ทำไม...ผมหงอก ?? (ผมเป็นสีเทา-ขาว)

ผมหงอก
ผมหงอกเกิดขึ้นได้อย่างไร??

เป็นที่รู้กันดีว่าสีเทาของเส้นผมนั้นเป็นผลมาจากการลดลงของเม็ดสี ในขณะที่ผมขาวไม่มีเม็ดสีเลย
สมมติฐานหนึ่งของการเกิดผมสีขาว-เทา ก็คือมาจากกรรมพันธ์ุ หรือพ่อแม่เรานั่นเอง แต่นักวิทยาศาสตร์จะต้องสืบค้นให้ลึกลงไปอีกว่าทำไม และทำไม??  เพราะเมื่อแก่ตัวลงเส้นผมของทุกคนก็ต้องเปลี่ยนสีเหมือนๆกัน ซึ่งโอกาสที่ผมจะหงอกนั้นเพิ่มขึ้นถึง 10-20% เมื่อเข้าสู่วัย 30 ปีแล้ว !!
แรกเริ่มนั้นเส้นผมก็มีสีขาวนี่แหละ แต่เส้นผมของแต่ละคนได้สีธรรมชาติมาจากเม็ดสี (pigment) ที่เรียกว่า “เมลานิน (melanin)” เมลานินในคนนั้นถูกสร้างมาตั้งแต่ก่อนเกิดเสียอีก สีตามธรรมชาติของเส้นผมนั้นจึงขึ้นอยู่กับ การกระจายตัว ชนิด และปริมาณเม็ดสีเมลานินในชั้นกลางของตัวเส้นผมหรือเรียกชั้นนี้ว่า คอร์เทกซ์ (cortex)
hair structure
เม็ดสีผมนั้นมี 2 ชนิด คือ เม็ดสีเข้ม เรียกว่า ยูเมลานิน (eumelanin) และเม็ดสีอ่อน เรียกว่า ฟีโอเมลานิน (pheomelanin) ซึ่งเม็ดสีทั้ง 2 ชนิดเมื่อผสมกันแล้วจะได้เฉดสีผมที่หลากหลาย

eumelanin & pheomelanin structure
hair texture

เม็ดสีเมลานินนั้นถูกสร้างมาจากเซลล์เม็ดสีที่มีชื่อเฉพาะว่า เมลาโนไซต์ (melanocyte) เซลล์เมลาโนไซต์นี้อยู่บริเวณชั้นผิวหนังด้านบนที่เส้นผมหรือขนนั้นงอกขึ้นมา โดยเส้นผมแต่ละเส้นจะงอกขึ้นมาจากปุ่มรากผม (hair follicle) อันเดียวเท่านั้น
  


ขนในแต่ละระยะมีอายุไม่เท่ากัน ตลอดจนขนในแต่ละส่วนของผิวก็มีอายุไม่เท่ากัน เช่น บนศีรษะก็จะมีอายุประมาณ 3-4 ปี ใต้วงแขน ก็ประมาณ 1-3 เดือน นอกจากนี้ยังขึ้นกับเชื้อชาติอีกด้วย โดยวงจรชีวิตของขน มี 3 ระยะ ดังต่อไปนี้
1. ระยะ Anagen เป็นระยะที่เส้นผมมีการเจริญมากที่สุด (active growth) ถึง 2-7 ปี ในระยะนี้ต่อมขนอยู่ลึกในชั้น dermis มีเส้นเลือดมาเลี้ยง มีลักษณะเป็นกระเปาะ เป็นระยะที่ประกอบด้วยเซลล์เม็ดสี และมีรากที่พร้อมจะสร้างขนใหม่ พอครบอายุของมันแล้ว เส้นขนจะไม่โตขึ้นอีก ซึ่งส่วนใหญ่เส้นผมบนหนังศีรษะประมาณ 80-85% จะอยู่ในระยะนี้
2. ระยะ Catagen บางที่เรียกว่าระยะที่มีการเปลี่ยนแปลง (transition phase) ระยะนี้ต่อมขนจะเลื่อนสูงขึ้น สีเริ่มจางลง แยกตัวจากเส้นเลือดที่มาเลี้ยง และหลุดไปในที่สุด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10-20 วัน
3. ระยะ Telogen เส้นผมเข้าสู่ระยะนี้เมื่อการเจริญของเส้นผมนั้นสมบูรณ์แล้ว คืองอกและหลุดร่วงไป ส่วนใหญ่เส้นผมบนหนังศีรษะจะอยู่ในระยะนี้ประมาณ 10-15% ซึ่งเป็น ระยะที่ไม่มีเส้นผม หลังจากนั้นร่างกายก็จะสร้างขนระยะ Anagen ให้เกิดขึ้นมาใหม่แทนที่ วนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
hair life cycle

