เยาวชนไทย กับ สื่อออนไลน์ รู้เท่าทัน ก่อนสายเกินไป


สวัสดีครับ พี่ ๆ เพื่อน ๆ และน้อง ๆ ทุกคน  วันนี้ผมมาเชิญชวนทุก ๆ คนให้ร่วมกันพิจารณาข้อมูลที่ว่าด้วยพิษภัยของสื่อสังคมออนไลน์ทั้งหลายที่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศกันอย่างมหาศาล  และทำให้ปประเทศไทยติดอันดับต้น ๆ ของโลกที่มีประชากรบริโภคสื่อออนไลน์ดังกล่าวค่อนข้างสูงมากจนน่าเป็นห่วง  ผู้เขียนเองอาจจะมีทัศนคติที่ไม่ค่อยดีนักกับพวกสื่อออนไลน์ต่าง ๆ  และมองว่าเป็นความฟุ่มเฟีือย เสียเงินเสียทองไปโดยใช่เหตุ  ประเทศไทยของเราจำเป็นต้องมี หรือต้องใช้สื่อออนไลน์ทุก ๆ ประเภทที่ต่างประเทศผลิตขึ้นเชียวหรือ  การอนุญาตให้มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ  ควรมองที่ความพอดีพอใช้ของคนไทย  มากกว่าความทันสมัยที่แฝงด้วยการทำลายศักยภาพของผู้คนให้ลดน้อยลงโดยเฉพาะ "สติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์" ...ผู้มีอำนาจและเกี่ยวข้องกับสื่อสังคมออนไลน์ควรต้องหันมาพิจารณาไตร่ตรอง...เลือกสรรสิ่งที่ดีและเหมาะสมให้กับประเทศของเรากันได้แล้วครับ 

ด้วยเหตุผลที่กล่าวแล้วข้างต้น  ผมจึงขอเสนอข้อมูลให้ทุกท่านร่วมกันวิเคราะห์ และสร้างความตระหนักรู้สู่ผู้คนในสังคมต่อๆ กันด้วย  ได้แก่  

1) การสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในหัวข้อ “ชีวิตประจำวันของเยาวชนในยุคสื่อออนไลน์” ของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยแพร่ผลสำรวจไปแล้ว  19 กันยายน 2556  

2)  บทความคอลัมน์ การศึกษา สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับวันที่ 04 เมษายน พ.ศ. 2557



1) การสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในหัวข้อ “ชีวิตประจำ

วันของเยาวชนในยุคสื่อออนไลน์” ของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย

กรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยแพร่ผลสำรวจไปแล้ว  19

 กันยายน 2556  

                                                 ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง                                                                                                      
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
  
             ชาย
578
48.8
             หญิง
608
51.2
รวม
1,186
100.0
อายุ:
 
 
             15 ปี - 17 ปี
355
29.9
             18 ปี – 21 ปี
453
38.2
             22 ปี – 24 ปี
378
31.9
รวม
1,186
100.0
การศึกษา:
 
 
             ม.ปลาย / ปวช.
459
38.7
             ปริญญาตรี / ปวส.
559
47.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
32
2.7
             จบการศึกษา / ไม่ได้ศึกษาต่อ
136
11.4
รวม
1,186
100.0

เยาวชนเกือบครึ่งยอบรับว่าตนเอง “ติดสื่อออนไลน์” โดย 80.6% ใช้พูดคุย หรือ chat 

ปัจจุบันสื่อออนไลน์และสังคมออนไลน์ เข้ามามีบทบาทกับสังคมเป็นอย่างมากทั้งในเรื่องการทำงานและการดำรงชีวิต เยาวชนก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่ใช้สื่อประเภทนี้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในหัวข้อ “ชีวิตประจำวันของเยาวชนในยุคสื่อออนไลน์” โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,186 คน พบว่า

