มะละกอ พืชที่น่าสนใจ..ขายได้ทั้งปี


เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ได้ข่าวสารข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ “มะละกอ” จาก  http://www.komchadluek.net ด้วยกัน 2 ประเด็น คือ  1) ใครจะรู้ว่า'มะละกอ'ก็ตอนกิ่งปลูกได้  และ 2)  ชี้ช่องปลูก 'มะละกอครั่ง' รายได้ดี  แล้วก็อดไม่ได้ที่จะต้องนำมาแชร์ต่อ ๆ กัน  ทั้งนี้ก็เป็นเพราะอยากให้ข่าวสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์  ได้ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวางมากที่สุด  เผื่อไว้ให้กับผู้ที่สนใจซึ่งอาจจะเป็นเกษตรกรอยู่แล้ว หรือคิดที่จะปรับเปลี่ยนอาชีพ หรือคิดหาอาชีพเสริม  จะได้นำไปทดลองใช้จริงกันต่อ ๆไป..ครับ

*ใครจะรู้ว่า'มะละกอ'ก็ตอนกิ่งปลูกได้


 


น้อยคนนักจะรู้ว่า'มะละกอ'ก็ตอนกิ่งปลูกได้ เพราะเข้าใจว่าสามารถขยายพันธุ์แบบพื้นบ้านก็คือเอาเมล็ดไปเพาะปลูกเท่านั้น แต่ความจริงมีอีกหลายวิธี ในจำนวนนั้นก็คือการตอนกิ่ง ทั้งนี้ได้รับแชร์ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก อ. มานพ ถึงขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ 

ขั้นตอนการตอนมะละกอ 
เพื่อนๆไทยอาชีพคนต้องเคยกินมะละกอกันมาบ้างแล้ว เพื่อนๆรู้หรือเปล่าครับว่า มะละกอ ถือได้ว่าเป็นพืชเศรษกิจอีกตัวหนึ่งที่น่าจับตามอง เพราะถ้าคนปลูกมะละกอเก่ง ๆก็อาจจะรวยได้ภายในปีเดียวเลยเรื่องนี้ผมขอยืนยันเพราะว่าผมเห็นมาแล้วเหมือนกันครับ สำหรับ อาชีพเกษตรกรรม วันนี้ผมจะเสนอเรื่องการปลูกมะละกอแนวให้โดยเป็นการปลูกโดยที่ไม่ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ในการปลูก และที่สำคัญต้นพันธุ์ที่เราปลูกก็จะไม่กลายพันธุ์อีกด้วยครับ 

มะละกอ ถือว่าเป็นผลไม้ที่ปราบเซียนมาหลายคนแล้ว เพราะถึงแม้ว่าเราจะปลูกจากเมล็ดที่ต้นแม่เป็นต้นที่สมบูรณ์ไม่มีโรค แต่เมื่อมาปลูกแล้วเมล็ดส่วนมากก็จะกลายพันธุ์ โดยที่ต้นไม่ค่อยจะแข็งแรงและลูกกลมไม่สวยเหมือนต้นแม้ โดยพันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกกันมาที่สุดในประเทศไทยเห็นจะมีอยู่ 2 พันธุ์นั่นก็คือ ฮอนแลนด์ และแขกดำ ส่วนพันธุ์อื่น ๆก็นิยมปลูกเหมือนกันแต่ไม่มากเหมือนกับ 2 พันธุ์นี้ 

การตอนกิ่งมะละกอ 
การตอนกิ่งมะละกอ ถือได้ว่าเป็นการขยายพันธุ์โดยที่ไม่ต้องใช้เมล็ด เนื่องจากการปลูกมะละกอด้วยเมล็ดจะมีการกลายพันธุ์ถึง 80 % เลยทีเดียวซึ่งถือว่าเป็นการเสี่ยงมากในการปลูกเพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่เหมือนกับต้นแม่ ผิดกับการขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ต้นพันธุ์ที่ได้จะเหมือนกับต้นแม่ทุกอย่าง และการปลูกด้วยการตอนกิ่ง ต้นมะละกอจะเตี้ยทำให้เวลาเจอลมก็ไม่ค่อยล้มเท่าไร และจะให้ผลเร็ว ออกลูกเป็นช่อและมีลูกดกในการปลูกมะละกดด้วยเมล็ดจำนวน 10 ไร่ เมื่อเทียบกับการปลูกมะละกอตอนกิ่งเพียง 1 ไร่ ผลผลิตก็จะได้เท่ากัน 

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องมีในการตอนกิ่งมะละกอ 
มีดขนาดเล็กเน้นว่าต้องคมด้วยนะครับ เชือกหรือยางที่มัดได้ ถุงพลาสติกขนาด 3 x 5 นิ้ว ขุยมะพร้าว ดินร่วน ลิ่มไม้เนื้อแข็งไม่ยุ่ยง่ายเมื่อโดนความชื้น หรือจะเป็นอิฐแดงดีให้ได้ขนาดเท่ากับนิ้วก้อยก็ได้ 

