ลูกไม้..หล่นไกลต้น 2


เรื่องราวของ “ลูกไม้..หล่นไกลต้น”  จะโฟกัสไปที่ลูกไม้ที่มีปีก  4  แบบ  คือ แบบใบพัดเดียว  ปีกแบบใบพัดสองใบ หรือหลายใบ  ปีกแบบครีบ  และปีกแบบใบเรือ  มากที่สุด  ทั้งนี้สืบเนื่องจากมีความแปลกตา  น่าสนใจ และมีความสวยงามมากกว่าลูกไม้แบบอื่น ๆ  อนึ่ง ลูกไม้..หล่นไกลต้น”  มีปริมาณสาระต่าง ๆ โดยรวมเป็นจำนวนมาก  จำเป็นต้องจัดแบ่งการนำเสนอเป็นชุด ๆ และในครั้งนี้นับเป็นชุดที่ 2  ประกอบด้วยลูกไม้มีปีก  3 ลูกไม้ ได้แก่  ยางนา  ยางปาย   ยางกราด  และยางเหียง


*********************************************************************

ชื่อ (Thai Name)   ยางนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)   Dipterocarpus alatus Roxb.

ชื่อวงศ์ (Family)  DIPTEROCARPACEAE

ชื่อเรียกอื่น (Other Name)   กาตีล ขะยาง จะเตียล จ้อง ชันนา ทองหลัก ยาง ยางกุง ยางขาว ยางควาย ยางใต้ ยางเนิน ยางแม่น้ำ ยางหยวก เยียง ร่าลอย เห่ง ยางตัง

ลักษณะ (Characteristics) 

ไม้ยางนาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ใบแก่จะร่วงลงมา ขณะเดียวกันจะแตกใบใหม่มาทดแทนทันที เนื่องจากมักขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม ความชื้นสูง จึงสามารถผลิตใบใหม่แทนได้ เมื่อโตเต็มที่ไม้ยางนาจะมีความสูง ประมาณ 30 – 40 เมตร ความสูงถึงกิ่งแรก ประมาณ 20 – 25 เมตร หรืออาจมากกว่าถ้าอายุมาก ๆ



ลำต้น

ลำต้น  เปลาตรง เปลือกเรียบหนา สีเทาอมขาว โคนต้นมักเป็นพูพอน โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งมีความชื้นสูงมาก ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหนา เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง


ใบ

ใบ  เป็นรูปไข่ ปลายแหลมคล้ายใบหอก ขนาดกว้าง 8 – 15 ซมยาว 20 – 30 ซมเนื้อใบหนา ปลายใบสอบเรียว โคนใบเรียบ เส้นแขนงใบมี 14 – 17 คู่ ก้านใบยาว ซมกาบหุ้มยอดหรือใบอ่อน มีขนอ่อนสีน้ำตาล ผิวใบมีขนอ่อนและเส้นใบเห็นชัด


ดอก


ดอก

ดอก  เมื่อถึงระยะออกดอกผลได้แล้ว การแตกใบอ่อนของยางนาจะเกิดเพียงครั้งเดียว พร้อมทั้งมีตาดอกเกิดขึ้นที่ข้างกิ่งที่แตกออกมาใหม่ เมื่อใบอ่อนเริ่มคลี่ออก ช่อดอกก็จะเริ่มขยายตัวไปพร้อม ๆ กัน และจะมีการเจริญของดอกจากโคนไปยังปลายของช่อดอก ดอกมีสีชมพู ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม มกราคม ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง กลีบรองดอกตอนโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย และมีกลีบตามยาว กลีบ โคนกลีบประสานติดกัน ปลายกลีบบิดเวียนตามกันแบบกังหัน เกสรตัวผู้มี 29 อัน รังไข่มี ช่อง ไข่อ่อนช่องละ อัน


