ปรับภาพนั้น…สำคัญไฉน !!! ความสำคัญของการปรับภาพและเทคนิคการปรับภาพเบื้องต้น
ภาพที่ดีคืออะไร?
เชื่อเหลือเกินว่าโดยทั่วไปแล้วเมื่อเราเดินไปที่แผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าโซนทีวี เห็นภาพที่แบรนด์ทีวีชั้นนำต่างเปิดเรียงรายกันด้วย Content ระดับเทพที่ทำมาเพื่อการแสดงหน้าร้านโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่เป็นพวกการ์ตูนหรือหนังตัวอย่าง ที่ได้รับการปรับให้มีความสดจัดจ้าน เน้น Sharpness สูงเสียจนคมแต่แข็ง พวกเราจะคิดว่า “ทีวีตัวนั้นภาพดี” แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่ครับ ภาพที่ดีคือ “ภาพที่เหมือนหรือใกล้เคียงกับต้นฉบับ อาทิเช่นฟิล์มภาพยนตร์ หรือไฟล์ดิจิทัลต้นฉบับ ในสตูดิโอนั่นเอง” หากให้เปรียบเทียบกับพวกเครื่องเสียงก็คือ เครื่องเสียงที่ดีจะต้องสามารถถ่ายทอดรายละเอียดออกมาให้เหมือนกับนักร้องมา “ร้องสด” ต่อหน้าเราจริงๆ หรือหากเทียบกับแผ่น CD Audio ก็คือเสียงที่เหมือนกับเวลาที่นักร้องกำลัง “บันทึกอยู่ในสตูดิโอ หรือคอนเสิร์ตฮอลล์” นั่นแหละครับ แต่ส่วนใหญ่คนทั่วไปจะเข้าใจว่าเครื่องเสียงที่ดีจะต้องถ่ายทอดเสียงแบบคมชัดสุดๆ เสียงร้องชัดๆ คมๆจัดๆ เสียงใส เบสกระหึ่ม เหมือนกับที่ร้านเครื่องเสียงบางแห่งมักจะเซ็ตอัพให้เราได้ลองฟังกัน
ทำไมต้องปรับภาพ ?
แน่นอนครับทีวีที่ออกมาจากโรงงานมักจะปรับภาพหรือเซ็ตอัพให้สดสว่างๆ ชัดจัดจ้าน ซึ่งแน่นอนว่าภาพมันจะ “เกินจริง” เหตุผลเพราะว่าภาพมันจะได้ “เรียกร้องความสนใจ” เมื่อแรกเห็น กับลูกค้าที่เดินเข้ามาภายในบูธของแบรนด์ทีวีนั้นๆ ครับ เครื่องเสียงเช่นเดียวกันกับเครื่องเสียงหากเซ็ตอัพให้ฟังแล้วคมชัดๆจัดจ้านตั้งแต่ต้น บางทีลูกค้าอาจจะมีความรู้สึก “ว้าว” กับ First Impression ที่ได้สัมผัส ดังนี้ภาพที่ได้ในตอนแรกมักไม่ถูกต้องครับ กล่าวได้ว่าพวก Contrast, Brightness, Color, Sharpness และค่าตัวช่วยเรียกร้องความสนใจด้านภาพอื่นๆ จะ “ถูกเร่งมาสูงเกินจริงเสมอ” เราต้องเข้าใจด้วยว่าภาพแบบนั้นมันเหมาะกับการโชว์ในห้างร้านอย่างเดียว
ประโยชน์ของการปรับภาพ
1.ได้ภาพถูกต้องเฉกเช่นที่ “ผู้กำกับต้องการสื่ออออกมาให้เราได้เห็น” :: นั่นหมายถึงเราจะเข้าถึงอารมณ์และความหมายของหนังที่แท้จริงได้ ยกตัวอย่างเช่นหากเราดูหนังเรื่อง 300 ขุนศึกพันธุ์สะท้านโลก เกี่ยวกับการต่อสู้ในสมรภูมิของนักรบสปาร์ตันที่มีกำลังพลเพียงแค่ 300 คนเท่านั้น สังเกตได้ว่าโทนแสงสีของหนังจะออกแนวกึ่งโมโนโทน ค่อนข้าง “ทะมึนทึมทึบ” ทั้งหุบเขา ต้นไม้ ใบหญ้า เพื่อจะสื่อให้เห็นบรรยากาศแห่งความ “หดหู่” และ “กดดัน” ในสภาวะสงคราม หนังจึงมีอารมณ์บีบหัวใจเป็นอย่างมาก บางท่านไม่เข้าใจโทนแสงสีแบบนี้และไม่ชอบอะไรที่ดูทะมึนๆ ก็จะไปปรับแสงสีให้ดูสดจัดจ้าน ไปเร่งค่า Brightness และ Contrast จนโอเว่อร์ ภาพที่ได้ก็จะเกินจริงกว่าที่ผู้กำกับต้องการสื่อออกมาให้เห็น ในขณะเดียวกันหนังเรื่อง AVATAR จะสังเกตได้ว่าโทนแสงสีของต้นไม้ ใบหญ้าในป่า Pandora นั้นมีความจัดจ้าน เขียวชอุ่ม ทะเลสาบสีน้ำเงินเข้ม ท้องฟ้าก็สีฟ้าสดใส นี่คือสิ่งที่ผู้กำกับ “เจมส์ คาเมรอน” ต้องการสื่อออกมาให้เห็นความ “อุดมสมบูรณ์” ในป่า Pandora ในช่วงที่ไม่มีเหล่า “มนุษย์” เข้ามารุกราน แต่บางท่านชอบแนวภาพนวลตา อาจไปลดความสดอิ่มของสี ให้มันดูจืดๆ ลง เพราะเข้าใจว่า ระดับสีสันที่นวลตาให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติมากกว่า แต่อย่าลืมว่านี่เป็นการอ้างอิงจากสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน มิได้รวมถึง “จินตนาการ” จากสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หากปรับแบบนี้ก็จึงเป็นการบิดเบือนภาพที่ผู้กำกับต้องการสื่อให้เราได้รับรู้
