ลูกไม้..หล่นไกลต้น 4

เรื่องราวของ “ลูกไม้..หล่นไกลต้น”  จะโฟกัสไปที่ลูกไม้ที่มีปีก  4  แบบ  คือ แบบใบพัดเดียว  ปีกแบบใบพัดสองใบ หรือหลายใบ  ปีกแบบครีบ  และปีกแบบใบเรือ  มากที่สุด  ทั้งนี้สืบเนื่องจากมีความแปลกตา  น่าสนใจ และมีความสวยงามมากกว่าลูกไม้แบบอื่น ๆ  อนึ่ง ลูกไม้..หล่นไกลต้น  มีปริมาณสาระต่าง ๆ โดยรวมเป็นจำนวนมาก  จำเป็นต้องจัดแบ่งการนำเสนอเป็นชุด ๆ และในครั้งนี้นับเป็นชุดที่ 4  ประกอบด้วยลูกไม้มีปีก  4 ลูกไม้ ได้แก่  เต็ง  รัง  พะยอม และไข่เขียว


**************************************************


ชื่อ (Thai Name)  เต็ง
  
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)   Shorea obtusa Wall. ex Blume

ชื่อวงศ์ (Family)  DIPTEROCARPACEAE

ชื่อเรียกอื่น (Other Name)   แงะ (ภาคเหนือจิก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเต็งขาว (ขอนแก่นชันตก (ตราดเน่าใน (แม่ฮ่องสอนเคาะเจื้อ (ละว้า เชียงใหม่ประจั๊ด (เขมร บุรีรัมย์ประเจิ๊ก (เขมร สุรินทร์) พะเจ๊ก (เขมร พระตะบองล่าไน้ (กะเหรี่ยงแลเน่ย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอนเหล่ไน้ (กะเหรี่ยงภาคเหนืออองเลียงยง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี)

ลักษณะ (Characteristics)  



ลำต้น

ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่, สูง 10 – 20 ม., ผลัดใบ, เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง ๆ , เปลือกสี

น้ำตาลปนเทา, แตกเป็นร่องและเป็นสะเก็ดหนา, มันตกจันสีเหลืองขุ่น, กะพี้สีน้ำตาลอ่อน, แก่นสีเข้ม. 




ใบอ่อน



ใบ


ใบ รูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ, กว้าง 4 – 7 ซม., ยาว 10 – 16 ซม., เนื้อใบหนา, ใบอ่อนมีขน

ประปราย, ปลายใบ และโคนใบมน, เส้นแขนงใบมี 12 – 15 คู่. (สังเกตง่ายๆว่า..โคนใบเต็มเต่ง คือ ใบของต้นเต็ง)


ดอก

ดอก เล็ก, สีขาว, ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง; ช่อดอกมีขนนุ่ม, ก้านดอกสั้นมาก; กลีบรองกลีบดอก 5 

กลีบ, ชายกลีบซ้อนทับกัน; กลีบดอก 5 กลีบ, เรียงเวียนไปทางเดียวกัน; เกสรผู้มี 20 – 25 อัน, อับ

เรณูรูปไข่รี ๆ , รังไข่มี 3 ช่อง, แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2. 


 

ผล

ผล รูปไข่ปลายแหลม, ปีกยาว 3 ปีก, รูปไข่กลับรี ๆ หรือรูปใบพาย, กว้าง 1 ซม., ยาว 6 ซม., แต่ละ

ปีกมีเส้นตามยาว 9 เส้น.


การกระจายพันธุ์ (Distribution) 

พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณป่าเต็งรัง ออกดอกและผลระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน ก่อนออกดอกจะผลัดใบ และผลิใบใหม่พร้อมกับช่อดอก


ประโยชน์ (Utilization)   

- เนื้อไม้สีน้ำตาลแก่ แข็งแรงและทนทาน ใช้ทำเป็นโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น ฝาบ้าน คาน เสาบ้าน และใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ

-ต้น เปลือกฝนกับน้ำปูนใส, กินเป็นยาฝาดสมาน, แก้น้ำเหลืองเสียและช่วยห้ามเลือด



**************************************************


ชื่อ (Thai Name)   รัง
  
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)  Shorea siamensis Miq.

ชื่อวงศ์ (Family)  DIPTEROCARPACEAE

ชื่อเรียกอื่น (Other Name)   เปา ฮัง เปาดอกแดง เรียง เรียงพนม ลักป้าว แลบอง

ลักษณะ (Characteristics)



ลำต้น


เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 20 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดหนาๆไปตามยาวลำต้น 

 
 ยอดอ่อน                                                                            



ใบแก่

ใบ เป็นใบเดี่ยว ติดเรียงสลับ รูปไข่โคนใบหยักเว้าลึก ส่วนปลายใบค่อนข้างมน ใบอ่อนแตกใหม่เป็นสีแดง (สังเกตง่าย ๆว่า..โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ คือ ใบของต้นรัง)



ดอก

ดอก เป็นช่อ ออกรวมกันเป็นพวงโตเหนือรอยแผลใบตามกิ่งและปลายกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองกลิ่นหอมอ่อน จะออกหลังจากใบได้หลุดร่วงไปหมดแล้ว กลีบดอกมี 5 กลีบ เรียงเวียนซ้อนกันเป็นรูปกังหัน ปลายกลีบม้วนซ้อนเข้า ดอกจะหลุดร่วงง่ายมาก 