ผล


ผล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยางนา ชื่อวิทยาศาสตร์

ผล

ผล  หลังจากผสมเกสรแล้วจะพัฒนาเป็นผล ช่อหนึ่ง ๆ จะมี 1 – 2 ผล หรือบางครั้งอาจมากกว่า และใช้เวลาประมาณ 100 วัน ผลจะแก่พอที่จะเก็บมาขยายพันธุ์ได้ ผลยางนาจะมีปีก ปีก ยื่นออกมาจากปลายผลห่อหุ้มส่วนล่างของผลหรือบริเวณที่จะงอกเป็นรากไว้ ภายในมีเมล็ดเดียวเป็นลักษณะคล้าย ๆ แป้งสีขาวมีริ้วสีน้ำตาลกระจายอยู่ทั่วไป ภายในสุดจะเป็นใบเลี้ยงและคัพภะที่จะเจริญเติบโตต่อไปได้ ผลหรือเมล็ดที่สมบูรณ์จะต้องมีเปลือกหุ้มที่พองนูนสม่ำเสมอ และถ้าผ่าดูภายในเมล็ดต้องสดนิ่มจับดูรู้สึกเหนียวนุ่ม เพราะมียาง ถ้าเป็นผลที่แห้งและเมล็ดล่อนไปติดเปลือกหุ้มเมล็ดก็จะเป็นเมล็ดเสียใช้ขยายพันธุ์ไม่ได้ ไม้ยางนาจะให้ผลจำนวนมาก ผลจะแก่จัดในต้นเดือนพฤษภาคม แล้วจะร่วงลงสู่พื้นดิน ผลยางนาที่ร่วงหล่นถึงพื้นดินจะเป็นเมล็ดดีเพียงประมาณ 30%

การกระจายพันธุ์ (Distribution)  

ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ราบริมลำธาร ในป่าดิบทั่วไป ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ ดินลึกและมีความชุ่มชื้นเพียงพอ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย 200 – 600 เมตร  ไม้ยางนาจะพบอยู่ทั่วไป ตั้งแต่ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยปกติจะพบไม้ยางนาในป่าดิบแล้ว ในที่ราบลุ่มใกล้ ๆ ลำน้ำ หรือในพื้นที่น้ำท่วมถึง หรือเกิดจากดินตะกอนหลังน้ำท่วม เข้าใจกันว่าน้ำจะพัดพาไม้ยางนาให้กระจายไปจากแหล่งเดิม เจริญเติบโตขึ้นในบริเวณดังกล่าวได้ดี ในประเทศไทยไม้ยางนาขึ้นอยู่ทุกภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบทั่วไปในจังหวัดเลย ขอนแก่น และนครราชสีมา ภาคกลาง พบทั่วไปในจังหวัดสระบุรี นครนายก และกาญจนบุรี ภาคตะวันออกสามารถขึ้นอยู่ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และตราด ภาคใต้ พบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และตรัง


ปัจจุบันปริมาณไม้ยางนาในประเทศลดลงมาก เนื่องจากมีการบุกรุกทำลายป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่อุดมสมบูรณ์ใกล้ ๆ แหล่งน้ำที่มีไม้ยางนาขึ้นอยู่จะเป็นที่ต้องการเพื่อการเพาะปลูกมาก การเจาะโคนต้นไม้ยางนาเพื่อเอาน้ำมันยางโดยใช้ไฟสุมเผาเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำลายแหล่งพันธุกรรมไม้ยางนา ไฟที่สุมเผาจะทำลายต้นไม้ให้เป็นโพรงและล้มลงได้ง่ายเมื่อมีลมพายุ นอกนากจี้ไฟที่สุมเผาอาจตกลงสู่พื้นลุกลามออกมาเผาผลาญกล้าไม้ที่อยู่รอบ ๆ บริเวณนั้นได้ มีการตัดฟันไม้ยางนาลงมาใช้ประโยชน์กันมาก เนื่องจากคุณลักษณะและคุณสมบัติของไม้ยางสามารถแปรรูปใช้ประโยชน์ได้มากและง่าย นอกจากนี้การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของไม้ยางนาเอง คือ เมล็ดยางนามักจะถูกแมลงเจาะทำลายขณะที่ยังติดอยู่บนต้น เมื่อร่วงหล่นลงมาในช่วงฤดูร้อน ความชื้นในเมล็ดจะลดลงอย่างรวดเร็ว และสูญเสียความมีชีวิตเพียงในระยะสั้น ๆ ถ้าไม่ได้รับความชื้นเลย ก็จะไม่มีกล้าไม้งอกตามธรรมชาติได้ และการเกิดไฟไหม้ในพื้นที่บ่อยครั้ง ก็ทำลายกล้าไม้ให้ตายไปอีกเช่นกัน

ประโยชน์ (Utilization)  

