บันทึกการพบที่ตั้งเมืองโบราณกว่า 250 ปี ณ บึงทุ่งกะโล่ ตอนที่ 1

ย้อนหลังไปเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2553  และปัจุบันก็ปลายเดือนพฤษภาคม 2558 รวมเวลา 5 ปีเต็ม ๆ กับเหตุการณ์ เรื่องราว และข่าวคราวการพบที่ตั้งเมืองโบราณกว่า 250 ปี ณ บึงทุ่งกะโล่  ต้องยอมรับว่า ณ วันนี้ บึงทุ่งกะโล่ที่เดิมเป็นพื้นที่ชุมน้ำขนาดใหญ่ กำลังมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยตื้นเขินมากขึ้น ทำให้การเข้าถึงใจกลางแห่งบึงทุ่งกะโล่..เข้าถึงได้ง่ายขึ้น  จากสภาพทางภูมิศาสตร์ได้ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องช่วยกันบันทึกเนื้อหาสาระของเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นเอาไว้ เพื่อการเรียนรู้สำหรับผู้สนใจต่อไป


บึงทุ่งกะโล่  ภาพจาก www.utdhome.com

บึงกะโล่ หรือ บึงทุ่งกะโล่ เป็นแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่เพื่อการเกษตรของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่บนพื้นที่สาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของเมืองอุตรดิตถ์(ฝั่งซ้ายของแม่น้ำน่าน) อยู่ในเขตตำบลป่าเซ่า และบางส่วนของตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากทางหลวงหมายเลข 11 ประมาณ 2 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวมกว่า 7,500 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ มีพื้นที่เก็บกักน้ำถูกขุดลอกเพื่อใช้ในภาคการเกษตรและอุปโภคบริโภค การพัฒนาเมืองอุตรดิตถ์ในช่วง 50-60 ปี ที่ผ่านมา เน้นการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองฝั่งทิศตะวันตกมากกว่าทางฝั่งตะวันออก   ทำให้ฝั่งตะวันออกอยู่ในรูปแบบวิถีเรียบง่ายอย่างไทยๆ   ที่คงมีเรื่องราวเล่าขานของ เสือ กวาง ช้าง  ป่าโบราณ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ที่เคยมีเมื่อ 60 กว่าปีก่อน  ก่อนจะค่อย ๆ หายไปในช่วงหลังที่มีทางหลวงหมายเลข 11 ตัดผ่าน  ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้านและชุมชนมากขึ้นตามลำดับ 


ตำนานบึงทุ่งกะโล่

ปู่ย่ามักมีเรื่องราวเล่าขานเกี่ยวกับตำนานทุ่งกะโล่มากมาย เช่น ตำนานปู่โสม ตำนานป่าไผ่หลวง   แต่ทั้งหมดได้สูญไปจากวิถีชีวิตหมดแล้ว  จากการถางที่ทำไร่นาในช่วงหลังเหลืออยู่เพียงตำนานเมืองล่มทุ่งกะโล่  เพียงเรื่องเดียว  ที่ยังคงถูกเล่าอยู่ และยังไม่ได้ถูกทำลายหรือพิสูจน์ทราบ   เป็นมนต์ขลังที่ยังคงไม่เสื่อมคลายไปจากวิถีสำนึกของคนแถบคนลุ่มน้ำน่านฝั่งตะวันออก ทุ่งกะโล่ หรือ บึงกะโล่ อันกว้างใหญ่ไพศาล   ในอดีตกาลนั้น  เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณอันรุ่งเรือง   แต่แล้วเมื่อใดไม่ปรากฏ   เมืองแห่งนี้ก็ได้ล่มจมหายสาบสูญไปจากพื้นพิภพ   กลายเป็นหนองปลักอ้อกอไม้น้ำหรือผักตบชวาที่รู้จักกันดีนั้นเองปรากฏนามขานในปัจจุบันว่า บึงทุ่งกะโล่สืบมา

