เสด็จประพาสต้นมณฑลฝ่ายเหนือ "อุตรดิษฐ์"



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๔  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ช่างหลวงมาหล่อจำลองพระพุทธชินราชเพื่อไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร พระองค์ท่านเสด็จมาเมืองพิษณุโลก เพื่อทรงกระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปดังกล่าว เมื่อเสร็จพิธีเททองหล่อแล้ว ได้ทรงมีพระราชประสงค์ใคร่จะเสด็จไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์   ท่าอิฐ   เมืองลับแล   และวัดพระฝาง 

เทศาภิบาลเมืองพิษณุโลก ได้มีคำสั่งให้เมืองพิชัยอุตรดิษฐ์  เตรียมจัดพลับพลารับเสด็จอย่างใหญ่โต โดยเลื่อยไม้ทำเป็นมุขห้องโถงใหญ่ ห้องบรรทม มีรั้วกั้นอาณาเขต ภายในรั้วข้างพลับพลาทำเป็นสระน้ำ ปลูกบัว ปลูกดอกไม้ สระน้ำปล่อยปลาปล่อยเต่า เพื่อเป็นที่สำราญของพระมเหสี สนมกำนัล และพระราชโอรสราชธิดา ตลอดถึงพระบรมวงศานุวงศ์ที่ตามเสด็จ

เวลานั้นทางจะไปเมืองลับแล มีหลวงศรีพนมมาศเป็นนายอำเภอ ได้เกณฑ์ราษฎรแผ้วถางทางจนถึงอำเภอลับแล และจัดตั้งพลับพลารับเสด็จด้วย ทางไปพระแท่นศิลาอาสน๑มีการสร้างประรำรับเสด็จไว้ด้วย  พลับพลาใหญ่ที่ท่าโพธิ์(บางโพปัจจุบัน) ได้จัดสร้างแพน้ำเพื่อเทียบเรือพระที่นั่ง จากแพน้ำทำบันไดขึ้นจากตลิ่งไปสู่พลับพลา  สองฟากทางเดินประดับด้วยกระถางต้นไม้ ดอกไม้ ตั้งแต่แพเทียบเรือไปจนถึงพลับพลา


(ภาพถ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์และเจ้าเมืองประเทศราชและข้าราชการเมืองอุตรดิฐ หน้าพลับพลารับเสด็จหน้าวัดวังเตาหม้อ (วัดท่าถนน) จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ เมื่อคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ- ภาพจากหน้า ๔๙ หนังสือพระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 นับในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆเปนภาคที่ ๕ พ.ศ.๒๔๖๕) 

วันที่พระองค์ท่านเสด็จถึงอุตรดิษฐ์  ได้มีประชาชน ข้าราชการ พ่อค้า เฝ้ารอรับเสด็จอยู่ก่อนอย่างเนืองแน่น พลับพลารับเสด็จได้ประดับธงช้างเผือกดูสง่างามมาก ประชาชนเฝ้ารับเสด็จเนืองแน่นทั้งบริเวณทางเดินและตามริมน้ำ   ขบวนเรือทหารกลไฟแล่นเข้าเขตท่าโพธิ์เปิดหวูดดังกังวานเป็นสัญญาณของเรือนำ  เรือพระที่นั่งมีธงช้างเผือกปักที่เรือปลิวไสว ต่อจากนั้นเป็นเรือกลไฟพระที่นั่งทาสีขาวสะอาดแล่นมาท่ามกลาง ถัดจากเรือพระที่นั่งเป็นเรือของพระมเหสี พระสนมและพระบรมวงศานุวงศ์ตามเสด็จ เรือพระที่นั่งได้เข้าเทียบแพน้ำอันกว้างใหญ่ ประดับ ด้วยธงช้างเผือกมีพรมปูตั้งแต่แพจนถึงพลับพลา บรรดาทหารบกทหารเรือได้ตั้งแถวรับเสด็จพระองค์ท่านได้เสด็จจากเรือพระที่นั่งขึ้นแพน้ำสู่พลับพลา ดำเนินผ่านโต๊ะบูชารับเสด็จ ผ่านพระสงฆ์สวดถวายชัยมงคล ผ่านข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนสองฟากทางเดินที่เสด็จ พระพักตร์ของพระองค์ท่านเบิกบานยิ้มละมัยที่ได้ทอดพระเนตรพสกนิกรของพระองค์ที่มาคอยรับเสด็จอย่างเนืองแน่น พอเวลาพลบค่ำ  พลับพลาที่ประทับสว่างไสวด้วยแสงโคมไฟ มีทหารยืนตามประตูรั้วเข้าพลับพลา ทหารมหาดเล็กยืนตามบันไดพลับพลา  ประชาชนหลั่งไหลมาดูโคมไฟประดับพลับพลา

