การเลือกซื้อกล่องทีวีดิจิตอล(Set-top box) พร้อมคำแนะนำการติดตั้งด้วยตนเอง

หลังจากที่ปล่อยให้ประเทศอื่นล้ำหน้าเราไปหลายปี ประเทศไทยก็ได้มีดิจิตอลทีวีใช้กันซักทีนะครับ แม้จะยังไม่เป็นทางการ 100% แต่ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะได้โบกมือลาอาการภาพล้ม, ดาราหน้าบวม, สัญญาณรบกวน และอื่นๆอีกมากมาย อันเป็นจุดอ่อนของระบบออกอากาศแบบเก่า ซึ่งแน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงระบบย่อมตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เช่นเดียวกัน
ต้องบอกเลยว่าเป็นโชคดีของคนที่เพิ่งซื้อทีวีไปหมาดๆในปี 2014 ที่อุปกรณ์ทั้งหมดรองรับกับระบบดิจิตอลทีวีเรียบร้อยแล้ว ส่วนคนที่ทีวีเครื่องเก่ายังคงใช้งานได้ดีนั้น ทาง กสทช. ก็มีทางออกให้โดยการออกคูปองเพื่อนำไปซื้อ Set-top Box มาต่อได้ พนันเลยว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ทีมงาน  LCDTVTHAILAND เลยจะขอมาอธิบายให้กระจ่างแจ้ง พร้อมบอกวิธีเลือกซื้อเพื่อที่จะได้เสาะหาอุปกรณ์ที่เหมาะกับตัวคุณ และเพลิดเพลินกับดิจิตอลทีวีได้อย่างสบายๆ


Set-top box อ่านว่า เซ็ต-ท็อป-บ็อกซ์ มีลักษณะทางกายภาพภายนอกเป็นกล่องลูกบาศก์สี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่หน้าตาคุ้นหน้าคุ้นตากันดีสำหรับคนที่ใช้ระบบทีวีดาวเทียมอยู่แล้ว หน้าที่หลักๆของมันคือรับสัญญาณดิจิตอลทีวี(หรือที่เรียกกันว่า DVB-T2)แล้วทำการแปลงออกเป็นภาพและเสียงไปโชว์บนจอทีวี ซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่ทีวีรุ่นเก่าๆจะสามารถรับชมดิจิตอลทีวีได้แบบเต็มที่


ซึ่งถ้ามองไปในตลาดบ้านเรา ณ​ ตอนนี้ที่ผู้ผลิตหลายเจ้าพากันเข็นสินค้าออกมาขายอย่างหนักหน่วง ทำให้มี Set-top box มากมายหลายประเภทเกิดขึ้นมาสร้างความมึนงงให้กับผู้ใช้ดิจิตอลทีวีมือใหม่กันพอสมควร ทีมงานจึงจะขอแบ่งประเภทของเซ็ตท็อปบ็อกซ์ตามความสามารถออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้


1. Set-top box แบบเบสิก มีหน้าที่อย่างเดียวคือรับและแปลงสัญญาณแล้วส่งเป็นภาพกับเสียงออกไปโชว์บน จอทีวี เป็นแบบที่หาซื้อใช้งานได้ง่ายที่สุดรวมถึงได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีราคาถูกและตอบสนองการใช้งานขั้นพื้นฐานได้ครบ

Audyssey Setup Microphone

2. Set-top boxแบบผสมมีเดียเพลเยอร์ สำหรับกล่องรับสัญญาณประเภทนี้จะถูกเพิ่มความสามารถในการเล่นไฟล์มัลติมีเดียเข้ามา อาทิ เช่น ไฟล์เสียง, ไฟล์ภาพ รวมไปถึงไฟล์วิดีโอต่างๆ ผ่านทางช่อง USB หลักการทำงานจะคล้ายๆกับ HD Player แต่สามารถรับสัญญาณดิจิตอลทีวีได้ โดยจะมีราคาสูงกว่าแบบแรกขึ้นมาหน่อย เหมาะกับคนที่ชอบความคุ้มค่า ซื้อ 1 ได้ถึง 2 อะไรประมาณนี้


 Complete Menu
3. Set-top box แบบไฮบริด แน่นอนว่าก่อนที่จะมีระบบดิจิตอลทีวีเข้ามา หลายบ้านอาจจะได้ใช้บริการทีวีดาวเทียมอยู่แล้ว ครั้นจะทิ้งไปเลยก็เสียดายรายการโปรดที่อุตส่าห์ติดตามมานมนาน จึงเป็นที่มาของกล่องรับสัญญาณที่สามารถทำงานได้สองระบบ คือรับได้ทั้งสัญญาณดิจิตอลทีวี(DVB-T2)และสัญญาณดาวเทียม(DVB-S2) และเนื่องจากเป็นรุ่นท็อปสุดจึงเป็นที่แน่นอนว่ามันต้องพกพาเอาความสามารถในการเล่นไฟล์แน่นอน ความสามารถเยอะขนาดนี้ ก็ต้องมีราคาสูงเป็นธรรมดา แต่ก็คุ้มค่าที่จะลงทุนเช่นเดียวกัน