 
ผล


ผล

ผล แข็ง รูปกระสวย หรือรูปไข่เล็ก ประกอบด้วยปีกสั้น 2 ปีก ปีกยาวรูปใบพาย 3 ปีก อาจยาวถึง 10 ซม. โคนปีกห่อหุ้มตัวผล มีเส้นตามยาวของปีก ตั้งแต่ 7 เส้นขึ้นไป


การกระจายพันธุ์ (Distribution) 

เป็นไม้ที่ทนทานต่อความแห้งแล้งและไฟป่าได้ดีมาก พบมากตามป่าแดงหรือป่าเต็งรัง ทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้


ประโยชน์ (Utilization)  

เนื้อไม้แข็ง นิยมนำมาทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการความแข็งแรง และรับน้ำหนักมาก เช่น ทำพื้น รอด ตง คาน ทำส่วนประกอบของยานพาหนะและด้ามเครื่องมีการเกษตรต่างๆ



คริปวิดีโอ" รู้จักป่าเต็งรัง " จาก..http://fieldtrip.ipst.ac.th & https://www.youtube.com


**************************************************


ชื่อ (Thai Name)  พะยอม
  
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)  Shorea roxburghii G.Don

ชื่อวงศ์ (Family)  DIPTEROCARPACEAE

ชื่อเรียกอื่น (Other Name)   กะยอม ขะยอม ขะยอมดง พะยอมดง แคน

ลักษณะ (Characteristics)  




ลำต้น

ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ผลัดใบลำต้นตรง กิ่งอ่อนเกลี้ยง เรือนยอดเป็นพุ่มแคบๆ เปลือกหนาสีน้ำตาลหรือเทา เป็นสะเก็ดหนาและแตกเป็นร่องตามยาว

 
ใบ

ใบพยอม


ใบ

ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปขอบขนานแคบๆ กว้าง 3.5-4 ซม. ยาว 8-10 ซม. โคนใบมน ปลายใบมนหรือหยัก ขอบใบมักเป็นคลื่น เนื้อใบเกลี้ยงเป็นมัน มีเส้นแขนงใบ 15-20 คู่ ก้านใบยาว 2-2.5 ซม. 


ช่อดอก


ดอก

ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือเหนือรอยแผลใบ สีขาว กลิ่นหอมจัด กลีบรองกลีบดอกเกลี้ยง  สีขุ่นมี 5 กลีบ เรียงบิดเวียน เกสรผู้มี 15 อัน รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 ผล ก้านดอกยาว 1.5 ซม. 

ผลพะยอม
ผล


ผล

ผล รูปกระสวย กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 2 ซม. ปีกสั้น 2 ปีก ยาวประมาณ 2 ซม. ปีกยาว 3 ปีก ยาวประมาณ 8 ซม. มีเส้นปีกปีกละ 10 เส้น

การกระจายพันธุ์ (Distribution) 

ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง และป่าดิบแล้งทั่วไปในภาคเหนือที่ระดับความสูง 100-1000 เมตร


ประโยชน์ (Utilization)   

เปลือกต้มน้ำกินเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดินและลำไส้อักเสบ






**************************************************


ชื่อ (Thai Name)  ไข่เขียว
  
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)  Parashorea stellata Kurz

ชื่อวงศ์ (Family)  DIPTEROCARPACEAE

ชื่อเรียกอื่น (Other Name)    เคียนส่วย (สุราษฎร์ธานี) เคียนซวย  ส่วย (นครศรีธรรมราช) เบ้เชียง  (สตูล) โก้เบ้ (ปัตตานี นราธิวาส มาเลเซีย) แคเมาะ (นราธิวาส) โดแหลม  ตะเคียงสาม  (พังงา)

ลักษณะ (Characteristics)



รูปภาพ

ลำต้น

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่  เปลือกต้นแตกเป็นร่องตามยาว มีสีน้ำตาลอมเทา เปลือกในสีเขียวตองอ่อน โคนต้นมีพูพอน เนื้อไม้สีน้ำตาลออกเหลือง




ผล

ใบเดี่ยว สีเขียวนวล ดอกเป็นดอกช่อแบบแยกแขนง กลีบดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน โคนกลีบมีจุดสีม่วงอ่อน ผลเป็นผลเดี่ยว  มีปีกที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยงแบบเดียวกับลูกยางนา มี 5 ปีก แก่แล้วกลายเป็นสีน้ำตาล

การกระจายพันธุ์ (Distribution) 

พบได้ในป่าดิบชื้นกระจายอยู่ทางภาคใต้และภาคตะวันออกของไทย โดยขึ้นตามที่ราบหรือบนภูเขาที่สูงไม่เกิน ๖๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล เช่นภาคใต้ที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคตะวันออก ที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี  ซึ่งในป่าดิบชื้นไม้วงศ์ยางจะเป็นต้นไม้เด่น เช่น ยางนา ยางเสี้ยน ตะเคียนทอง สยาขาว ตะเคียนชันตาแมว ไข่เขียว และหลุมพอ 


ประโยชน์ (Utilization)   

การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้  เนื้อไม้ใช้ทำกระดานพื้น สำหรับใช้ในร่ม




ขอบคุณ  :    1) http://eherb.hrdi.or.th        2) http://www.thongthailand.com             
                 3) http://www.qsbg.org         4) topicstock.pantip.com

                 5) http://fieldtrip.ipst.ac.th    6) https://www.youtube.com

                 7) http://akitia.com              8) http://www.phargarden.com

                 9) http://frynn.com    10) http://www.goldenjubilee-king50.com

               11) https://th.wikipedia.org  12) http://www.thaimtb.com

               13) http://paro6.dnp.go.th

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์