หากจะให้บอกว่าแนวภาพที่ผู้กำกับอยากจะสื่อออกมาให้เห็น = ภาพที่ถูกต้อง
หนัง 2 เรื่องนี้คงทำให้ทุกท่านเห็นภาพ
หนัง 2 เรื่องนี้คงทำให้ทุกท่านเห็นภาพ
2. นำไปใช้เป็นค่ากลางในการอ้างอิงเปรียบเทียบประสิทธิภาพของจอแบบตัวต่อตัวได้ :: แน่นอนว่าหากจะเอาทีวีมาเปรียบเทียบกันแบบตัวต่อตัวแล้ว หากเราไม่ปรับภาพให้ถูกต้องตามมาตรฐานอุตสาหกรรมวีดีโอก่อนหละก็ ทีวีตัวเป็นแสนก็สามารถแพ้ทีวีตัวละไม่กี่หมื่นได้ ยิ่งทำงานทางด้านรีวิวสินค้าแบบนี้ ซึ่งต้องฟันธงและให้คะแนนทีวีแต่ละตัว ก็ยิ่งต้องปรับภาพให้ถูกต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันเสียก่อนครับ
หลักการปรับภาพ 4 ข้อ (อ้างอิงจากสถาบัน Imaging Science Foundation “ISF”)
1. Dynamic Range :: คือการปรับ Brightness และ Contrast เพื่อให้จอสามารถแสดงรายละเอียดในที่มืดและที่สว่างออกมาได้อย่างครบถ้วนเต็มศักยภาพ นี่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการปรับภาพ
2. Color Saturation :: คือการปรับระดับความสดอิ่มของสี ให้ถูกต้องเป็นธรรมชาติ ไม่สดเกินไป และไม่จิดเกินไป โดยเราจะปรับค่า Color และ Tint
3. Colorimetry :: ความถูกต้องของสี แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ 1) White Balance : การกำหนดให้อุณหภูมิสีใกล้เคียง 6500°K ซึ่งจะทำให้ White balance หรือสมดุลสีขาวอยู่ตรงจุด D65 White Balance อันเป็นการอ้างอิงอุณหภูมิสีของแสงจากดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงตรง เป็นแสงสีขาวที่ใช้อ้างอิงว่าเป็นแสงสีขาวที่ถูกต้องในแง่สมดุล ไม่ใช่ขาวอมน้ำเงิน อมเหลือง หรือขาวอมเขียว เป็นต้น 2) Color Space หรือ การอ้างอิงความสัมพันธ์ของขอบเขตและความถูกต้องของแม่สีหลัก RGB และแม่สีรอง CMY
4. Resolution :: คือการปรับ Aspect Ratio หรือ Picture Size ของทีวี (สัดส่วนภาพ) ให้แสดงภาพแบบ 1:1 Pixel Matching ได้ คือ Input มากี่พิกเซล ก็สามารถ Output ออกจอต้องเท่ากับจำนวน Input แบบเป๊ะๆ เพื่อมิให้บิดเบือนรายละเอียด รวมไปถึงพื้นที่การแสดงภาพ
หลักการปรับภาพ 4 ข้อ (อ้างอิงจากสถาบัน Imaging Science Foundation “ISF”)
1. Dynamic Range :: คือการปรับ Brightness และ Contrast เพื่อให้จอสามารถแสดงรายละเอียดในที่มืดและที่สว่างออกมาได้อย่างครบถ้วนเต็มศักยภาพ นี่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการปรับภาพ
2. Color Saturation :: คือการปรับระดับความสดอิ่มของสี ให้ถูกต้องเป็นธรรมชาติ ไม่สดเกินไป และไม่จิดเกินไป โดยเราจะปรับค่า Color และ Tint
3. Colorimetry :: ความถูกต้องของสี แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ 1) White Balance : การกำหนดให้อุณหภูมิสีใกล้เคียง 6500°K ซึ่งจะทำให้ White balance หรือสมดุลสีขาวอยู่ตรงจุด D65 White Balance อันเป็นการอ้างอิงอุณหภูมิสีของแสงจากดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงตรง เป็นแสงสีขาวที่ใช้อ้างอิงว่าเป็นแสงสีขาวที่ถูกต้องในแง่สมดุล ไม่ใช่ขาวอมน้ำเงิน อมเหลือง หรือขาวอมเขียว เป็นต้น 2) Color Space หรือ การอ้างอิงความสัมพันธ์ของขอบเขตและความถูกต้องของแม่สีหลัก RGB และแม่สีรอง CMY
4. Resolution :: คือการปรับ Aspect Ratio หรือ Picture Size ของทีวี (สัดส่วนภาพ) ให้แสดงภาพแบบ 1:1 Pixel Matching ได้ คือ Input มากี่พิกเซล ก็สามารถ Output ออกจอต้องเท่ากับจำนวน Input แบบเป๊ะๆ เพื่อมิให้บิดเบือนรายละเอียด รวมไปถึงพื้นที่การแสดงภาพ