Audyssey Setup Microphone

หลักในการเลือกซื้อ Set-top box



หลังจากที่ได้รู้จักหน้าที่และประเภทของกล่องรับสัญญาณกันไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะหยิบกระเป๋าตัง(และคูปอง กสทช.)ออกไปหาซื้อมาใช้งานกันซักกล่อง สถานที่เป้าหมายก็คงหนีไม่พ้นห้างสรรพสินค้าและร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำที่มีอยู่ทั่วไทย ฉะนั้นก่อนที่จะไปโดนพนักงานขายกล่อม เรามาดูหลักการเลือกซื้อกันดีกว่า เพื่อที่จะได้ไม่พลาดจุดสำคัญที่ควรพิจารณาก่อนจ่ายเงินไป


จุดที่หนึ่ง "สติ๊กเกอร์และสัญลักษณ์" 


ในที่นี้หมายถึงสติ๊กเกอร์สองแบบที่ออกโดย กสทช. ซึ่งได้แก่สติ๊กเกอร์ตราครุฑอันเป็นสติ๊กเกอร์หลักและสติ๊กเกอร์ตัวมาสค็อต "น้องดูดี" ที่เป็นการการันตีว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นๆ ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก กสทช. เรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะใช้งานร่วมกับระบบดิจิตอลทีวีของประเทศไทยได้อย่างเต็มระบบไม่มีตกหล่น


นอกจากนี้ยังหมายถึงตราสัญลักษณ์สำคัญๆต่างๆ อย่างเช่น DVB-T2 ที่เป็นชื่อเรียกที่แท้จริงของระบบสัญญาณดิจิตอลทีวีของไทย ฉะนั้นก่อนจะซื้อเราก็ควรที่จะต้องดูก่อนว่า Set-top Box ตัวนี้สามารถใช้งานร่วมกับระบบ DVB-T2 ได้หรือไม่ เน้นว่าต้องเป็น DVB-T2 เท่านั้นนะครับ DVB-T เฉยๆก็ไม่ได้


  จุดที่สอง  "ช่องต่อ "




  
ปัญหาปวดหัวที่หลายคนต้องเจอคือควรจะเลือกกล่องที่มีช่องต่ออะไรบ้าง โดยส่วนใหญ่แล้วกล่อง Set-top box มักจะมาพร้อมกับช่อง HDMI ซึ่งตอนนี้กลายเป็นพอร์ตหลักๆในการใช้งานกับทีวีที่เป็นจอแบนทั้งหลายแหล่(LCD, LED, OLED, Plasma) แต่! หากบ้านใครยังใช้ทีวีตู้ใหญ่ดีไซน์คลาสสิคอยู่ก็อยากจะให้มองหาช่องต่ออะนาล็อคแบบรูปด้านล่างไว้ครับ ถึงจะใช้งานกับทีวีของท่านได้
นอกจากนี้ก็จะมีช่องอื่นๆอีก อาทิ เช่น USB ซึ่งเป็นการบอกอย่างเป็นนัยน์ๆว่ากล่องตัวนี้มีความสามารถในการเล่นไฟล์มัลติมีเดียได้ ซึ่งเข้าข่ายกล่องประเภทที่สอง ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นครับผม รวมไปถึงช่องต่อ Antenna หรือสายอากาศว่าสามารถใช้งานกับของที่บ้านได้หรือไม่ เกิดซื้อผิดมาล่ะก็วิ่งหาตัวแปลงกันแย่เลย


จุดที่สาม "หน้าปัด"

น้าปัดเป็นอีกหนึ่งจุดที่ไม่ควรมองข้ามเพราะเมื่อดิจิตอลทีวีเดินหน้าเต็มระบบเมื่อใด ช่องฟรีทีวีจะมีเข้ามาให้คุณรับชมมากกว่า 48 ช่อง ซึ่งเยอะกว่าเดิมราว 10 เท่า ฉะนั้น ถ้าไม่มีหน้าปัดแสดงผลบอกสักนิดว่าตอนนี้เราอยู่ที่ช่องอะไร คงจะต้องเปลี่ยนช่องกันตาเหลือกกว่าจะถึงช่องที่เราต้องการชมแน่นอน แต่ว่าถ้าใครที่สามารถใช้งานอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ได้คล่องอยู่แล้วคงจะไม่ค่อยจำเป็น เพราะสามารถดูรายละเอียดได้ผ่านทาง EPG(Electronic Program Guide) ของตัวเครื่องบนจอทีวีได้นั่นเอง


