ลวดลายผ้าซิ่นตีนจกลับแล



          หัตถกรรมการทอผ้าซิ่นตีนจกของชาวลับแล  มีมานานพร้อมกับการตั้งถิ่นฐานของชาวเมืองลับแล  ประเพณีการทอผ้าซิ่นตีนจกนั้นผู้หญิงชาวลับแลจะได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ    สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งได้มีการถ่ายโอนความรู้ และมรดกทางภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของการ  ทอผ้าซ่ินตีนจกไว้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนหมู่บ้านในแถบตำบลฝายหลวง  อำเภอลับแล  จังหวัดอุตรดิตถ์  เรียกได้ว่าเป็นเสมือนต้นกำเนิดของมรดกทางภูมิปัญญาชิ้นเอกนี้   ....เนื่องจากเป็นชุมชนชาวไท-ยวน กลุ่มแรกที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินในเขตเมืองลับแล  ราว  พ.ศ. 2006  เป็นต้นมา
           ปัจจุบันในขณะที่หลายคนมองเห็นความสำคัญของผ้าซิ่นตีนจก  แต่หากสังคมส่วนใหญ่ยังนิ่งเฉย......ไม่มีการกระตุ้น....เร่งเร้า...ให้กำลังใจ....ตลอดจนสร้างสรรค์กิจกรรมการสืบทอดภูมิปัญญาที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชาวลับแลดั้งเดิมไว้ให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้...ซึมซับ คติ  ความเชื่อ  ค่านิยม ...จากเส้นด้ายทักทอเป็นผืนผ้าที่สวยงามวิจิตรแล้ว  ในอนาคตอาจคงหลงเหลือไว้แต่ตำนานเล่าขานกันเท่านั้นก็เป็นได้....ดังส่วนหนึ่งของคำสัมภาษณ์ผู้สูงวัยของชุมชนบ้านท้องลับแล....ที่กล่าวว่า

             "...น่าเสียดายของบ้านเรามีดีมากนัก   แต่ไม่เคยมีใครมากระตุ้นชาวบ้านให้เก็บรักษาไว้
                 กว่าทีมวิจัยจะมาก็เกือบสายไปเสียแล้ว....น่าเสียดายที่คนบ้านเราไม่รู้ค่า  และไม่รู้ว่า
                 อีกหน่อยคนเฒ่าคนแก่อย่างแม่นี้  จะอยู่ได้อีกนานแค่ไหน  หากไม่เก็บไว้อีกหน่อยคน
                 บ้านเราก็คงไม่ต่างจากคนทางใต้(คนภายนอกชุมชน)  ที่ไม่รู้จักตัวของตัวเองเลย...."


                                           
                                              ที่มา  :  www.youtube.com/watch?v=6Z6ZqUEndMs

             จาก MV เพลง " ทอศรัทธา (ผ้าลับแล) "   คงทำให้เห็นภาพวิถีชีวิตของชาวลับแลบ้างพอสังเขป โดยเฉพาะการทอผ้า และตัวอย่างของลายผ้าซิ่นตีนจกลับแลนะครับ....และเพื่อให้เป็นการเรียนรู้ร่วมกันจำเป็นต้องทราบถึง  รูปแบบของผ้าซิ่นตีนจก  และลวดลายผ้าซิ่นตีนจก  ควบคู่กันไป  ดังนี้


รูปแบบของผ้าซิ่นตีนจก


            รูปแบบของผ้าซิ่นตีนจกของอำเภอลับแลจากอดีต - ปัจจุบัน  สรุปได้เป็น  3  ยุค  ด้วยกัน คือ
ยุคแรก : ซิ่นดอกเคียะ
ยุคแรก :  ซิ่นกาฝากเขียว
  
      ยุคแรก   เป็นผ้าซิ่นตีนจกที่มีอายุประมาณ  150 ปีขึ้นไป  ทอด้วยฝ้ายปนไหม  ลักษณะลวดลายตีนจกจะเป็นแบบมาตรฐานของซิ่นตีนจกเชียงแสนโบราณ  คล้ายคลึงกับลวดลายตีนจกโบราณที่พบในวัฒนธรรมไท-ยวนเชียงแสนที่อพยพไปอยู่ยังแหล่งต่าง ๆ เช่น  ที่อำเภอเสาไห้  จังหวัดสระบุรี   ที่อำเภอดอนแร่ และตำบลคูบัว  อำเภอเมือง  จังหวัดราชบุรี เป็นต้น
   ตัวซิ่นของยุคแรกนี้เป็นซิ่นลายขวาง  เย็บตะเข็บเดี่ยว  วรรณสีเด่น  คือ  สีแดง  สีเหลือง  สีเขียว ลวดลายบนตัวซิ่นที่ใช้เทคนิคจกนิยมสีเหลือง  มักเรียกกันว่า  ซิ่นลายดอกเคียะ หรือซิ่นดอกเคียะ
ยุคแรก :  ซิ่นกาฝากแดง
     นอกจากนี้ก็มีตัวซิ่นลายขวางที่ใช้เทคนิคปั่นไกแทนลายจก  มี  2  แบบ  คือ ซิ่นพื้นสีเขียว  เรียกว่า  ซิ่นตาฝากเขียว  หรือ  ซิ่นกาฝากเขียว  ลายริ้วขวางเป็นสีแดง และเหลือง  
      ลักษณะตีนจกมีลายหลักเป็นลายโคม แบบเชียงแสน  และมีลายประกอบ 2-4 แถว  ส่วนล่างสุดมีลายลักษณะเป็นเส้น ๆ แบบชายครุยเรียกว่า  ลายสร้อยสา  นิยมจกด้วยไหมสีสดหลากสี  สีที่เด่น คือ สีแดง  สีเหลือง  สีเขียว  พื้นผ้าเป็นฝ้ายสีแดง  แถบล่างสุดเป็นสีเหลือง เรียกว่า  เล็บเหลือง
        
