ประวัติศาสตร์เมืองพิชัย
ตัวเมืองพิชัยเดิม ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน หรือเหนือขึ้นไปจากสถานีรถไฟพิชัย ยังมีกำแพงเมืองและวัดเก่าในเมืองปรากฏเป็นหลักฐานอยู่จนถึงเวลาปัจจุบัน เมืองพิชัยปรากฏชื่อในพงศาวดารเหนือร่วมกับเมืองสวรรคโลกและเมืองพิษณุโลก ทำให้มีการสันนิษฐานว่ามีมาก่อนการสร้างพระนครศรีอยุธยา ตราในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ต่างก็กล่าวถึงเมืองพิชัยกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ในช่วงต่าง ๆ เช่น ใน พ.ศ.2037 สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดให้สร้างกำแพงเมืองพิชัยครั้งทำศึกกับเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่ และครั่งสำคัญในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่กล่าวถึงสงครามกับพม่าและบทบาทของพระยาพิชัยดาบหัก เจ้าเมืองพิชัย ดูเหมือนคนทั่วไปในทุกวันนี้ส่วนใหญ่จะรู้จักเมืองพิชัยในลักษณะที่สำพันธ์กับพระยาพิชัยดาบหัก ที่ทางบ้านเมืองถือว่าเป็นต้นตระกูลไทยคนหนึ่ง จนทำให้เกิดนิทานนิยายต่าง ๆ เกี่ยวกับวีรบุรุษท่านนี้
ในศิลาจารึกกรุงสุโขทัยไม่ได้กล่าวถึงชื่อเมืองพิชัยเลย แต่ในกฎหมายเก่า คือ กฎหมายลักษณะนายทหารหัวเมืองซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ.1997 ในรัชสมัยของพระบรมไตรโลกนาถออกชื่อเมืองพิชัยว่า “ออกญาผู้ครองเมืองพิชัย พิจิตร นครสวรรค์ จันทบูร ไชยา พัทลุง ชุมพร นา 5,000 พระพิชัยสงคราม พระรามคำแหง นา 5,000” จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เมืองพิชัยเคยเป็นเมืองขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเท่านั้น ดังปรากฎกล่าวถึงในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า ใน พ.ศ. 2033 แรกก่อกำแพงเมืองพิชัย ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ทางกรุงศรีอยุธยาทำสงครามกับเมืองเชียงใหม่นั่งเอง แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า บริเวณที่เป็นเมืองพิชัยนี้ไม่ได้มีผู้คนมาก่อน คงเป็นบริเวณที่มีชุมชนหมู่บ้านเกิดขึ้นแล้วตามริมฝั่งลำน้ำน่านที่เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญแต่โบราณ
นอกจากหลักฐานทางพงศาวดารที่กล่าวถึงการสร้างเมืองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีอันได้แก่ ซากศาสนสถาน เศษภาชนะดินเผาเคลือบและเผาแกร่งแบบสุโขทัยและเครื่องลายครามของจีนสมัยราฃวงศ์เหม็ง ต่างก็สนับสนุนการเกิดของเมืองในระยะนี้ทั้งสิ้น ในขณะเดียวกันหลักฐานทางโบราณคดีกลับสนองให้เห็นว่า ชุมชนในสมัยเมืองสุโขทัยที่มีมาก่อนเมืองพิชัยนั้นอยู่ตรงสบตรอน คือ บริเวณที่ลำน้ำตรอนไหลจากที่สูงและภุเขาทางตะวันออกมาบรรจบกับลำน้ำที่อยู่เหนือเขตอำเภอพิชัยขึ้นไป บริเวณดังกล่าวนี้มีซากเวียงที่มีคูน้ำล้อมรอบสามชั้นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้าตั้งอยู่ พบร่องรอยของเตาถลุงเหล็กเศษภาชนะเคลือบและเผาแกร่งทั้งของจีนและของสุโขทัยมากมายเวียงนี้คือเมืองตรอน ที่ปากน้ำตรอนยังไม่ห่างจากบริเวณเมืองทุ่งยั่งและเมืองฝางเท่าใด
