ปูนา 1
รู้จักปูนา
ปูนาเป็นปูน้ำจืดที่พบมีอยู่ทั่วไปตามทุ่งนาและในที่ลุ่มของประเทศไทย เป็นกลุ่มปูที่มีวิถีชีวิต มีระบบ นิเวศน์และถิ่นที่อยู่อาศัย แตกต่างไปจากปูลำห้วย (creek crab) ปูน้ำตก (waterfall crab หรือ stream crab) และปูป่า (land crab) ด้วยเหตุนี้นักอนุกรมวิธานจึงได้แยกปูนาออกจากปู 3 กลุ่มข้างต้น และจัดให้อยู่ในวงค์ Parathelphusidae ในประเทศไทยพบมี 8 ชนิด ในภาคต่าง ๆ ดังนี้
2. S. bangkokensis พบใน 18 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 8 จังหวัด
ภาคตะวันตก 4 จังหวัด ภาคตะวันออก 2 จังหวัด และภาคใต้ 13
จังหวัด
3. S. sexpunetata พบใน 19 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 1 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ภาคตะวัน
ออก 4 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด
ออก 4 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด
4. S. maehongsonensis เป็นปูชนิดใหม่ ที่พบในแห่งเดียวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
6. S. denchaii เป็นปูชนิดใหม่ที่พบใน จังหวัดแพร่
7. S. nani เป็นปูชนิดใหม่ล่าสุดที่พบใน จังหวัดน่าน
8. S. dugasti (Esanthelphusa dugasti) พบใน ภาคกลาง
10 จังหวัด ภาคตะวันตก 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 3 จังหวัด และ
ภาคเหนือ 9 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด
10 จังหวัด ภาคตะวันตก 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 3 จังหวัด และ
ภาคเหนือ 9 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด
การแพร่กระจายของปูแต่ละชนิด
ปูนาบางชนิดเช่น S. dugasti มีอาณาเขตการแพร่กระจายกว้างมากถึง 40 จังหวัด ในภาคกลางมีปูอยู่ถึง 3 ชนิด ในภาคใต้พบมี 2 ชนิด ทางภาคเหนือบางจังหวัดพบมีชนิดเดียว ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการแพร่กระจายของปูแต่ละชนิด เป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีค่าควรแก่การศึกษา เช่นกรณีของปูนา S. denchaii ที่พบในอำเภอเด่นชัยจังหวัดแพร่ และปูนา S. nani ที่พบใน จังหวัดน่าน เป็นต้น จังหวัดทั้งสองอยู่ใกล้กันมาก และพื้นที่ก็เป็นผืนแผ่นดินติดต่อกัน สภาพดินฟ้าอากาศ หรือปริมาณน้ำฝนก็ใกล้เคียงกัน
ปูนาชนิด S. dugasti แม้จะมีขอบเขตการแพร่กระจายคลอบคลุมถึง41 จังหวัดก็ตาม แต่ก็เป็นปูชนิดเดียวเท่านั้นที่พบมีในภาคอีสาน ด้วยเหตุผลอันนี้ปูชนิดนี้ ครั้งหนึ่งเคยใช้ชื่อว่า Esanthelphusa dugasti ซึ่งบ่งบอกถึงถิ่นที่อยู่อาศัยของปูชนิดชนิดนี้เป็นอย่างดี ปูชนิดนี้ถ้าจะถือว่าเป็นมรดกดินของชนชาว อิสานก็คงไม่ผิด เพราะเป็นทรัพย์ติดแผ่นดินที่คนอีสานมีสิทธิที่จะเก็บเกี่ยวหรือนำมาใช้ ประโยชน์ได้ แต่จะใช้ประโยชน์อย่างไรถึงจะคุ้มค่าและยั่งยืน ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อตัวเองหรือผู้อื่นนั้นขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของแต่ละท่าน
ปูนาแหล่งอาหารโปรตีนราคาถูก
ปูนาจัดได้ว่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสัตว์ราคาถูกและหาได้ง่ายในธรรมชาติ เป็นปูที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่ประมงและเกษตรกรรายย่อยในภาคอีสานทุกคนรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะเป็นปูที่มีความสำคัญต่อวิถีการดำรงชีวิตของคนเหล่านั้น
