รู้ไว้ใช่ว่า : ความสำเร็จจากการวิจัยหมามุ่ยสายพันธุ์อินเดีย

 ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า  คณะนักวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประสบความสำเร็จในการวิจัยเกี่ยวกับการนำหมามุ่ยสายพันธุ์อินเดียมาทดลองปลูก และสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศได้แล้ว  จะอย่างไรก็ตามหากพิจารณาในด้านการเรียนรู้ต้องถือว่าทุกคนจำเป็นต้องมีข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และเลือกบริโภคอย่างเหมาะสม หรือแม้กระทั่งการริเริ่มปลูกหมามุ่ยสายพันธุ์อินเดียเพื่อเป็นการค้า  ก็ยิ่งต้องอาศัยข้อมูลมากยิ่งขึ้นตามลำดับ

* ผู้ริเริ่มนำเมล็ดหมามุ่ยสายพันธุ์อินเดียมาปลูกและวิจัย


ผู้ริเริ่มนำเมล็ดหมามุ่ยสายพันธุ์อินเดียมาปลูกและวิจัย


ในปี พ.ศ. 2555 นายธนโชติ ธรรมชาติ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์(จะยุบแล้ว) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้นำเมล็ดหมามุ่ยจากอินเดียเข้ามาทำการเพาะปลูกและวิจัยเชิงพาณิชยืที่สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ และทำการวิจัยที่สถานที่ผลิตยาสมุนไพร สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ หมามุ่ยดังกล่าวมีชื่อว่า Mucuna pruriens (L)DC. Var Utilis) หรือถั่วเวลเวท (Velvet bean)  ซึ่งลักษณะต้นมีลักษณะคล้ายกับหมามุ่ยของไทยแต่แตกต่างที่ลักษณะฝักและเมล็ดที่มีขนาดใหญ่ และขนสั้นและไม่คันเวลาสัมผัสมีเมล็ดสี 2 ลักษณะ คือ สีขาวและสีดำ แต่หมามุ่ยไทยมีฝักขนาดเล็กและขนฝักขนาดยาวและคันเวลาสัมผัสขนฝัก   มีทั้งเม็ดเล็กและใหญ่แต่มีสีดำเพียงสีเดียว



เมล็ดหมามุ่ยสายพันธุ์อินเดีย

หมามุ่ยที่ทำการปลูกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนเป็นพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางตะวันออกของอินเดีย คนแถบบริเวณพื้นที่สูงของประเทศอินเดียรับประทานถั่วชนิดนี้มานานแล้ว โดยนำเมล็ดที่แก่มาต้มให้สุก หากกินเป็นเมล็ดดิบจะทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ผิวหนังอักเสบ อาเจียน และท้องเสียได้ การใช้ประโยชน์เมล็ดหมามุ่ยนี้ เพื่อเป็นอาหารมนุษย์ จึงต้องระวังเรื่องความเป็นพิษโดยต้องเตรียมทำการต้มหรือคั่วให้สุก แช่น้ำแบบถ่ายน้ำหลายๆ ครั้ง ในเมล็ดหมามุ่ยประกอบด้วยสารแอลโดปา (L-Dopa, Levodopa) ซี่งเป็นaromatic non-protein amino acid และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทโดปามีน (dopamine) ที่มีอิทธิพลต่อระบบการสืบพันธุ์ มีผลทำให้สมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น ชักนำให้เกิดความถี่ในการผสมพันธุ์ได้ดี รวมทั้งยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ เพิ่มปริมาณฮอร์โมนเพศได้ และถูกนำใช้ในการรักษาโรคพาร์กินสัน นอกจากนี้ยังมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่นทำแป้ง หรือทำอาหารสัตว์ และสิ่งทอ

* ความแตกต่างของหมามุ่ยสายพันธุ์อินเดียกับไทย


หมามุ่ยสายพันธุ์อินเดีย

หมามุ่ยสายพันธุ์อินเดีย ซึ่งลักษณะต้นมีลักษณะคล้ายกับหมามุ่ยของไทยแต่แตกต่างที่ลักษณะฝักและเมล็ด ที่มีขนาดใหญ่ และขนสั้นและไม่คันเวลาสัมผัสมีเมล็ดสี 2 ลักษณะ คือ สีขาวและสีดำ แต่หมามุ่ยไทยมีฝักขนาดเล็กและขนฝักขนาดยาวและคันเวลาสัมผัสขนฝัก   มีทั้งเม็ดเล็กและใหญ่แต่มีสีดำเพียงสีเดียว



หมามุ่ยไทย

หมามุ่ยไทย เป็นคนละสปีชีส์กับหมามุ่ยในจีนและอินเดียที่มีผลวิจัยรับรอง ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จาก ฝั่งประเทศจีนและอินเดีย  เมล็ดหมามุ่ยมีสารที่เพิ่มสมรรถภาพทางเพศของผู้ชายได้จริง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ หมามุ่ยในจีนและอินเดียเป็นหมามุ่ยคนละสปีชีส์กับหมามุ่ยที่ขึ้นอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นจึงอยากฝากเตือนไปยังผู้ที่กำลังสนใจและต้องการจะกินเมล็ดหมามุ่ยว่า อย่ากินแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะไม่แน่ใจว่าเมล็ดที่นำมากินนั้นเป็นหมามุ่ยสปีชีส์ใด อาจมีผลข้างเคียงอันตราย

