ปฐมพยาบาลเบื้องต้นกับวิธีการ ห้ามเลือด

สิ่งที่มักพบเห็นบ่อยๆ เมื่อเกิดอุบัติเหตุคือ อาการเลือดตกยางออก หลายคนเมื่อเห็นเลือดแล้วเกิดอาการตกใจ ทำอะไรไม่ถูก จนอาจทำให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะอันตรายจากการเสียเลือดมาก เพราะ ห้ามเลือด ผิดวิธีหรือ ห้ามเลือด ไม่ทัน
การตกเลือดแบ่งได้ 2 ชนิดคือ การตกเลือดภายนอก และ การตกเลือดภายใน หรือเลือดตกในนั่นเอง ซึ่งอาการที่พบในผู้ป่วยที่ตกเลือด เริ่มจากผิวหนังทั่วไปซีดลงทุกที สังเกตได้จากใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น เปลือกตาด้านใน เล็บ และฝ่ามือ มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย ใจสั่น หาว หูอื้อ กระหายน้ำมาก มีเหงื่อออกทั่วตัว ตัวเย็นชื้น ปลายมือปลายเท้าซีดเย็น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ชีพจรเต้นเร็วแต่เบากว่าปกติ หายใจเร็วและตื้นๆ คล้ายหอบ บางรายอาการหนักอาจถึงขั้นเป็นลมหมดสติไปจนถึงเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงการปฐมพยาบาลอาการตกเลือดภายนอกก่อน


1. การกดลงบนตำแหน่งที่มีเลือดออกให้แน่น โดยใช้นิ้วมือ ฝ่ามือ หรือผ้าสะอาดพับทบกดลงไปบนแผล แล้วใช้ผ้าพันให้แน่นจนเลือดหยุดไหล จากนั้นพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ถ้าในระหว่างทางยังมีเลือดออกมากขึ้น ให้ใช้ผ้าพันทับให้แน่นมากขึ้นอีก อย่าแกะผ้าที่พันไว้อยู่เดิมออก วิธีนี้ใช้ในการ ห้ามเลือด โดยทั่วไปที่ได้ผลดีที่สุด การทำเช่นนี้เพื่อบีบปลายหลอดเลือดที่ฉีกขาดให้เข้ามาหากัน อุดรูหลอดเลือดไม่ให้เลือดไหลออกมา ถ้าหลอดเลือดเล็กฉีกขาด เพียงการบีบกดให้แน่นสัก 5-10 นาที เลือดก็จะหยุด
2. ในบางกรณีที่มีบาดแผลที่แขนหรือขาไม่มากนัก มีเลือดออก แต่หาผ้าสะอาดไม่ทันหรือมือไม่สะอาดก็อาจใช้วิธียกส่วนที่มีเลือดออกนั้นให้สูงขึ้นกว่าหัวใจเป็นการชั่วคราว แล้วรีบหาผ้าสะอาดมาทำตามวิธีที่ 1 ต่อไป
3. กรณีฉุที่มีบาดแผลใหญ่ เลือดออกมาก และไม่มีผ้าสะอาด หรืออุปกรณ์ที่ใช้กดบาดแผลไม่สะอาด ก็อาจใช้วิธีกดบนหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ไปสู่บาดแผลนั้น ให้แบนติดกระดูกตรงบริเวณที่หลอดเลือดแดงขึ้นมาอยู่ใต้ผิวหนัง ซึ่งจะใช้คลำชีพจรได้ มีอยู่ซีกละ 11 จุดของร่างกาย เช่น บาดแผลที่แขนใต้ศอก อาจกดลงไปบนหลอดโลหิตตรงข้อพับศอกด้านในจนหลอดเลือดแฟบ หรือบาดแผลใหญ่ที่นิ้วมือ ก็อาจบีบหลอดเลือดที่ข้างโคนนิ้วทั้งสองให้แน่น แล้วจึงหาผ้าสะอาดมาปิดแผลและพันให้แน่น นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลต่อไป
4. ในกรณีที่มีบาดแผลที่แขนและขา มีเลือดออกมาก แผลเหวอะหวะ หรือมีกระดูกหักร่วมด้วย ไม่สามารถใช้วิธีกดหรือพันผ้าให้แน่นได้ เพราะจะทำให้บาดเจ็บมากขึ้นจนอาจช๊อค ต้องใช้วิธีขันชะเนาะ โดยพับทบผ้าสามเหลี่ยมจนเป็นผืนเล็กยาวคล้ายผ้าพันแผลชนิดม้วน แล้วนำไปพันรอบแขนหรือขา ให้ตำแหน่งที่จะขันชะเนาะอยู่ตรงที่มีกระดูกท่อนเดียวกันคือ เหนือข้อศอกสำหรับแขนและเหนือหัวเข่าสำหรับขา พันหนึ่งรอบแล้วผูกปม นำไม้เหนียวและแข็งท่อนเล็กประมาณ 6-8 นิ้ว (หรืออุปกรณ์ที่คล้ายกัน)มาวางให้ส่วนปลายข้างหนึ่งอยู่บนปม ผูกปมผ้ามัดปลายไม้นี้ให้แน่น แล้วเริ่มหมุนปลายไม้อีกด้านหนึ่งไปตามเข็มนาฬิกา ให้ผ้าพันรัดแน่นขึ้นทุกทีจนเลือดหยุด จึงผูกปลายไม้นี้ไว้ไม่ให้หมุนกลับคืน หาผ้าสะอาดปิดคลุมบาดแผล จากนั้นนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล



ขอบคุณ :  http://health.mthai.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์