จุดที่สี่ "ระยะเวลารับประกัน"


  
การรับประกันเป็นเรื่องสำคัญมากๆเวลาที่เราจะพิจารณาซื้ออะไรบางอย่าง เพราะเราไม่รู้ว่าสินค้าตัวที่ได้มานั้นอาจจะเป็นหนึ่งในหลายล้านตัวที่มีปัญหาจากการผลิตก็เป็นได้ ฉะนั้นยิ่งประกันยาวนานเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เราอุ่นใจได้มากขึ้นเท่านั้น อย่าลืมย้ำถามกับพนักงานขายด้วยนะครับ เพราะบางยี่ห้อก็อาจมีเทคนิคการขายที่ทำให้ระยะเวลาไม่เป็นดั่งโฆษณาก็เป็นได้ 

เมื่อเราได้ Set-top box มานอนกอดที่บ้านแล้วอย่ารอช้าอยู่ไย รีบแกะมันออกมาจากกล่องแล้วมาเริ่มติดตั้งอุปกรณ์ของเรากันเลยดีกว่า โดยขั้นตอนนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด ลองมาทำตามวิธีด้านล่างเลย


1. เสียบสาย

อันดับแรกก็ต้องเสียบสายสัญญาณเข้ากับตัวทีวีกันก่อนเลย ช่องหลักๆที่เราจะใช้งานก็คือ HDMI หรือถ้าใครไม่มีก็จะเป็นช่อง AV เหลืองขาวแดง ว่าแล้วก็ลากสายจากหลังกล่อง Set-top box มาเสียบเข้าที่หลังทีวีในช่องที่คุณต้องการ ใครมี HDMI ก็จงเสียบ HDMI ใครไม่มีก็เสียบ AV/Analog ไปตามสภาพครับผม อ้อ อย่าลืมเสียบสายอากาศเข้าที่ช่อง Antenna หลังกล่อง Set-top box ด้วยนะครับ ไม่งั้นจะหาช่องไม่เจอนะครับผม




รูปแบบการเสียบสายหลังกล่อง Set-top box สำหรับคนที่ใช้สาย HDMI



รูปแบบการเสียบสายหลังกล่อง Set-top box สำหรับคนที่ใช้สาย AV/Analog


2. เปิดเครื่องและตั้งค่า

หลังจากเสียบสายเสร็จแล้วก็ได้เวลาเปิดเครื่อง Set-top box เพื่อตั้งค่าครั้งแรก โดยส่วนใหญ่แล้วตัวกล่องจะให้เราตั้งค่าข้อมูลเบื้องต้น เช่น วัน-เวลา, ประเทศ, ภาษาของเมนู รวมไปถึงการปรับอินพุตต่างๆ ในที่นี้แต่ละยี่ห้อก็จะไม่เหมือนกัน แนะนำให้ดูคู่มือประกอบการตัดสินใจและค่อยๆกดไปนะครับ



    



หน้าเมนูสากล ที่กล่อง Set-top box หลายๆแบรนด์เลือกใช้ 

โดยเมื่อตั้งค่าต่างๆเสร็จ ตัวเครื่องก็จะทำการจูนหาช่องสัญญาณให้เรา ซึ่งก็รอกันไปเรื่อยๆจนกว่าตัวเครื่องจะจัดเรียงช่องให้เราเสร็จ


3. สนุกกับช่องต่างๆกว่า 48 ช่อง - Enjoy Digital TV !

เมื่อช่องต่างๆถูกจัดเรียงไว้เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลาสนุกกับดิจิตอลทีวีแล้ว โดยมีช่องให้เลือกรับชมมากมายกว่า 48 ช่อง เปลี่ยนดูกันให้สะใจ ถ้าใครยังไม่ทราบว่าช่องไหนเป็นของใครก็เชิญชมที่ตารางด้านล่างนี้เลยครับ


  
มาถึงตรงนี้เชื่อว่าทุกคนก็สามารถรับชมดิจิตอลทีวีผ่านทางกล่องรับสัญญาณ Set-top box กันได้เรียบร้อยแล้วถูกต้องไหมครับ ? ทั้งนี้ต้องเข้าใจตรงกันก่อนนะครับว่าตอนนี้เป็นช่วง "ทดลองออกอากาศ" ยังไม่ได้ดำเนินการเต็ม 100% ฉะนั้นแล้วก็อาจจะมีปัญหาขัดข้องบางประการให้พบเห็นได้บ้าง ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของช่วงทดสอบครับ แต่ในอนาคตรับรองว่าท่านจะได้รับชมดิจิตอลทีวีกันอย่างเต็มสตรีมแน่นอนครับ




ขอบคุณ  :  http://www.lcdtvthailand.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์