File:Tha Sao & Khung Taphao in 1910.jpg

ภาพถ่ายวิถีชีวิตริมน้ำของชาวท่าเสาและคุ้งตะเภา ผลงานของ มร.คาร์ล โดห์ริง (KARL DOEHRING) สถาปนิกเยอรมันผู้สมัครเข้ามาทำงานกับการรถไฟสยามในสมัยรัชกาลที่ 5. 

DSCF6210.jpg

ภาพหาดแถบท่าเสา ในสมัยรักาลที่ ๕ ในพระราชหัตถเลขา สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงบรรยายเกี่ยวกับบรรยากาศริมแม่น้ำน่านในแถบเมืองอุตรดิตถ์ไว้ละเอียดมาก

Jp-2.jpg

สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เส็ดจขึ้นเมืองอุตรดิตถ์ วันที่ 23 ต.ค. รัตนโกสินทร์ ศก 120 (พ.ศ.2444) 

ในวันรุ่งขึ้น เสด็จไปทอดพระเนตรตลาดหาดท่าอิฐ ตามถนนที่เสด็จพระราชดำเนินอดพระเนตรตลาดหาดท่าอิฐนั้น  ปูลาดด้วยผ้าขาวและผ้าแดง ห้างร้านประดับด้วยธงช้างเผือกกับผ้าระบาย หน้าร้านเขียนคำถวายพระพรให้ทรงพระเจริญกับตั้งเครื่องบูชา ประชาชนชายหญิงรวมทั้งชาวจีนนั่งพนมมือชมบารมีรับเสด็จอย่างเนืองแน่น พระองค์พอพระราชหฤทัยชมตลาดหาดท่าอิฐ ทรงมีพระราชดำรัสว่า  “... ตลาดการค้าที่นี่ใหญ่โต  มีห้างไม้ของฝรั่งหลายห้าง บ้านเมืองของราษฎรน่าดู  สมควรตั้งเป็นเมือง... ”  เมื่อเสด็จชมทั่วหาดท่าอิฐแล้ว ได้เสด็จกลับพลับพลาที่ประทับ

ในวันรุ่งขึ้นได้แจก เสมา จ.ป.ร. ให้แก่เด็กเล็กทั้งชายและหญิง พระองค์ท่านทรงชอบเด็กเล็กๆ มาก  มีผู้ปกครองเด็กเล็กๆ เป็นจํานวนมากได้พาลูกหลานของตนเพื่อรับแจกจากพระหัตถ์ของพระองค์  พระองค์ให้เด็กรับเอง  คือทรงเอาเสมาผูกติดกับปลายไม้ ทรงแกว่งล่อเด็กๆ เด็กที่ฉลาดและว่องไวก็คว้าได้ก่อนคนอื่น  พระองค์ทรงพระสรวลว่า เด็กนั้นฉลาดไหวพริบดี



การแต่งกายของชาวลับแลในสมัยรัชกาลที่ 5 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้ทราบว่ากลุ่มชนแรกที่มาอยู่ในบริเวณเมืองลับแลในปัจจุบันนั้นอพยพมาจากอาณาจักรเชียงแสนโบราณ (โยนกนาคพันธุ์) 