นอกจากตำนานแล้วยังมีคำปากคำเล่า สืบความที่ประสบมาว่า อันทุ่งกะโล่นั้น   มีอาถรรพ์ลี้ลับซ่อนอยู่   จะด้วยฤทธิ์เจ้าพ่อกะโล่ หรือฤทธิ์เมืองร้างโบราณอันลึกลับ ผู้กระทำหยามเหยียดรบกวนอาณาเขตอันศักดิ์สิทธิ์นี้   จะมีอันเป็นไปชาวบ้านไร่น่าแถบนั้น มักเล่ากันว่า   กลางทุ่งกะโล่   มีอัศจรรย์แปลกๆ ขึ้นบ่อยครั้ง   เวลากลางดึกวันพระวันโกน  มักมีแสงไฟประหนึ่งพลุ   สว่างพุ่งออกมาจากหนองกออ้อกลางบึงด้วยตำนานเล่าขานและเรื่องราวอัศจรรย์แปลกๆ ที่คนรุ่นนี้ได้พบกับตน   บึงทุ่งกะโล่   จึงเป็นสถานที่อาถรรพ์แห่งหนึ่งที่มีเสน่ห์แห่งความ ลึกลับ อันน่าสนใจยิ่ง



ส่วนหนึ่งของบึงทุ่งกะโล่ที่ถูกไฟไหม้   ภาพจาก  https://www.gotoknow.org


การพบที่ตั้งเมืองโบราณ

ในปี พ.ศ.2553 เป็นที่แห้งแล้งที่สุดปีหนึ่งในรอบสิบปีของประเทศไทย  บึงทุ่งกะโล่ ได้รับผลกระทบอย่างหนัก และเกิดไฟไหม้ใหญ่  ซึ่งคาดว่าเป็นไฟที่จุดโดยชาวบ้านริมบึง ทำให้ต้นกกอ้อที่สูงกว่า 3-4 เมตร สูงท่วมช่วงสองช่วงคน ต้นกกอ้อ เคยที่เขียวขจีเสมอมา เป็นแหล่งพึ่งพิงของสัตว์ทั้งหลาย   และเอกลักษณ์สำคัญของบึงกะโล่แห่งนี้และที่สำคัญ ต้นกกอ้อที่เก็บงำตำนานเล่าขานอาถรรพ์ไว้ภายใน สถานที่ไม่เคยมีคนย่างกรายเข้าไปภายในมานับร้อยๆ ปี   ถูกไฟไหม้ลามหมดทั้งอาณาเขตกลางบึงกว่า 7,000 ไร่ กลายเป็นบึงร้างที่เต็มไปด้วยซากกกอ้อ กอไม้ ฝุ่นผงสูงท่วมหัวเข่า   และซากเต่าซากสัตว์น้ำมากมายที่ถูกตายในกองเพลิง เป็นมหาวิบัติที่ร้ายแรงครั้งหนึ่งของบึงกะโล่แห่งนี้ ที่ทำลายสวรรค์ของสรรพสัตว์จนสิ้นซาก  และปิดฉากตำนานแหล่งดูนกน้ำสำคัญของเมืองอุตรดิตถ์ไปโดยปริยาย กลายเป็นพื้นดินแห้งผาก แตกระแหง ที่กินอาณาบริเวณกว่า 7,000 ไร่  

http://lh4.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/TA4083o2m6I/AAAAAAAAHNw/URU0z7DQz5c/DSCF1578.jpg

ส่วนหนึ่งของบึงทุ่งกะโล่ที่ถูกไฟไหม้   ภาพจาก  https://www.gotoknow.org


http://lh4.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/TA56MV_MkUI/AAAAAAAAHPc/mVDakmRVt4w/s512/DSCF1705.jpg

 แผนผังแสดง "กลุ่มเสา"  ภาพจาก  https://www.gotoknow.org

http://lh6.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/TA41K3TUE0I/AAAAAAAAHOo/hU8kBa-4LMI/s512/DSCF1673.jpg