วิธีทำการตอนกิ่งมะละกอ 
อย่างแรกและถือว่าเป็นส่วนสำคัญมากนั้นก็คือคัดเลือกต้นพันธุ์ที่จะทำการตอนให้ดี ต้นพันธุ์ต้องมีความสมบูรณ์ทุกอย่าง ตั้งแต่ลักษณะของต้นและลักษณะของผลที่เป็นที่ต้องการของตลาด รวมถึงการต้านทานโรคด้วย 

เมื่อได้ต้นพันธุ์ที่ดีแล้วเราก็ทำการตอนต้นมะละกอต้นพันธุ์ไปปลูกก่อนหลังจากนั้นก็จะเหลือต้นมะละกอ ทำการตัดต้นให้สูงพอประมาณ ต่อมามะละกอที่ตัดก็จะแตกกิ่งออกมา 5 ถึง 6 กิ่ง ภายใน 2 เดือนครึ่งกิ่งจะยาวประมาณ 20 ถึง 25 เซนติเมตร ทำการเฉือนกิ่งพันธุ์ จากข้างล่างไปข้างบนเป็นปากฉลาม จากนั้นใช้ลิ่มไม้เล็ก ๆขัดไว้ไม่ให้เนื้อไม้ติดกัน 

นำดินร่วนและขุยมะพร้าวมาผสมกันในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 บรรจุลงถุงพลาสติก ทำการผ่าถุงพลาสติกตรงกลาง รดน้ำให้ชุ่มแล้วนำไปวางทับรอยแผลที่เฉือนไว้ มัดถุงด้วยเชือกให้แน่น 

เฉือนท่อน้ำเลี้ยงห่างจากกิ่งตอนประมาณ 3 ถึง 5 นิ้ววิธีนี้จะทำให้รากงอกได้เร็วขึ้นไปอีกภายใน 30 ถึง 45 วันรากจะงอกและเดินมาเต็มถุง ถึงช่วงนี้ก็สามารนำ มะละกอตอนกิ่ง ไปปลูกได้แล้ว 


*ชี้ช่องปลูก 'มะละกอครั่ง' รายได้ดี


 


"มะละกอสายพันธุ์ครั่ง" ที่ให้ผลดก ต้านทานโรค งานวิจัยของ รศ.ดร.รภัสสา จันทาศรี จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) นับเป็นไม้ผลทางเลือกของเกษตรกรที่จะนำปลูกเป็นอาชีพสร้างรายได้ดีในอนาคต

อาจารย์รภัสสา บอกว่า การปลูกมะละกอพันธุ์ดังกล่าว ภายใต้โครงการ “ศูนย์วิจัยและพัฒนามะละกอบริโภคสดจังหวัดมหาสารคาม และ กลุ่มอีสานตอนกลาง” ที่สนับสนุนงานวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 

จากการลงพื้นที่แปลงปลูกของโครงการที่ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ พบเป็นไม้ผลทางเลือกที่จะทำรายได้ดีในอนาคต โดยมะละกอสายพันธุ์ครั่งเนื้อเหลืองที่พัฒนาได้ เป็นพันธุ์ผิวเรียบ ทนทานต่อโรคใบจุดวงแหวน ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในภาคอีสานได้ดี ระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลดิบ อายุ 6 เดือน ผลสุกอายุ 7 เดือน มีปริมาณผลต่อต้นเฉลี่ยกว่า 100 ผล ผลผลิตสดต่อไร่เฉลี่ย 21,537 กก.น้ำหนักผลสดต่อลูก 1.45 กก.เนื้อผลดิบสีขาวเขียวกรอบ ผลสุกเนื้อเหลืองอมส้ม

อาจารย์รภัสสา  กล่าวเพิ่มอีก  "เมื่อทดสอบความเหมาะสมต่อการบริโภคดิบของผู้นิยมบริโภคส้มตำและเจ้าของร้านส้มตำในพื้นที่ จ.มหาสารคาม พบว่าทั้งผู้บริโภคและแม่ค้าในพื้นที่ให้การยอมรับมะละกอสายพันธุ์นี้สูงถึงร้อยละ 88 ทีเดียว"

พร้อมยอมรับว่างานวิจัยชิ้นนี้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจมาก เพราะเห็นผลผลิตที่ชัดเจนในปริมาณมากพอ อีกทั้งผลผลิตที่ได้นั้นดีกว่าสายพันธุ์เดิม และสามารถจำหน่ายสร้างรายได้ และผลกำไรที่ดีแก่เกษตรกร ซึ่งผลผลิตนั้นจะมีพ่อค้ามารับถึงสวน จึงนับว่าคุ้มค่าอย่างมากในการปลูกมะละกอสายพันธุ์นี้ในเชิงเศรษฐกิจ เพราะตลาดมีความต้องการสูง โดยเฉพาะเมนูส้มตำหลากรสที่ได้รับความนิยมไปทั่วประเทศในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้สนใจเมล็ดมะละกอสายพันธุ์นี้ ติดต่อได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนามะละกอบริโภคสด จ.มหาสารคาม และกลุ่มอีสานตอนกลาง โทรศัพท์ 08-9063-2770 หรือที่ http://aes.rmu.ac.th




ขอบคุณ :  http://www.komchadluek.net/detail  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์