สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช...อีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ



ชื่อของ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อาจไม่เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันเท่าไรนักของคนทั่ว ๆ ไป  ดังนั้น วันนี้จึงขอแนะนำให้ทุกท่านได้ทำความรู้จักกับสถานที่แห่งนี้กันพอสมควร  สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช  เป็นหน่วยงานหนึ่งของ ฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

ประวัติความเป็นมา
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชหรือแหล่งสงวนชีวมณฑลสะแกราช  ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2510 โดยมีภารกิจการวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา  จนถึงขณะนี้มีผลงานวิจัยในพื้นที่แห่งนี้มากกว่า 200 เรื่อง  ขณะเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2519  สถานีฯ สะแกราชได้รับการรับรองจาก UNESCO ภายใต้โครงการ MAB (Man and Biosphere  Program) ให้เป็นแหล่งสงวนชีวมณฑลแห่งหนึ่งของโลกซึ่งเป็นแห่งแรก ของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 7 แห่งของเอเซียในขณะนั้น ขณะนี้แหล่งสงวนชีวมณฑลมีจำนวน  529  แห่งใน  105  ประเทศ  (ข้อมูล 23 พฤศจิกายน  ปี  2550)


จากความสำคัญของพื้นที่และมีผลงานวิจัยจำนวนมากซึ่งกระจัดกระจายกันอยู่ ทำให้การรวบรวมและจัดระบบฐานข้อมูลของผลงานวิจัยและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องของแหล่ง สงวนชีวมณฑลสะแกราช เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อนำความรู้ต่างๆ  ดังกล่าว ถ่ายทอดสู่สังคม ทั้ง นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป และเป็นข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนการ วิจัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งเป็นข้อมูลที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยนระหว่างแหล่งสงวน ชีวมณฑลแห่งอื่นๆ ทั่วโลก

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ (ศลช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโครงการ MAB/UNESCO ของประเทศไทย และประสานการดำเนินงานบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ

ที่ตั้ง
ฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร :  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  35 หมู่ 3 เทคโนธานี  ต.คลองห้า  อ.คลองหลวง  จ.ปทุมธานี 12120


สถานที่ติดต่อ : สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช  ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว  จังหวัดนครราชสีมา 30370
โทร. (044)009556   มือถือ. ผอ.สถานีวิจัย(คุณทักษิณ) 089-813 4101 , คุณอรุณวดี 086-125 3793
Web site : www.tistr.or.th/sakaerat    E-mail : sakaerat@tistr.or.th

Sakaerat Environmental Research Station,  1 Moo. 9, A. Udom Sab, Wang Nam Khieo,
Nakhon Ratchasima Province 30370, THAILAND





สภาพทั่วไป ที่ตั้งและอาณาเขต 
พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช (สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช) ตั้งอยู่ในเขตตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย ตำบลวังน้ำเขียวและตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ห่างจากตัวจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 60 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 304 และห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 300 กิโลเมตร หรืออยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 14 องศา 26 ลิปดา 33 ฟิลิปดา ถึง 14 องศา 32 ลิปดา 50 ฟิลิปดาเหนือ และเส้นลองติจูด ที่ 101 องศา 50 ลิปดา 43 ฟิลิปดา ถึง 101 องศา 57 ลิปดา 21 ฟิลิปดา ตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 80 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 50,000 ไร่ 

ลักษณะภูมิประเทศ 
พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช ตั้งอยู่บนขอบที่ราบสูงโคราช พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีความสูงระหว่าง 720 - 770 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยมีลักษณะเป็นหน้าผาชันทางด้านใต้ และค่อยๆลาดลงไปทางเหนือ

ป่าไม้ สภาพทั่วไปในพื้นที่  :  ประกอบไปด้วย
ป่าดิบแล้ง (dry evergreen forest) : เป็นป่าค่อนข้างทึบ มีเนื้อที่ประมาณ 21,019 ไร่ และมีความหนาแน่น 123 ต้นต่อไร่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญประกอบด้วย ตะเคียนหิน(Hopea ferrea )  ตะเคียนทอง(Hopea ordorata )  ชัน(Shorea sericeiflora ) กะบก(Irvingia malayana ) เป็นต้น

ป่าเต็งรัง (dry dipterocarp forest) : เป็นป่าโปร่ง มีเนื้อที่ประมาณ 8163 ไร่ มีความหนาแน่น 84 ต้นต่อไร่ พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ เต็ง(Shorea obtusa )  รัง(Pentacme sauvis )  พลวง(Dipterocarpus tuberculatus )  เหียง(Dipterocarpus obtusifolius )  พะยอม(Shorea fiorifolius )  เป็นต้น
นอกจากป่าสำคัญทั้งสองชนิดดังกล่าว ยังมีป่าไผ่และป่าปลูก โดยเฉพาะป่าปลูกมีเนื้อที่ประมาณ 8,643 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้โตเร็ว ได้แก่ กระถินเทพา(Oxythanthera ellbociliata)  กระถินณรงค์(Acacia curiculaeformis )  ช้อ(Gmelina arborea )  เป็นต้น

สัตว์ป่า 
สัตว์ป่าที่สำรวจพบในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช(สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช) มีประมาณ 380 ชนิด เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 7 ชนิด ที่พบได้แก่ เก้ง เลียงผา หมีควาย หมาป่า หมูป่า เป็นต้น สัตว์ปีกมีประมาณ 200 ชนิด ประกอบด้วย ไก่ฟ้าพระยาลอ ไก่ป่า และนกชนิดต่างๆ สัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกจำนวน 25 ชนิด และสัตว์เลื้อยคลานจำนวน 82 ชนิด จากจำนวนสัตว์ดังกล่าวเป็นสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ เสือโคร่ง กวางป่า นกยูง พญากระรอกสีดำ ไก่ฟ้าหลังขาว เป็นต้น

การบริการ 
การเข้าเยี่ยมชม สามารถเข้าชม และเรียนรู้ธรรมชาติ พรรณพืช และ สัตว์ป่าได้โดยการติดต่อล่วงหน้า ทางสถานีจะมีเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์พาเดิน ศึกษาตามเส้นทางต่าง ๆ พร้อม การบรรยาย ในอาคารจัดสัมมนา สอบถามรายละเอียดได้ตามที่อยู่ และ โทรศัพท์ข้างบน

การเดินทาง
ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายนครราชสีมา-วังน้ำเขียว-ชลบุรี เป็นเส้นทางหลักที่ผ่านอำเภอวังน้ำเขียว และ ใช้ในการติดต่ออำเภอใกล้เคียง การเดินทางจากกรุงเทพ มายังฉะเชิงเทราก่อน ด้วยเส้นทางมอเตอร์เวย์ หรือ โดยถนนสุวินทวงษ์ก็ได้ แล้วใช้เส้นทาง ถนน 304 มุ่งสู่สี่แยกกบินทร์บุรี รวมประมาณ 180 กิโลเมตร จากแยกกบินทร์บุรีนี้ไปถึงวังน้ำเขียว อีก 60 กิโลเมตร เป็นเส้นทางลาดขึ้นเขาสวยงาม ถ้ามาจากจังหวัดนครราชสีมา ตามถนน 304 ผ่านอำเภอปักธงชัย ถึงอำเภอวังน้ำเขียว ระยะทางประมาณ 79 กิโลเมตร

ภาพสวย ๆ คริปวีดิโอ ที่นำมาฝากปิดท้าย

  

  
     

   

  

  

  

  








ขอบคุณ  :   1)  http://www.tistr.or.th
                   2)  http://www.hotsia.com
                 3)  http://www.wangnamkheo.com
                 4)  https://www.youtube.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์