อุปกรณ์ที่เยาวชนใช้สำหรับการเข้าถึงสื่อออนไลน์ในปัจจุบันมากที่สุดคือ มือถือ/Smart phone ร้อยละ 69.4 รองลงมาคือ Computer / notebook ร้อยละ 25.3  และ Tablet (iPad/Galaxy Tab ฯลฯ) ร้อยละ 5.3

ส่วนเวลาที่เยาวชนอยู่กับสื่อออนไลน์ / สังคมออนไลน์ เฉลี่ยต่อวันมากที่สุด คือประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 32.6 รองลงมาคือ ประมาณ 1-2  ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 19.7 และประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 17.1

สำหรับวัตถุประสงค์ในการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนในปัจจุบันคือ ใช้พูดคุย/chat ร้อยละ 80.6  รองลงมาคือดูความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ ร้อยละ 53.4 และติดตามข่าวสารต่างๆ ร้อยละ 49.2


ทั้งนี้เมื่อถามถึงผลการเรียนและประสิทธิภาพในการทำงานหลังการใช้สื่อออนไลน์ เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 66.5 ระบุว่าเรียน/ทำงานได้เท่าเดิม และร้อยละ 23.3 ระบุว่าเรียน/ทำงานดีขึ้น โดยมีเพียงร้อยละ 10.2 ที่ระบุว่าเรียน/ทำงานลดลง ส่วนการใช้เวลาในการพูดคุย/ทำกิจกรรมร่วมกันกับคนในครอบครัวหลังจากการใช้สื่อออนไลน์  เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 65.9 ระบุว่าใช้เวลาพูดคุยกันเท่าเดิม รองลงมาร้อยละ 17.3 ระบุว่าพูดคุยกันมากขึ้น และร้อยละ16.8 ระบุว่าพูดคุยกันน้อยลง

ความเห็นต่อประเด็นการติดสื่อออนไลน์ เยาวชนร้อยละ 54.3 ระบุว่าตนเองไม่ได้ติดสื่อออนไลน์ (เล่นก็ได้ไม่เล่นก็ได้ ไม่ซีเรียส) ขณะที่ร้อยละ 45.7 ยอมรับว่าตนเองติดสื่อออนไลน์ (ต้องเล่นทุกวันและต้องหาเวลา/โอกาส
เล่นจนได้)

สุดท้ายเมื่อถามถึงประโยชน์ที่ได้จากการใช้สื่อออนไลน์ อันดับแรกเยาวชนระบุว่า รับรู้ข่าวสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และไวกว่าทางทีวี ร้อยละ 32.7 รองลงมาระบุว่า หาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ความรู้เพิ่มเติมร้อยละ 19.9 และคุยกับเพื่อน พ่อแม่ ญาติ หรือคนที่อยู่ห่างไกล ได้สะดวก โดยไม่ต้องเสียเงิน ร้อยละ 16.7

รายละเอียดมีดังนี้
 
 1. อุปกรณ์ที่เยาวชนใช้สำหรับหรับการเข้าถึงสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน 

 
ร้อยละ
มือถือ / Smart phone
69.4
Computer / notebook
25.3
Tablet (iPad/Galaxy Tab ฯลฯ)
5.3
 
 2. เวลาที่เยาวชนอยู่กับสื่อออนไลน์ / สังคมออนไลน์ เฉลี่ยต่อวัน 

 
ร้อยละ
ประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน
32.6
ประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
19.7
ประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน
17.1
ประมาณ 9-10 ชั่วโมงต่อวัน
9.9
มากกว่า10 ชั่วโมงต่อวัน
9.0
ประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
8.7
น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน
3.0
 
 
 3. วัตถุประสงค์ในการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
พูดคุย/chat
80.6
ดูความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ
53.4
ติดตามข่าวสารต่างๆ
49.2
โพสต์ข้อความ /comment/update status
47.0
เล่นเกมส์
38.7
ดูคลิป
35.2
หาข้อมูลต่างๆ หาแผนที่
32.0
ติดตาม ดารา นักร้อง (fan page)
22.6
ซื้อสินค้าออนไลน์
20.7
อื่นๆ อาทิ ขายสินค้าออนไลน์ สมัครสอบ ทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต ฯลฯ
2.6
 