เมื่อเกิดการสร้างเมืองพิชัยขึ้น ก็เลยทำให้เป็นเมืองพิชัยขึ้น ก็เลยทำให้เป็นเมืองที่มีความสำคัญในบริเวณนี้ขึ้นมา หาใช่เหตุผลทางการเป็นชุมทางการค้าการคมนาคมไม่ หากเป็นทางยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องการสงครามโดยตรง อาจแบ่งออกเป็นสองช่วงเวลา ช่วงแรกเป็นเรื่องการสงครามระหว่างอยุธยาและล้านนา ในขณะที่ช่วงหลังเป็นเรื่องระหว่างอยุธยากับพม่า นั่นคือ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้น เกิดปัญหาขัดแย้งทางการเมืองการปกครองในเขตแคว้นสุโขทัย ซึ่งถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอยุธยา ก่อนรัชสมัยของสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ บรรดาหัวเมืองในแคว้นสุโขทัยจะมีเจ้านายของทางสุโขทัยปกครองกันเอง โดยทางอยุธยาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นประเพณีที่มีมาก่อนที่สุโขทัยจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา
ครั้นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีการปฎิรูปการปกครอง ล้มเลิกไม่ให้เจ้านายทางสุโขทัยที่เสียโอกาสและประโยชน์ได้หันไปเข้ากับพระยาติโลกราชแห่งแคว้นล้านนา ยกกองทัพมาตีแคว้นสุโขทัย ได้เข้ายึดเมืองสำคัญของสุโขทัยไว้ คือ เมืองทุ่งยั่ง เมืองศรีสัชนาลัยและสุโขทัย รวมทั้งคุกคามที่จะยึดครองบรรดาหัวเมืองสำคัญของแคว้นด้วย เป็นเหตุให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้องเสด็จจากพระนครอยุธยาขึ้นมาครองเมืองเหนือ คือ พิษณุโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นคือ เมืองสองแคว ตำแหน่งของเมืองอยู่ทางฝั่งตะวันออกของลำน่าน พอสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จมาทรงขยายเมืองทั้งสองฝั่งน้ำ สร้างป้อมปราการขึ้นใหม่ว่า พิษณุโลก มีหลักฐานกล่าวถึงในลิลิตยวนพ่าย อันเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบรมราชาธิราชที่ 3 เพื่อเยินยอพระเกียรติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในการทำศึกได้ชัยชนะชาวเชียงใหม่หรือพวกญวณในการชิงเมืองเชลียงหรือเชียงชื่น
ในการเสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกและทำสงครามกับล้านนาที่ยึดเยื้อกว่า 7 ปีนี้ ทำให้นักปราชญ์หลายท่านเห็นว่า เมืองไทยมีราชธานีสองแห่ง และพระมหากษัตริย์สององค์ปกครองบ้านเมืองในเวลาเดียวกันคือพระนครศรีอยุธยาหรือเมืองใต้มีสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระราชโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปกครองเมืองพิษณุโลก นอกจากเป็นเมืองสำคัญแล้ว ยังเป็นเมืองฐานทัพที่ทางอยุธยาสร้างเพื่อต่อต้านการรุกรานของล้านนา ในการทำสงรามสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถส่งกองทัพขึ้นไปทั้งทางลำน้ำน่านและน้ำยม เพื่อปะทะกับกองทัพล้านนาที่ยึดครองทุ่งยั้ง เชลียงหรือศรีสัชนาลัยและสุโขทัยไว้ได้ เมืองพิชัยจึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านป้องกันการรุกล้ำของล้านนา และในขณะเดียวกันก็เป็นฐานทัพที่จะส่งกองทัพเข้าโจมตีและขับไล่กองทัพล้านนาที่ยึดครองทุ่งยั้งและเมืองเชลียงขึ้น ในลิลิตยวนพ่ายเรียกว่า เมืองเชียงชื่น จากหลักฐานทางโบราณคดีมีร่องรอยให้เห็นว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้ความสำคัญกับบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน ตั้งตาเมืองพิษณุโลกไปจนถึงเมืองพิชัย เพราะพบร่องรอยของชุมชนโบราณทั้งเมืองและหมู่บ้านกระจายอยู่ทั่วไป
เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะนอกจากสะดวกแก่การคมนาคมเคลื่อนย้ายกำลังพลแล้ว ทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำน่าน ยังเป็นแหล่งเคลื่อนย้ายของผู้คนจากล้านช้างในลุ่มน้ำโขงเข้ามาด้วยเข้าใจว่าในการสงครามระหว่างอยุธยาและเชียใหม่ครั้งที่มีการเกี่ยวข้องกับกำลังคนทางล้านช้างอยู่ไม่น้อย จนเป็นเหตุให้มีการสร้างกำแพงเมืองนครไทย ที่อยู่ริมฝั่งลำน้ำแควน้อยอันเป็นเส้นทางที่ติดต่อไปยังเมืองลาวทางฝั่งน้ำโขงด้วย เมืองนครไทยมีมาก่อนหน้านี้ แต่คงถูกอยุธยาเข้าปกครองและสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ด้วย
เมืองพิชัย เป็นเมืองขนาดเล็ก ตัวเมืองมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1,000x720 เมตร มีคูน้ำล้อมรอบชั้นเดียว ด้านยาวขนานกับลำน้ำน่าน กำแพงก่อด้วยดิน ยังเหลืออยู่ในสภาพดีหลายตอน บางตอนสูง 4 เมตร ภายในเมืองมีซากพระเจดีย์และวิหารที่สำคัญหลายแห่ง แห่งสำคัญ เรียกว่า จอมปราสาท อยู่ทางตอนกลางของเมือง พื้นที่ส่วนใหญ่ของตัวเมืองถูกราษฎรแผ้วถางและปราบพื้นที่เพื่อทำไร่และนาเสียมากแล้ว พบเศษภาชนะดินเผาเคลือบแบบสังคโลกสุโขทัยภาชนะดินเผาแกร่งและเครื่องเคลือบถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์เหม็งลงมากระจายกันอยู่ทั่วไป ในรูปถ่ายจากรายงานการสำรวจของอาจารย์มานิต วัลลิโภดม แห่งกองโบราณคดีกรมศิลปากร แสดงให้เห็นว่า โคกเนินที่เรียกว่า จอมปราสาท นั้น เป็นศาสนสถานที่มีการซ่อมแซมและสร้างใหม่ขึ้นหลายคราว เหตุนี้จึงพบโบราณวัตถุเช่น พระพุทธรูปที่เป็นของในสมัยอยุธยาตอนปลายปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก ทางด้านเหนือของตัวเมือง มีร่องรอยของแนวถนนเก่าที่แสดงให้เห็นว่าคงมีการติดต่อกับชุมชนที่อยู่แถบบ้านท่าดินแดงและท่าข้าม นอกบริเวณ มีวัดสำคัญที่ปัจจุบันยังคงมีสภาพเป็นวัดอยู่ คือ วัดหน้าพระธาตุ ภายในพระวิหารของวัด มีพระพุทธรูปเป็นพระประธาน นั่งขัดสมาธิเพชรองค์หนึ่ง ลักษณะเป็นพระพุทธรูปที่มีอายุสมัยอยุธยาตอนต้นขึ้นไป ซึ่งหากจะดูโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีอายุอยู่ก่อนหน้าเมืองพิชัยในบริเวณนี้ก็เห็นจะมีที่หน้าวัดพระธาตุแห่งนี้เท่านั้น นอกจากวัดหน้าพระธาตุแล้วยังมัชุมชนหมู่บ้านที่ยังมีชื่อบ้านโรงช้างโรงม้า และบ้านหัวค่ายใกล้ ๆ กับเมือง ชื่อเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่า เมืองมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านและฐานทัพอย่างชัดเจน
หลังรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถลงมา เมืองพิชัยก็ยังดำรงความเป็นแหล่งชุมชนที่สำคัญสืบมา เพราะเป็นที่ที่มีผู้คนทางฝั่งแม่น้ำโขงเคลื่อนย้ายเข้ามา ในสมัยที่เกิดสงรามกับพม่า ก็มีผู้คนหนีข้าศึกเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เพราะนอกจากอยู่ห่างไกลการรุกรานแล้ว ยังมีตัวเวียงที่เป็นป้อมปราการกันข้าศึกศัตรูได้ ถ้าหากสู้ไม่ได้ก็อาจหนีขึ้นไปทางเหนือหรือทิศตะวันออกได้ ดังนั้น จึงเห็นได้จากหลักฐานทางพงศาวดารและประวัติศาสตร์ว่า สมัยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงรวบรวมผู้คนเพื่อต่อสู้พม่านั้น เมืองพิชัยและเมืองสวรรคโลก เป็นเมืองสำคัญที่ทั้งพม่าและไทยต้องเอาใจ ในชั้นแรกนั้นทั้งเจ้าเมืองพิชัยและเมืองสวรรคโลก ภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระนเรศวร แต่ต่อมาเกิดเอาใจไปเข้าฝ่ายพม่าและแข็งเมืองต่อพระนเรศวร จนต้องใช้กำลังปราบปรามอยู่นานจึงสามารถตีเมือง ทั้งสองได้ และโปรดให้ประหารชีวิตเจ้าเมืองทั้งสองเสีย
ในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนปลายและปลายสมัยกรุงธนบุรีเมืองพิชัยก็ยังคงดำรงฐานะความเป็นเมืองด่านและเมืองฐานทัพตลอดมา ในการทำศึกกับพม่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก็ได้อาศัยเมืองเช่นเดียวกัน เพราะเป็นเมืองหน้าด่านที่จะต้านกองทัพพม่าที่ลงมาจากทางเมืองเชียงใหม่ มายังเมืองพิษณุโลก โดยเหตุนี้จึงทรงตั้งพระยาพิชัยดาบหักเป็นเจ้าเมืองท่านเป็นผู้ทำสงครามกับพม่าจนดาบหัก ได้เป็นนายทหารคู่พระทัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ความโดดเด่นของพระยาพิชัยดาบหักที่เป็นผลให้มีคนรู้จักเมืองพิชัยจนถึงปัจจุบันนี้คือ การเป็นบุคคลที่มีความสื่อสัตย์สุจริตต่อเจ้านายและบ้านเมือง จนยอมเสียสละชีวิตเพื่อรักษาคุณความดีนี้ได้ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งคือ เป็นผู้ที่มีวามกล้าหาญ มีฝีมือแกร่งกล้าทั้งการสู้รบด้วยดาบและเชิงมวย ความโดดเด่นประการหลังนี้ทำให้บรรดาลูกหลานที่เป็นคนเมืองพิชัยกลายเป็นคนเมืองนักสู้ และเมื่อสิ้นสุดภาวะสงรามกับพม่าแล้ว ก็มีการถ่ายทอดวิชามวยกันต่อมา จนเป็นที่รู้จักกันในวงการมัดมวยไทยสมัยหลัง ๆ ลงมา
เมืองพิชัย เป็นเมืองสำคัญอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อเจ้าอนุวงศ์ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเวียงจันทน์เป็นขบถ เมืองพิชัยกลายเป็นเมืองหน้าด่านตรวจตรารักษาการณ์หัวเมืองแพร่ น่านจนถึงเมืองหลวงพระบางภายหลังอาจจะด้วยลำน้ำน่านมีหาดทรายกว้างอยู่หน้าเมืองทำให้เมืองพิชัยกลายเป็นมเองห่างฝั่ง ทำให้ลดความสำคัญลง ผู้คนจึงย้ายไปอยู่ในชุมชนทางการค้าแห่งใหม่ที่บ้านโพ-ท่าอิฐ ซึ่งเป็นที่ชุมนุมการค้าระหว่างหัวเมืองทางเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแพร่ น่าน หลวงพระบาง สิบสองปันนา และหัวเมืองทางใต้ เพราะเหนือขึ้นไปเป็นการเดินเรือ ไม่เป็นการสะดวกอีกต่อไป บ้านบางโพ-ท่าอิฐ คือที่ตั้งของจังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน เพราะในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เมืองอุตรดิตถ์ขึ้นอยู่กับเมืองพิชัยในภายหลังให้ย้ายศาลากลางไปอย่ที่อุตรดิตถ์และเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองพิชัย ส่วนเมืองพิชัยนั้น ให้ลดฐานะลงเป็นเมืองพิชัยเก่า จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 จึงเปลี่ยนเป็นชื่อเมืองอุตรดิตถ์และเป็นเมืองพิชัยตามเดิม อย่างไรก็ตามแม้ว่าเมืองพิชัยจะลดบทบาทความเป็นเมืองสำคัญไปกว่าแต่เดิม แต่ความเป็นชุมชนก็ยังดำรงต่อมาอย่างสืบเนื่อง เหตุที่ทำให้เมืองพิชัยเป็นชุมชนที่มีการเติบโตและขยายตัวอย่างสืบเนื่องก็คือ การที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นเส้นทางการรถไฟที่สร้างแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตัดผ่านไปยังแพร่ ลำปาง และเชียงใหม่ ทำให้เกิดย่านตลาดและย่านชุมชนเมืองเกิดขึ้น ดังเห็นได้จากบริเวณตัวอำเภอลงมาทางใต้ผ่านบ้านวังพระเนียดลงไปยังบ้านหม้อ เป็นต้น
ที่มา : การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์
ปัจจุบัน เมืองพิชัยก็คืออำเภอพิชัย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้สุดของจังหวัด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ตามทางรถไฟไปทางทิศใต้ประมาณ 38 กิโลเมตร
