ลูกไม้..หล่นไกลต้น 3


เรื่องราวของ “ลูกไม้..หล่นไกลต้น”  จะโฟกัสไปที่ลูกไม้ที่มีปีก  4  แบบ  คือ แบบใบพัดเดียว  ปีกแบบใบพัดสองใบ หรือหลายใบ  ปีกแบบครีบ  และปีกแบบใบเรือ  มากที่สุด  ทั้งนี้สืบเนื่องจากมีความแปลกตา  น่าสนใจ และมีความสวยงามมากกว่าลูกไม้แบบอื่น ๆ  อนึ่ง ลูกไม้..หล่นไกลต้น”  มีปริมาณสาระต่าง ๆ โดยรวมเป็นจำนวนมาก  จำเป็นต้องจัดแบ่งการนำเสนอเป็นชุด ๆ และในครั้งนี้นับเป็นชุดที่ 3  ประกอบด้วยลูกไม้มีปีก  4 ลูกไม้ ได้แก่  พลวง  ตะเคียนทอง  ตะเคียนหิน และตะเคียนหนู



*************************************************

ชื่อ (Thai Name)  พลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)   Dipterocarpus tuberculatus Roxb.

ชื่อวงศ์ (Family)  DIPTEROCARPACEAE

ชื่อเรียกอื่น (Other Name)   กุง เกาะสะแต้ว สะเติ่ง คลง คลอง ควง คลุ้ม โคล้ง ตะล่าอ่ออาขว่า ตึง ล่าเทอะ พลอง แลเท้า สาละออง ยางพลวง

ลักษณะ (Characteristics) 



ทรงต้น


เปลือกของลำต้น

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 10-30 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาสีน้ำตาลปนเทาอ่อน แตกเป็นร่องลึกไปตามยาวของลำต้น กิ่งอ่องเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง มีรอยแผลใบเห็นชัด  


ยอดและใบอ่อน


ใบ

ใบ   เดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบรูปไข่กว้างขนาด 15-28 X 15-40 ซ.ม. โคนใบแผ่กว้าง แล้วหยักเว้า ปลายใบสอบทู่ เนื้อใบหนาเกลี้ยงหรืออาจมีขนกระจายห่างๆบ้าง ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาว 3-30 ซ.ม. 



ดอก

ดอก  ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ตอนปลายกิ่ง มีกาบหุ้มช่อดอกรูปขอบขนานแคบๆ หนึ่งกาบ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบบิดตามเข็มนาฬิกาเหมือนกังหัน ก่อนออกดอกจะทิ้งใบหมดหรือเกือบหมด  สีชมพู-ชมพูเข้ม ขอบกลีบสีขาว  ไม่มีกลิ่น  ออกดอกเดือน ธ.ค.-เม.ย.



 

ผล


ผล

ผล  เป็นรูปกรวย มีสันด้านข้างผล 5 สัน และพองโตเป็นติ่ง 5 ติ่งตรงที่ติดกับโคนปีก มีปีกยาว 2 ปีก ยาว 10-15 ซ.ม. มีเส้นปีกตามยาว 3 เส้น  ผลแก่  ประมาณ ม.ค. - พ.ค.


การกระจายพันธุ์ (Distribution) 


พบขึ้นในประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ชอบขึ้นตามที่ลาดต่ำใกล้ชายห้วย หรือใกล้ที่ชุ่มชื้น ที่ระดับความสูง 100-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ประโยชน์ (Utilization)  

การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้   เนื้อไม้ในระยะแรกๆ จะออกสีน้ำตาลแกมแดง ถ้าทิ้งไว้นานจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม เสี้ยนตรงพอประมาณ เนื้อหยาบแต่สม่ำเสมอ แข็ง เลื่อยผ่าไสกบตบแต่งง่าย ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ภายในร่ม เช่น เครื่องบน รอด ตง คาน พื้น ฝา ทำเครื่องมือทางการเกษตร หูกทอผ้า กังหันน้ำ ปาร์เก้ หรือกระเบื้องไม้ปูพื้น 
 
การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร   น้ำมันใช้ทาแผลภายนอก โดยผสมกับมหาหิงคุ์ และน้ำมันมะพร้าวก็ได้ ใบ เผาให้เป็นเถ้าผสมกับน้ำปูนใส แก้บิดและถ่ายเป็นมูกเลือก ราก นำมาต้มแล้วดื่มแก้ตับอักเสบ
การใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ   ชันใช้ทาไม้ ยาเรือ หรือ ยาเครื่องจักสาน ทำไต้ ใบแห้งใช้มุงหลังคา ฝากั้นห้อง คลุมผิวดิน ปลูกผัก ปลูกสตรอเบอรี่ ใบสด ใช้ห่อของแทนถุงพลาสติก 



*************************************************

ชื่อ (Thai Name)  ตะเคียนทอง
  
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)  Hopea odorata Roxb.