ปัจจัยอื่นๆที่สามารถเปลี่ยนสีของเส้นผม แบ่งเป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ดังนี้
1. ปัจจัยภายใน (Intrinsic factor) เช่น  ความผิดปกติทางพันธุกรรม  ฮอร์โมน  อายุ  การกระจายตัวของสารต่างๆในร่างกาย เป็นต้น
2. ปัจจัยภายนอก (Intrinsic factor) เช่น  สภาพภูมิอากาศ  มลภาวะ  สารพิษ  การสัมผัสกับสารเคมี เป็นต้น
และยังพบว่าปุ่มรากผมนั้นสามารถสร้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide: H2O2) ที่ทำให้สีเส้นผมหายไปได้ โดยไปเป็นตัวทำให้เกิด oxidative stress ที่มีผลต่อสีของเส้นผมอีกด้วย

hydrogen peroxide
ความจริงของการงอกของเส้นผม !!!
หนังศีรษะของคนเรามีเส้นผมเฉลี่ย 100,000-150,000 เส้น
icon เส้นผมแข็งแรงมาก แต่ละเส้นสามารถทนต่อความเครียด (strain) ได้ถึง 100 กรัม รวมแล้วเส้นผมบนศีรษะของคน 1 คน สามารถทนได้ถึง 10-15 ตัน (ถ้าหนังศีรษะก็แข็งแรงพออ่ะนะ :P)
icon เส้นผมแต่ละเส้นนั้นงอกได้เอง โดยมีวงจรชีวิตแตกต่างกันไป เพราะถ้าเส้นผมเรามีวงจรเหมือนกันหมด เราก็คงมีช่วงที่ต้องหัวล้านกันอย่างไม่ต้องสงสัย!!!
icon เส้นผมมีอัตราการแบ่งตัวแบบไมโตซิส (mitosis) มากที่สุด เฉลี่ยแล้ว 0.3 มิลิเมตร ต่อวัน และ 1 เซนติเมตร ภายใน 1 เดือน !!!

ผมหงอกที่มักพบในคนสูงอายุเมื่อเกิดแล้วจะอยู่ถาวร  ส่วนผมหงอกที่กลับดำได้นั้นเป็นผมหงอกที่เกิดจากโรคภายในร่างกาย ถ้ารักษาโรคหายผมจึงกลับดำได้ โรคที่ทำให้เกิดผมหงอกได้  เช่น เบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคต่อมไทรอยด์ การบาดเจ็บและโรคของระบบประสาท ด่างขาว ผมร่วงเป็นหย่อม การล้มป่วยบางอย่างเช่น มาลาเรีย และเป็นไข้หวัดใหญ่   อายุที่เริ่มผมหงอกขึ้นกับกรรมพันธุ์   ในฝรั่งผิวขาวผมเริ่มหงอกครั้งแรกตั้งแต่อายุ 24 - 44 ปี  ในคนผิวดำเริ่มหงอกเมื่ออายุ 34 - 54 ปี ส่วนชาวเอเชีย เช่น ญี่ปุ่นผมจะเริ่มหงอกตั้งแต่อายุ 30 - 40 ปี  ผมที่เริ่มหงอกตามวัยนี้ไม่สามารถกลับมาดำได้อีกเลย  ส่วน “ผมที่หงอกก่อนวัย” นั้น ในฝรั่งถือว่าถ้าผมเริ่มหงอกก่อนอายุ 20 ปี  ในคนผิวดำ (คนนิโกร) ส่วนคนไทยถ้าผมเริ่มหงอกก่อนอายุ 30 ปี ก็จัดว่าเป็น “ผมหงอกก่อนวัย” ซึ่งเป็นเรื่องตามธรรมชาติ คือเป็นกรรมพันธุ์เป็นส่วนใหญ่

การขาดสารอาหารบางตัว เช่น วิตามิน บี12 อาจทำให้มีผมหงอกได้  ในบางกรณีความเครียดอาจทำให้ผมหงอกได้ บางคนเชื่อว่าความเครียดทำให้ร่างกายขาดวิตามินบี  ถ้ากินวิตามินบีขนาดสูงอาจทำให้ผมหงอกกลับดำได้  การกินยาบางตัว เช่น คลอโรควิน อาจทำให้คนที่มีผมสีอ่อนหรือผมน้ำตาลแดงกลายเป็นสีขาวได้  มีการทดลองในหนูพบว่าถ้าขาดสาร pantothenic ทำให้ขนกลายเป็นสีขาวได้   วิธีแก้ปัญหาผมหงอกนั้นมีหลายอย่าง อย่างแรกคือไม่ต้องทำอะไรปล่อยให้หงอกขาวอยู่นั่นแหละ หรือถ้าผมหงอกเฉพาะส่วนปลายผม คือหงอกปลายผมไม่เกิน 1 ใน 10 ก็อาจใช้การตัดซอยเอาเฉพาะส่วนปลายที่หงอกทิ้งไป วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ผมเริ่มหงอกในช่วง 1 - 2 ปีแรก เพราะผมจะเริ่มหงอกเฉพาะส่วนปลายเท่านั้น  อีกวิธีหนึ่งก็คือย้อมผม  ไม่มีวิธีรักษาผมหงอกที่เกิดตามวัยให้หายขาดได้


ขอบคุณ  :  http://www.scimath.org/chemistryarticle/item/4431

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์