เตรียมความพร้อมก่อนการปรับภาพ :: Pre-Calibration
1. แผ่น Digital Video Essential :: แผ่นปรับภาพที่มีความแม่นยำสูง แถมใช้งานง่ายมากด้วย มี Pattern เอาไว้ปรับภาพ และทดสอบภาพดีๆ เยอะแยะไปหมด ผมเองก็เริ่มเรียนรู้การปรับภาพจากแผ่นนี้เหมือนกัน
2. กำหนดโหมดภาพสำเร็จรูปของจอภาพ ให้เป็นโหมดที่มีอุณหภูมิสีใกล้เคียงกับ 6500°K หรือ White Balance ใกล้เคียงกับจุด D65 มากที่สุด โดยส่วนมากจะเป็นโหมด Expert / Professional / Cinema / Movie / Custom ซึ่งแต่ละแบรนด์จะใช้ชื่อเรียกต่างกัน แต่ให้จำง่ายๆ คือ ให้เลือกโหมดที่แปลว่า โหมดปรับเอง หรือโหมดภาพยนตร์ครับ ค่าอุณหภูมิสีมักจะใกล้เคียง 6500°K บวก-ลบไม่เกิน 500°K ถือว่าใกล้เคียงต้นฉบับในสตูดิโอในระดับที่รับได้ ! รวมถึงการปิดตัวช่วยภาพเช่น Dynamic Contrast / Dynamic Color / Edge Enhancement / Light Sensor ทิ้งให้หมดเพื่อให้ค่าภาพที่ได้มี “ความนิ่ง” ในการอ้างอิง “ไม่แปรผัน” ตามสภาพแวดล้อมและคอนเทนต์
1. แผ่น Digital Video Essential :: แผ่นปรับภาพที่มีความแม่นยำสูง แถมใช้งานง่ายมากด้วย มี Pattern เอาไว้ปรับภาพ และทดสอบภาพดีๆ เยอะแยะไปหมด ผมเองก็เริ่มเรียนรู้การปรับภาพจากแผ่นนี้เหมือนกัน
2. กำหนดโหมดภาพสำเร็จรูปของจอภาพ ให้เป็นโหมดที่มีอุณหภูมิสีใกล้เคียงกับ 6500°K หรือ White Balance ใกล้เคียงกับจุด D65 มากที่สุด โดยส่วนมากจะเป็นโหมด Expert / Professional / Cinema / Movie / Custom ซึ่งแต่ละแบรนด์จะใช้ชื่อเรียกต่างกัน แต่ให้จำง่ายๆ คือ ให้เลือกโหมดที่แปลว่า โหมดปรับเอง หรือโหมดภาพยนตร์ครับ ค่าอุณหภูมิสีมักจะใกล้เคียง 6500°K บวก-ลบไม่เกิน 500°K ถือว่าใกล้เคียงต้นฉบับในสตูดิโอในระดับที่รับได้ ! รวมถึงการปิดตัวช่วยภาพเช่น Dynamic Contrast / Dynamic Color / Edge Enhancement / Light Sensor ทิ้งให้หมดเพื่อให้ค่าภาพที่ได้มี “ความนิ่ง” ในการอ้างอิง “ไม่แปรผัน” ตามสภาพแวดล้อมและคอนเทนต์
แผ่นบลูเรย์ Digital Video Essential (DVE) หนึ่งในแผ่นอ้างอิงที่ใช้ในการปรับภาพเบื้องต้น
เริ่มปรับภาพ :: ค่าภาพต่างๆ ที่เราต้องปรับเพื่อบรรลุเป้าหมาย 4 ข้อข้างต้น
1. Brightness :: แปลว่า “ระดับของสีดำ” ค่านี้จัดได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการปรับภาพเลยก็ว่าได้ หากท่านเคยเจอปัญหาภาพ “ดำจม” หรือ “รายละเอียดในที่มืดแสดงไม่ชัดเจน” ไปจนถึง “ดำลอย” คือ สีดำที่ขาดน้ำหนัก ไม่ดำจริง นั่นหมายถึงเราปรับระดับ Brightness ไม่ถูกต้อง หากปรับ Brightness มากไป สีดำจะไม่ดำสนิท ออกดำสว่าง ดำอมเทา หากเป็น Plasma TV บางรุ่นก็จะเกิดเม็ด Noise ยิบๆขึ้นมาเป็นของแถมด้วย *_* ในทางกลับกันหากเราปรับ Brightness น้อยเกินไป รายละเอียดในที่มืดก็จะจมหายไป หรือที่เราเรียกกันว่า “ดำจม” นั่นแหละครับ
1. Brightness :: แปลว่า “ระดับของสีดำ” ค่านี้จัดได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการปรับภาพเลยก็ว่าได้ หากท่านเคยเจอปัญหาภาพ “ดำจม” หรือ “รายละเอียดในที่มืดแสดงไม่ชัดเจน” ไปจนถึง “ดำลอย” คือ สีดำที่ขาดน้ำหนัก ไม่ดำจริง นั่นหมายถึงเราปรับระดับ Brightness ไม่ถูกต้อง หากปรับ Brightness มากไป สีดำจะไม่ดำสนิท ออกดำสว่าง ดำอมเทา หากเป็น Plasma TV บางรุ่นก็จะเกิดเม็ด Noise ยิบๆขึ้นมาเป็นของแถมด้วย *_* ในทางกลับกันหากเราปรับ Brightness น้อยเกินไป รายละเอียดในที่มืดก็จะจมหายไป หรือที่เราเรียกกันว่า “ดำจม” นั่นแหละครับ
