บันทึกการพบที่ตั้งเมืองโบราณกว่า 250 ปี ณ บึงทุ่งกะโล่ ตอนที่ 2


ที่ที่ขุดพบเครื่องใช้ชุดใหญ่ อยู่กลางบึงกะโล่ ทางเดินไปค่อนข้างลำบาก ไกลประมาณ 2 กิโลจากบนถนน 
ภาพจาก  http://www.utdhome.com


ที่ที่ขุดพบเครื่องใช้ชุดใหญ่ อยู่บริเวณกลางบึงกะโล่ ทางเดินไปลำบาก ไกลประมาณ 2 กิโลจากบนถนน
ภาพจาก  http://www.utdhome.com


เดินลงบึงที่แห้งไม่ยาก  แต่ถ้าก่อนหน้ามีฝนตกพื้นดินเปียกเดินไป มีการยุบตัวของหน้าดินเป็นระยะ ๆ 
ภาพจาก  http://www.utdhome.com

27 พฤษภาคม 58  ผู้เขียนได้เดินทางเข้าไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณ ที่พบจากเมืองโบราณกลางบึงทุ่งกะโล่ เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา  สภาพของพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณเป็นอาคารติดพื้นชั้นเดียว ตั้งอยู่บริเวณด้านเหนือของวัดทุ่งเศรษฐี หมู่ 7 ต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ภายในอาคารมีวัตถุโบราณมากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นไม้  เป็นโลหะ  และเป็นเครื่องปั้นดินเผา น่าสนใจมากครับ โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบในด้านโบราณคดีต้องไม่พลาด

  
ด้านหน้าของอาคารพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณ  วัดทุ่งเศรษฐี   ภาพจาก  http://www.utdhome.com


อาคารพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณ  วัดทุ่งเศรษฐี
                                           

                                                                 อาคารพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณ วัดทุ่งเศรษฐี



การจัดวางวัตถุโบราณในช่วงแรก ๆ (ปลาย พ.ค.53)


การจัดวางวัตถุโบราณในปัจจุบัน (ปลาย พ.ค.58) ขนาดของโต๊ะวางมีขนาดใหญ่กว่าเดิม


การจัดวางวัตถุโบราณในปัจจุบัน  (ปลาย พ.ค.58) ขนาดของโต๊ะวางมีขนาดใหญ่กว่าเดิม


การจัดวางวัตถุโบราณในปัจจุบัน (ปลาย พ.ค.58) ขนาดของโต๊ะวางมีขนาดใหญ่กว่าเดิม


ด้านหลังของพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณ จะเป็นพระพุทธรูปเพื่อความเป็นศิริมงคล


วัตถุโบราณที่สำคัญได้จัดแสดงไว้ในตู้กระจก เช่น เครื่องถ้วยชามต่าง ๆ


วัตถุโบราณที่สำคัญได้จัดแสดงไว้ในตู้กระจก  เช่น  เครื่องปั้นดินเผา


อยากให้ดูที่ลวดลายของเครื่องปั้นดินเผา....เพื่อการสืบค้นแห่งยุคสมัย


 อยากให้ดูที่ลวดลายของเครื่องปั้นดินเผา....เพื่อการสืบค้นแห่งยุคสมัย


เครื่องโลหะ (น่าจะเป็นทองเหลือง)  รูปหงส์  2  ลีลา


สำหรับทับพีโลหะ (น่าจะเป็นทองเหลือง) ดูแปลกตาและน่าสนใจในเชิงช่างที่สุด


เครื่องโลหะ (น่าจะเป็นทองเหลือง) ภาชนะใส่ปูนแดง..สะท้อนคนโบราณนิยมกินหมากพลู (ยังปรากฎปูนแดงให้เห็น)


โถเคลือบที่ยังค่อนข้างสมบูรณ์ 


ถ้วยชามเคลือบที่มีลวดลายสวยงาม และยังมีความสมบูรณ์อยู่มาก


ถ้วยชามเคลือบอีกแบบหนึ่งที่เราคุ้นเคยในสีสันลายคราม


จานชามเคลือบที่ไม่เน้นลวดลายสีสัน


ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของวัตถุโบราณที่ได้มีการจัดแสดงไว้เท่านั้น  ยังมีวัตถุโบราณอื่น ๆ ที่ชาวบ้านทั้งใกล้ไกลได้นำมาให้กับพิพิธภัณฑ์ เช่น ไม้กลายเป็นหิน ก้อนแร่สีดำ  ลูกล้อหินทราย  เป็นต้น



