่อสร้างเขื่อนผาจุก ได้ดำเนินการไปแล้วกว่า 55 %  นายอโนทัย กล่าวทิ้งท้าย




ขอบคุณ  :  1) http://www.oknation.net

                2) http://pitloknews.com

              3) http://www.banmuang.co.th

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์