เอกสารต้นฉบับ "แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑" ชุดที่ ๑
บทความที่แล้วผู้เขียนเคยพูดถึง ๒ ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑ คือ " การตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของเอกสารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชั้นเรียน ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่คุณภาพของผู้เรียนในที่สุด "
ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรนำเสนอเอกสารต้นฉบับบางส่วน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจการพัฒนาหลักสูตร ได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป
๑
บทนำ
การกำหนดมาตรฐานเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพ
ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการในปัจจุบัน ไม่เว้นแม้กระทั่งวงการศึกษา ในช่วงระยะเวลา ๑๐
ปีที่ผ่านมา ประเทศต่าง ๆ
ทั่วโลกได้มีการเคลื่อนไหวในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาติขึ้น เพื่อใช้ในการปฏิรูปการศึกษา สำหรับประเทศไทยนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องมาตรฐานการศึกษากับการพัฒนาเยาวชนของชาติ โดยปรากฏเป็นข้อ กำหนดอยู่ในหลายมาตราของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช
๒๕๔๒
ซึ่งได้ระบุให้มีการกำหนดมาตรฐานเป็นจุดหมายปลายทางของการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นคนดี มีปัญญา
มีคุณภาพชีวิตที่ดี
และมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกกับอารยประเทศ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ , ๒๕๔๒)
อย่างไรก็ตาม
การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการศึกษาที่มีมาตรฐานเป็นเป้าหมายจะประสบผลสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงแนวคิด วิธีการ
รูปแบบ และกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) จากกรอบแนวคิดเดิม สู่ปรัชญาแนวคิดใหม่ ความรู้ใหม่
วิธีการ และแนวปฏิบัติใหม่ ๆ ตลอดระยะเวลา
๔ ปี นับตั้งแต่การประกาศใช้มาตรฐานการเรียนรู้ และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
๒๕๔๔
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำเอกสารคู่มือและแนวทางการใช้หลักสูตร และมีการแต่งตั้งคณะทำงานชุดต่าง
ๆเพื่อทำการฝึกอบรมวิทยากรหลักระดับจังหวัด และเขตพื้นที่การศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด วิธีการในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งผลการวิจัยและติดตามประเมินในช่วงระยะเวลา ๔ ปี
ของการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผ่านมา พบว่า
มีประเด็นสำคัญของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ยังขาดความชัดเจน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความสับสนของผู้ปฏิบัติในระดับสถานศึกษา เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ปัญหาหลักสูตรแน่น
การวัดประเมินผลการเรียนที่ไม่สะท้อนมาตรฐาน ปัญหาในการจัดทำเอกสารหลักฐานทางการศึกษา และการเทียบโอนผลการเรียน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ๒๕๔๙)
นอกจากนั้น ผลการติดตามการจัดทำ และใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์
เขต ๑ พบว่า สถานศึกษาไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสาเหตุสำคัญ คือ
โรงเรียนไม่ชัดเจนในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ขาดความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงบทบาทหน้าที่
รวมทั้งการให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาอย่างแท้จริงน้อยมาก ทำให้หลักสูตรสถานศึกษาที่ใช้อยู่ไม่เป็นไปตามกับหลักการและเจตนารมณ์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๔๔
วีระวุฒิ วงศ์วสันต์และคณะ (๒๕๕๐) ได้สรุป
สถานการณ์การจัดทำและใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในอำเภอลับแล ไว้คือ ๑) ทุกโรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษา แตกต่างกันก็เพียงความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ ๒) ปริมาณการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อการจัดการเรียนรู้ มีการใช้จริงเพียงร้อยละ ๕๐ ๓) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อยมาก ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการศึกษาของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ที่กล่าวแล้วข้างต้น
เอกสารแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา
รวมทั้งชุมชนผู้ปกครอง
ตลอดจนผู้สนใจในด้านการศึกษาได้ทราบถึงความจำเป็น และมีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนตรงกัน พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีส่วนร่วม และสร้างผู้เรียนที่มีคุณภาพตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ ต่อไป
๒
นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้กำหนดนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑
ไว้เพื่อประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาทุกระดับใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
(Content standards/Academic standards)
หมายถึง
สิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความรู้ ความสามารถ
ทักษะ และคุณลักษณะที่ระบุไว้มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคน ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาทั้งระดับชาติ
เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุคุณภาพที่มาตรฐานกำหนด
มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานถือเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อน และพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาทั้งในระบบ
นอกระบบ ตามอัธยาศัย และใช้สำหรับผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รวมทั้งเด็กพิการและด้อยโอกาส จะมียกเว้นก็แต่ผู้ที่มีความบกพร่องทางสมองและการเรียนรู้อย่างรุ่นแรงเท่านั้น
แนวคิดดังกล่าวอยู่บนรากฐานความเชื่อที่ว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาอย่างมีคุณภาพเท่าเทียมกันได้
ตัวชี้วัด
เป็นการระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นเรียน
ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้
กำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน
และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน แบ่งเป็น
๒ ประเภท คือ
๑.