ไม้กลายเป็นหิน


ไม้กลายเป็นหิน


ก้อนแร่สีนิล และลูกล้อหินทราย





ความสำเร็จในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณ วัดทุ่งเศรษฐี หมู่ที่ 7 ต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ผ่านกาลเวลามาได้ 5 ปีแล้ว  แสดงให้เห็นถึงความรัก ความสามัคคีและความเข้มแข็งของชาวห้วยบงที่ประกอบด้วยทั้งฝ่ายพระสงฆ์ และชาวบ้าน  ในการขอเก็บรักษาวัตถุโบราณที่ถูกค้นพบ พร้อมเดินหน้าระดมทุนกันเอง  ขอบริจาคตั้งพิพิธภัณฑ์โชว์ของเก่าให้ลูกหลานได้ศึกษา  นับเป็นตัวอย่างที่ดีงามน่ายกย่องชื่นชมระดับท้องถิ่นเล็ก ๆ อีกแห่งหนึ่ง  


นานาเสียงสะท้อน และความเห็น
*** จากการตรวจสอบของนักโบราณคดี  ที่ระบุถึงบริเวณเมืองโบราณบึงทุ่งกะโล่ว่า "...คาดว่าก่อนหน้านี้เป็นที่ราบน้ำท่วมขังอยู่ในสมัยอยุธยาเจริญรุ่งเรือง  และน่าจะเป็นจุดพักค้างคืนของพ่อค้าชาวจีนที่นำสินค้าทางเรือมาแลกเปลี่ยน ซื้อขายยังหัวเมืองฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ห่างจากแม่น้ำน่านไม่ไกล  ตามประวัติศาสตร์อุตรดิตถ์เคยเป็นเมืองท่าที่สำคัญมาก่อน...."   วิเคราะห์ได้ว่าบริเวณที่ตั้งเมืองโบราณดังกล่าวอยู่ไม่ห่างไกลจากแม่น้ำน่านเท่าไรนัก (ปัจจุบันห่างจากแม่น้ำน่านประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ) ร่องรอยทางภูมิศาสตร์ที่เหลืออยู่ให้เห็น คือ แนวทางน้ำโบราณจากเหนือ - ใต้  จากบริเวณบุ่งวังงิ้ว - วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ - สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1 - บ้านเกาะไทย  

*** จากข่าวคราวการพบที่ตั้งเมืองโบราณบึงทุ่งกะโล่ พร้อมหลักฐานวัตถุโบราณต่าง ๆ นับ 1,000  ชิ้น  ได้มีหลายท่านเขียนแสดงความเห็นใน https://www.gotoknow.org  ซึ่งอ่านแล้วยิ่งทำให้เราเห็นภาพบึงทุ่งกะโล่ หรือทุ่งกะโล่ ในหลายมิติและชัดเจนมากยิ่งขึ้น  จึงขอนำมาประกอบการบันทึกการพบที่ตั้งเมืองโบราณกว่า 250 ปี ณ บึงทุ่งกะโล่ ตอนที่ 2 นี้ด้วย คือ

คุณ nhong .....ตั้งแต่เกิดมา ก้อเห็นคนในหมู่บ้านไม่เคยซื้อกับข้าวมาประกอบอาหารแม้แต่ ครั้งเดียว เพราะแต่ก่อนอุดมสมบูรณ์มากครับ หน้าฝนไม่ต้องไปหาจับปลาไกลเลย  เพราะน้ำจะไหลผ่านใต้ถุนบ้าน ปลา ก็ขึ้นมาให้จับ  ชาวบ้านส่วนประกอบอาชีพ ต้มเหล้าเถื่อนขาย (เมื่อก่อนนะครับ) มอเตอร์ไซด์ยังเข้ามายากเลยครับ ไม่ใช่บ้านนอกนะครับ ห่างจากตัวเมืองไม่ถึงสิบกิโล แต่คล้ายๆเป็นที่ลับตาคนครับ

บึงกะโล่แต่ก่อนเรียกว่า ศาลาแดง เพราะผมยังเห็น ศาลา เก่าแก่ ที่เหลือแต่เสา อยู่กลางน้ำ ต้องใช้เรือ อย่างเดียว

แต่เมื่อตอนผมอยู่ประถมปีที่สอง สมเด็จพระเทพเสด็จมาที่หมู่บ้าน จากนั้นก้อมีคนรู้จักมากขึ้น อะไรๆ ก้อเปลี่ยนไปมากขึ้น มีคนย้ายเข้ามาอยู่ที่หมู่บ้านเยอะขึ้น แต่การเป็นอยู่ก้อไม่ได้ดีขึ้นเลยนะครับ เปลี่ยนไปเยอะมาก เริ่มมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกันมาขึ้น

ขอบอกตรงๆนะครับรูปที่เห็นกันข้างบนนี้ถ้าเปรียบกับเมื่อ 15 ปี ที่แล้ว รับรองว่า คุณๆจะต้องถามว่า ที่ประเทศไทยยังมีอยู่เหรอ

คุณ Nan  ถึงเวลาแล้ว....ที่กำแพงธรรมชาติ กำแพงแห่งอาถรรพ์ กำลังจะขึ้นมาบดบังเมืองโบราณแห่งนี้อีกครั้งหนึ่ง ให้คงเป็นเมืองลี้ลับลึกลับ ....แต่คงจะไม่เหมือนเมื่อก่อนอีกแล้วเพราะว่าน้ำในบึงกะโล่จะต้องแห้งทุก ๆ ปี ...