 4. ผลการเรียน หรือ ประสิทธิภาพในการทำงานหลังจากการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชน

 
ร้อยละ
เรียน/ทำงานดีขึ้น
23.3
เรียน/ทำงานเท่าเดิม
66.5
เรียน/ทำงานลดลง
10.2
 
 
 5. การใช้เวลาในการพูดคุย/ทำกิจกรรมร่วมกันกับคนในครอบครัวหลังจากการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชน

 
ร้อยละ
พูดคุยกันมากขึ้น
17.3
พูดคุยกันเท่าเดิม
65.9
พูดคุยกันน้อยลง
16.8
 
 
 6. ความเห็นของเยาวชนต่อการติดสื่อออนไลน์ของตนเอง

 
ร้อยละ
ติด (จะต้องเล่นทุกวัน และต้องหาเวลา/โอกาสเล่นจนได้)
45.7
ไม่ติด (เล่นก็ได้ไม่เล่นก็ได้ ไม่ซีเรียส)
54.3
 
 
 7. ประโยชน์ที่เยาวชนได้จากการใช้สื่อออนไลน์มากที่สุด 5 อันดับแรก (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
รับรู้ข่าวสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และไวกว่าทางทีวี
32.7
หาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ความรู้เพิ่มเติม
19.9
คุยกับเพื่อน พ่อแม่ ญาติ หรือคนที่อยู่ห่างไกล ได้สะดวก โดยไม่ต้องเสียเงิน
16.7
ได้ความสนุกสนาน คลายเครียด ได้อยู่ในโลกส่วนตัว
13.0
หาข้อมูลทำรายงาน ติดต่องานสะดวกขึ้น สามารถส่งงานให้อาจารย์/ลูกค้าได้
ผ่านทางออนไลน์
9.9
 
 
 

2)  บทความคอลัมน์ การศึกษา สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับ

วันที่ 04 เมษายน พ.ศ. 2557

จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2554 ระบุว่าคนไทยเริ่มใช้เทคโนโลยีตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป โดยเยาวชนอายุ 15-24 ปี ใช้อินเทอร์เน็ตร้อยละ 51.9 และร้อยละ 42.2 ใช้โทรศัพท์มือถือเล่นเกม 

ที่น่าสนใจคือ เยาวชนไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือสูงถึง 3.1 ชั่วโมงต่อวัน  ครองแชมป์อันดับหนึ่งของเอเชีย โดยเสพติดทั้งอินเทอร์เน็ต และสังคมออนไลน์ เช่น พนันออนไลน์ ติดเว็บลามก และจากการวิจัยเยาวชนที่ติดอินเทอร์เน็ตจะมีขนาดสมองส่วนหน้าเล็ก และมีการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทของสมองส่วนหน้าลดลง ขาดทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น 

อย่างที่ทราบกันดีว่า การขยายตัวของสื่ออินเทอร์เน็ต รวมไปถึงสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้พฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และกลุ่มเยาวชนก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อท ากิจกรรมต่าง ๆ อยู่สม่ำเสมอ 

ปัญหาคือ สื่ออินเทอร์เน็ตที่เสมือนกับ "ดาบสองคม" กำลังกลายเป็นปัญหาอย่างหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ๆ และเยาวชน โดยที่แม้แต่เด็ก ๆ เองก็ไม่รู้ตัว 

การใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเล่นการพนันออนไลน์ ใช้ดูเว็บลามก หรือใช้เล่นเกม จนไม่เป็นอันท าอะไร สะท้อนให้เห็นว่า เด็กไทยจำนวนหนึ่งกำลังหมกมุ่นอยู่กับการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตจนบางครั้งกลายเป็นปัญหาสังคมที่ติดตามมาอีกหลายเรื่อง 