ตัวชี้วัดชั้นปี (Grade – level
indicators)
หมายถึง สิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
๑ – มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งสอดคล้องสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตัวชี้วัดชั้นปีมีความชัดเจน มีความ
เฉพาะเจาะจง และมีความรูปธรรมในการนำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา การเรียนการสอน จัดทำหน่วยการเรียนรู้ และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดและประเมินผลเพื่อนตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนในแต่ระดับชั้น
๒.
ตัวชี้วัดช่วงชั้น (Interval benchmarks)
หมายถึง
สิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔- ๖ เป็นตัวชี้วัดพัฒนาการของผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จึงมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานแต่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า
ใช้สำหรับเป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการจัดทำหลักสูตร กำหนดเนื้อหาการเรียนการสอน
และการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนเมื่อเรียนจบช่วงชั้น
หลักสูตร
หลักสูตร (Curriculum)
ประมวลความรู้และประสบการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้
ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ หลักสูตรจึงเป็นเสมือแผนที่กำหนดทิศทางในการพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้ซึ้งเป็นเป้าหมาย
และมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของผู้เรียนในการพัฒนาไปสู่มาตรฐานที่กำหนด
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basic
education Curriculum)
หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในระดับการศึกษาที่ต่ำกว่าอุดมศึกษา
โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ
และสติปัญญา
อีกทั้งมีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต และมีคุณภาพได้มาตรฐานสากลเพื่อการแข่งขัยในยุคปัจจุบัน
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยส่วนที่เป็นแกนกลางซึ่งกำหนดโดยหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนที่เกี่ยวกับสภาพชุมชนและท้องถิ่น
หลักสูตรแกนกลาง
(Cor curriclum)
หลักสูตรแกนกลาง เป็นหลักสูตรในส่วนที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรแกนกลางประกอบด้วยโครงสร้างหลักสูตรซึ่งระบุการจัดแบ่งกลุ่มสาระการเรียนรู้
กิจกรรมต่าง ๆ
โครงสร้างเวลาเรียนสาระการเรียนรู้แกนกลางที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคน
และเกณฑ์กลางในการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางเป็นกรอบทิศทางในการพัฒนากรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษาและหลักสูตรสถานศึกษา
เป็นส่วนจำเป็นการพัฒนาเยาวชนไทยทุกคนให้เป็นพลเมืองดีของชาติ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข
ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ความเจริญทางวิทยาการในโลกปัจจุบัน
กรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษา (Local curriculum framework)
กรอบหลักสูตรที่จัดทำขึ้นในระดับเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งครอบคลุมสิ่งที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางและอาจมีส่วนที่เขตพื้นที่พัฒนาหรือกำหนดเพิ่มเติมให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
ปัญหา และความพร้อมของแต่ละแห่ง ทั้งนี้สถานศึกษาในเขตพื้นที่นั้น ๆ จะใช้กรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษาเป็นแนวทางในการจัดหลักสูตรสถานศึกษา
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีความรักและหวงแหนมรดกทางสังคมของบรรพบุรุษ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา การแก้ไขปัญหา
การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพในชุมชน
หลักสูตรสถานศึกษา
(School curriculum)
แผนหรือแนวทางในการจัดประมวลความรู้และประสบการณ์
ซึ่งจัดทำโดยบุคคลหรือคณะบุคคลในระดับสถานศึกษา เพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ความสามารถมาตรฐานการเรียนรู้
และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชุมชน และสังคมอย่างมีความสุข
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาพิจารณาหลักสูตรแกนกลาง และกรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษา นอกจาก นั้น
สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถพัฒนาเพิ่มเติมขึ้น ในส่วนที่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคมและความต้องการ
ความถนัด และความสามารถของผู้เรียน
หลักสูตรอิงมาตรฐาน
(Standards – based curriculum)
หมายถึง
รูปแบบและกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นเป้าหมาย หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544 ยึดรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะดังกล่าว
โดยคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งเป็นคุณภาพที่คาดหวังให้เกิดในตัวผู้เรียนขึ้น
ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรตลอดแนว ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับสถานศึกษา ตลอดจนถึงระดับชั้นเรียน
จะมีลักษณะเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน คือ ยึดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมาย และเป็นกรอบทิศทางในการกำหนดโครงสร้างเนื้อหา
กิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กล่าวโดยรวมก็คือ การกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐาน
(Standards – based curriculum) การเรียนการสอนอิงมาตรฐาน (Standards
– based instruction) และการประเมินผลอิงมาตรฐาน (Standards
– based assessment)
วิสัยทัศน์ (Vision)
คำอธิบายเกี่ยวกับความคาดหวังของหน่วยงาน
หรือสถานศึกษา เพื่อเป็นทิศทางในการวางแผนจัดการศึกษา ออกแบบหลักสูตร การเรียนการสอน
และการดำเนินงานในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ตามเวลาที่กำหนด
พันธกิจ (Mission )
ภารกิจ
ความรับผิดชอบ ในการดำเนินงานจัดการศึกษาของหน่วยงานหรือสถานศึกษา เพื่อให้เกิดมรรคผลตามที่มุ่งหวังในวิสัยทัศน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้
(Subject areas)
กลุ่มขององค์ความรู้และทักษะตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ซึ่งจัดแบ่งตามศาสตร์ต่าง ๆ เป็น ๘ กลุ่ม ได้แก่ ๑) ภาษาไทย ๒) คณิตศาสตร์ ๓) วิทยาศาสตร์
๔) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๕) สุขศึกษาและพลศึกษา ๖) ศิลปะ
๗) การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๘) ภาษาต่างประเทศ
สาระ (Strands)
กลุ่มย่อยขององค์ความรู้และทักษะภายใต้กลุ่มสาระการเรียนรู้
เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย ๖ สาระ ได้แก่ ๑) จำนวนและการดำเนินการ ๒) การวัด ๓) เรขาคณิต ๔) พีชคณิต ๕) การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ๖) ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์
สาระการเรียนรู้
(Content)
องค์ความรู้
ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะสำคัญที่ระบุไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนต้องรู้และปฏิบัติได้
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
(Core topics/content)
องค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หน่วยงานส่วนกลางมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดสาระการเรียนรู้พื้นฐาน เพื่อให้โรงเรียนทุกแห่งใช้จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
(Local – related content)
องค์ความรู้และทักษะที่เขตพื้นที่การศึกษาพัฒนาขึ้น
โดยพิจารณาจากสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมาสภาพปัญหาชุมชน วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การงานอาชีพ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้รู้จักเข้าใจ มีความรักและหวงแหนมรดกทางสังคมของบรรพบุรุษ
มีความเป็นไทย เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและสามารถดำรงชีวิต ประกอบอาชีพ แก้ปัญหาการดำเนินชีวิต
และพัฒนาสังคม ชุมชน
รายวิชา (Course)
ประมวลความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่จัดรวมขึ้นอย่างมีระบบแบบแผน
เพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและมีศักยภาพตามเป้าหมายที่กำหนด มีการวางแผน
กำหนดระยะเวลาสำหรับจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผลไว้อย่างชัดเจน สถานศึกษาสามารถวิเคราะห์องค์ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ระบุในมาตรฐานแต่ละกลุ่มสาระ เพื่อนำไปจัดทำเป็นรายวิชาต่าง
ๆ ได้อย่างหลากหลายตามความเหมาะสม
ทั้งในส่วนที่เป็นรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม ให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจบางรายวิชาเป็นการบูรณาการหลายกลุ่มสาระเข้าด้วยกันก็ได้
และเพื่อให้เกิดความสะดวกและความชัดเจนในการรายงานผล และการสื่อสารระหว่างกัน สถานศึกษาจะต้องกำหนดรหัสและชื่อสำหรับเรียกแต่ละรายวิชาขึ้นตามแนวปฏิบัติที่ส่วนกลางกำหนดไว้
การเรียนการสอน
การเรียนการสอน
กระบวนการเรียนรู้ (Learning
process)
กระบวนการที่ผู้เรียนใช้ในการแสวงหาความรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างองค์ความรู้ และพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ
และศักยภาพตามที่มุ่งหวังในหลักสูตร
การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
(Child
– centered)
การจัดการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม
และมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ บทบาทของครูจะเปลี่ยนแปลงจาการเป็นผู้ชี้นำ หรือผู้ถ่ายทอดความรู้
ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้และลงมือปฏิบัติและสร้างสรรค์ความรู้โดยใช้วิธีการต่างๆ
หลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความถนัด ความสนใจ และแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการสร้างสรรค์ความรู้และนำความรู้
ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผล (Assessment)
กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล
ร่องรอย
หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการ
ความก้าวหน้าและความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
การวัดประเมินผลการเรียนรู้สามารถจัดให้มีขึ้นทั้ง ระดับชั้นเรียน
ระดับสถานศึกษา
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
และระดับชาติ
การวัดและประเมินผลอิงมาตรฐาน (Standards – based assessment)
การวัดประเมินผลการเรียนรู้ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการ ความก้าวหน้า
และความสำเร็จทางการเรียนโดยเทียบเคียงกับคุณภาพที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้
การประเมินผลระดับชั้นเรียน (Classroom
assessment)
เป็นการวัดและประเมินผลที่ควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน ครูผู้สอนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการ มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการหาคำตอบว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรมค่านิยม
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่เพียงใด ดังนั้นการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริง โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
และมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง
การประเมินผลระดับเขตพื้นที่การศึกษา (Local
assessment)
การวัดและประเมินผลที่ดำเนินการโดยเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละแห่ง
โยมีการรายงานผลแก่สถานศึกษาและชุมชนได้รับทราบ
ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าสถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ เพียงใด
และมีข้อบกพร่องใดที่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
การประเมินคุณภาพระดับชาติ (National
tests)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ดำเนินการโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ โดยประเมินผู้เรียนในระดับชั้นสำคัญ ๆ (Key stage) ได้แก่
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สำคัญ
ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม และภาษาอังกฤษ ข้อมูลที่ได้จากการประเมินจะนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่งต่อไป
๓
บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้ง ๓
ระดับ ได้แก่ ๑)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วนกลาง ๒)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับท้องถิ่น
และ ๓) สถานศึกษา
ซึ่งแต่ละระดับจะมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบแตกต่างกันในการพัฒนา สนับสนุน
ส่งเสริม
เพื่อให้การดำเนินการจัดทำหลักสูตรและการจัดการเรียน การสอนของสถานศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด
อันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในระดับชาติ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน , ๒๕๔๙)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ดังนี้
๑.ด้านหลักสูตร
๑.๑
กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้
กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้
เพื่อเป็นเป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน
๓ ลักษณะ ได้แก่
๑)
มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
๒) ตัวชี้วัดชั้นปี - สำหรับระดับการศึกษาภาคบังคับ
๓)
ตัวชี้วัดช่วงชั้น -
สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
การพัฒนามาตรฐานการเรียนรู้
ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีการปรับเปลี่ยนเป็นระยะ ๆ ตามภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป
๑.๒ กำหนดหลักสูตรแกนกลาง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหน่วยงานกลางที่มีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดหลักสูตรแกนกลาง ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่
๑)
โครงสร้างของหลักสูตรแกนกลาง
๒) สาระการเรียนรู้แกนกลาง
(สิ่งที่ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้)
๓)
เกณฑ์การวัดและประเมินผลกลาง
(ได้แก่
เกณฑ์กลางการจบหลักสูตร
แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผล)
๑.๓ จัดทำเอกสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร
๑) จัดทำและเผยแพร่เอกสารเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น
นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
แนวทางการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
เป็นต้น
๒)
จัดทำตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อการเผยแพร่และเป็น ตัวอย่างให้ครูอาจารย์ได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้
๑.๔ ส่งเสริม
สนับสนุน และสร้างความเข้มแข็งให้เขตพื้นที่การศึกษา
๑)
ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือเขตพื้นที่การศึกษาในการจัดทำกรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษา
๒)
ส่งเสริม สนับสนุนเขตพื้นที่การศึกษาทั้งด้านทรัพยากร
และด้านวิชาการ
เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เขตพื้นที่การศึกษา สามารถเป็นหลักแก่สถานศึกษาภายในเขตพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๕ ติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑) นิเทศ
กำกับ
ติดตามการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
๒)
ประเมินผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมินเป็นระยะ ๆ เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
๒. ด้านการเรียนการสอน
๒.๑
จัดทำต้นแบบและเผยแพร่วิธีสอนที่ดี
๑)
วิธีการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์
การแก้ปัญหา
และการสร้างองค์ความรู้
๒)
จัดทำฐานข้อมูลวิธีการสอนที่ดีเผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
๒.๒ ศึกษาวิจัยและทดลองใช้นวัตกรรม
หรือวิธีการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ๆ
๒.๓
อบรมเทคนิค
วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพแก่บุคลากร ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๒.๔
ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
๑)
ประกวดและให้รางวัลครูตัวอย่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
ที่จัดการเรียนการสอนได้น่าสนใจและมีประสิทธิภาพ
๒) ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพแก่ครูที่จัดการเรียนการสอนมีคุณภาพ
๓. ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๓.๑
สร้างความรู้ความเข้าใจบุคลากรเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล
๓.๒
พัฒนาเครื่องมือเพื่อวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับชั้นต่าง ๆ
๓.๓
จัดทำคลังเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เพื่อบริการเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา
๓.๔ ส่งเสริมความเข็มแข็งให้เขตพื้นที่การศึกษามีความรู้ และทักษะในการวัดและประเมินผล
๓.๕
ส่งเสริมการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการพัฒนาปรับปรุง
๓.๖ ประสานงานและร่วมมือกับสำนักทดสอบแห่งชาติในการประเมินคุณภาพระดับชาติ
๓.๗
ดำเนินการเรื่องการตรวจสอบวุฒิ และการเทียบโอน
๑)
จัดเก็บหลักฐานสำคัญของนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนต่าง ๆ (เช่น ต.๒ ก ,รบ.๒
ปพ.๓ )
เพื่อการตรวจสอบวุฒิการศึกษา
๒)
ออกหนังสือรับรอง
หนังสือสำคัญทางการศึกษา
๓)
กำหนดหลักการ จัดระบบ แนวปฏิบัติในการเทียบโอน
๔)
ให้คำปรึกษาสถานศึกษาเกี่ยวกับการเทียบโอน
๔. ด้านสื่อการเรียนรู้
๔.๑ กำหนดนโยบายเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน
๔.๒
จัดทำหนังสือเรียน แบบฝึกหัด และหนังสือเสริมประสบการณ์
๔.๓
ตรวจพิจารณาและควบคุมคุณภาพสื่อ
นวัตกรรม
และเทคโนโลยีที่ผลิตโดยเอกชน
๔.๔
เป็นศูนย์รวมสื่อของกระทรวงศึกษา
๔.๕
ส่งเสริมเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในการพัฒนาสื่อ และการควบคุมคุณภาพสื่อของเอกชน
๕. ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
๕.๑ กำหนดนโยบาย
กรอบแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๕.๒
สร้างความรู้ความเข้าใจกับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
ให้ตระหนักในความสำคัญและประโยชน์ของระบบประกันคุณภาพภายใน
๕.๓
จัดทำฐานข้อมูลการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
และผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
๖. ด้านการพัฒนาบุคลากร
๖.๑
ส่งเสริมศักยภาพเขตพื้นที่การศึกษา
ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การอบรม
ประชุมสัมมนา
๖.๒
จัดทำเอกสารให้ข้อมูลความรู้โดยผ่านสื่อที่หลากหลาย เช่น
สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
๗. ด้านการวิจัยและพัฒนา
๗.๑
ศึกษาวิจัยเพื่อติดตามผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่พบในการใช้หลักสูตร
๗.๒
วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้ และระบบการวัดและประเมินผล เพื่อให้กระบวนการพัฒนาต่าง ๆ อยู่บนพื้นฐานของวิชาการที่ได้รับจากการศึกษาวิจัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพึงตระหนักว่า ภารกิจที่สำคัญที่สุดของหน่วยงาน คือ
การสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษา
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่ส่วนกลางกำหนด โดยมีบทบาทความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ดังนี้
๑.ด้านหลักสูตร
ในระบบการศึกษาที่มีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและสถานศึกษา มีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรนั้น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปหลักสูตร การเรียนการสอน ให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นตัวเชื่อมสำคัญที่จะช่วยผลักดันนโยบายชาติสู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษา
ภารกิจที่สำคัญของเขตพื้นที่การศึกษาในการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่
๑.๑ จัดทำกรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษา
กรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษา
เป็นกรอบทิศทางสำหรับโรงเรียนในเขตพื้นที่
ใช้ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา กรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษาจะครอบคลุมสิ่งที่กำหนดไว้
ในหลักสูตรแกนกลางที่ส่วนกลางกำหนด
และเขตพื้นที่การศึกษาอาจพิจารณาเพิ่มเติมขึ้นในส่วนที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของเขตพื้นที่
กรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษามีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
๑) โครงสร้างหลักสูตร : ครอบคลุมสิ่งที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลาง และอาจเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นจุดเน้น หรือความต้องการในเขตพื้นที่แต่ละแห่ง
๒) สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น : สาระการเรียนที่สอดคล้องกับสภาพชุมชน สังคม
วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ
เพื่อให้ผู้เรียนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิต
การประกอบอาชีพ และการแก้ปัญหาของชุมชน
๓) การประเมินผลจบหลักสูตร : กำหนดขึ้นโดยยึดเกณฑ์การประเมินผลกลางในหลักสูตรแกนกลาง และอาจเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสภาพ ความมุ่งหวัง
จุดเน้น ความต้องการ ในการพัฒนาผู้เรียนในเขตพื้นที่การศึกษา
๑.๒ ส่งเสริม
สนับสนุน
ช่วยเหลือสถานศึกษาในการจัดทำหลักสูตร
๑.๓ จัดทำคลังหลักสูตรในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๑.๔
ติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
๒.ด้านการเรียนการสอน
๒.๑ จัดทำศูนย์วิชาการระดับเขตพื้นที่
โดยรวบรวมข้อมูลสารสนเทศทางวิชาการเพื่อบริการแก่ครูในเขตบริการ เช่น
รวบรวมวิธีสอนที่ดี
แหล่งเรียนรู้ในเขตพื้นที่
ตัวอย่างหนังสือเรียน
และสื่อการเรียนการสอนอื่น ๆ
ที่ครูผลิตในเขตพื้นที่
๒.๒ จัดระบบนิเทศ ติดตาม ช่วยเหลือ
และแก้ปัญหาการเรียนของนักเรียน
๒.๓ ผลิต
และส่งเสริมการผลิตสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
๒.๔ พัฒนาเทคนิควิธีการเรียนรู้ที่ใหม่ ทันสมัยแก่ครูผู้สอน
๒.๕ ติดตาม
ประเมิน
และวิจัยปัญหาอุปสรรคในการเรียนการสอน
๓.ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๓.๑ ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในเขตพื้นที่การศึกษา
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินระดับชาติ
๓.๒ ส่งเสริมความเข้มแข็งให้สถานศึกษามีความรู้และทักษะในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เช่น
การประเมินตามสภาพจริง
การประเมินการคิดวิเคราะห์
เป็นต้น
๓.๓ พัฒนาเครื่องมือวัดประเมินผลในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ทุกระดับชั้น
๔.ดำเนินการเรื่องการตรวจสอบวุฒิ และการเทียบโอน
๔.๑ จัดเก็บหลักฐานสำคัญของนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ เพื่อการตรวจสอบวุฒิ
๔.๒ ออกหนังสือรับรอง
หนังสือสำคัญทางการศึกษาสำหรับโรงเรียนในเขตพื้นที่
๔.๓ ให้คำปรึกษาแก่สถานศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการเทียบโอน
๔.๔ ส่งเอกสาร
หลักฐานสำคัญการจบการศึกษาของผู้เรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๕.ด้านสื่อการเรียนรู้
๕.๑ ตรวจประเมินคุณภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ที่มีผู้ประสงค์จะขอนุญาตใช้ในโรงเรียนในเขตพื้นที่ ซึ่ง สพฐ. จะชี้แจงแนวดำเนินการให้ทราบต่อไป เมื่อเขตพื้นที่พร้อมที่จะรับตรวจประเมินสื่อ
๕.๒ จัดทำหนังสือเรียน แบบฝึกหัด หนังสือเสริมประสบการณ์ สำหรับใช้ในเขตพื้นที่
๕.๓ รวบรวมสื่อ
แหล่งเรียนรู้ในเขตพื้นที่การศึกษา
จัดทำคลังสื่อการเรียนรู้
เพื่อเผยแพร่และเสนอแนะสถานศึกษา
เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้
๕.๔ ส่งเสริมสถานศึกษาในการวิเคราะห์
คัดเลือกหนังสือเรียนเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน
๖.ด้านการวิจัยและพัฒนา
วิจัยเพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ เช่น
การวิจัยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูที่สอนแบบท่องจำ