ชื่อวงศ์ (Family)   DIPTEROCARPACEAE

ชื่อเรียกอื่น (Other Name)  ตะเคียน ตะเคียนใหญ่ (ภาคกลาง) จูเค้ โซเก (กาญจนบุรี) จะเคียน (ภาคเหนือ) แคน (ภาคอีสาน) กะกี้ โกกี้ (เชียงใหม่) ไพร (เชียงใหม่)

ลักษณะ (Characteristics)  




ลำต้น

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 40 เมตร เรือนยอดแน่นสีเขียวเข้ม เป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นร่องลึกตามยาว เมื่ออายุมากขึ้นเปลือกจะเป็นเกล็ดๆ เปลือกชั้นในเหลืองหม่น มักมียางสีเหลืองซึมออกมา กิ่งแผ่กว้าง กิ่งแขนงเรียวเล็กลู่ลง ส่วนที่ยังอ่อนอยู่มีขน 


ใบ

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่แคบหรือขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 8-16 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบเรียวแหลม มีหาง โคนใบสอบ แผ่นใบบิดเป็นลอนเล็กน้อย แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน ใบอ่อนมีขนรูปดาวสีเทา ก้านใบสั้นเรียวเล็ก ยาว 1-1.8 เซนติเมตร หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม เส้นใบข้าง 11-12 คู่ และเส้นใบย่อยเชื่อมเป็นขั้นบันได หลังใบมีต่อมอยู่ตามง่ามแขนงเส้นใบ แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว 


ช่อดอก


ดอก

ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ซอกใบและปลายกิ่ง มีดอกย่อยช่อละ 40-50 ดอก ช่อยาว 5-7 เซนติเมตร ดอกสีเหลืองแกมน้ำตาล มีกลิ่นหอม มีขนนุ่ม กลีบดอกมี 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะบิดคล้ายกงจักร ขนาดดอก 0.8-1 เซนติเมตร กลีบดอก 3-5 มิลลิเมตร ปลายกลีบหยักส่วนล่างบิดและเชื่อมติดกัน เกสรตัวผู้มี 15 อัน อับเรณูมียอดแหลม เกสรตัวเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ เรียวเล็ก ความยาวเท่ากับรังไข่ เมื่อหลุดจะร่วงทั้งชั้นรวมทั้งเกสรตัวผู้ติดไปด้วย กลีบเลี้ยงเล็กมากมี 5 กลีบ 


ผล


ผล

ผลแห้งไม่แตก รูปกลมหรือรูปไข่เกลี้ยง ปลายมนเป็นติ่ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 เซนติเมตร มีปีกรูปใบพาย ยาว 1 คู่ ยาว 4-6 เซนติเมตร ปลายปีกกว้าง 1 เซนติเมตร ส่วนโคนเรียว มีเส้นตามยาว 9-11 เส้น ปีกสั้น 3 ปีก ซ้อนกัน ยาวน้อยกว่า 0.5 เซนติเมตร ปีกซ้อนกัน แต่หุ้มส่วนกลางผลไม่มิด ผลสีเขียวอ่อน เมื่อสุกสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดค่อนข้างกลมสีน้ำตาล 1 เมล็ดต่อผล 


การกระจายพันธุ์ (Distribution) 

พบขึ้นในพม่า ลาว ตอนใต้ของเวียดนาม กัมพูชา ไทยและมาเลเซีย ตามป่าดิบใกล้ลำธาร ที่ความสูง 100-800 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกราวเดือนธันวาคมถึงมีนาคม ติดผลราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน

ประโยชน์ (Utilization)  


เนื้อไม้ใช้ทำบ้านเรือน เสาด้ามเครื่องมือกสิกรรม พื้นกระดานไม้ฟืน  ชันใช้ผสมน้ำมันยางทาไม้ ทำน้ำมันชักเงา ยาแนวเรือ

ตำรายาไทย เปลือก เนื้อไม้ มีรสฝาด ใช้ฆ่าเชื้อโรค แก้อักเสบ ห้ามเลือด เปลือก รสฝาดเมา ใช้สมานแผล แก้บิดมูกเลือด แก้เหงือกอักเสบ และฆ่าเชื้อโรคในปาก แก้ลงแดง แก่น มีรสขมหวาน รักษาคุดทะราด ขับเสมหะ แก้โลหิตและกำเดา แก้ไข้สัมประชวร (ไข้ที่เกิดจากหลายสาเหตุ มักแสดงอาการที่ตา เช่น แดง เหลือง หรือขุ่นคล้ำ เป็นต้น) ยาง บดเป็นผงรักษาบาดแผล 


*************************************************

ชื่อ (Thai Name)   ตะเคียนหิน
  
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)  Hopea ferrea Laness.