ฉันก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เกิดมาและโตมาได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในบึงกะโล่ตลอดเวลา....และเชื่ออยู่ตลอดเวลาว่าในบึงกะโล่ของเราต้องมีสมบัติที่มีค่าอยู่จำนวนมาก เนื่องจากได้ฟังจากคนเฒ่าคนแก่ได้เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟังมามากมาย....ว่าเมื่อก่อนเคยมีเรือสำเภาแล่นเข้ามาค้าขายและพักค้างแรมอยู่ในบึงแล้วเรือก็เกิดล่มขึ้นมา...

และในยามค่ำคืนที่ดึกสงัด...ฉันยังเคยได้ยินเสียงบรรเลงปี่ พาทย์ ระนาด คล้าย ๆ กับเสียงเครื่องดนตรีไทยที่อยู่ในวังหลวง.....ดังขึ้นมา....ดังบรรเลงลอยมากับสายลมเป็นระยะ ๆ

และในระยะเวลาวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็มักจะเห็นลูกไฟสีแดงขนาดใหญ่ ลอยปรากฎขึ้นบริเวณกลางบึงกะโล่ คนเฒ่าคนแก่บอกว่าเป็นดวงวิญญาณของสิ่งที่เรามองไม่เห็นในบึงกะโล่

เมื่อก่อนบรรดาพ่อแม่ ของฉันและชาวบ้านในหมู่บ้านยังเคยเข้าไปต้มเหล้าเถื่อนในบึงกะโล่กันอยู่...ได้เข้าไปโดยที่เท้าไม่เคยแตะถึงพื้นดินในบึงกะโล่เพราะว่าน้ำท่วมแล้วยังมีบรรดาหญ้าทั้งหลายขึ้นกันเป็นแพเต็มไปหมดบนพื้นน้ำ...ต้องอาศัยการแหวกหญ้าเป็นปล่อง ๆ เพื่อให้ถ่อเรือเข้าไปได้ถึงใจกลางบึงกะโล่....และน่าแปลกที่พบต้นโพธิ์ขึ้นอยู่กลางบึงกะโล่ ชาวบ้านเรียกว่าไดโพธิ์

ในวันที่พบวัตถุโบราณฉันก็ยังได้เห็นโพธิ์ต้นนี้อยู่...แต่เห็นเพียงแต่เหลือเป็นตอและรากเท่านั้น เนื่องจากย่อมเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา  ภูมิใจที่วัตถุโบราณได้ปรากฎขึ้นมาให้ลูกหลานของเราได้เห็นกัน...

พ.ต.ท.จิรพัฒน์   ศรีสุข  กระผมลูกพระยาพิชัยดาบหัก บ้านอยู่บุ่งวังงิ้ว ตรงข้ามตลาดอุตรดิตถ์ สมัยผมเด็กๆได้ไปลงเบ็ดตกปลา  เก็บฝักบัว  รับจ้างเกี่ยวข้าวในท้องนาที่ติดกับทุ่งกะโล่ ทุกอย่างเป็นธรรมชาติมาก ในน้ำมีปลาในนามีข้าวตามที่เล่าขานจริงๆ เคยได้ยินผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า อดีตทุ่งกะโล่ คือ เมืองหรือนคร ต่อมาเกิดปัญหาจึงทำให้เกิดน้ำท่วมเมืองหรืออย่างไรนี่แหละ ก็จำไม่ค่อยได้แล้ว (ตั้งแต่เด็กมากๆครับ) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของทุ่งนี้ก็ขอให้พวกเราทุกคนช่วยกันดูแลให้เป็นสมบัติของชาติของลูกหลานชาวอุตรดิตถ์ชั่วกาลตลอดไปครับ...




ขอบคุณ  :  1)  http://th.wikipedia.org

               2)  https://www.gotoknow.org

               3)  http://industrial.uru.ac.th

               4)  http://sunflower08-sunflower08.blogspot.com

               5)  http://www.manager.co.th

               6)  http://www.utdhome.com






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์