หมายเหตุ :: ศัพท์อื่นๆที่ใช้แทน Brightness ได้แก่ Shadow Detail และ Black Level
Brightness มากไป = ดำเทา Brightness น้อยไป = ดำจม Brightness ถูกต้อง
Pattern เอาไว้ทดสอบระดับ Brightness ขั้นตอน คือ
ปรับระดับ Brightness ของจอภาพจนเห็นแถบดำ ซ้าย-ขวา ด้านละ 3 แท่ง
จากนั้นปรับลดระดับ Brightness ลงจนแท่งริมสุด (ดำเข้ม) กลืนเข้ากับพื้นหลัง
จะเห็นว่าแถบเทา 2 แท่ง ทั้ง 2 ด้าน ยังมองเห็นได้อยู่
ปรับถูกต้อง :: จะเห็นแถบสีเทาด้านละ 2 แท่ง เท่านั้น ! ระดับ Brightness จะเป็นตำแหน่งที่แถบดำเข้มจะกลืนไปกับพื้นหลังพอดี
ปรับมากไป :: แถบสีดำเข้ม (ริมสุด) จะโผล่มา ผลคือ พื้นหลังจะไม่ดำสนิท กลายเป็นดำสว่างอมเทาไปซะงั้น
ปรับน้อยไป :: จะกระทบกับแถบสีเทาหายไป เท่ากับเป็นการลดทอนรายละเอียดในส่วนมืดให้มองเห็นได้ลำบากขึ้น กล่าวคือ รายละเอียดในฉากมืดจม จึงมองไม่เห็นในส่วนที่ควรจะเห็น
2. Contrast :: แปลว่า การเปรียบต่าง แต่สำหรับจอภาพจะเกี่ยวเนื่องกับ “ระดับสีขาว หรือความสว่าง” (การปรับระดับความสว่างสูงขึ้นจะทำให้ความเปรียบต่างของระดับสีขาวและดำของจอภาพเพิ่มขึ้น) แต่ค่ายทีวีแทบทุกเจ้าดันแปลว่า ความคมชัด หรือ ความเข้ม ซึ่งถือว่าเป็นการสื่อสารที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว หากเราปรับระดับ Contrast สูงมากจนเกินไป จะส่งผลให้รายละเอียดการไล่ระดับสีขาวจะขาวโพลนไปทั้งหมด ในขณะที่หากเราปรับ Contrast น้อยเกินไป สีขาวที่ได้ก็จะหม่นๆ แบบขาวขุ่น ไม่ได้ขาวจั๊วะ แถมภาพยังจะดูมืดๆ เสียอีก แต่เป็นข้อโชคดีของเราอย่างหนึ่งเพราะว่าทีวีในปัจจุบันนี้ (ไม่นับรวมถึง โปรเจ็กเตอร์) จะสามารถปรับ Contrast ปรับเต็ม 100 หรือกดเต็มแม็กซ์ได้โดยไม่เกิดอาการขาวโพลนครับ แต่ถ้าหากเป็นพวก Projector หากเราปรับเต็มแม็กซ์แล้วรับรองว่าภาพขาวโพลนเกิดขึ้นแน่นอนเพราะสามารถเร่ง Contrast ภาพให้สว่างได้มากกว่าทีวี (แรงกว่า…ว่างั้นเถอะ !) เพราะฉะนั้นหากจะปรับ Contrast ใน Projector ก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ !
ปรับมากไป :: แถบสีดำเข้ม (ริมสุด) จะโผล่มา ผลคือ พื้นหลังจะไม่ดำสนิท กลายเป็นดำสว่างอมเทาไปซะงั้น
ปรับน้อยไป :: จะกระทบกับแถบสีเทาหายไป เท่ากับเป็นการลดทอนรายละเอียดในส่วนมืดให้มองเห็นได้ลำบากขึ้น กล่าวคือ รายละเอียดในฉากมืดจม จึงมองไม่เห็นในส่วนที่ควรจะเห็น
2. Contrast :: แปลว่า การเปรียบต่าง แต่สำหรับจอภาพจะเกี่ยวเนื่องกับ “ระดับสีขาว หรือความสว่าง” (การปรับระดับความสว่างสูงขึ้นจะทำให้ความเปรียบต่างของระดับสีขาวและดำของจอภาพเพิ่มขึ้น) แต่ค่ายทีวีแทบทุกเจ้าดันแปลว่า ความคมชัด หรือ ความเข้ม ซึ่งถือว่าเป็นการสื่อสารที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว หากเราปรับระดับ Contrast สูงมากจนเกินไป จะส่งผลให้รายละเอียดการไล่ระดับสีขาวจะขาวโพลนไปทั้งหมด ในขณะที่หากเราปรับ Contrast น้อยเกินไป สีขาวที่ได้ก็จะหม่นๆ แบบขาวขุ่น ไม่ได้ขาวจั๊วะ แถมภาพยังจะดูมืดๆ เสียอีก แต่เป็นข้อโชคดีของเราอย่างหนึ่งเพราะว่าทีวีในปัจจุบันนี้ (ไม่นับรวมถึง โปรเจ็กเตอร์) จะสามารถปรับ Contrast ปรับเต็ม 100 หรือกดเต็มแม็กซ์ได้โดยไม่เกิดอาการขาวโพลนครับ แต่ถ้าหากเป็นพวก Projector หากเราปรับเต็มแม็กซ์แล้วรับรองว่าภาพขาวโพลนเกิดขึ้นแน่นอนเพราะสามารถเร่ง Contrast ภาพให้สว่างได้มากกว่าทีวี (แรงกว่า…ว่างั้นเถอะ !) เพราะฉะนั้นหากจะปรับ Contrast ใน Projector ก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ !
Contrast ถูกต้อง VS Contrast มากไป ทำให้ขาวโพลน
Pattern ไว้เช็ค Contrast ขั้นตอนคือ ปรับระดับ Contrast สูงที่สุด
ในขณะที่ไม่ส่งผลถึงระดับสีขาว 2 แท่ง ริม (ต้องเกือบจะกลืนกัน แต่ยังคงแยกแยะได้เล็กน้อย)
ปรับถูกต้อง :: ที่ให้แท่งสีขาว 2 แท่งสุดท้ายมีระดับที่สังเกตความต่างกันได้เล็กน้อย
ปรับมากไป :: หากปรับ Contrast มากไปจะสังเกตได้ว่าแท่งสีขาวด้านริมๆจะขาวโพลนกลืนกันไปหมดเลยผลลัพธ์หากเป็นการแสดงภาพจริงก็เช่นตัวอย่างเสื้อขาวโพลนข้างต้น
3. Color / Tint :: Color คือ “ความสดอิ่ม” ของสีสันโดยรวมทั้งหมด หากปรับมากไปสีสันก็จะสดโอเว่อร์จนเกินจริง เช่นใบหน้าติดแดง หญ้าเขียวฉ่ำเกินไปเหมือนในนิยาย ในขณะที่ปรับน้อยไปสีก็จะจืดชืดเกินไป หรือหากลดระดับลงไปสุดๆ ให้เหลือ 0 จะกลายเป็นภาพขาวดำทันทีครับ ในส่วนของ Tint เป็นการปรับความสัมพันธ์ระหว่างสีแดงกับสีเขียว โดยส่วนมากแล้วจะเอาปรับ “สีผิวของคน” (Skin Tone) ให้ถูกต้อง หากปรับมากไป (R) สีผิวของคนจะ “อมแดง” ในขณะที่ปรับน้อยไป (G) สีผิวของคนจะกลายเป็น “อมเขียว” เหมือนไอ้ยักษ์เขียว Hulk ซะงั้น ^ ^ อย่างไรก็ตาม จากที่ผมได้มีโอกาสทดสอบทีวีมาหลายยี่ห้อหลายรุ่น ทีวียุคนี้ถือว่าเซ็ตค่า Tint มาค่อนข้างดีตั้งแต่ต้น โดยแทบไม่ต้องปรับแก้ไขอะไรเพิ่มเติมเลย ดังนี้เรามาดูการปรับค่า Color อย่างเดียวก็พอ
Color มากไป สีสดเกินจริงทั้งใบหน้าของคนและกำแพงไม้ด้านหลัง
VS
Color ถูกต้อง สีถูกต้องเป็นธรรมชาติ สีไม้ก็เป็นไม้ ใบหน้าของสาวน้อยผู้นี้ก็เป็นธรรมชาติ
Pattern จาก DVE อันนี้เอาไว้ทดสอบความถูกต้องของค่า Color
เบื้องต้นลองใช้ Color Filter โดยมองผ่าน “ช่องสีน้ำเงิน”
ปรับถูกต้อง :: มองผ่าน Color Filter สีน้ำเงิน จะมองเห็นสี่เหลี่ยมสีเข้ม 6 ช่อง เท่านั้น
บริเวณโดยรอบจะกลืนเป็นสีพื้นเดียวกันหมด
ปรับมากหรือน้อยไป :: จะสังเกตเห็นสี่เหลี่ยมในตำแหน่งอื่น ๆ นอกเหนือจากสี่เหลี่ยมสีเข้ม 6 ช่อง ข้างต้น กล่าวคือ พื้นหลัง “ไม่กลืนกันเป็นน้ำเงินทั้งแผ่นดิน”
ทั้งนี้นอกเหนือจากการกำหนดระดับ Color ที่ไม่ถูกต้องแล้ว การกำหนด Tint ที่ไม่ถูกต้องก็ก่อให้เกิดผลลัพธ์ “ไม่กลืนกันเป็นน้ำเงินทั้งแผ่นดิน” เช่นเดียวกัน
4. Color Temperature :: แปลว่า “อุณหภูมิสี” หากเราปรับอุณหภูมิสีถูกต้องที่ 6500°K (K=Kelvin) จะได้ “สมดุลสีขาว” หรือ “White Balance” ที่ถูกต้องเฉกเช่นเดียวกับจอมอนิเตอร์ในสตูดิโอซึ่งผู้กำกับเอาไว้ใช้ดูภาพเวลาตัดต่อ Master นั่นแหละครับ ศัพท์เทคนิคของนักปรับภาพระดับโปรเฟสชั่นแนล เรียกจุดสมดุลสีขาวที่ถูกต้องว่าจุด “D65” ซึ่งตัวเลข 6500°K นั้น เป็นค่าอุณหภูมิแสงสีที่ “ดวงอาทิตย์” ส่องแสงสว่างในเวลา “กลางวัน” โดยถือว่าแสงขาวที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ในช่วงเวลานี้เป็นแสงสีขาวที่ใช้ในการอ้างอิงสำหรับการมองเห็น จึงใช้เป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมวีดีโอ และ Digital Imaging รวมถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ผมมีตัวอย่างจาก “หลอดไฟ” แม้มาตรฐานการส่องสว่างของหลอดไฟจะแตกต่างจากจอภาพอยู่บ้าง แต่ใช้เปรียบเทียบให้เห็นภาพว่าในแต่ละช่วงอุณหภูมิสีของแสงขาวนั้น จะติดโทนสีอื่นแตกต่างกันออกไป
°K น้อยๆ = สีขาวติดโทนอุ่น แบบเหลือง-ส้ม / °K มากๆ = สีขาวจะเริ่มติดฟ้า-น้ำเงิน เป็นโทนเย็น
ข่าวร้าย คือ การวัดอุณหภูมิสีอย่างแม่นยำนั้น มิอาจฟันธงด้วยตาเปล่าได้ จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์และซอฟท์แวร์ปรับภาพระดับโปรโฟสชั่นแนลพร้อมมิเตอร์ไว้วัดค่าต่างๆ เข้ามาช่วย ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงและใช้งานค่อนข้างยากสำหรับมือใหม่หรือคนทั่วไป อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นมิใช่ว่าเราจะไม่สามารถได้ White Balance จากจอภาพที่ใกล้เคียงกับค่าอ้างอิงได้ โดย “เคล็ดลับ” ก็คือการเลือกตัวเลือกตั้งค่าในส่วนของ “Color Temperature” ให้ถูกต้อง ซึ่งปกติจะให้มาดังต่อไปนี้
กราฟแสดงอุณหภูมิสี :: ดูแนวเส้นอ้างอิงตรงกลางได้ว่า Color Temperature ในแต่ละช่วง °K เช่น 10000°K / 6500°K / 4800°K / 2850°K มีโทนสีขาวที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
แต่เป้าหมายสำหรับมาตรฐานการอ้างอิง คือ 6500°K !!!