ลายซิ่นในยุคกลาง
         ยุคกลาง  เป็นผ้าซิ่นตีนจกที่มีอายุราว 100 ปี  ยุคนี้ตัวซิ่นจะเปลี่ยนจากซิ่นลายดอกเคียะ หรือซิ่นกาฝาก  มาเป็นตัวซิ่น  3  แบบ  คือ  ตัวซิ่นมุก  ตัวซิ่นไก  และตัวซิ่นสิ้ว  ส่วนลักษณะตีนจกยังคงคล้ายคลึงกับยุคแรก  คือ  ผ้าพื้นเป็นฝ้ายสีแดงสด  จกลวดลายด้วยไหม  ใช้สีย้อมธรรมชาติ  4-5 สี  ได้แก่  สีแดง  สีเหลือง  สีเขียว  สีดำ  สีบานเย็น   และสีม่วง
           ตัวซิ่นมุก  ตัวซิ่นไก  และตัวซิ่นสิ้ว  ที่เย็บต่อตีนจกในยุคนี้จะมีลักษณะเด่น คือ  เปลี่ยนแปลงจากแถบสีแดงที่เป็นรอยต่อหัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น  มาเป็นแถบสีเหลืองแทน  โดยใช้เทคนิคจกทำให้ดูกลมกลืนกับตัวซิ่น  ลายจกที่นิยมจะมีสีเหลืองเป็นจุดเด่นเหมือนกัน

ลายซิ่นในยุคที่สาม
ลายซิ่นในยุคที่สาม
ยุคที่สาม   ผ้าซิ่นตีนจกในยุคนี้มีอายุราว  60-80 ปี  ตัวซิ่นจะมี  3  แบบ  เหมือนยุคกลาง  คือ  ตัวซิ่นมุก  ตัวซิ่นมุก  และตัวซิ่นสิ้ว  แต่ส่วนใหญ่จะนิยมตัวซิ่นมุกมากกว่า  ส่วนลักษณะต้นจกจะแตกต่างจากสองยุคแรก  คือ  ผ้าพื้นเป็นฝ้านสีดำ  จกลวดลายด้วยไหมสีเขียวอ่อน และสีเขียวแก่  ลวดลายจกเต็มส่วนตีนซิ่น  และมีขนาดกว้างกว่าสองยุคแรก  ผ้าซิ่นตีนจกในยุคที่สามนี้เป็นแบบที่พบทอในบ้านน้ำอ่าง  อำเภอตรอน  
ลายซิ่นในยุคที่สาม
               
ลวดลายผ้าซิ่นตีนจกลับแล
      จากข้อมูลทั้ง  3  ยุค  พบลวดลายตีนจกของอำเภลับแล  ซึ่งเป็นลวดลายที่เป็นหลักอยู่ตรงกลาง ของการทอผ้าตีนจก  จะมีขนาดใหญ่กว่าเด่นกว่าลายประกอบ  ลวดลายหลักมีทั้งหมด  16  ลาย  จำแนกเป็นกลุ่ม ๆ  ดังนี้
                                                         กลุ่มลายหงส์ ( 5 ลาย)
                
                 1. ลายซิ่นหงส์น้อย
2. ลายซิ่นหงส์ถะลาม(หงส์ขนาดกลาง)
                                                 
                 
              3.  ลายซิ่นหงส์ใหญ่
4. ลายซิ่นหงส์เครือ
                                                         
                                                                         5.  ลายซิ่นหงส์ขัง










                                                                กลุ่มลายนก ( 1  ลาย)
6. ลายซิ่นนกน้อย
                                         
                                       กลุ่มลายขอ ( 3  ลาย)
                           
                          
                                      7. ลายซิ่นดอกสองขอ
                                                                             
8. ลายซิ่นดอกสี่ขอ               
   
                  9. ลายซิ่นดอกแปดขอ
 
                                                             กลุ่มลายงู ( 2  ลาย)

                          
                                10. ลายซิ่นงูเหลือม
11. ลายซิ่นงูเหลือมสามตัว
         
                                 กลุ่มลายเก็ดถวา ( 2  ลาย)

                      
                                       12. ลายซิ่นเก็ดถวา หรือประแจจีน
13. ลายซิ่นเก็ดถวาในห้องแปดเหลี่ยม
       
                            กลุ่มลายดาวดึงษ์ ( 3  ลาย)
                      
                                   14.  ลายซิ่นดาวดึงษ์

      
     15. ลายซิ่นดาวเสด็จ

                                               
                                                                             16. ลายซิ่นดอกเคียะ



















              ทิ้งท้าย ......ผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะลายเส้น รวมทั้งนักเรียนและเยาวชน  ควรใช้ลวดลายผ้าซิ่นตีนจกข้างต้นเป็นฐานในการฝึกฝน ...พัฒนา...สร้างสรรค์งานศิลป์....เพื่อตนเองและเพ่ือท้องถ่ินต่อไป



ที่มา  : 1.  โครงการวิจัยการฟื้นฟูอัตลักษณ์จากภูมิปัญญาผ้าซิ่นตีนจก ของชุมชนบ้านท้องลับแล  ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล   
                  จังหวัดอุตรดิตถ์  2552 ...โดย  อัษนัย  กางมูล และคณะ)  
         2.  http://www.chaijumphon.go.th
         3.  http://www.qsds.go.th/silkcotton/k_13.php




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

ต่อหัวเสือ...ไม่ร้ายอย่างเสือ