ที่มา : การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์
ปัจจุบัน เมืองพิชัยก็คืออำเภอพิชัย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้สุดของจังหวัด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ตามทางรถไฟไปทางทิศใต้ประมาณ 38 กิโลเมตร
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอตรอน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอทองแสนขัน และอำเภอวัดโบสถ์ (จังหวัดพิษณุโลก)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพรหมพิราม (จังหวัดพิษณุโลก)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสวรรคโลกและอำเภอศรีนคร (จังหวัดสุโขทัย)
ที่ว่าการอำเภอพิชัยหลังใหม่ 1. ในเมือง (Nai Mueang) 8 หมู่บ้าน 7. ท่ามะเฟือง (Tha Mafueang) 10 หมู่บ้าน 2. บ้านดารา (Ban Dara) 9 หมู่บ้าน 8. บ้านโคน (Ban Khon) 8 หมู่บ้าน 3. ไร่อ้อย (Rai Oi) 11 หมู่บ้าน 9. พญาแมน (Phaya Maen) 7 หมู่บ้าน 4. ท่าสัก (Tha Sak) 10 หมู่บ้าน 10. นาอิน (Na In) 7 หมู่บ้าน 5. คอรุม (Kho Rum) 12 หมู่บ้าน 11. นายาง (Na Yang) 7 หมู่บ้าน 6. บ้านหม้อ (Ban Mo) 8 หมู่บ้าน
ศาลท่านพ่อพระยาพพิชัยดาบหัก บริเวณหลังสถานีรถไ |
- เทศบาลตำบลท่าสัก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าสัก
- เทศบาลตำบลในเมือง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลในเมือง
- องค์การบริหารส่วนตำบลในเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมือง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลในเมือง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดารา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านดาราทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไร่อ้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไร่อ้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าสัก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท่าสัก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคอรุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคอรุมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหม้อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะเฟือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ามะเฟืองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโคน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโคนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพญาแมน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพญาแมนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาอิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาอินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนายาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนายางทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยว
- วัดนายาง วัดเก่าสมัยอยุธยา
- วัดหน้าพระธาตุ
- พิพิธภัณฑ์บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก ที่ห้วยคา
- คูปราสาท
- ปรางค์
- วัดเอกา
- วัดมหาธาตุ
- วัดขวางชัยภูมิ
- กำแพงเมืองพิชัย
- วัดบึงสัมพันธ์
- ศาลเจ้าแม่ทับทิม พิชัย
ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/อำเภอพิชัย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น