3. White Balance & Color Space :: เครื่องมือที่ใช้ในการอ้างอิง White Balance และ Color Space คือ Gamut CIE กรอบสี่เหลี่ยม คือ ขอบเขตการแสดงสีที่ถูกต้องตามมาตรฐานอุตสาหกรรมวีดีโอของ “แม่สีหลัก” (Red Green Blue) และ “แม่สีรอง” (Cyan Magenta Yellow) / ส่วนจุดสีขาวตรงกลางเรียกว่า “จุดสมดุลสีขาวที่ถูกต้อง” หรือ “D65” นั่นเอง (ก็จุดเดียวกับ 6500°K ของแนวเส้นอุณหภูมิสีนั่นแหละ) การปรับและวัดค่าทั้ง 2 อย่างนี้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ปรับภาพและวัดค่าภาพช่วย แต่ไม่ต้องกังวลเพราะผมมีแนวทางที่ง่าย และประหยัดกว่าในการอ้างอิงอุณหภูมิสีที่ถูกต้องเบื้องต้น
4. Color Temperature Mode :: ใช้แบบไหนดี ?
1. Cool :: โทนเย็น สีขาวจะติดอมน้ำเงิน สังเกตว่าสีขาวจะขาวโอโม่ติดน้ำเงินหน่อยเหมือนเสื้อนักเรียก โดยโทนนี้มักจะอยู่ในโหมด Vivid หรือ Dynamic ที่สว่างสุด สีสันสดใสสุด
** อุณหภูมิสีจะอยู่สูงลิ่วที่ประมาณ 12000°K แนะนำ “ร้านขายทีวี” ให้ใช้โหมดนี้ ภาพสว่างฉ่ำเตะตามากเมื่อต้องสู้กับแสงรบกวนแวดล้อม
2. Neutral :: โทนเย็นกลางๆ สีขาวจะติดอมฟ้าเล็กน้อย โดยโทนนี้มักจะอยู่ในโหมดภาพสำเร็จรูปอย่าง Standard (บางค่ายใช้ว่า Normal หรือ Medium)
**อุณหภูมิสีจะอยู่ที่ประมาณ 8000°K ใกล้เคียงขึ้น ผมแนะนำโหมดนี้ไว้ดู “ฟรีทีวี” ทั่วไป
3. Warm :: โทนสีอุ่น สีขาวจะติดอมเหลืองแดงเล็กน้อย โดยอุณหภูมิสีแบบ Warm นี้มักจะอยู่ในโหมด Movie/Cinema/Custom/Professional/Expert หรืออาจจะรวมถึงโหมด Photo ในบางยี่ห้อ (ต่างแบรนด์ก็ต่างชื่อเรียก) ซึ่งเป็นโหมดที่ให้อุณหภูมิสีและสมดุลสีขาวใกล้เคียงกับมาตรฐานอุตสาหกรรมวีดีโอมากที่สุด !!!
**อุณหภูมิสีจะอยู่ที่ประมาณ 6000°K-7000°K หากเป็นทีวีตัวเทพๆ อาทิ เช่น Sony HX925 รุ่นท็อปปี 2011 มันก็ Hit ที่ 6500°K เลย จะบวกลบไม่เกิน 50K เท่านั้น (เทพมาก) วิธีการไม่มีอะไรซับซ้อนเลย เพียงแค่ปรับเป็นโหมด Custom พร้อม Scene ภาพแบบ Cinema 1 และ Color Temperature แบบ Warm 1
แนะนำหากจะ ใช้เป็นจอภาพอ้างอิง ไว้ดูหนัง Blu-ray, แหล่งโปรแกรม HD หรือใช้เป็นมอนิเตอร์ระดับโปร ให้ใช้โหมดนี้เลย !!!
โทนภาพในแต่ละอุณหภูมิสี เช่น 12000°K จะติดอมน้ำเงิน ส่วน 4000°K จะติดอมเหลืองแดง
ในขณะที่ 6500°K เป็นอุณหภูมิสีที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นติดโทนอุ่นเล็กน้อย
5. Resolution - Aspect Ratio or Picture Size :: แปลว่า “สัดส่วนภาพ” เช่นหนัง Blu-ray เรื่อง AVATAR มีความละเอียดต้นฉบับที่ 1920 x 1080 พิกเซล เราจะทำอย่างไรให้ทีวีนั้นแสดงภาพ 1920 x 1080 พิกเซล ออกมาครบทุกเม็ดทุกหน่วย ไม่ขาดไปแม้แต่พิกเซลเดียว หรือถูกบิดเบือนขนาด และอัตราส่วนให้บิดเบี้ยว รวมถึงรายละเอียดขอบภาพไม่โดน Crop ตัดหายไป ซึ่งมีศัพท์ทางเทคนิคเรียกว่า 1:1 Pixel Matching โดยผมเองได้สรุปชื่อเรียกสัดส่วนภาพที่ถูกต้องของแต่ละแบรนด์มาให้แล้วดังต่อไปนี้
สัดส่วนภาพที่ “ถูกต้อง” 1:1 Pixel Matching (แนะนำเวลาดูหนัง หรือใช้งานเป็นมอนิเตอร์)
LG = Just Scan
Philips = Unscaled
Panasonic = 16:9 แล้วไปปิด Overscan เป็น Off
Samsung = Screen Fit
Sony = Full Pixel
Sharp = Dot by Dot
Toshiba = Native
ในขณะที่สัดส่วนภาพที่มีชื่อว่า “16:9” เหมือนจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง ก็แหมสัดส่วนเดียวกับทีวี Widescreen 16:9 ของเราเลยหนิ แต่หารู้ไหมว่า “คดีพลิก” !!! ทำให้หลายท่านเข้าใจผิดไปยกใหญ่ เพราะโหมด 16:9 มักจะเป็นโหมดที่ “Crop ภาพ” ทั้งด้านบน, ด้านข้างและด้านล่างไปซัก 2.5%-5% ทำให้ขอบภาพในแต่ละด้าน “หายไปหน่อยนึง” เหตุผลที่แบรนด์ทีวีต่างๆมักใช้โหมดนี้เป็น “ค่าแรกเริ่ม” ตั้งแต่ต้นก็เพราะบริเวณขอบภาพของฟิล์มภาพยนตร์ และวิดีโอ ในอดีตมักจะมีรอยขีดเขียน หรือรอยจากพวกมาร์กเกอร์ ทำให้ขอบภาพดูไม่สะอาดและไม่เรียบร้อย จึงตั้งให้โหมด 16:9 Crop ส่วนขอบนี้ทิ้งไปตั้งแต่ต้นซะเลย ขณะเดียวกันก็ใช้เป็น “โหมดขยายภาพให้เต็มจอ 16:9” เมื่อรับชมกับคอนเทนต์อัตราส่วนอื่น (เช่น 4:3)
