ลูกไม้..หล่นไกลต้น 1
สำหรับเรื่องราวของ “ลูกไม้..หล่นไกลต้น” จะโฟกัสไปที่ลูกไม้ที่มีปีก 4 แบบ คือ แบบใบพัดเดียว ปีกแบบใบพัดสองใบ หรือหลายใบ ปีกแบบครีบ และปีกแบบใบเรือ มากที่สุด ทั้งนี้สืบเนื่องจากมีความแปลกตา น่าสนใจ และมีความสวยงามมากกว่าลูกไม้แบบอื่น ๆ อนึ่ง “ลูกไม้..หล่นไกลต้น” มีปริมาณสาระต่าง ๆ โดยรวมเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องจัดแบ่งการนำเสนอเป็นชุด ๆ และในครั้งนี้นับเป็นชุดที่ 1 ประกอบด้วยลูกไม้มีปีก ได้แก่ มะฮอกกานีใบใหญ่ มะฮอกกานีใบเล็ก และยมหอม
***********************************************************************************
ชื่อ (Thai
Name) มะฮอกกานีใบใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific
Name) Swietenia macrophylla . King
ชื่อวงศ์ (Family) MELIACEAE
ชื่อเรียกอื่น (Other
Name) -
ลักษณะ (Characteristics)
มะฮอกกานีใบใหญ่จะเป็นทรงกระบอก ลำต้นเปลาตรง ใช้เวลานานกว่าที่กิ่งก้านจะแผ่พุ่มกว้างออกไป โตเต็มที่จะสูงได้ถึง 15-20เมตร ขนาดของทรงพุ่มกว้างประมาณ 4-6 เมตร ลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มปนดำ เปลือกลำต้นหยาบ
ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงตรงข้าม
ใบย่อยรูปรีหรือขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือแหลมเบี้ยว
ด้านบนสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง
ดอกสีเหลืองอ่อน
เหลืองอมเขียว กลิ่นหอม ออกตามง่ามปลายกิ่ง
ฝักหรือผลรูปไข่สีน้ำตาล เปลือกแข็ง
เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม มีปีกแบบใบพัดเดียว
การกระจายพันธุ์ (Distribution)
ออกดอก ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด โดยธรรมชาติจะอาศัยการดีดตัวจากฝัก ผสมกับแรงลมและปีกเดี่ยวช่วยพยุงเมล็ดให้ลอยไกลไปจากต้นแม่ได้
ประโยชน์ (Utilization)
**มะฮอกกานีให้เนื้อไม้ที่ดีที่สุดในโลก เนื้อไม้ลายสวย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง
เครื่องดนตรี ด้ามแล็กเก็ต ไม้คิวสนุ๊กเกอร์ ฯลฯ ใช้ตกแต่งบ้าน ที่นิยมกันมากเช่นนี้คงเป็นเพราะมีทั้งความงดงามของเนื้อไม้บวกกับความง่ายในการแปรรูปเนื้อไม้นั่นเอง
**ใช้ปลูกให้ร่มเงา
และปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี
**สรรพคุณทางยา เมล็ดรสขมจัด แก้ไข้มาลาเรีย ที่เรียกว่า “ไข้ป่า”
เปลือกต้นแก้ไข้ เจริญอาหาร
***********************************************************************************
ชื่อ (Thai Name) มะฮอกกานีใบเล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name) Swietenia macrophylla (L.) Jacq.