วันรุ่งขึ้นเสด็จไปประทับพลับพลาลับแล ซึ่งหลวงพระศรีพนมมาศเป็นผู้จัดทำรับเสด็จ การรับเสด็จของหลวงศรีพนมมาศครั้งนั้นนับว่าทรงโปรดมาก คือหลวงศรีพนมมาศสั่งให้ชาวลับแลไปเที่ยวดักจับกระจงมาขังไว้  เวลาถึงกำหนดเสวยก็เอากระจงมาลาบเป็นอาหารถวาย พระองค์ได้ทรงเสวยลาบเนื้อกระจงของหลวงพระศรีพนมมาศพอพระทัยว่ามีรสอร่อยดี จึงมีรับสั่งให้หลวงศรีพนมมาศเข้าเฝ้าและทรงถามว่า “... เอาเนื้ออะไรมาปรุงอาหารให้ฉันกินวันนี้อร่อยดีมาก...”  หลวงพระศรีพนมมาศก็ก็กราบทูลว่า …เนื้อที่ลาบถวายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทนั้นคือเนื้อกระจง ซึ่งชาวบ้านลับแลเรียกว่า ก่าย...”   พระองค์ท่านทรงพระสรวลพอพระทัยมาก  จึงให้จางวางขอจดตำราวิธีทำลาบเนื้อจากหลวงพระศรีพนมมาศ  พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรพื้นที่ของลับแล ทรงเห็นน้ำลำห้วย  ผลไม้มีมาก อากาศเย็นสบาย ทรงชมว่า “..ลับแลเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ด้วยผลไม้  ซึ่งสามารถจะเลี้ยงตัวเองได้อย่างสบาย..”

หลังจากเสด็จลับแลแล้ว  วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2444 ได้เสด็จต่อไปพระแท่นศิลาอาสน์โดยพาหนะช้างพระที่นั่ง ทรงนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ พระอุปัชฌายะผิวเทศน์ถวาย แล้วเสด็จกลับ ดังได้ทรงบันทึกไว้ว่า .... ตั้งแต่บึงพระแลประมาณ 20 เส้น ถึงเนินศิลาแลงซึ่งเป็นที่ตั้งพระวิหารพระแท่น  ว่าโดยที่ตั้งก็ชอบกลดีอยู่  ฟังเล่ามาแต่ก่อนเลวกว่าที่ได้มาเห็น  แต่เขาว่าแต่ก่อนนั้นรกคับแคบ  เดี๋ยวนี้ได้ย้ายศาลาใหญ่  ซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่บนลานหน้าพระวิหารออกไปเสีย และแผ้วถางจนหมดจดถึงได้ดีขึ้น มีศาลาใหญ่น้อยหลายหลัง  มีร้านสังเขปพอให้เห็นเป็นตัวอย่าง  ซึ่งชาวบ้านมาตั้งแต่หน้าเทศกาล  มีคนที่มาหยุดอาศัยตลอดจนถึงบึงพระแลปีหนึ่ง ๆร่วม 20,000 คน พร้อมกันในวันเพ็ญเดือนสาม ที่บริเวณพระแท่นนั้นมีกำแพงแก้วล้อมรอบเป็นกำแพงหนาอย่างวัดโบราณ มีวิหารใหญ่หลังหนึ่งโตกว่าวิหารพระแท่นดงรัง  ข้างในตรงกลางวิหารมีมณฑปในมณฑปนั้นมีแท่นก่ออิฐถือปูนอย่างแท่นตั้งพระประธานยาว 6 ศอกคืบ 2 นิ้ว กว้าง 5 ศอก 4 นิ้ว  ที่กลางเป็นช่องสำหรับผู้มานมัสการบรรจุเงิน และเข็ม  ตามปรกติปีหนึ่งได้เงินอยู่ใน 1,000 บาท แต่เข็มได้ถึง 2 ขัน ด้านริมผนังหลังวิหารมีพระพุทธรูปกองโต ต้นพุทราอยู่ในกำแพงข้างขวาวิหาร ข้างซ้ายวิหารมีมุกยื่นออกไปเป็นที่บ้วนพระโอษฐ์ และประตูยักษ์อยู่ตรงนั้น แต่เยื้องกันหน่อยหนึ่งมีวิหารอยู่ที่มุมกำแพงอีกวิหารหนึ่ง เป็นที่พระเสี่ยงทาย หมดเท่านั้น.....”  หลังจากเสด็จวัดพระแท่นศิลาอาสน์แล้ว เวลาพลบค่ำเสด็จกลับพลับพลาที่ประทับที่พลับพลาท่าโพธิ์  ผ่านวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง  วันรุ่งขึ้นได้เสด็จลงเรือไปวัดพระฝางเพื่อทอดพระเนตรโบราณสถาน ในระหว่างทางที่จะถึงพระฝาง ได้มีหลวงอนุบาลเพณีจัดรับเสด็จที่ท่าน้ำวัดปากฝาง 