ไม้ยางนาเป็นไม้ขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง ปราศจากกิ่งก้านให้ปริมาณเนื้อไม้มากเนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง หรือสีแดงเรื่อๆ  หรือน้ำตาลหม่น เสี้ยนตรง  เนื้อหยาบ  แข็งปานกลางใช้ในร่มทนทาน เลื่อย ไสกบ ตบแต่งได้ดี มีความถ่วงจำเพาะปริมาณ   0.70  ความแข็งประมาณ 471 กิโลกรัม ความแข็งแรงประมาณ  888 กก./ตร.ซม.  ความดื้อ ประมาณ  90,200 กก./ตร.ซมความเหนียวประมาณ 2.14 กก.-.  ความทนทานตามธรรมชาติตั้งแต่ 1-10 ปี เฉลี่ยประมาณ 4.3 ปี อาบน้ำยาได้ง่าย ส่วนใหญ่แล้วใช้ในการก่อสร้างทั่วไป ทำไม้บาง ไม้อัด อาบน้ำยาแล้วสามารถใช้งานภายนอกได้ดีและทนทาน เช่น ทำหมอนรางรถไฟ น้ำมันยางที่ได้จากการเจาะต้นใช้ทาไม้ ยาแนวหรือ ทาเครื่องจักสาน ทำไต้ ทำยาเป็นต้น

ตำรายาไทย น้ำต้มเปลือก กินแก้ตับอักเสบ บำรุงร่างกาย ฟอกเลือด บำรุงโลหิต และใช้ทาถูนวด (ขณะร้อนๆ) แก้ปวดตามข้อ ต้นมีน้ำมันยาง รสร้อนเมาขื่น มีสรรพคุณห้ามหนองและสมานแผล  ใช้ทาแผลเน่าเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน แก้โรคหนองใน  น้ำมันยางผสมกับเมล็ดกุยช่าย (Allium tuberosum Roxb.) คั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด ใช้อุดฟันแก้ฟันผุ น้ำมันยาง 1 ส่วน ผสมกับแอลกอฮอล์กิน 2 ส่วน กินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาว จิบเป็นยาขับเสมหะ


*********************************************************************


ชื่อ (Thai Name)   ยางปาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)   Dipterocarpus costatus Gaertn.f.

ชื่อวงศ์ (Family)   DIPTEROCARPACEAE

ชื่อเรียกอื่น (Other Name)   ยางแกน ยางบาย กวู ยางฮี สะแฝง ยางเบื้องถ้วย ยางกระเบื้องถ้วย

ลักษณะ (Characteristics) 


 

ทรงต้น


ลำต้น

ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20-40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาสีน้ำตาลปนเทาถึงน้ำตาลเข้ม แตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดแผ่ค่อนข้างกลม 


ใบ

ใบเป็นใบเดี่ยว ขนาดเล็ก รูปไข่ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 8-14 ซม. โคนใบมนกว้าง ปลายใบแหลม หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนสีน้ำตาลอ่อน โดยเฉพาะตามเส้นแขนงใบ ซึ่งมี 10-14 คู่ ใบแก่ออกสีน้ำตาลแดง 



ดอก

ดอกสีเหลืออ่อน  ออกเป็นช่อสั้นๆ กลีบรองดอกมีสันตามยาว 5 สัน ปลายมี 5 แฉก ยาว 2 แฉก สั้น 3 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ ปลายบิดเวียนตามกัน มีเกสรผู้ 29-30 อัน อยู่ในหลอดดอก 


ผล

ผลกลม ขนาดผ่าศูนย์กลาง 1.8-2 ซม. มีสันคมยาวตลอดตัวผล 5 สัน คลุมด้วยขนสีเทาหรือสีทอง ปีกคู่ รูปขอบขนาน กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 9-12 ซม. มีเส้นปีก 5 เส้น

การกระจายพันธุ์ (Distribution) 

พบตั้งแต่บังกลาเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ตามป่าดิบเขา ที่ความสูงตั้งแต่ 400-1,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-กรกฎาคม และติดผลเดือนมกราคม-กันยายน

ประโยชน์ (Utilization)   เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนได้ดี


*********************************************************************


ชื่อ (Thai Name)   ยางกราด

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)   Dipterocarpus intricatus Dyer

ชื่อวงศ์ (Family)   DIPTEROCARPACEAE

ชื่อเรียกอื่น (Other Name)   กาด ยางสะแบง (นครราชสีมา) กราด ซาด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ชะแบง ตะแบง สะแบง ตรายด์ กร้าย (สุรินทร์) ยางกราด (สระบุรี) ลาง (ชลบุรี) เหียงกราด (ราชบุรี เพชรบุรี) เหียงน้ำมัน (ราชบุรี) เหือง (ระยอง)