สัดส่วนภาพที่ “ถูกต้อง” 1:1 Pixel Matching (แนะนำเวลาดูหนัง หรือใช้งานเป็นมอนิเตอร์)
LG = Just Scan
Philips = Unscaled
Panasonic = 16:9 แล้วไปปิด Overscan เป็น Off
Samsung = Screen Fit
Sony = Full Pixel
Sharp = Dot by Dot
Toshiba = Native
ในขณะที่สัดส่วนภาพที่มีชื่อว่า “16:9” เหมือนจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง ก็แหมสัดส่วนเดียวกับทีวี Widescreen 16:9 ของเราเลยหนิ แต่หารู้ไหมว่า “คดีพลิก” !!! ทำให้หลายท่านเข้าใจผิดไปยกใหญ่ เพราะโหมด 16:9 มักจะเป็นโหมดที่ “Crop ภาพ” ทั้งด้านบน, ด้านข้างและด้านล่างไปซัก 2.5%-5% ทำให้ขอบภาพในแต่ละด้าน “หายไปหน่อยนึง” เหตุผลที่แบรนด์ทีวีต่างๆมักใช้โหมดนี้เป็น “ค่าแรกเริ่ม” ตั้งแต่ต้นก็เพราะบริเวณขอบภาพของฟิล์มภาพยนตร์ และวิดีโอ ในอดีตมักจะมีรอยขีดเขียน หรือรอยจากพวกมาร์กเกอร์ ทำให้ขอบภาพดูไม่สะอาดและไม่เรียบร้อย จึงตั้งให้โหมด 16:9 Crop ส่วนขอบนี้ทิ้งไปตั้งแต่ต้นซะเลย ขณะเดียวกันก็ใช้เป็น “โหมดขยายภาพให้เต็มจอ 16:9” เมื่อรับชมกับคอนเทนต์อัตราส่วนอื่น (เช่น 4:3)
รูปประกอบเป็น Pattern จากแผ่น DVE ไว้เช็คสัดส่วนภาพ
ปรับไม่ถูกต้อง :: รูปประกอบข้างบนเป็นการเลือกสัดส่วนภาพของทีวีที่โหมด 16:9
จะพบว่าโดน Crop ขอบภาพหายไปประมาณ 2.5%-5%
(สังเกตว่าเส้นกรอบสี่เหลี่ยมที่เขียนว่า safe action 5% จะหลุดขอบออกไป)
ปรับถูกต้อง :: หากปรับสัดส่วนภาพแบบ 1:1 Pixel Matching
ภาพจะไม่ถูก Crop แม้แต่นิดเดียว แสดงออกมาทุกพิกเซล
สังเกตจากเม็ดสีดำๆตรงกลาง บริเวณขอบด้านบนและด้านข้าง จะโผล่ไล่ระดับให้เห็นครบถ้วน
6. Resolution - Sharpness :: ถึงแม้จะแปลว่า “ความคมชัด” แต่หากปรับค่านี้มากไปจะทำให้ภาพขึ้นขอบจนแตก เป็นรอยหยัก ออกเรื้อนแบบหยาบกร้าน หรือมีวุ้นขาวๆ เรืองตามขอบภาพ พร้อมทั้ง Noise ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ที่แฝงมากับคอนเทนต์จะปรากฏขึ้นมาให้เห็นชัดเจนขึ้น แต่ถ้าหากปรับน้อยไป ภาพก็จะออกแนวนุ่มนวล เบลอ มัว มน ไม่คมชัด เรามาดูผลเสียของปรับ Sharpness ไม่ถูกต้องตามรูปดังต่อไปนี้
Sharpness ถูกต้อง VS Sharpness มากเกินไป
ปรับถูกต้อง :: Pattern นี้นอกจากเอาไว้ทดสอบ Aspect Ratio แล้ว
ยังใช้ทดสอบ Sharpness ในเบื้องต้นได้ครับ หากปรับมากไปจะมีวุ้นเรืองๆสีขาวเกิดขึ้น
ตามขอบเส้น ปรับให้ถูกต้องพอดีพวกวุ้นเรืองๆ จะหายไป
ปรับมากไป :: โคลสอัพให้ดูเม็ดพิกเซลกันแบบใกล้ชิด หากปรับ Sharpness มากเกินไป
จะเกิด “วุ้นขาวๆ เรืองแสง” ตามขอบเส้นสีดำ
สรุปเบื้องต้นว่า หากทุกท่านปรับภาพตามหลักพื้นฐานเบื้องต้นนี้ เราก็ได้ทีวีที่สามารถถ่ายทอดภาพได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากๆ ถึงจะไม่ 100% ก็ตาม ขาดก็เพียงแต่การปรับค่า White Balance และ Color Space ให้ถูกต้องเป๊ะๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ แต่อย่างน้อยรายละเอียดมาครบแน่นอน จึงสามารถบอกได้ว่าทีวีตัวที่ท่านปรับภาพเบื้องต้นสามารถแสดงภาพได้ดีและถูกต้องใกล้เคียงกับที่ผู้กำกับต้องการสื่อออกมาให้เราได้รับชมกัน
ปรับภาพให้ถูกต้อง VS ถูกใจ