ชื่อวงศ์ (Family) MELIACEAE
ชื่อเรียกอื่น (Other Name) -
ลักษณะ (Characteristics)
มะฮอกกานีใบเล็ก ทรงพุ่มเป็นวงรีหรือรูปไข่ สวยงามกว่า เส้นผ่านศูนย์กลางของทรงพุ่ม อยู่ที่ประมาณ 5-6 เมตร ระยะห่างจากหลุมปลูกถึงตัวบ้านอย่างน้อยๆ ก็ควรจะมีถึง 7 เมตร ต้นมะฮอกกานีใบเล็กโตเต็ม 15-18 เมตร เตี้ยกว่ามะฮอกกานีใบใหญ่เล็กน้อย ลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มปนดำ แต่ผิวเปลือกจะละเอียด เนียนกว่ามะฮอกกานีใบใหญ่

ใบของต้นมะฮอกกานีใบเล็ก มีลักษณะเหมือนกับมะฮอกกานีใบใหญ่ เพียงแต่มีขนาดย่อส่วนลงไปกว่ามะฮอกกานีใบใหญ่
มะฮอกกานีใบเล็ก ทรงพุ่มเป็นวงรีหรือรูปไข่ สวยงามกว่า เส้นผ่านศูนย์กลางของทรงพุ่ม อยู่ที่ประมาณ 5-6 เมตร ระยะห่างจากหลุมปลูกถึงตัวบ้านอย่างน้อยๆ ก็ควรจะมีถึง 7 เมตร ต้นมะฮอกกานีใบเล็กโตเต็ม 15-18 เมตร เตี้ยกว่ามะฮอกกานีใบใหญ่เล็กน้อย ลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มปนดำ แต่ผิวเปลือกจะละเอียด เนียนกว่ามะฮอกกานีใบใหญ่
ใบของต้นมะฮอกกานีใบเล็ก มีลักษณะเหมือนกับมะฮอกกานีใบใหญ่ เพียงแต่มีขนาดย่อส่วนลงไปกว่ามะฮอกกานีใบใหญ่
ส่วนดอก ฝักหรือผล มีลักษณะคล้ายคลึงกับมะฮอกกานีใบใหญ่ เพียงแต่ส่วนของเมล็ดมะฮอกกานีใบเล็กเท่านั้นที่ยังมีข้อมูลให้พบค่อนข้างน้อยมาก ทำให้ต้องใช้วิธีการอนุมานจากข้อมูล/ข้อความของ http://www.kasetporpeang.com ว่าภาพของเมล็ดของต้นมะฮอกานีข้างล่างนี้น่าจะเป็นเมล็ดของมะฮอกกานีใบเล็ก ซึ่งต่างจากต่างจากมะฮอกกานีใบใหญ่ เพราะเป็นปีกแบบครีบ (หากท่านใดมีข้อมูลที่ชัดเจนกว่านี้...กรุณาให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้นะครับ)
***********************************************************************************
ผล แห้ง ยาว 15-20 มม. สีน้ำตาลอมแดงเรื่อ เปลือกเรียบ หรือมีช่องอากาศเล็กๆ กระจายทั่วไป เมล็ด
*** ผล รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว *** เนื้อไม้แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง มีลายสวยงาม ใช้ทำเครื่อดนตรี เฟอร์นิเจอร์ *** ดอกเป็นสีใช้ย้อมผ้าฝ้าย ผ้าไหม ให้สีเหลืองหรือแดง *** เปลือกต้น เป็นยาฝาดสมาน ยาบำรุง ยาแก้มาลาเรีย ยาแก้ท้องผูก ยาแก้โรคบิด ใช้ภายนอกรักษาแผล
ขอบคุณ : 1) http://community.akanek.com 2) http://www.bloggang.com
"เมื่อเช้านี้พอมีเวลาว่างเลยไปด้อมๆมองๆใต้ต้นมะฮอกกานีพันธุ์ที่มาจากฝั่งเศษ แถวๆชานเมืองกรุงพนมเปญ ปรากฏว่าเมล็ดที่ผลของเค๊าแตกออกปลิวเต็มใต้ต้นเลย เลยเก็บมาหวังจะลองเพาะดู...เผื่อจะงอก จะได้เอามาปลูกป่าในที่ดินของตัวเองบ้าง ชอบที่ต้นของเค๊าใหญ่โตมโหฬารจริงๆ"
"เห็นเมล็ดของเค๊ายังใหม่ๆอยู่หวังว่าจะเพาะขึ้นครับ ลักษณะเมล็ดของเค๊าแตกต่างจากของพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย ไม่มีหางยาวๆ...แต่เป็นแผ่นบางๆอย่างนี้ครับ"
การกระจายพันธุ์ (Distribution)
ถิ่นก าเนิดอยู่ที่อเมริกาเขตร้อน ดอกมีสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอมเขียว จะมีดอกช่วงเดือนมีนาคม -กรกฎาคม ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 10 –15 ซม.
ตามปลายกิ่งและตามง่ามใบ
ผล ติดผลรูปรีชูตั้งขึ้น ผลแก่สีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด โดยธรรมชาติจะอาศัยการดีดตัวจากฝัก ผสมกับแรงลมและปีกแบบครีบช่วยพยุงเมล็ดให้ลอยไกลไปจากต้นแม่ได้
ประโยชน์ (Utilization)
**มะฮอกกานีให้เนื้อไม้ที่ดีที่สุดในโลก เนื้อไม้ลายสวย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง เครื่องดนตรี ด้ามแล็กเก็ต ไม้คิวสนุ๊กเกอร์ ฯลฯ ใช้ตกแต่งบ้าน ที่นิยมกันมากเช่นนี้คงเป็นเพราะมีทั้งความงดงามของเนื้อไม้บวกกับความง่ายในการแปรรูปเนื้อไม้นั่นเอง
**ใช้ปลูกให้ร่มเงา และปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี
**สรรพคุณทางยา เมล็ดรสขมจัด แก้ไข้มาลาเรีย ที่เรียกว่า “ไข้ป่า” เปลือกต้นแก้ไข้ เจริญอาหาร
***********************************************************************************
ชื่อ (Thai Name) ยมหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name) Toona ciliata M.Roem.
