เอกสารต้นฉบับ "แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑" ชุดที่ ๒


แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

การทบทวนเพื่อการพัฒนา
       ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตรจากแหล่งต่าง ๆ  ตลอดระยะเวลา    ปี  ของการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้ผลสรุปที่ชัดเจนตรงกันถึงปัญหาและข้อจำกัดของเอกสารหลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน   ทั้งในแง่ความสอดคล้องกับข้อกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติในเรื่องหลักสูตรแกนกลาง  และในแง่วิชาการของการพัฒนาหลักสูตรในระบบการศึกษาที่มีมาตรฐานเป็นเป้าหมาย (Standards – based  education)   ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการพัฒนาหลักสูตร  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จึงได้ดำเนินการทบทวนปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๔๔  จนกระทั่งได้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่มีความเหมาะสม ชัดเจน ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตร การเรียนการสอนในแต่ละระดับ  นอกจากนั้นได้กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีไว้ในหลักสูตรแกนกลาง และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาเพิ่มเติมเวลาเรียนได้ตามความพร้อมและจุดเน้น อีกทั้งได้ปรับกระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียน เกณฑ์การจบการศึกษาแต่ละระดับ และเอกสารแสดงหลักฐานทางการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และมีความชัดเจนต่อการนำไปปฏิบัติ
      จากการเปลี่ยนแปลงการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑  ทำให้สถานศึกษาต้องมีการจัดทำเอกสารหลักสูตรของตนเองที่เรียกว่า “ หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ”  ขึ้นใหม่   ดังนั้นเอกสาร “ แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน”  ฉบับนี้  ซึ่งประกอบด้วยข้อแนะนำและขั้นตอนการปฏิบัติจริง  จะสามารถช่วยให้โรงเรียนสามารถดำเนินงานได้อย่างมีทิศทางเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น


                      แผนภาพที่ ๑  แสดงองค์ประกอบที่สำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา
                               (ขออภัย...ไม่สามารถแสดงแผนภาพที่ ๑  ได้)

องค์ประกอบที่สำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา  
   จากแผนภาพที่ ๑  แสดงองค์ประกอบที่สำคัญของหลักสูตรสถานศึกษาที่นำเสนอข้างต้น    จะช่วยให้คณะกรรมการดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน   มีความเข้าใจเห็นความเชื่อมโยงในภาพรวมของเอกสารหลักสูตร    รวมทั้งส่วนประกอบสำคัญ ๆ ภายในเอกสารแต่ละรายการ   ดังนี้

        เอกสารหลักสูตรสถานศึกษา      
        เล่มที่ ๑  หลักสูตรสถานศึกษา (ภาพรวม) มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ 
                   วิสัยทัศน์  
                   พันธกิจ
                   จุดหมาย
                   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
                   คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                   โครงสร้างหลักสูตร
                   สาระการเรียนรู้พื้นฐาน
                   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
                   รายวิชาเพิ่มเติม
                   กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                   การจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้
                   การวัดและประเมินผล
                   การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
                   ความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
                   ภาคผนวก

        เล่มที่ ๒ –   หลักสูตรสถานศึกษา (กลุ่มสาระการเรียนรู้    กลุ่ม)   มีองค์ประกอบที่สำคัญ  ได้แก่
                       วิสัยทัศน์
                   จุดหมาย
                   คุณภาพของผู้เรียน
                   สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
                   คำอธิบายรายวิชา
                   ตารางวิเคราะห์หลักสูตร
                    -  สาระ/มาตรฐานการเรียนรู้              
                    -  ตัวชี้วัดชั้นปี
                    -  สาระการเรียนรู้รายปี
                    -  หน่วยการเรียนรู้
                    -  ตัวอย่างแผนจัดการเรียนรู้
                    -  ภาคผนวก
         เล่มที่ ๑๐   หลักสูตรสถานศึกษา (กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)  มีองค์ประกอบที่สำคัญ  ได้แก่
                        วิสัยทัศน์
                    กิจกรรมแนะแนว   ประกอบด้วย   จุดหมาย   คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเนื้อหาสาระ
                    กิจกรรมนักเรียน(ลูกเสือ และยุวกาชาด)  ประกอบด้วย   จุดหมาย   คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเนื้อหาสาระ     
                    กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  ประกอบด้วย   จุดหมาย   คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเนื้อหาสาระ
                    ภาคผนวก
               
         เอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษา      
         เล่มที่ ๑  ระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลของสถานศึกษา   มีองค์ประกอบที่สำคัญ  ได้แก่
                      หมวด ๑   หลักการวัดและประเมินผลการเรียน
                      หมวด ๒  วิธีการประเมิน
                      หมวด ๓   การตัดสินผลการเรียน
                      หมวด ๔   การเทียบโอนผลการเรียน
                      หมวด ๕   หน้าที่ของโรงเรียน
                      หมวด ๖   เบ็ดเตล็ด 
                      ภาคผนวก

กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 
        การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ใช้กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ๕ ขั้นตอน  คือ
        ๑. การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ๑ ชุด (เน้นการมีส่วนร่วม)
     ๒. ร่วมกันศึกษาเรียนรู้  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  ๒๕๕๑   กรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษา   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเขตพื้นที่การศึกษา  และ เอกสารแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  
        ๓. ประชุมปฏิบัติการปรับเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา และเอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษาให้สมบูรณ์และได้มาตรฐาน
        ๔. ดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา และเอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษา
        ๕. เสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ และนำไปปฏิบัติ

การปรับปรุงเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา 
         การปรับเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา   หมายถึง  การตรวจสอบทบทวน และแก้ไขข้อบกพร่องของ รูปแบบข้อรายการต่าง ๆ  ที่ระบุไว้ในเอกสารหลักสูตรสถานศึกษาฉบับเดิม (๑๐  ฉบับ) หรือ การจัดทำเอกสารขึ้นใหม่   ให้มีความถูกต้องเหมาะสมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  ๒๕๕๑   
        ๑. องค์ประกอบที่สำคัญของเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา (ภาพรวม) มีข้อเสนอแนะต่อสถานศึกษา  และคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา   ดังนี้ 
           วิสัยทัศน์  หมายถึง  การสร้างภาพในอนาคตที่พึงประสงค์  โดยผ่านกระบวนการคิด  การสังเคราะห์  วิเคราะห์จากข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง  ที่แสดงให้เห็นทิศทาง  เป้าหมาย  ขอบข่าย ภาระงาน  ที่ต้องกระทำในอนาคตเพื่อนำไปสู่การพัฒนา (สมนึก    ธาตุทอง ,  ๒๕๔๘)         คณะกรรมการ ฯ  อาจพิจารณาร่วมกันปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์เดิม  ให้เป็นวิสัยทัศน์ใหม่ที่เหมาะสมกับปัจจุบันมากขึ้น   ตัวอย่างเช่น  “  โรงเรียน…………..มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม  มีความรู้ความสามารถทางวิชาการตามศักยภาพ  ตามถนัด  ตามความสนใจ  ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก  เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  ดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  บนพื้นฐานแห่งความเป็นไทย ”  (เสนอให้ใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่ / สวยงาม   ในหนึ่งหน้ากระดาษ) 
          พันธกิจ    หมายถึง  สิ่งที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์   ในการเขียนพันธกิจจึงควรแสดงให้เห็นวิธีดำเนินการของสถานศึกษาเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับ  นิยมเขียนพันธกิจเป็นข้อ ๆ   เช่น
             ๑)   พัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษา  โดยเน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม
             ๒)   สร้างหลักสูตรสถานศึกษา  และพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
           ๓)   พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถจัดการเรียนการสอน  ตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภ 
           ๔)   พัฒนาและส่งเสริมให้ครูและนักเรียน  ใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาอย่างคุ้มค่า
          ๕)   สถานศึกษาและชุมชน  ร่วมมือกันพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  ๒๕๔๔  และหลักสูตรสถานศึกษา
             จุดหมาย   หมายถึง   สิ่งที่มุ่งให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน   คือ  (คัดลอกตามเอกสารหลักสูตรแกนกลาง ฯ ได้เลย )
              ๑.  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง   มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  
              มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา   การใช้เทคโนโลยี  และมีทักษะชีวิต
              ๓.  มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
             ๔.  มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก  ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
             ๕.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย   การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข           
        สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน    หมายถึง  ความสามารถหลักที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน    ประการ  คือ  (ใช้ข้อมูลตามเอกสารหลักสูตรแกนกลาง ฯ ๒๕๕๑ )
              .  ความสามารถในการสื่อสาร  เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