การวิจัยเพื่อศึกษาวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และเน้นการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน เป็นต้น
๗.ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
๗.๑ กำหนดแผนงานและวิธีการส่งเสริมสถานศึกษาให้มีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
๗.๒ จัดทำฐานข้อมูลสถานศึกษาในเขตพื้นที่
และเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
เพื่อปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษา
และให้ความดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด
หากพบโรงเรียนที่ยังไม่สามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้
๗.๓ รายงานความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อชุมชน
และหน่วยงานต้นสังกัด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนต่าง ๆ ในสังกัด
สถานศึกษา
โรงเรียนเป็นองค์กรรากฐานที่สำคัญที่สุดของระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะการดำเนินการต่าง ๆ
ในโรงเรียนจะส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาเด็กนักเรียนมากที่สุด
ดังนั้นโรงเรียนต้องปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็งในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่คาดหวังในมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ
๑. ด้านหลักสูตร
๑.๑ จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
โรงเรียนมีหน้าที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยพิจารณาจากหลักสูตรแกนกลาง และกรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษา ดังนั้น
หลักสูตรสถานศึกษาจะครอบคลุมสิ่งที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลาง
และกรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษา
นอกจากนั้นยังมีส่วนที่โรงเรียนจัดทำเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนตนเอง
๑.๒ ติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตร เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
๒. ด้านการเรียนการสอน
๒.๑ โรงเรียนต้องศึกษาหลักการ
แนวทางปฏิรูปการเรียนรู้
เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว
เช่น การจัดการเรียนการสอนที่เน้นบูรณาการ การคิดวิเคราะห์ การให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลตามมาตรฐานการเรียนรู้
๒.๒ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน
๒.๓ จัดระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนเต็มตามศักยภาพของตนเอง
๓. ด้านสื่อการเรียนการสอน
๓.๑ ศึกษาวิเคราะห์ คัดเลือกหนังสือเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง
ๆ
ที่กระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้ใช้ในโรงเรียน เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
๓.๒
จัดทำสื่อการเรียนการสอนใช้ประกอบการเรียนการสอน
๔. ด้านการวัดและประเมินผล
๔.๑ กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถานศึกษา
๔.๒ วัดและประเมินผลการเรียนระดับชั้นเรียน และสถานศึกษา
ตามระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลที่สถานศึกษากำหนดขึ้น
โดยเน้นการวัดและประเมินผลการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมากว่าการประเมินความสามารถในการท่องจำ
๔.๔ รายผลการเรียนของนักเรียนต่อผู้ปกครอง
และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
๔.๕ ดำเนินการเรื่องการตรวจสอบวุฒิและการเทียบโอน
๑) จัดเก็บหลักฐานสำคัญของนักเรียนที่จบการศึกษา
๒) ออกหนังสือสำคัญการจบการศึกษา
๓) ส่งเอกสารหลักฐานสำคัญการจบการศึกษาของผู้เรียนไปยังเขตพื้นที่การศึกษา
๔) จัดทำเกณฑ์การเทียบโอนของสถานศึกษา
๕. ด้านการประกันคุณภาพภายใน
การประกันคุณภาพภายใน เป็นการประเมินผลและการติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้น ๆ หรือหน่วยงานต้นสังกัด การจัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เริ่มจากการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ
จัดระบบสารสนเทศ
การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การดำเนินงานตามแผน
ตลอดจนการตรวจสอบ
และรายงานผลการดำเนินงาน การปรับปรุงแก้ไขอย่างสม่ำเสมอ
๖. ด้านการวิจัยและพัฒนา
จัดให้มีการทำวิจัยปฏิบัติการ (Action
research) ทั้งในระดับชั้นเรียน
และระดับสถานศึกษาเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้
นำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน
๗. ด้านความร่วมมือกับชุมชน
โรงเรียนควรประสาน ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครอง
ชุมชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะและให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมตัดสินใจ
และให้ความเห็นชอบ
เพื่อให้การดำเนินงานด้านต่าง ๆ
ของโรงเรียนดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น