ลุงผู้เลี้ยงวัว
วันนั้นในเช้าปลายเดือนพฤษภาคม 53 ลุงผู้เลี้ยงวัวแห่งบ้านห้วยบง (เป็นหมู่บ้านอยู่ติดกับบึงทุ่งกะโล่ทางทิศตะวันออก) ได้ต้อนฝูงวัวที่ครอบครัวของลุงเลี้ยงไว้ไปหากินหญ้าในบึงเก่าที่พึ่งแตกใบ หลังถูกเพลิงผลาญไปไม่นาน  ลุงต้อนวัวไป  ดูบึงเก่าไป ด้วยใจที่ไม่ปกติ บึงน้ำได้หายไปแล้ว เหลือแต่ตมโคลนแห้งผาก  ทำอะไรดี  ทำนา  ทำไร่  เอาวัวมาปล่อยทิ้งแถวนี้เลยดีไหม เอ๊ะ! หรือจะมา สร้างเพิงทำบ้านแถวนี้ดี  ไกลผู้คน  วัวหากินสบาย ไม่ต้องแย่งกะวัวคนอื่น ฯลฯ  ลุงคนนี้คิดสะระตะไปเรื่อย ทั้งๆ ที่บางอย่างมันเป็นไปไม่ได้ แต่ลุงก็คิด เพื่อไม่ให้ใจลุงกังวลและ กลัว เพราะกลางบึงกะโล่แห่งนี้มันคือ ที่สถิตย์แห่งตำนานอาถรรพ์และลุงก็ได้ก้าวเข้ามาในดินแดนอาถรรพ์แห่งนั้นแล้ว เพียงแต่ตอนนี้มันไม่มีกำแพงแห่งตำนาน คือกกอ้อที่ขวางกั้น มีแต่ทุ่ง กับทุ่ง ทุ่ง จริง ๆ ทุ่งกะโล่ตอนนี้ไม่ควรเรียงบึง เรียกทุ่งดีกว่า" ฝูงวัวคงเดินต่อไป   เดินไปสู่กลางใจบึงเก่าวันนั้น ลุงไม่ได้ต้อน ไม่ได้นำ แค่เป็นผู้ตามวัวที่ดี  รอบๆบึงมันก็มีหญ้าใบอ่อนแตกขึ้น มันพาเข้ามาทำอะไรกลางบึงมีแต่ซากต้นกกอ้อ  ทันใดนั้น ฝูงวัวได้หยุดลงและเดินวนไปมา  ลุงเลี้ยงวัวตามมาและได้พบกับ "กลุ่มเสา" ที่ตั้งอยู่กลางทุ่ง 

http://lh6.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/TA41Lm_tG1I/AAAAAAAAHOs/o69HHPUL-Ao/s512/DSCF1708.jpgเรื่องการพบของและสิ่งปลูกสร้างโบราณได้กระจายไปทั่วหมู่บ้านต่างคนต่างพากันมาดู และขุดคุ้ยสถานที่แห่งนี้  บ้างเชื่อว่า เป็นเมืองโบราณในตำนาน บ้างก็ว่า เป็นวัดโบราณแต่ที่ประหลาดก็คือ ทำไมข้าวของเหล่านี้จึงมาอยู่ในที่ ๆ เป็นกลางบึงโบราณที่ไม่น่าอยู่แห่งนี้ และทำไมต้องมาอยู่รอบ ๆ กลุ่มเสาไม้โบราณด้วยด้วยตำนาน เรื่องราวเล่าขาน บางคนบอกว่า นี่คือที่ตั้งเมืองโบราณที่สูญหาย ตำนานแห่งเมืองกะโล่ ที่ถูกค้นพบใหม่แต่บางคนไม่สนใจ พบข้าวของก็นำกลับไปบ้านหวังเอาเป็นของตัว เหลือแต่ของแตกหักไว้ที่วัดทุ่งเศรษฐี วัดน้อยริมบึง วัดประจำหมู่บ้านห้วยบง ตำบลป่าเซ่า ไม่ต้องห่วง เดี๋ยวรู้ดีกันเอง 




http://lh5.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/TA41R5u7JVI/AAAAAAAAHPE/gI5eyOqpySc/s512/DSCF1695.jpgเสียงบ่นของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านที่ไม่เห็นด้วยกับการนำวัตถุโบราณของชาติไปเป็นสมบัติส่วนตัว ตกดึกคืนนั้น ทุกคนที่นำของเก่ากลับบ้าน ต่างเจอ ของดี กันทุกคนและแล้ว วัดทุ่งเศรษฐี ก็เต็มไปด้วยของโบราณสภาพสมบูรณ์ที่ถูกนำมา คืน ให้ส่วนรวมนับพันชิ้น ที่จะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าบางสิ่งไม่ไปบอกให้เห็นกับตัว "ขันพูดได้....กระบวยพูดได้...เป็นผีหลอกยกหมู่บ้าน" สิ่งที่ชาวบ้านนำมาคืน มีทั้งถาด ถ้วย กระบวยโบราณ ตลับ หม้อดิน ภาชนะโลหะ  และทองคำ พร้อมๆกับความสามัคคีของชาวบ้านห้วยบงที่พร้อมใจกันยกสมบัตินี้ให้แก่ส่วนรวม  
http://lh3.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/TA41GNI05eI/AAAAAAAAHOU/JY-EPXOXeFs/s576/DSCF1643.jpg