              ๒.  ความสามารถในการคิด   เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
              .  ความสามารถในการแก้ปัญหา  เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรค    ต่าง ๆ  ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ  เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้  ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา  และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ  โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
                 .  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ 
ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
            ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี   เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ  และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี  เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้  การสื่อสาร  การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม    
             คุณลักษณะอันพึงประสงค์  หมายถึง   คุณลักษณ์ที่มุ่งปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  คือ  (คัดลอกตามเอกสารหลักสูตรแกนกลาง ฯ ได้เลย )          
       ๑.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์
                       ๒.  ซื่อสัตย์สุจริต
                       .  มีวินัย
                       ๔. ใฝ่เรียนรู้
                       ๕. อยู่อย่างพอเพียง
                       ๖.  มุ่งมั่นในการทำงาน
                       ๗.  รักความเป็นไทย
                       .  มีจิตสาธารณะ
          นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้องตามบริบทและจุดเน้นของตนเองได้อีกด้วย 
             โครงสร้างหลักสูตร   หมายถึง   การกำหนดมวลประสบการณ์ เนื้อหาสาระ  หรือรายวิชาที่สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้   ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในสถานศึกษา   ซึ่ง สพฐ. มีคำสั่งที่ ๑๑๐/๒๕๕๕  ลงวันที่  ๒๕  มกราคม  ๒๕๕๕  ให้แก้ไขโครงสร้างเวลาเรียนและเกณฑ์การจบการศึกษา  ดังนี้ 
              ๑.  ให้ยกเลิกข้อกำหนดเวลาเรียนในรายวิชา/กิจกรรมที่สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้น ระดับประถมศึกษา “ ปีละไม่เกิน ๔๐  ชั่วโมง ”  และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น “ ปีละไม่เกิน ๒๐๐ ชั่วโมง ”  ตามโครงสร้างเวลาเดิม  โดยให้ใช้กำหนดเวลาเรียนต่อไปนี้แทน
                       “ ระดับประถมศึกษา ”     ปีละไม่น้อยกว่า       ๔๐    ชั่วโมง
                       “ ระดับมัธยมศึกษา ”        ปีละไม่น้อยกว่า   ๒๐๐   ชั่วโมง    
              ๒. ให้ยกเลิกข้อกำหนดเวลาเรียนรวมทั้งหมด  ระดับประถมศึกษา “ ไม่เกิน ๑,๐๐๐  ชั่วโมง/ปี ”  และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น “ ไม่เกิน ๑๒๐๐ ชั่วโมง/ปี ”  ตามโครงสร้างเวลาเดิม  โดยให้ใช้กำหนดเวลาเรียนต่อไปนี้แทน
                       “ ระดับประถมศึกษา ”       ไม่น้อยกว่า   ,๐๐๐    ชั่วโมง/ปี
                       “ ระดับมัธยมศึกษา ”         ไม่น้อยกว่า   ,๒๐๐   ชั่วโมง/ปี   
              ๓.  ให้ยกเลิกความในข้อ ๑) ของเกณฑ์การจบระดับประถมศึกษาหลักสูตรแกนกลกางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑  ที่ว่า  “ ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติมตามโครงสร้างเวลาเรียนที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ”  โดยให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                      “ ๑)  ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม  โดยเป็นรายเป็นรายวิชาพื้นฐานตามโครงสร้างเวลาเรียนที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด และรายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติมที่สถานศึกษากำหนด ”
              ๔.  ให้ยกเลิกความในข้อ ๑) ของเกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรแกนกกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑  ที่ว่า  “ ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่เกิน  ๘๑ หน่วยกิต  โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน  ๖๖  หน่วยกิต  และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด ”  โดยให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                     “ ๑)  ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน ๖๖หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด ”
               ๕.  ให้ยกเลิกความในข้อ ๑)  ของเกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑  ที่ว่า  “ ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า  ๘๑  หน่วยกิต  โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน  ๔๑  หน่วยกิต  และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด ”  โดยให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                     “ ๑)  ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานเพิ่มเติม  โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน  ๔๑  หน่วยกิต  และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด ” 

             หมายเหตุ   สำหรับการเปลี่ยนแปลงในข้อ   –   ควรนำไปใช้ในการเขียนเอกสารระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้


               













































































































































ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์