แต่ปัญหาหนึ่งที่แฝงตัวอยู่ในระบบการศึกษา คือ เด็กกำลัง "ติด" สื่ออินเทอร์เน็ต จนส่งผลกระทบต่อกระบวนการเรียนรู้ เช่น การติดเกมออนไลน์ จนไม่สนใจเรียนหนังสือ เด็กกลุ่มนี้กลายเป็นเด็กติดเกม ที่ถือเป็นปัญหาสังคมที่มีมาอย่างยาวนาน เด็กกลุ่มนี้กลายเป็นเด็กที่ใช้เวลาอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์มากกว่าการพูดคุยกับผู้คน



บางคนติดเกมจนไม่เรียนหนังสือ บางคนแม้จะไปเรียน แต่สภาพร่างกายก็ไม่เอื้ออ านวยให้เรียน เพราะเล่นเกมอย่างหามรุ่งหามค่ำ และนี่คือผลกระทบที่ตกตัวต่อเด็กโดยตรง ยิ่งร้านเกมที่ให้บริการเปิดอยู่ดาษดื่น หลายแห่งเปิดใกล้กับสถานศึกษา ก็ยิ่งทำให้เด็กถูกชักจูงเข้าไปได้โดยง่าย แม้แต่ผู้ปกครองเองก็ไม่ทราบว่าลูกหลานของตัวเองหนีเรียนไปเล่นเกม 

นอกจากผลการเรียนจะตกต่ำแล้ว ปัญหานี้ยังทำให้เด็กจมอยู่ในโลกของตัวเองจนไม่สนใจสังคมรอบข้าง ซึ่งในระยะยาวย่อมส่งผลต่อบุคลิกภาพและสภาพจิตของเด็กไม่มากก็น้อย 

นอกจากนี้ การใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการเสพเว็บลามกก็มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ ของเด็กไม่มากก็น้อย กลายเป็นปัญหาสังคมตามมา เช่น การรุมโทรม หรือการข่มขืน ที่ส าคัญ การเสพสิ่งเหล่านี้ทำให้ทัศนคติในด้านเพศของเด็กเปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กละน้อย 

สำหรับการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการเล่นพนัน ต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงต่ออนาคตของเด็กพอสมควร เพราะแม้เด็กที่เล่นพนันออนไลน์จะมีจ านวนไม่มากเท่ากับเด็กที่ใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อท ากิจกรรมอย่างอื่น แต่ผลกระทบที่เด็กได้รับเข้าขั้นรุนแรง เช่น นอกจากจะทำให้เด็กได้รับเข้าขั้นรุนแรง เช่น นอกจากจะท าให้เด็กไม่สามารถเรียนหนังสือต่อไปได้เพราะเป็นหนี้ และต้องหนีหนี้แล้ว อาจถึงขั้นถูกท าร้ายร่างกาย แม้แต่ครอบครัวของเด็กเองก็จะได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ไปด้วย 

นอกจากนี้ การใช้สื่ออินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะ "เสพติด" จนเกินความพอดีส่งผลกระทบต่อกระบวนการเรียนรู้ของเด็กไม่มากก็น้อย เช่น การเล่นโปรแกรมแชท จนไม่สนใจเรียนหนังสือ บางคนใช้โทรศัพท์มือถือเล่นแชทคุยกับเพื่อนทั้งที่มีครูสอนอยู่ในห้อง ทำให้ไม่สนใจเรียน และเมื่อนาน ๆ เข้าก็เรียนไม่รู้เรื่อง ถือว่ามีผลต่อการเรียนของเด็กโดยตรง 

ที่สำคัญ ยังส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมของเด็ก เพราะเมื่อเด็กใช้แต่สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้เด็กไม่สนใจคนรอบข้าง ไม่รู้วิธีในการพูดคุยกับผู้อื่น ขาดมนุษยสัมพันธ์ เพราะเด็กจะจมอยู่กับโลกเสมือนจริงในสื่อสังคมออนไลน์ ในแต่ละวันก็จะคุยอยู่กับเพื่อนในสื่อออนไลน์ โดยละเลยที่จะสนทนากับบุคคลที่อยู่ตรงหน้า 

สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้ของเด็กทั้งสิ้น และยิ่งนานไปก็ยิ่งทำให้พฤติกรรมหรือบุคลิกภาพของเด็กย่ำแย่ลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

ต้องยอมรับว่า ในโลกยุคนี้ ไม่สามารถปฏิเสธหรือปิดกั้นสื่ออินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์ได้อีกต่อไป การเข้าถึงสื่อเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่อย่างที่กล่าวไปตอนต้นคือ สื่อเหล่านี้มี "สองคม" ดังนั้น เมื่อมีข้อดี ก็มีข้อเสียสิ่งที่ผู้ใหญ่หรือผู้รับผิดชอบจะต้องใคร่ครวญคือ ทำอย่างไรให้เด็กสามารถเสพสื่อเหล่านี้ได้อย่างรู้เท่าทัน 

เพราะปัญหาของสังคมไทยคือการปล่อยให้เด็กลองผิดลองถูกในหลาย ๆ เรื่อง และเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เด็กต้องลองผิดลองถูก เด็กไทยมักจะถูกปล่อยให้อยู่กับสื่อ จนบางครั้งก็ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสื่อใดควรเสพไม่ควรเสพ หรือเมื่อเสพแล้ว จะต้องท าความเข้าใจอย่างไร ? 

เมื่อเด็กถูกปล่อยให้อยู่กับสื่ออย่างใกล้ชิด เด็กก็มีโอกาสตกเป็นเหยื่อของสื่อที่เป็น "พิษ" ได้ ดังนั้นผู้ใหญ่ควรจะเริ่มต้นในการให้ความเข้าใจกับเด็กในเรื่องการเสพสื่อ หรือพูดง่าย ๆ คือ สอนเด็กให้ "รู้เท่าทันสื่อ" ไม่ตกเป็นเหยื่อของสื่อ เพราะในยุคข้อมูลข่าวสารที่เชี่ยวกรากเช่นนี้ การเลือกบริโภคสื่อให้ถูกวิธีเป็นเรื่องจ าเป็นอย่างยิ่ง 


ผู้ใหญ่ตั้งแต่ในระดับครอบครัว จนถึงสถาบันการศึกษา จะต้องสอนให้เด็กมีความเข้าใจในเรื่องการเสพสื่อ รู้จักแยกแยะสื่อที่ดีกับสื่อที่เป็นพิษออกจากกันสอนให้เด็กใช้วิจารณญาณ สามารถพิจารณาใคร่ครวญได้ว่าอะไร เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม 

การรู้เท่าทันสื่อจะทำให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในการเสพสื่อ ทำให้เด็กเสพสื่ออย่างระมัดระวังแม้จะเจอสื่อที่มีพิษ แต่ก็สามารถแยกแยะได้ เด็กจะสามารถเลือกเรียนรู้แต่สิ่งดี ๆ ที่ปรากฏอยู่ในสื่อ ใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง มากกว่าจะหมกมุ่นอยู่กับการเสพ จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของตัวเอง 

การบริโภคสื่อในปริมาณที่เหมาะสม การไม่ตกเป็นเหยื่อของข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนการแยะแยะได้ว่าอะไรคือสิ่งที่เหมาะสม หรือไม่เหมาะสม และเลือกในสิ่งที่เป็นประโยชน์เมื่อบริโภคสื่อ คือ การรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งหมายถึง ไม่ว่าสื่อจะน าเสนออะไร เด็กก็สามารถรับมือได้อย่างดี ถือว่ามีภูมิคุมกัน ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้น สื่อก็สามารถบริโภคสื่อได้โดยไม่ จำเป็นที่ต้องมีผู้ใหญ่ควบคุมคุมดูแล 

แต่ปัจจุบันมีเด็กไม่มากนักที่รู้เท่าทันสื่อ ดังนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่จะต้องปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป !!!




ขอบคุณ  :  1)   http://bangkokpoll.bu.ac.th
                2)   http://icgp.thaissf.org

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์