สร้างโมเดล เกษตรสีเขียว หวังผลทั่วประเทศ


                   

กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ที่เร่งสร้าง “เครือข่ายเกษตรสีเขียว” โดยคัด 6 จังหวัดนำร่อง และมุ่งเน้นการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จากผู้ผลิต ผู้ประกอบการแปรรูป ตลาด จนถึงผู้บริโภค เพื่อรองรับภาวะการแข่งขันขยายตัวหลังเปิดเสรีทางการค้า

                                  

นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการขยายตัวหลังเปิดเสรีทางการค้าในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม ในยุคปัจจุบันก็มีการแข่งขันในตลาดสินค้าการเกษตรกันมากขึ้น ดังนั้นการพัฒนาสินค้าเกษตร จึงต้องสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของสินค้า และจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่ต้องตระหนักถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย

                         

กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้ขานรับนโยบาย “เครือข่ายเกษตรสีเขียว” นับเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีนโยบายขับเคลื่อนการเกษตรในรูป Green Economy และ Zero waste agriculture ที่ตระหนักถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 เพื่อการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทยให้ยั่งยืนและนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืนต่อไป

                      

โดยในปี 2557 นี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้เริ่มกระบวนการกิจกรรมเครือข่ายเกษตรสีเขียว  ในการเชื่อมโยงการผลิตสินค้าทางการเกษตรที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการแปรรูป ตลาด จนถึงผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายดำเนินการ 6 จังหวัดที่มีความโดดเด่นในการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ เชียงใหม่ หนองคาย ศรีสะเกษ จันทบุรี พัทลุง และราชบุรี เกิดเป็นเครือข่ายการผลิตทางการเกษตรที่มีรูปแบบและการจัดการผลผลิตภาคการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทางด้าน นายสำราญ  สาราบรรณ์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรการ กล่าวเพิ่มเติมว่า ดำเนินการดังกล่าวนับเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาเครือข่ายและเครื่องมือให้กับเจ้าหน้าที่ในการทำงานในพื้นที่ตนเองและยังเป็นการสนับสนุนในเรื่องการทำงานแบบมีส่วนร่วมโดยยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาให้กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรไปสู่การทำเกษตรสีเขียว จากการที่เกษตรกร มีส่วนร่วมในการวางแผนจะทำให้เกิดเป็นวงจรการสร้างความรู้ใหม่ที่ไม่สิ้นสุด ขณะเดียวกันเกษตรกรสามารถหาความรู้มาแก้ปัญหาในอาชีพและนำสู่การพึ่งพาตนเองได้

อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการนี้จะช่วยให้เกษตรกรเกิดความตระหนักในการทำการเกษตรที่ปลอดภัย ทั้งต่อตนเอง ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม  จะเห็นภาพรวมในการดำเนินงานไปสู่เมืองเกษตรสีเขียวและกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง ก็จะสามารถช่วยให้สินค้าที่ผลิตได้มีคุณภาพและช่วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย



ขอบคุณ : http://www.naewna.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์