คำถามนี้เป็น “คำถามโลกแตก” รองมากจาก LCD หรือ Plasma อะไรดีกว่ากัน? ซึ่งได้สร้างดราม่ามานานหลายปีติดต่อกัน ผมคงไม่อาจกำหนดให้ทุกท่านเชื่อในสิ่งที่นำเสนอมานี้ เพราะอย่างไรเสียความชอบส่วนบุคคลถือเป็นสิ่งที่มิอาจประเมินได้ แต่ขอสรุปแบบนี้นะครับว่า ประโยชน์สำหรับผู้ชมทั่วไป ในการปรับภาพถูกต้องจะช่วยให้เรา “ตอบโจทย์” ของ “ผู้กำกับหนัง” ที่ต้องการสื่อออกมาให้เราได้รับทราบ ในมุมมองของผมคือ เราจะเข้าใจถึงอรรถรสของหนังอย่างถ่องแท้มากยิ่งขึ้น ไม่มีบิดเบือนในรายละเอียดของภาพที่หายไปรวมถึงโทนแสงสีที่ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ แนวภาพจะเป็นโทนอุ่นถูกต้องตามมาตรฐานสตูดิโอ ดูแล้วสบายตา ภาพเป็นธรรมชาติมาก (หากผู้กำกับต้องการสื่อออกมาอย่างนั้น) สังเกตให้ดีว่าแนวภาพแบบถูกต้องเช่นนี้จะใกล้เคียงกับโรงหนังมากครับ และประโยชน์สำหรับผู้ทำงานด้านจอภาพโดยตรง อย่างเช่นสตูดิโอที่จำเป็นต้องปรับตั้งค่าจอมอนิเตอร์เพื่อใช้อ้างอิงในการผลิตหนังออกมา ตลอดจนนักออกแบบกราฟิก ช่างภาพ นักทดสอบ ฯลฯ ที่จำเป็นต้อง “อิงมาตรฐานความถูกต้อง” ผ่านจอภาพ เช่นเดียวกับการทดสอบของ เว็บ LCDTVTHAILAND และนิตยสาร Videophile ที่ต้องทำการเปรียบเทียบทีวี และฟันธงคุณภาพของจอว่าตัวไหนดีกว่ากัน? ย่อมจำเป็นต้องปรับภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกันซะก่อน จึงจะตัดสินได้
อย่างไรก็ตาม หากให้พิจารณากันใน “มุมมองของผู้ใช้ทั่วไป” ทีวีก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สร้างความสุขให้กับเรา ภาษาอังกฤษยังจัดให้อยู่ในหมวด Home Entertainment ที่แปลว่า ความบันเทิงภายในบ้านเลย ! หากเราปรับภาพแบบถูกต้องแล้วรู้สึกว่ามันนวลไป ดูธรรมชาติไปซักนิด แล้วไปเร่งแสงสี คอนทราสท์ให้สดขึ้น อยากให้ภาพจากจอมันดูสดใสจัดจ้าน มีชีวิตชีวา ก็สามารถเลือกปรับภาพให้ถูกใจเช่นนี้ได้ ถ้าหากมันเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ความสุขกับท่านได้มากกว่าก็ถือว่าแนะนำอย่างยิ่งครับ (บางกรณีผมก็ชอบนะ อิอิ) ดังนี้การไปยึดติดกับหลักการและความถูกต้องมากเกินไปอาจจะ “ไม่ตอบโจทย์” ในเชิงปฏิบัติเสียทีเดียว สรุปคำตอบของคำถามดราม่าว่า ให้ลองปรับภาพทั้ง 2 แบบทั้งแบบ “ถูกต้อง” และ “ถูกใจ” ดูเสียก่อน แล้วลองดูหนังไปหลายๆ เรื่อง ลองเปรียบเทียบภาพกันว่าเราชอบแบบไหนมากกว่ากัน? แบบไหนสร้างความสุขให้เราได้มากกว่ากัน? หากเราสามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้แล้ว ผมเชื่อว่าทุกท่านสามารถ “บรรลุความสุขที่แท้จริง” จากทีวีตัวโปรดของท่านได้ แต่หากจะก้าวข้ามความชอบส่วนบุคคลไปถึงขั้น “อ้างอิง” ยังไงเราก็ต้องมี “มาตรฐาน” ครับ !
อย่างไรก็ตาม หากให้พิจารณากันใน “มุมมองของผู้ใช้ทั่วไป” ทีวีก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สร้างความสุขให้กับเรา ภาษาอังกฤษยังจัดให้อยู่ในหมวด Home Entertainment ที่แปลว่า ความบันเทิงภายในบ้านเลย ! หากเราปรับภาพแบบถูกต้องแล้วรู้สึกว่ามันนวลไป ดูธรรมชาติไปซักนิด แล้วไปเร่งแสงสี คอนทราสท์ให้สดขึ้น อยากให้ภาพจากจอมันดูสดใสจัดจ้าน มีชีวิตชีวา ก็สามารถเลือกปรับภาพให้ถูกใจเช่นนี้ได้ ถ้าหากมันเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ความสุขกับท่านได้มากกว่าก็ถือว่าแนะนำอย่างยิ่งครับ (บางกรณีผมก็ชอบนะ อิอิ) ดังนี้การไปยึดติดกับหลักการและความถูกต้องมากเกินไปอาจจะ “ไม่ตอบโจทย์” ในเชิงปฏิบัติเสียทีเดียว สรุปคำตอบของคำถามดราม่าว่า ให้ลองปรับภาพทั้ง 2 แบบทั้งแบบ “ถูกต้อง” และ “ถูกใจ” ดูเสียก่อน แล้วลองดูหนังไปหลายๆ เรื่อง ลองเปรียบเทียบภาพกันว่าเราชอบแบบไหนมากกว่ากัน? แบบไหนสร้างความสุขให้เราได้มากกว่ากัน? หากเราสามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้แล้ว ผมเชื่อว่าทุกท่านสามารถ “บรรลุความสุขที่แท้จริง” จากทีวีตัวโปรดของท่านได้ แต่หากจะก้าวข้ามความชอบส่วนบุคคลไปถึงขั้น “อ้างอิง” ยังไงเราก็ต้องมี “มาตรฐาน” ครับ !
ขอบคุณ : http://www.lcdtvthailand.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น