ลักษณะ (Characteristics) 



รูปทรงต้น


ลำต้น

ไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง กิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มกลม ทึบ เปลือกต้นหนาสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาแตกเป็นร่องลึกตามยาว และแตกเป็นสะเก็ดตามขวาง 



ใบ

ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 10-15 เซนติเมตร ยาว 20-35 เซนติเมตร โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา ผิวใบด้านบนและด้านล่างมีขนหยาบและสาก ใบอ่อนและยอดอ่อนมีหูใบสีแดงหุ้ม ก้านใบยาวประมาณ 3 เซนติเมตร 



ดอกอ่อน


ดอก


ดอก


ดอกและผลอ่อน


ดอกและผล

ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกบิดเวียนรูปกังหัน สีขาวแซมสีชมพูเป็นแถบตรงกลางแต่ละกลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีครีบขยุกขยิกย่นตามยาว 5 ครีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก อัดแน่นรอบรังไข่ อับเรณูสีเหลือง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปรี ปลายเกสรเพศเมียเรียวแหลม 




ผล


ผล

ผลแห้งรูปร่างค่อนข้างกลม แข็ง ถูกปิดด้วยครีบบางๆสีแดงเป็นจีบ หักพับไปมาเป็นชั้นตามความยาวผล มีปีกผล 5 ปีก สีแดงสด ปีกยาว 2 ปีก ยาว 8-10 เซนติเมตร ปีกสั้น 3 ปีก เมล็ดแข็ง ออกดอกเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ติดผลเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200-500 เมตร


การกระจายพันธุ์ (Distribution)   พบได้ทั่วไปในแหลมอินโดจีน

ประโยชน์ (Utilization) 

*** เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน ยางใช้ทำยางชัน ใช้ยาเครื่องจักสาน ทาไม้ อุดเรื่อรั่ว  และผสมขี้เลื่อยจุดไฟ หรือทำไต้

*** ตำรายาไทย  เปลือก  น้ำต้มเปลือกใช้ทาถูนวด แก้ปวดข้อ ยางไม้  ใส่แผล รักษาแผล และโรคเรื้อน กินแก้โรคหนองใน  ผล ใช้ทำเครื่องประดับ ดอกอ่อน รับประทานสดกับน้ำพริก ใบ ใช้มุงเถียงนา หลังคายุ้งฉาง


*********************************************************************


ชื่อ (Thai Name)   ยางเหียง

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)   Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq. 

ชื่อวงศ์ (Family)   DIPTEROCARPACEAE

ชื่อเรียกอื่น (Other Name)   สะแบง (อุตรดิตถ์ ตะวันออกเฉียงเหนือ) ตะแบง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เหียงพลวง ตาด (พล จันทบุรี) ซาด (ชัยภูมิ); เหียงพลวง เหียงโยน (ประจวบคีรีขันธ์) เห่ง (น่าน)


ลักษณะ (Characteristics)    


รูปทรงของต้นยางเหียง


เปลือกของลำต้น

ไม้ต้นขนาดกลางสูง 8-30 เมตร ผลัดใบ เปลือกหนาสีน้ำตาลหรือเทา แตกเป็นสะเก็ดหนา และเป็นร่องลึก ตามยาว เนื้อไม้สีแดงอ่อนถึงน้ำตาลปนแดง เรือนยอดเล็กสีบรอนส์ออกสีเขียว กิ่งอ่อนและใบมีขนสีขาวปกคลุม 


กิ่งแขนง และใบ

ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปไข่ ขนาดใหญ่ กว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว13-25 เซนติเมตร ปลายมน โคนมนหรือหยักเว้าตื้น ฐานเป็นรูปหัวใจ ใบอ่อนมีขนยาวแหลม ผิวใบด้านบนและด้านล่างมีขน แต่น้อย ใบด้านบนเขียวเข้ม มีขนบนเส้นใบ และขอบใบ เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง มีขนสีน้ำตาล ด้านล่างสีบรอนส์ออกสีเขียว มีขนเป็นรูปดาวบนเส้นใบ และขนสีขาวยาวกว่าด้านบน เส้นใบข้าง 10-18 คู่ มีขนสีน้ำตาลอมเหลือง ก้านใบยาว 3-5 เซนติเมตร มีขนหนาแน่น พื้นใบจีบเป็นร่องระหว่างเส้นแขนงใบ ขอบใบเรียบเป็นหยักคลื่นตามเส้นใบ เส้นใบเป็นสันเด่นชัดด้านท้องใบ 