ชื่อวงศ์ (Family) MELIACEAE
ชื่อเรียกอื่น (Other Name) ลำยม(ลั้วะ) ยมฝักดาบ (ภาคเหนือ) เล้ย (กระเหรี่ยง-กาญจนบุรี) สะเดาดง (กาญจนบุรี) สีเสียดหอม (พิษณุโลก) สีเสียดอ้ม (ไทย)
ลักษณะ (Characteristics)
เป็นต้นไม้ขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูงถึง 35 ม. เส้นรอบวงยาว 152 ซม. มีพูพอนหรือไม่มี เรือนยอด
กลมและแผ่กว้าง บางครั้งค่อนข้างหนาแน่น เปลือกสีขาวปนเทา หรือสีน้ำตาลมันแตกเป็นร่อง
ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคู่ บางครั้งพบปลายคี่ ยาว 26-69 ซม. แกนกลางใบเกลี้ยง หรือมีขนยาว
กระจาย มักมีสีแดงเรื่อ ก้านใบยาว 6-11 ซม. เกลี้ยง หรือมีขนยาวห่างๆ ใบย่อยมี 9-15 คู่ รูปใบหอก
หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 3.2-5 ซม. ยาว 9-12.8 ซม. ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนเบี้ยว ขอบ
เรียบ ขนเกือบเกลี้ยง มีขนบนเส้นกลางใบด้านบน ก้านใบย่อยยาว 0.2-1 ซม. ขนเกือบเกลี้ยง
ดอก สีขาว หรือขาวอมครีม มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อยาวถึง 55 มม.ห้อยลง แกนกลางช่อดอกมีขน ก้าน
ดอกย่อยยาว 0.5-1 มม. มีขน ดอกยาว 3.5-5 มม. กลีบเลี้ยงยาว 0.75-1.25 มม. มักมีขนด้านนอก ปลาย
จักเป็น 5 พู ขอบพูมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ กว้าง 1.3-3 มม. ยาว 3.5-5.8 มม. มักเกลี้ยง หรือมีขนด้าน
นอก ขอบมีขนยาว เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดอยู่บนก้านชูเกสรร่วมซึ่งยาว 3-4.9 มม. ก้านเกสรเพศผู้ยาว
1.25-1.8 มม. มีขนยาวเล็กน้อย มี 5 ช่องแต่ละช่องมีไข่อ่อน 8 หน่วย ก้านเกสรเพศเมียยาว 1.2-3 มม.
ในดอกเพศเมียจะสั้นและเล็กกว่า ขนเกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียเป็นรูปจาน เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 0.75-
1.25 มม.
ผล แห้ง ยาว 15-20 มม. สีน้ำตาลอมแดงเรื่อ เปลือกเรียบ หรือมีช่องอากาศเล็กๆ กระจายทั่วไป เมล็ด
กว้าง 1.2-3 มม. ยาว 5-7 มม. มีปีกทั้ง 2 ด้าน ปีกไม่เท่ากัน ปลายมนแคบ
การกระจายพันธุ์ (Distribution)
พบตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงปาปัวนิวกินี ขึ้นตามชายป่าที่ชื้นหรือเปิดใหม่ ที่ระดับความสูง 300-1,500 ม. ออกดอกและติดผลช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม
ประโยชน์ (Utilization)
*** ผล รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว *** เนื้อไม้แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง มีลายสวยงาม ใช้ทำเครื่อดนตรี เฟอร์นิเจอร์ *** ดอกเป็นสีใช้ย้อมผ้าฝ้าย ผ้าไหม ให้สีเหลืองหรือแดง *** เปลือกต้น เป็นยาฝาดสมาน ยาบำรุง ยาแก้มาลาเรีย ยาแก้ท้องผูก ยาแก้โรคบิด ใช้ภายนอกรักษาแผล
ขอบคุณ : 1) http://community.akanek.com 2) http://www.bloggang.com
3) http://www.kasetporpeang.com 4) http://www.rbru.ac.th
5) http://eherb.hrdi.or.th 6) http://www.taweesap.com
7) http://paro6.dnp.go.th 8) http://www.mcp.ac.th
5) http://eherb.hrdi.or.th 6) http://www.taweesap.com
7) http://paro6.dnp.go.th 8) http://www.mcp.ac.th
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น