http://lh3.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/TA41HLisrEI/AAAAAAAAHOY/ZRn3ni3yO3I/s512/DSCF1644.jpgความต้องการของชาวบ้านที่จะมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงอย่างเป็นสัดส่วน และการพร้อมใจกันสร้างตู้จัดแสดงวัตถุโบราณ  ด้วยฝีมือของคนในหมู่บ้านภายในเวลาเพียงวันเดียวแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการปกปักษ์รักษาสมบัติของชาตินี้ให้คงอยู่ตลอดไป สิ่งของโบราณและความสามัคคีของชาวบ้านจึงมาพร้อมกัน เพื่อต้อนรับผู้คนจากทั่วสารทิศ ที่ปรารถนามาดู มาชม มาดม  มามอง  ขอเลข ขอเบอร์  กับของโบราณพบใหม่เหล่านี้ไปตามประสารวมทั้งนักข่าวและ เจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร ศัตรูตัวฉกาจในสำนึกของชาวอุตรดิตถ์รุ่นเก่า ที่ยังคงแค้นใจไม่หายที่นำพระฝางไปกรุงเทพ   และยังไม่นำมาคืน (จากหลักฐานในประวัติศาสตร์นั้น ในปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5   ได้มีการอัญเชิญพระฝางไปประดิษฐานไว้กรุงเทพ   ไม่ใช่โดยกรมศิลปากร แต่ด้วยสำนึกของชาวบ้าน ก็โทษว่า หลวงเอาไป และในปัจจุบัน หลวงที่ว่า ก็คือ ศิลปากรศิลปากรจึงตกเป็นแพะรับบาปไปโดยปริยาย) ด้วยเหตุนี้เองกระมัง ที่ทำให้ชาวบ้านปิดกั้น ไม่ยอมเปิดเผยตำแหน่งที่ค้นพบวัตถุโบราณแก่เจ้าหน้าที่ อันจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการขุดค้นทางโบราณคดีที่ถูกต้อง และค้นพบ ข้อเท็จจริงใหม่ๆ ที่อาจเป็นคำตอบของตำนานเมืองล่มโบราณได้ชัดเจนกว่านี้ตำนานคือ เรื่องในอดีต     


http://lh3.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/TA41JByIZGI/AAAAAAAAHOg/MERjOcNH-uw/DSCF1652.jpgแต่สิ่งที่ปรากฏในวันนี้ มันคือปัจจุบัน และด้วยการปิดกั้นอันเกิดจากความเชื่ออีกนั่นเอง ที่อาจจะทำให้เมืองโบราณพบใหม่  จะยังคงกลายเป็นตำนานต่อไปในอนาคตตอบสนองความเชื่อ ด้วยความเชื่อ   เท่ากับปิดกั้นความจริง  ด้วยความเชื่อสืบทอดเรื่องราวเล่าขานต่อไปอีกนานเท่านาน แต่นั่นก็คุ้มไม่ใช่หรือถ้าจะทำให้ชาวบ้านยังคงมีความ เคารพและ ยำเกรง   ในสิ่งที่มองไม่เห็นและไม่กล้า   รวมทั้งไม่ยอมให้มีใครเข้าไปทำการ ละเมิด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาที่เป็นทั้งแหล่งน้ำ แหล่งที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติของสรรพชีวิตที่ไม่ปรารถนาการถูกรบกวนจากผู้คน   ผู้กระหายและทำลายทรัพยากรอย่างบ้าคลั่ง หลังเพลิงพลาญและการค้นพบเมืองโบราณแห่งนี้  ความแตกตื่นตกใจ   มงคลตื่นข่าว  การเล่าลือทั่วสารทิศ ที่กำลังจะตามมาด้วยความเงียบหาย และความหลงลืมของผู้คนในเรื่องราวเหล่านี้



นักโบราณคดีพิสูจน์เครื่องปั้นดิน เผาบึงกะโล่

3 มิ.ย.53  นักโบราณคดีลงพื้นที่อุตรดิตถ์ตรวจพิสูจน์เครื่องปั้นดินเผาเก็บจากบึงกะโล่ นับพันชิ้น คาดอยู่ในสมัยอยุธยาเจริญรุ่งเรืองและสมัยราชวงศ์ฉิน สันนิษฐานพื้นที่บึงแห่งนี้คงเป็นเมืองท่ามาก่อน นางสายรุ้ง ธาราจันทร์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อม น.ส.ธัตติยา ไชยวงศ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 6 จ.สุโขทัย นำคณะลงพื้นที่หมู่ 7 ต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ หลังจากชาวบ้านช่วยกันรวบรวมเครื่องปั้นดินเผาไว้ได้กว่า 1,000 ชิ้น  



