ปีกของลูกไม้...ความงดงามแห่งธรรมชาติ

การเขียนเกี่ยวกับปีกของลูกไม้ครั้งนี้  สืบเนื่องมาจากมีความสนใจและรักต้นไม้เป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว  และยิ่งเป็นลูกไม้ที่มีความพิเศษต่างจากลูกไม้ทั่ว ๆไป  ก็ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นถึงความสร้างสรรค์ของธรรมชาติ  บวกกับความแปลกและมุมมองทางด้านศิลปะ ความงดงามจากวิวัฒนาการของรูปร่าง และขนาดของปีกเหล่าลูกไม้นานาพันธุ์ในป่าไม้ของเมืองไทยเรา

อีกประการหนึ่ง  มีความตั้งใจที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกไม้มีปีกที่น่าสนใจให้ได้มากที่สุด  เพื่อบันทึกไว้สำหรับการสืบค้นเชิงวิชาการ และเรียนรู้แก่บรรดาเด็กเยาวชน  รวมทั้งผู้ที่มีความสนใจและรักต้นไม้อีกด้วย  ผู้เขียนตระหนักดีว่าสถานการณ์ปัจจุบันจำนวนป่าไม้ลดลงไปเป็นจำนวนมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฝนลดจำนวนลงตามไปด้วย  การปลูกนิสัยความรักต้นไม้จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่ต้องอาศัยความเข้าถึงและร่วมมือกัน  เพื่อให้ป่าไม้ของเมืองไทยเพิ่มพื้นที่ขึ้นอย่างต่อเนื่องครับ

หลายท่านคงค้นเคยกับสำนวนไทย ๆ ที่ว่า “ลูกไม้หล่น..ไม่ไกลต้น”  เป็นสำนวนไทยที่ใช้เชิงเปรียบเทียบของคนเรา  แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นลูกไม้ของต้นไม้ละก้อ   ต้องเปลี่ยนเป็นใช้คำว่า “ลูกไม้หล่น..ไกลต้น”  จึงจะถูกต้องตามหลักธรรมชาติของพืชพันธุ์ทั่ว ๆ ไป  ทั้งนี้เพราะลูกไม้ หรือผล หรือเมล็ดของต้นไม้มีหน้าที่ขยายพันธุ์ และแพร่กระจายพันธุ์พืชไปในที่ต่างๆ ที่ห่างไกลจากต้นแม่ หรือเสาะแสวงหาถิ่นที่อยู่อาศัยใหม่ที่เหมาะสมกว่าที่เดิม  เพื่อไม่ให้พืชสูญพันธุ์ รวมทั้งลดการแออัดของประชากรเพื่อลดการแก่งแย่งกับไม้ต้นแม่อีกด้วย  โดยมีลมเป็นพาหะที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อการแพร่กระจายพันธุ์ของพืช  ดังนั้นพืชแต่ละชนิดต่างก็มีวิวัฒนาการรูปร่างของเมล็ดให้สามารถลอยตามลมไปได้ไกลๆ โดยมีรูปแบบแตกต่างกันไป  ได้แก่


1. เมล็ดแบบเครื่องร่อน (Glider)

เมล็ดมีน้ำหนักเบา รูปร่างแบน และมีปีกที่ช่วยพยุงเมล็ดให้ร่อนไปได้ไกลที่มีลักษณะบางใสและเหนียว เช่น เพกา (Oroxylum indicum (L.) Kurz  ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus Kurz)  ม้าทะลายโรง (Neuropeltis racemosa Wall.)  


 

ดอกเพกา  


ฝักเพกา   


 เมล็ดเพกา


ดอกประดู่


เมล็ดประดู่


2. เมล็ดแบบร่มชูชีพ (Parachutes)

เมล็ดมีขนาดเล็กเบา มีขนฟูยาวหรือเป็นเส้นและเหนียวทนทานเกิดเป็นกระจุกอยู่บนก้านยาวต่อจากเมล็ดคล้ายร่ม  เช่น เถากระเพาะปลา(Finlaysonia maritima Backer ex K. Heyne)



 ต้นกระเพาะปลา 


 เมล็ดกระเพาะปลา 


3. เมล็ดแบบมีปีก  ปีกของเมล็ดเกิดได้จากหลายส่วน และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามส่วนที่พัฒนามาเป็นปีก

ปีกของลูกไม้เกิดขึ้นได้อย่างไร  ปีกของลูกไม้เกิดขึ้นได้ใน  2  ลักษณะ คือ 

1. ปีกของลูกไม้เจริญจากรังไข่หรือผนังผล เมล็ดและปีกจะเชื่อมติดกัน ได้แก่ พืชวงศ์ถั่ว (Leguminosae) พืชวงศ์เมเปิล (Aceraceae) พืชส่วนใหญ่ในวงศ์สมอ (Combretaceae) เป็นต้น

2. ปีกที่เจริญจากกลีบเลี้ยง เมล็ดและปีกจะไม่เชื่อมติดกัน ได้แก่  พืชวงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) เป็นต้น 


รูปแบบของลูกไม้มีปีก

1. ปีกแบบใบพัดเดียว (ปีกมีรูปร่างคล้ายแผ่นใบพัดใบเดียว ปีกจะมีความลาดเทซึ่งจะทำให้ปีกหมุนได้ดีเมื่อร่วงจากต้นแม่ เช่น มะฮอกกานีใบใหญ่ (Swietenia macrohylla King)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มะฮอกกานี

ฝักมะฮอกกานี  


เมล็ดมะฮอกกานี


2. ปีกแบบใบพัด  ปีกมีรูปร่างคล้ายแผ่นใบพัดสองใบหรือหลายใบคล้ายใบพัดพัดลม ส่วนใหญ่ปีกแบบใบพัดเกิดจากใบประดับรองรับช่อดอก เช่นยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don)  แพ่งเครือ (Sphenodesme mollis Craib)



ลูกยางนา


    ลูกยางนา


ดอก ผล และเมล็ดแพ่งเครือ


3. ปีกแบบครีบ  ปีกมีรูปร่างคล้ายครีบหนาเหนียวแผ่ออกตามความยาว เช่น ข้าวสารค่าง (Cardiopteris quinqueloba (Hassk.) Hassk)  สะแกนา (Combretum quadrangulare Kurz)



 เมล็ดต้นข้าวสารค่าง  


เมล็ดต้นสะแกนา


4. ปีกแบบใบเรือ  ปีกเป็นกาบบางๆ โป่งด้านเดียวเป็นกระเปาะรูปร่างคล้ายใบเรือ เช่น พุงทะลาย (Scaphium scaphigerum (Wall. ex G.Don) Planch.)  ปออีเก้ง (Pterocymbium tinctorium Merr.)



เมล็ดต้นพุงทะลาย   


เมล็ดต้นปออีเก้ง


ในครั้งต่อ ๆไป  เราจะได้ทำความรู้จักกับลูกไม้มีปีก ทั้ง 4 รูปแบบ  ให้มากยิ่งขึ้นกว่าตัวอย่างข้างต้น  เริ่มจาก ปีกแบบใบพัดเดียว  ปีกแบบใบพัด  ปีกแบบครีบ   และปีกแบบใบเรือ  ตามลำดับ..ครับ




ขอบคุณ  :  1)  พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา  จ.ประทุมธานี

              2)  https://www. frynn.com

              3)  http://www.biogang.net

              4)  http://www.qsbg.org

              5)  http://www.phargarden.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

ต่อหัวเสือ...ไม่ร้ายอย่างเสือ