ยอดอ่อน

ใบอ่อนพับจีบชัดเจนตามแนวเส้นแขนงใบ มีหูใบหุ้มยอดอ่อน หูใบรูปแถบกว้าง ปลายมน ผิวด้านนอกมีขนสั้นหนานุ่ม หูใบยาว 7-12 เซนติเมตร สีชมพูสด 


ช่อดอก

ดอกออกรวมเป็นช่อเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลุ่มละ 3-7 ดอก ขนาดดอก 3.5-5 เซนติเมตร แกนก้านรูปซิกแซก ก้านช่อดอกยาว 2-5 เซนติเมตร และมีขนหนาแน่น  ก้านดอกย่อยมีตั้งแต่สั้นมากจนยาวได้ถึง 1 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูสด กลีบดอกรูปกรวย โคนกลีบชิดกันปลายบิดเวียนเป็นรูปกังหัน เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 4-5 เซนติเมตร ขนาดกลีบ กว้าง 0.5-1 เซนติเมตร ยาว 4.8-5 เซนติเมตร 


ดอก

ผิวด้านนอกมีขนสั้นรูปดาวปกคลุม เกสรตัวผู้มีประมาณ 30 อัน อัดแน่นรอบรังไข่ อับเรณูรูปหัวลูกศร รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีขน มี 3 ช่อง  แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด กลีบเลี้ยงขนาด 1.4 เซนติเมตร มี 5 กลีบ มีขนหนาแน่น ใบประดับที่ก้านดอกย่อยรูปใบหอกหรือรูปแถบ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติกันเป็นรูปถ้วย ยาว 1-1.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีสองขนาด แฉกยาว 2 แฉก กว้าง 2-3 มิลลิเมตร ยาว 1-1.2 เซนติเมตร แฉกสั้น 3 แฉก กว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ยาว 4-5 มิลลิเมตร 


ผล


ผล

ผลแห้งแบบผลผนังชั้นในแข็ง ผลกลม แข็ง เกลี้ยง ไม่มีสันหรือปุ่มด้านบน เมื่ออ่อนมีขนปกคลุม เมื่อแก่เรียบเกลี้ยง ผลแก่สีน้ำตาลเป็นมัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร ปีกที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยงมี 5 ปีก ปีกยาวรูปขอบขนาน 2 ปีก กว้าง 2.3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13 เซนติเมตร มีเส้นตามยาวปีก 1 เส้น เส้นย่อยสานเป็นร่างแห อีก 3 ปีกเล็ก มีขนาดยาว 1-1.5  เซนติเมตร มีหยักลึก ปีกอ่อนสีแดงสด มีเมล็ด 1 เมล็ด เป็นไม้เด่นที่พบในป่าเต็งรัง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ดอกเมื่อบานเต็มที่ จะร่วงลงสู่พื้น 

การกระจายพันธุ์ (Distribution)   

พบขึ้นในอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในประเทศไทยพบขึ้นเป็นกลุ่มตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ความสูง 100-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ติดผลเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน


ประโยชน์ (Utilization)   

***กลีบดอกรับประทานได้ เป็นผักชนิดหนึ่ง มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ชาวบ้านใช้จิ้มน้ำพริก ยางไม้ใช้ยาเครื่องจักสาน ยาไม้แนวเรือ ทำใต้ ทาไม้ ใบแก่เย็บเป็นตับมุงหลังคาหรือเถียงนา กั้นฝา ห่ออาหาร

***ใช้ ใบ รสฝาด ต้มน้ำผสมน้ำเกลือ อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน ใบและยาง รสฝาดร้อน กินเป็นยาตัดลูก (ทำให้ไม่มีบุตร) น้ำมันยาง สมานแผล แก้หนอง ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาแผลในทางเดินปัสสาวะ แก้ตกขาว ยาง รสร้อน สมานแผล แก้หนอง ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาแผลในทางเดินปัสสาวะ แก้ตกขาว น้ำมัน ใช้ทาแผลภายนอก เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย



ขอบคุณ  :  1)  http://www.qsbg.org                 2) http://www.phargarden.com
                  
                 3)  http://www.dnp.go.th                4)  http://www.phargarden.com

                 5)  http://thaimisc.pukpik.com       6)  http://www.magnoliathailand.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

ต่อหัวเสือ...ไม่ร้ายอย่างเสือ