http://lh3.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/TA41FETE23I/AAAAAAAAHOQ/iiHKfFkkZNY/DSCF1638.jpgน.ส.ธัตติยา กล่าวว่า เครื่องใช้วัตถุโบราณค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาหลายชนิดมีลวดลายการขึ้นรูปแบบแป้นหมุน ทั้งลายเครื่องจักสาน สี่เหลี่ยม และลายนาคปรก นอกจากนี้ ยังมีถ้วย ชาม เครื่องชงชา ลวดลายสวยงามสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์จำนวนหนึ่ง โดยมีอักษรจีนประทับอยู่ใต้ภาชนะในยุคของราชวงศ์ฉิน จากการตรวจสอบวัตถุโบราณและพื้นที่ที่ขุดพบ  แม้ปัจจุบันจะกลายเป็นบึงขนาดใหญ่  คาดว่าก่อนหน้านี้เป็นที่ราบน้ำท่วมขังอยู่ในสมัยอยุธยาเจริญรุ่งเรือง และน่าจะเป็นจุดพักค้างคืนของพ่อค้าชาวจีนที่นำสินค้าทางเรือมาแลกเปลี่ยน ซื้อขายยังหัวเมืองฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ห่างจากแม่น้ำน่านไม่ไกล  ตามประวัติศาสตร์อุตรดิตถ์เคยเป็นเมืองท่าที่สำคัญมาก่อน   อย่างไรก็ตามเพื่อความชัดเจนด้านข้อมูลจำเป็นต้องนำวัตถุโบราณที่พบตรวจสอบหลักฐานอย่างละเอียดและขึ้นทะเบียนทุกชิ้น หากชาวบ้านหรือท้องถิ่นต้องการเก็บรักษาสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ก็สามารถทำได้.

http://lh5.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/TA41AMruZWI/AAAAAAAAHN4/KkP1RleNP-I/s512/DSCF1623.jpg


ชาวเมืองอุตรดิตถ์ค้าน

กรมศิลป์ยึดของโบราณ

26 มิ.ย.53  พระณรงค์ชัย ปัญญาพโล  รักษาการเจ้าอาวาสวัดทุ่งเศรษฐี หมู่ 7 ต.ป่าเซ่า อ.เมือง   จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า หลังจากชาวบ้านค้นพบวัตถุโบราณ เครื่องใช้ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา หม้อดินหลากหลายขนาด เตาเชิงกราน อาวุธปืนโบราณ และเครื่องสัมฤทธิ์ อายุ 200-400 ปี อยู่ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องกรุงรัตนโกสินทร์ ที่บริเวณบึงกะโล่ ต.ป่าเซ่า  ชาวบ้านนำมารักษาไว้ที่วัดทุ่งเศรษฐี 

ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร จ.สุโขทัย ที่ทราบข่าว ได้เข้ามาทำการตรวจสอบวัตถุโบราณที่ค้นพบแล้ว พร้อมทั้งจะขอนำไปตรวจสอบ เพื่อขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องอีกครั้ง แต่ประชาชนและกรรมการวัดทุ่งเศรษฐีไม่ยินยอม  ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรอ้างว่าหากไม่ยอมจะมีความผิด  ทางวัดจึงไปหารือกับผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนา จ.อุตรดิตถ์  ก็ได้รับการยืนยันว่าไม่ผิดกฎหมาย  ชาวบ้านจึงร่วมกันล่ารายชื่อเพื่อขอคัดค้านไม่ให้กรมศิลปากรนำไปจากวัด

นายถมยา สุวรรณทา กรรมการวัดทุ่งเศรษฐี กล่าวว่า ทุกวันนี้ชาวบ้านได้จัดเวรยามเพื่อเฝ้าระวังบุคคลภายนอกที่อาจแฝงตัวมากับประชาชนที่มาดูวัตถุโบราณมาขโมยของมีค่าภายในวัดกันเอง และมีมติแล้วว่า จะไม่นำของโบราณทั้งหมดมอบให้กับกรมศิลปากร  หากต้องการมาตรวจหรือขึ้นทะเบียนก็มีดำเนินการที่วัด ห้ามนำสิ่งของออกจากวัดไป นอกจากนี้ชาวบ้านจะทำการสมทบทุนและขอบริจาคเงินจากบุคคลภายนอก เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์เก็บรักษาไว้ เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดอุตรดิตถ์อีกแห่งหนึ่ง




ขอบคุณ  :  1)  http://th.wikipedia.org

               2)  https://www.gotoknow.org

               3)  http://industrial.uru.ac.th

               4)  http://sunflower08-sunflower08.blogspot.com

               5)  http://www.manager.co.th   

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์