คิดพัฒนาการเกษตรแบบนี้ดีหรือไม่



  จากรากฐานที่เข้มแข็งทางการเกษตรของไทยที่สืบทอดต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน  อาจกล่าวได้ว่า..เมืองไทยเปรียบเสมือนเป็น..อู่ข้าวอู่น้ำและเป็นแหล่งผลิตอาหารสำหรับชาวโลกก็ว่าได้  เกษตรกรล้วนดูดีมีคุณค่า ได้รับการยกย่องในสายของคนทั่วไป  แต่ภาพของความเป็นจริงก็ยังคงฉายออกมาให้เราได้เห็นอยู่เสมอ ๆ ว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศยังคงมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างยากจน  เยาวชนคนรุ่นใหม่หันหลังต่ออาชีพการเกษตร  หลั่งไหลเข้าสู่เมือง และโรงงานอุตสาหกรรม  กลายเป็นค่านิยมทางสังคมไปโดยไม่รู้ตัวในที่สุด  จากความมุ่งหวังและต้องเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของอนาคตเกษตรกรไทย  จึงขอเสนอแนวคิดเพื่อพัฒนาการเกษตรใน 2 ประเด็น ดังนี้

การศึกษากับการเกษตร  
                                                                           
           การจัดการศึกษาในทุกระดับ  ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา  มัธยมศึกษา  อุดมศึกษา  และการศึกษานอกระบบทั้งหลาย   ต้องมีหลักสูตรที่เน้นการเกษตร (เราเป็นเมืองเกษตร..ต้องสร้างคนเก่งด้านการเกษตรเป็นลำดับแรก) 


           ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา  
           1. ควรจัดหลักสูตรการเกษตรระดับพื้นฐานต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับอาชีพของคนในภูมิภาคและท้องถิ่นนั้น ๆ

           2. วิธีการเรียนรู้  มุ่งใช้วิทยากรในท้องถิ่นที่มีประสบการณ์จริง และฝึกปฏิบัติทั้งที่สถานศึกษาและบ้าน

           3. นอกจากเรียนรู้ระดับพื้นฐาน + การฝึกปฏิบัติจริงแล้ว  ต้องจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังค่านิยม อุดมการณ์ด้านการเกษตร  " อาชีพการเกษตรไม่ได้ต่ำต้อยแต่อย่างใด....เพราะเราเป็นผู้ผลิตอาหารที่ดีมีคุณภาพแก่คนทั่วไป "

            ระดับอาชีวศึกษา/อุดมศึกษา
             1. ส่งเสริมให้มีจำนวนสถาบันอาชีวศึกษา หรืออุดมศึกษาทางการเกษตรเฉพาะทาง (มากพอ)  โดยพิจารณาจากฐานการผลิตของภูมิภาคและท้องถิ่นนั้น ๆ (เพื่อลดความซ้ำซ้อนทางวิชาการ)

            2. สร้างหลักสูตรการเรียนรู้แบบองค์รวม    เช่น  สาขาวิชาข้าวไทย  ประกอบด้วย   ความเป็นมาและชนิดหรือพันธุ์ข้าวไทย   วิธีการผลิตเชิงปริมาณ และวิธีการผลิตแบบพอเพียง     การบำรุงรักษา  การตลาดในและต่างประเทศ  เป็นต้น
 
            3. วิธีการเรียนรู้  มุ่งใช้อาจารย์/วิทยากรในท้องถิ่นที่มีประสบการณ์จริง และฝึกปฏิบัติการจริงด้วยการวิจัยพัฒนาควบคู่กันไป
     4. สถาบันอุดมศึกษาการเกษตรเฉพาะทาง  ที่มีอยู่ต้องมีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงทางวิิชาการและการวิจัยพัฒนาร่วมกันกับสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานทางการเกษตรระดับภูมิภาคนั้นด้วย
 
     5.การส่งเสริมให้นักศึกษา  ให้เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีอาชีพ/ธุรกิจการเกษตรของตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากรัฐ (ยืมทุน...แล้วผ่อนคืน) 
    
 
 
            
             การศึกษานอกระบบ
             จากการเปลี่ยนแปลงและความรวดเร็วของข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ด้านการเกษตร  จำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้เท่าทันอยู่ตลอดเวลา   หากมีสถาบันอุดมศึกษาการเกษตรเฉพาะทาง ในระดับภูมิภาคเป็นพี่เลี้ยงด้วยแล้ว  ก็น่าจะมีส่วนช่วยพัฒนาได้ คือ
             1.  อบรมพัฒนากลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ  เพื่อเพิ่มขีดความรู้ความสามารถเป็นระยะ ๆ  เช่น  กลุุ่มข้าว
กลุ่มผักสวนครัว   กลุ่มพืชไร    กลุ่มพืชสวนผลไม้  เป็นต้น
             2.  การพัฒนาระบบคิดให้เกษตรกรพึ่งตนเองให้ได้อย่างยั่งยืน  ลดวิธีการผลิตที่สร้างภาระหนี้สิน
โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  
             3.  การฝึกให้เกษตรกรวิจัยการทำการเกษตรของตนเอง (ทำไป..คิดไป..ผลเป็นเช่นไร..และจะทำอย่างไรต่อไป) 
             4.  การพัฒนาเครือข่ายการเกษตรต่าง ๆให้เข้มแข็ง  รวมตัวเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน

อุตสาหกรรมทางการเกษตร..ต้องมาก่อน
 
       ในเมื่อเมืองไทยของเราเป็นเมืองเกษตร  ฉะนั้นนโยบายของรัฐก็ควรที่จะมุ่งเน้น และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาภาคการเกษตรให้มีความเจริญก้าวหน้า เข้มแข็ง และเป็นฐานต่อยอดไปสู่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่หลากหลายได้ต่อไป 
           หากเป็นเช่นนี้..เราคงไม่ต้องง้อ หรือเชิญชวนให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนทำอุตสาหกรรมการเกษตรแข่งกับคนไทยหรอกครับ  (รัฐควรมีกฏหมายสงวนอุตสาหกรรมที่ควรเป็นของคนไทย)
          จากอดีตที่รัฐบาลไทยยุคหนึ่ง  เคยฝันที่จะสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม...ชนิดที่ไม่คำนึงถึงรากเหง้าของประเทศว่าเป็นอะไรกันแน่   ปัจจุบันผลแห่งการดำเนินงานได้สร้างผลกระทบให้กับชุมชนอย่างมากมาย  และนับวันจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น
          โจทย์สำคัญที่ภาครัฐควรจะได้หันกลับมาทบทวนก็คือ  การกำหนดประเภทหรือชนิดของอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ และเหมาะสมกับคนไทย /ประเทศไทย   จะเห็นว่าอุตสาหกรรมบางชนิดก็ไม่จำเป็นให้เข้ามาทำในประเทศของเรา   และสิ่งที่อยากเห็นและเกิดเป็นจริงในอนาคตอันใกล้นี้ก็คือ  การที่ภาครัฐ  ภาคเอกชน และภาคประชาชน  มีวิสัยทัศน์ร่วมกันที่จะพัฒนาประเทศโดยใช้การเกษตรเป็นฐาน   และร่วมกันสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เป็นประเทศที่มั่งคั่งทั้งการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไปพร้อมกันครับ           


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์