ปูนาชอบขุดรูอาศัยอยู่ตามทุ่งนา คันนา บริเวณชายคลอง คันคู และคันคลองชลประทานต่าง ๆ โดยมีแหล่งอาหารและน้ำเป็นปัจจัยหลัก ลักษณะและตำแหน่งของรูปูนาจะแตกต่างกันตามสภาพของพื้นที่ ดินฟ้าอากาศและน้ำซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต บริเวณที่มีน้ำปูจะขุดรูในที่ ๆ น้ำท่วมไม่ถึง รูปูจะเอียงเล็กน้อยและไม่ลึกนัก ปากรูจะอยู่เหนือน้ำ หรือต่ำกว่าระดับน้ำเล็กน้อย เพื่อความสะดวกในการเข้าออก รูปูส่วนใหญ่จะเป็นแนวเอียง 30-60 องศากับแนวระดับ รูจะตรง ไม่คดเคี้ยว ในที่ ๆ มีความชื้นสูงหรือบริเวณที่มีระดับน้ำตื้นมากรูปูจะไม่ลึกและมีรูขนาดไปกับ พื้นดินตามทุ่งนาที่มีน้ำเฉอะแฉะ เช่นระยะหลังการเก็บเกี่ยว ปูจะขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นนามีความลึกประมาณ 1 เมตร ในฤดูแล้งช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พื้นนาแห้ง ดินขาดน้ำ ระดับน้ำใต้ดินลึก ปูจะขุดรูทำมุมกับแนวระดับลึกมาก และจะลึกที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมและใช้ดินปิดปากรูเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ภายในรู หรือไม่ก็อพยพจากท้องนาไปยังหนองน้ำใกล้เคียง ในกรณีที่เกิดฝนตก เกิดอุทกภัย น้ำท่วมคันนา ปูจะหลบอาศัยเกาะอยู่ตามกอหญ้าริม ๆ น้ำ โดยใช้ก้ามเกาะต้นหญ้าพยุงตัวลอยอยู่ในน้ำ


ฤดูวางไข่
ปูนาจะวางไข่ปีละครั้งในช่วง เดือนกุมพาพันธุ์-กรกฎาคม โดยมีน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ ไม่ว่าน้ำนั้นจะมาจากน้ำฝนหรือจากชลประทาน ปูเพศเมียเมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูใหม่หรือซ่อมรูเก่าที่มีอยู่ตามคันนาสูง จากระดับน้ำ หรือตามทุ่งวนาที่น้ำไม่ขัง เพื่อเตรียมอุ้มไข่ และจะไม่ลอกคราบจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว
การพัฒนาของไข่
• ระยะที่ 1 รังไข่ยังไม่พัฒนา มีลักษณะเป็นเส้นยาวแบน 2 เส้นแซกอยู่ระหว่างช่องว่างภายในลำตัว ตามขอบกระดองด้านหน้าบน
• ระยะที่ 2 รังไข่ขยายใหญ่ คลุมช่องว่างภายในลำตัวประมาณร้อยละ 10-20 ไข่เริ่มมีสีครีม หรือเหลืองอ่อน
• ระยะที่ 3 รังไข่เริ่มขยายตัว ขดไปตามช่องว่างภายในลำตัวคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 20-70 ไข่มีสีเหลืองอ่อน
• ระยะที่ 4 รังไข่พัฒนาสมบูรณ์เต็มที่ แผ่เต็มช่องว่างภายในลำตัว ผิวมันวาว แยกเป็นเม็ดมีสีเหลืองแก่ หรือส้ม


ปูนากินอาหารทุกชนิด ตั้งแต่สารอินทรีย์ในดินจนกระทั้งพืชหรือสัตว์ที่มีชีวิตและตายแล้ว ด้วยเหตุนี้ปราชญ์ชาวบ้านในภาคอีสานจึงมีความเชื่ออย่างสนิทใจว่า ปูนามีบทบาทสำคัญและมีส่วนช่วยทำให้ระบบนิเวศน์ในแผ่นดินอีสานเกิดความ สมบูรณ์ เพราะปูนามีระบบย่อยอาหารที่สามารถดูดซึมสารอินทรีย์จากดินได้ ดังนั้นปูนาสามารถกินดินที่มีสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยได้โดยตรง สัตว์ที่เป็นอาหารของปูนาในธรรมชาติได้ แก่ ไรน้ำ ลูกน้ำ กุ้งฝอย ลูกหอย ปลาขนาดเล็ก และตัวอ่อนของแมลงที่เจริญเติบโตในน้ำ รวมทั้งปูด้วยกันที่มีขนาดเล็กหรือที่กำลังลอกคราบ สำหรับพืชปูจะกินพืชที่มีลำตันอ่อน เช่นต้นข้าว หญ้าและวัชพืชน้ำต่าง ๆ ปูนาส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืน
จากบทความปูนา 1 คงทำให้เราได้รู้ว่าปูนาที่มีอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในประเทศไทย โดยเฉพาะคนในแถบชนบทจะคุ้นเคยมากกว่าคนในเมือง ในสภาพปัจจุบันที่การทำนาต้องอาศัยสารเคมีต่าง ๆ เข้าช่วย...ทำให้ระบบนิเวศน์ของที่นาและแหล่งน้ำได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นหากส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่ +เกษตรกรเอง ไม่หาทางที่จะช่วยกันลดการใช้สารเคมีให้น้อยลงที่สุด....ปูนา สัตว์ที่อยู่คู่ท้องไร่ท้องนาของเรามาในอดีต...อาจสูญพันธุ์ ...สูญหายไปจากท้องนาในไม่ช้า และเราคงต้องเรียกชื่อปู.....กันใหม่เป็นแน่แท้.
ที่มา : http://nanasarakaset.blogspot.com
ที่มา : http://nanasarakaset.blogspot.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น