http://gotoknow.org/file/tevaprapas/watphrafang-page52.jpg

(ภาพถ่ายหาดน้ำน่านหน้าวัดพระฝาง พ.ศ. ๒๔๔๔ เมื่อคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ - ภาพจากหน้า ๕๒ จากหนังสือพระราชหัตถเลขา     คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 นับในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆเปนภาคที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๖๕)


ขณะที่ประทับอยู่ ณ พลับพลาท่าโพธิ์ (บางโพ) เทศาภิบาลพิษณุโลกได้พาพวกที่มีความดีตั้งใจรับเสด็จอุทิศเงินและเรี่ยวแรง คือ นายบุญมาก ได๎รับเลื่อนพระราชทานยศเป็นขุนพิเนตร์   ขุนพินิจ ได๎รับพระราชทานยศเป็นหลวงพินิจ   หลวงศรีพนมมาศได้รับพระราชทานยศเป็นพระศรีพนมมาศ  และอื่นๆ อีก นอกจากได้รับยศแล้วได้รับพระราชทานเหรียญตรากันอีกมาก
ในวันที่พระองค์เสด็จกลับ ได้มีพวกพ่อค้าประชาชนรอเฝ้าส่งเสด็จอย่างเนืองแน่น ต่างนำข้าวของมาถวาย เช่นมะพร้าวอ่อนทางลับแล ผลไม้ลับแล เวลาเสด็จลงเรือพระที่นั่งก็ทรงกล่าวลาแก่ประชาชน พ่อค้า ข้าราชการ ที่ยืนส่งเสด็จ ประชาชนได้กราบไหว้ด้วยความปลื้มปิติและน้ำตาคลอด้วยรำลึกถึงพระองค์ท่าน  แล้วเรือพระที่นั่งซึ่งปักธงประจำพระองค์ก็ค่อยๆ เคลื่อนฝีจักรบ่ายหัวเรือล่องสู่ทางทิศใต้ และได้เปิดหวูดอันเป็นเครื่องหมายของพระองค์ท่านที่ได้จากอุตรดิษฐ์ไป  พสกนิกรของพระองค์ได้มองขบวนเรือเสด็จไปจนลับสายตา



คริปเสด็จประพาสต้นเมืองพิชัย  และเมืองอุตรดิตถ์



คริปเสด็จประพาสอำเภอตรอน  อำเภอลับแล  และวัดพระแท่นศิลาอาสน์



คริปเสด็จประพาสวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง  วัดพระฝาง และวัดท่าถนน




ขอบคุณ  :  1) http://www.gotoknow.org
                2) http://th.wikipedia.org
                3) http://thairath5.com
                4) http://www.utdhome.com 
                    5) http://commons.wikimedia.org
                6) www.youtube.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์