การเพาะเมล็ดไม้ยางนาทำได้ไม่ยากหากรู้จริง



ผู้เขียนได้เคยนำเสนอเรื่อง " ปลูกไม้ยางนาเพื่อการอนุรักษ์ "  ไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ 11  กรกฎาคม  2556  ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากผู้ชี่นชอบต้นไม้ โดยเฉพาะไม้ยางนามากพอสมควรด้วยกัน   มาวันนี้มีข้อมูลใหม่จากผู้มากประสบการณ์ต่อการเพาะเมล็ดไม้ยางนา และผนวกกับประสบการณ์ตรงของผู้เขียนเองมาเล่าสู่กัน....เพื่อเพิ่มทางเลือกที่ดีที่สุดแก่ทุกคนที่สนใจ


ช่วงแรก  จะเป็นข้อมูลของ คุณ  DETUDOM FC  จาก http://www.bloggang.com




ผลยางนาที่ดี และมีเปอร์เซ็นการงอกสูงต้องเก็บมาขณะที่ยังสด ร่วงใหม่ ๆ 


เมื่อผ่าเมล็ดออกมาจะมีสีขาว เมล็ดมีความชื้นจับดูรู้สึกได้


เพาะโดยใช้แปลงดิน ตัดใบทิ้งวางเมล็ดตามแนวนอน บางท่านใช้วิธีเสียบหัวลงไม่ตัดปีก 
(การตัดปีกทำให้เมล็ดสูญเสียความชืน เพราะปีกเป็นที่เก็บความชื้นหล่อเลีย้งเมล็ด)


ปิดทับด้วยฟางข้าว รดน้ำ 2-3 ครั้ง/วัน 7-10 วันจึงจะเริ่มเห็นรากโผล่
ข้อเสียวิธีนี้คือ ต้องรอให้ใบโผล่ ซึ่งนานมาก เมื่อย้ายกล้าก็กระทบกระเทือนราก 
และบางแห่งมีปลวกมาก....เมื่อดินชื้น ปลวกมากัดกินเมล็ด


อีกวิธีหนึ่งคือ การเพาะยางนาในบ่อซีเมนต์ ( 1 กก.มีเมล็ดยางนา 250 เมล็ด ตัดปีก )


ยางนาที่ได้ นำมาแช่น้ำ 2-3 ชม. บางท่านบอก 1 คืน... เพื่อให้เปลือกดูดน้ำเป็นการเพิ่มความชื้นให้กับเมล็ดยางนา


บ่อซีเมนต์ (บ่อควรมีท่อระบายน้ำ)


ปูพื้นด้วยฟางข้าวให้หนาพอประมาณ



นำเมล็ดยางนามาวางบนฟางข้าว กระจายให้ทั่่วๆ ซ้อนทับกันก็ไม่เป็นไร



ปิดทับด้วยฟางข้าวอีก รดน้ำให้เปียก วันละ 2 ครั้ง



เมล็ดยางนาที่เพาะก่อนๆโดยเพาะลงแปลงดิน ผ่านมา 5 วันยังไม่งอก



หลังจากเพาะในบ่อได้ 7-10 วัน เมล็ดยางนาจะเริ่มแทงรากออกมา 



ย้ายลงถุงดำขนาด  5x10   ระมัดระวังรากที่งอกออกมาเป็นพิเศษ



*** ข้อควรระวัง เมล็ดยางนา อย่ารอให้รากยาวมาก จะทำการย้ายลงถุงลำบาก และ อย่าให้เมล็ดที่มีราก โดนแดด และควรหาวัสดุคลุมเมล็ดไว้ด้วย เพื่อรักษาความชื้น เพราะรากยางนาเหี่ยวเร็วมาก ประมาณ 1 ชม.จะเหี่ยว ควรระวังตรงนี้ ****

ช่วงที่สอง  เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เขียน

เดือนเมษายน 2556  ได้ไปร่วมงานอุปสมบท ณ วัดแห่งหนึ่ง  ระหว่างที่รอพิธีการต่าง ๆ ได้เดินเที่ยวชมไปรอบ ๆ วัด และพบว่ามีต้นยางนาขนาดใหญ่อยู่ 4 ต้นกำลังมีผล(ลูกยาง)ร่วงอยู่โดยรอบ  จึงกำหนดไว้ในใจว่าถ้าแห่นาครอบโบสถ์ และนาคเข้าโบสถ์เรียบร้อยแล้ว  จะต้องกลับไปเก็บผล(ลูกยาง)กลับบ้านให้ได้  ซึ่งก็ไม่พลาดตามที่วางแผนไว้ เก็บผล(ลูกยาง)ได้ประมาณ 20 กว่าผล  ถึงบ้านรีบตัดปีกและแช่น้ำ 1 คืน  วันรุ่งขึ้นได้นำผลที่แช่น้ำไว้ปักลงถุงดำ+รดน้ำ