ชื่อวงศ์ (Family)   DIPTEROCARPACEAE

ชื่อเรียกอื่น (Other Name)  เคียนทราย  เหลาเตา  อีแรด  

ลักษณะ (Characteristics)  





ลำต้น 

ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง ๑๕ - ๓๐ เมตร กิ่งอ่อนมีขนประปราย 



ใบ

ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบรูปลิ่ม มีตุ่มใบตามซอกเส้นแขนงใบ 



ช่อดอก

ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกบริเวณซอกใบและปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็กสีขาวอมเหลือง กลีบดอกบิดเวียน 



ผล


ผล

ผลเปลือกแข็ง เมล็ดเดียว เกลี้ยง รูปทรงคล้ายกระสวย กลีบเลี้ยงขยายเป็นปีกยาว ๒ ปีก


การกระจายพันธุ์ (Distribution) 


พบในประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบทุกภาค บริเวณป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น

ประโยชน์ (Utilization)  

เนื้อไม้ ทนทานและแข็งแรง ใช้ทำเครื่องเรือน เรือ เสา สะพาน หมอนรางรถไฟ เนื้อไม้ชั้นใน ใช้เข้ายารักษาโรคเลือดลมไม่ปกติ แก้กษัย เปลือก ต้มน้ำใช้ล้างแผลหรือผสมกับเกลืออมเพื่อป้องกันฟันผุ


*************************************************

ชื่อ (Thai Name)   ตะเคียนหนู
  
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)   Anogeissus  acuminata (Roxb.ex DC.) Guil.&Perr. var. lanceolata C.B. Clarke

ชื่อวงศ์ (Family)   DIPTEROCARPACEAE

ชื่อเรียกอื่น (Other Name)  หมากเปียก เบน เหียว แหว เอ็มมอญ เอ็นลื่น   สำเราะ  เหว  เปอเยอ   สะเร้า 

ลักษณะ (Characteristics)  



ลำต้น  

ต้นไม้  ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม หรือรี ลำต้นเปลาตรง เปลือกนอกสีน้ำตาลจนถึงน้ำตาลดำ เปลือกในสีแดง กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนยาวนุ่ม มองไกลๆเป็นสีเงินอมเขียว



ใบ

ใบ  ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีแกมรูปใบหอก กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 4.5-7 ซม.โคนใบสอบปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบบาง หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนนุ่มสีเทาอมเหลือง หรือสีเงิน ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 6-12 เส้น ก้านใบยาว 3-5 มม.



ช่อดอก

ดอก  ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นตามซอกใบ ช่อดอกกว้าง 1.5 ซม. โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ด้านในมีขนยาว ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 10 อัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-3 มม. เมื่อออกดอกจะเห็นดอกสีเหลืออร่ามไปทั้งต้นเพราะว่าดอกเต็มกิ่งก้านที่ห้อยระโยงระยางไปหมด 


ตะเคียน

ผล

ผล  แห้งแบบมีปีก หลายผลอัดรวมเป็นทรงกลม ขนาด 1.5 ซม.ผลรูปรีมีปีกด้านข้าง 2 ปีก ส่วนบนเป็นติ่ง มีขนคลุม 1 เมล็ดต่อผล 


ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล  ออกดอก มค.-กพ. ผลแก่ พค-มิย.
         

การขยายพันธุ์  เพาะกล้าจากเมล็ดได้ง่ายๆ

การกระจายพันธุ์ (Distribution) 

ในประเทศไทยพบกระจายทั่ว ๆ ไป ตามป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งใกล้ชายห้วยตามภาคต่าง ๆ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-500 เมตร  ในต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม

ประโยชน์ (Utilization)  

ด้านเป็นสีย้อมผ้า  ใบให้สีเขียวเหลือง เปลือกลำต้น ให้สีน้ำตาล  เปลือกต้น  น้ำฝาดจากเปลือกใช้ฟอกหนัง

ด้านการทำฟืนและถ่านไม้  เป็นไม้ฟืนให้ความร้อน 5,027 แคลอรี่/กรัม


ด้านเป็นไม้ประดับ  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีรูปทรงสวยงาม เรือนยอดกลม กิ่งก้านลู่พลิ้วตามลม มีดอกหนาแน่นแทบจะเรียกว่าท่วมต้น สีเหลืองอ่อน ๆ มีกลิ่นเฉพาะตัว ใช้พื้นที่ปลูกระหว่าง 4x4 เมตรได้ 




ขอบคุณ  : 1) http://www.qsbg.org   2) www.thaihof.org  3) www.gun.in.th

             4) https://baansuan.wordpress.com   

             5) www.kasetporpeang.com     6)  http://www.phargarden.com

             7) www.kasetporpeang.com     8)  http://province.m-culture.go.th

             9) http://www.thongthailand.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์