* ประโยชน์ของเมล็ดหมามุ่ยที่มีต่อสมอง

vbeanku_mucuna_content


ในเมล็ดหมามุ่ยมีสารสำคัญอยู่ตัวหนึ่ง ชื่อว่า “Levodopa” หรือ “L-Dopa” ซึ่งสารเคมีชีวภาพนี้ (สาร L-Dopa) เป็นสารตั้งต้นในการสื่อประสาทหลายๆชนิด ซึ่งประกอบด้วย อะดรีนาลีน (Adrenaline) โนราดรีนาลีน (Noradrenaline) และโดพามีน (Dopamine)
เมล็ดหมามุ่ย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidant) ที่ทำงานควบคู่ไปกับสาร L-Dopa เพื่อส่งเสริมสุขภาพของสมอง เมื่อสาร L-Dopa ผ่านเข้าสู่ตัวกรองระหว่างเลือดและสมอง มันจะช่วยให้ระดับของโดพามีน (สารสื่อประสาทที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์และความรู้สึก) อยู่ในสมองเพิ่มมากขึ้น โดยในงานวิจัยนั้นยังแสดงให้เห็นว่าสารต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดหมามุ่ยนั้นเป็นประโยชน์สำหรับการป้องกันความเสียหายจากอนุมูลอิสระที่เข้าไปทำลายเซลล์สมองอีกด้วย (นำมาซึ่งการบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการโรคพาร์กินสัน)

* สารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ย

จากการวิจัยโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พบว่าเมล็ดหมามุ่ย มีสารแอลโดปา (L-Dopa) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์โดพามีน (Dopamine) หรือสารที่มีอิทธิพลสูงต่อระบบสืบพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นสารสื่อประสาท ซึ่งใช้ในการรักษาโรคพาร์กินสันอีกด้วย แต่ต้องใช้ในรูปแบบของการผ่านวิธีการ ‘สกัด’ มาเป็น ‘ยาเม็ด’ เพราะร่างกายไม่สามารถได้รับสารในรูปแบบของเมล็ดสดได้

สําหรับข้อควรระวังในการทานเมล็ดหมามุ่ย คือ ต้องคั่วให้สุก เพราะหากไม่สุก จะเกิด ‘สารพิษ’ บางอย่างขึ้นทำให้เกิดอาการประสาทหลอนได้ เพราะในเมล็ดหมามุ่ยมีสารแอลโดปา (L-Dopa) ที่จะทำให้สารสื่อประสาทเกิดความไม่สมดุลได้ นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยบางโรคที่ไม่ควรกิน เช่น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ที่ต้องใช้ยาทางจิตเวช รวมทั้งเด็ก และหญิงตั้งครรภ์

* สมุนไพรหมามุ่ยมีส่วนช่วยในการเพิ่มความใคร่

เนื่องจากในเมล็ดหมามุ่ยนั้นมีสารที่เรียกว่าสาร L-Dopa อยู่ โดยสาร L-Dopa นี้จะเป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนโดพามีน และสารโดพามีนนี้ก็เป็นสารสื่อประสาทหลักสำคัญที่มีส่วนในการก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ซึ่งการรับประทานสมุนไพรหมามุ่ยที่มีสาร L-Dopa อยู่นี้ก็จะช่วยให้มีโอกาสที่จะสำเร็จความใคร่มากยิ่งขึ้น  สมุนไพรหมามุ่ยไม่ได้ออกฤทธิ์ทันทีทันใดอย่างเช่นเดียวกับไวอากร้า และก็ไม่ได้มีคุณสมบัติในการขยายตัวของอวัยวะเพศเพศให้มีขนาดใหญ่ขึ้นแต่อย่างใด แต่สมุนไพรหมามุ่ยนี้จะเข้าไปช่วยในเรื่องของการกระตุ้นการเกิดอารมณ์ทางเพศได้อย่างดีเยี่ยม
นอกจากนี้ สมุนไพรหมามุ่ยยังมีคุณประโยชน์สำหรับสุภาพบุรุษทั้งในด้านของการบำรุงสุขภาพ การสร้างปริมาณอสุจิ และยังช่วยในการแก้ปัญหาการมีบุตรยากในสุภาพสตรีได้อีกด้วย โดย 1 ในกลุ่มผู้ทดลองได้บริโภคสมุนไพรหมามุ่ยปริมาณที่มากกว่าปกติในช่วงเวลาก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ประมาณสัก 1 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำเพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น


ทั้งนี้ คุณธนโชติ ธรรมชาติ  ได้กล่าวเตือนว่า  "ผู้บริโภคควรทำความเข้าใจก่อนการบริโภค เนื่องจากหมามุ่ยมีหลายชนิดหากบริโภคผิดอาจทำให้ได้รับพิษ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณธนโชติ ธรรมชาติ หัวหน้าทีมวิจัย เภสัชกรหญิงสุภาณี ฟ้ารุ่งสาง และคุณสิริพร วรรณชาติ ที่สถานที่ผลิตยาสมุนไพร สถาบันวิจัยสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เบอร์โทรศัพท์ 0-3435-1298 .........."




ขอบคุณ  :  1)  http://www.velvetbeancapsule.com

               2)  http://www.thairath.co.th

               3)  http://www.vbeanku.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์