ผ่านไปประมาณ 10 กว่าวัน สังเกตเห็นว่ามีการงอกเกิดขึ้นนับลได้  10 ถุง บอกตรง ๆ ว่าภูมิใจมากที่เราก็ทำได้  จำได้ว่าผลยางที่เก็บมามีทั้งที่ยังสด(หัวเขียว) และแห้ง(หัวน้ำตาล)  สรุปได้ชัดเจนว่าต้องเลือกผลยางที่ยังสดและร่วงใหม่ ๆ จริง ๆ จึงจะมีเปอร์เซ็นการงอกสูง


 ผล/เมล็ดยาง 10 ถุง ที่กำลังงอก....26/4/56


 การงอกของเมล็ดยางนาจะมีความแปลกแตกต่างจากการงอกของเมล็ดผลไม้ทั่ว ๆ ไป  กล่าวคือ รากแก้วของเมล็ดยางนาจะงอกออกมาแล้วงอโค้งแทงลงดินเพื่อยึดลำต้น และเตรียมพร้อมกับการแตกยอดอ่อนต่อไป


ยอดอ่อนกำลังแตกออกมาให้เห็น  29/4/56


ใบอ่อน 2 ใบแรกของยางนา   6/5/56


จากใบอ่อนคู่แรกของยางนา...สู่ใบอ่อนคูใหม่   11/5/56


ปัจจุบันกล้ายางที่เพาะไว้ยังเจริญงอกงามไปตามปกติเพียง 5 ต้น  ความสูงประมาณ 2 ฟุตกว่า ๆ  ฝนนี้คงจะนำไปปลูกที่สวนเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว  4  ต้น  


ต้นยางนา 2 ใน 4 ต้น อายุ 2 ปี ที่ปลูกร่วมกับไม้สัก  


ช่วงที่สาม  :  เทคนิคเพิ่มเติม

จาก http://www.khundong.com/forums/index.php? topic=183.0
 
การเพาะเมล็ดไม้วงศ์ยางนา พะยอม ยางนา ตะเคียน พลวงฯลฯ 

ในสังกัดผมจะมี 8 ชนิดได้แก่ พลวง เหียง กราด ยางนา ตะเคียน เต็ง รัง พะยอม  ขอแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่งอกเร็ว และที่งอกช้า  ก่อนจะนำไปเพาะให้ตัดปีกออก ระวังอย่าให้โดนส่วนที่เป็น จุกของเมล็ดเพราะรากจะงอกออกมาจากตรงนั้น ครับ 

1. พวกงอกเร็ว มี 3 ชนิดคือ เหียง เต็ง รัง ตะเคียนทอง พวกนี้งอกเร็วมาก 1-3 วันหลังจากร่วงก็จะงอกแล้ว ครับ ผมจะนำใส่กระสอบ 2 วันเปิดดู แล้วนำต้นที่รากงอกแล้วมาจิ้มลงถุงที่มีวัสดุตามแบบของขุนดง (ดิน/แกลบดำ/ปุ๋ยคอก) 20/20/1 แล้วก็เปิดดูทุกวัน จนมั่นใจว่าไม่มีเมล็ดไหนงอกแล้ว

2. พวกที่งอกช้า ใช้เวลา 20-45 วันแล้วแต่ชนิด ได้แก่ ยางนา พลวง พะยอม กราด ผมจะนำใส่กระสอบ แล้วรดน้ำทุกวัน เมื่อผ่านไป 15 วันก็เริ่มเปิดดู แล้วทำต่อเหมือนกลุ่มที่ 1 แต่กลุ่มนี้ไม่ต้องเปิดทุกวัน ให้เปิด ทุก 4-5 วันก็ได้ จนกว่าจะมั่นใจว่าไม่มีเมล็ดไหนงอกอีกแล้ว

* ตอนจิ้มลงถุงให้จิ้มลงเฉพาะส่วนรากนะครับ โดยให้เมล็ดนอนอยู่บนดินในถุง

** จากนั้นก็นำต้นกล้าเข้าเรือนเพาะชำที่แดด 50 % พรมน้ำไปเรื่อยๆ ต้นอ่อนก็จะงอกขึ้นมาจากกลางรากที่แทงลงดิน


ต้นไม้มีประโยชน์ต่อคน ต่อสัตว์ และต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  ผู้เขียนเป็นอีกคนหนึ่งที่มีความรักต้นไม้และธรรมชาติที่สวยงาม  จึงอยากเชิญชวนให้ท่านที่สามารถทำได้  ช่วยกันปลูกต้นไม้ที่ท่านชอบ  1  คน  1  ต้น.....ล้านคน....ก็ล้านต้น..นะครับ !!




ขอบคุณ :  http://www.bloggang.com และ http://www.khundong.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์