7 โรคที่มากับหน้าฝน !!


                   
                  
ปัจจุบันประเทศไทยมักประสบกับปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากสภาวะโลกร้อนขึ้น  จนทำให้เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่จังหวัด  ภัยจากธรรมชาตินี้เรายากที่จะรับมือได้ง่าย ๆ แต่สิ่งที่เราเตรียมการรับมือได้ก็คือ การดูแลตนเอง และคนรอบข้างในเบื้องต้น  เพื่อหลีกเลี่ยงโรคภัยต่าง ๆ โดยเฉพาะ 7 โรค ที่มักจะมากับหน้าฝน..ครับ


                                                  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
                                 
                                               เยื่อหุ้มสมองประกอบด้วยเยื่อดูรา เยื่ออะแร็กนอยด์ และเยื่อเปีย

1. โรคไข้สมองอักเสบ   
อาการ  :  เมื่อรับเชื้อแล้วจะมีระยะฟักตัว 5-14วัน จึงเริ่มแสดงอาการป่วย ปวดเมื่อยอ่อนเพลีย เพื่ออาหาร อาเจียน ซึม หงุดหงิดถึงชักเกร็งกระตุก จนอาจเป็นอัมพาตได้ และมีการทำลายสมอง กลายเป็นเจ้าหญิง เจ้าชายนิทราในที่สุด
สาเหตุ : โรคไข้สมองอักเสบเกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด แต่ชนิดที่น่ากลัวและร้ายแรงที่สุดมีชื่อว่า JAPANESE B ENCEPHALITIS หรือา JBE (เจบีอี) ไวรัสจะแพร่เชื้อในหมูโดยมีพาหนะนำเชื้อสู่คนคือ ยุงคิวเล็กซ์ เมื่อยุงคิวเล็กซ์มากัดคน เชื้อขากเลือดหมูจะตรงไปเจริญเติบโตที่สมองทันที หากร่างกายอ่อนแอจะทำให้เกิดสมองอักเสบ  ปัจจุบันเชื้อไวรัสนี้เติบโตในสัตว์อื่นด้วยพวกม้า วัว ควาย สุนัข เป็ด ไก่ และนกกระจอก วิธีป้องกัน คือ ทำลายแอ่งน้ำที่เพาะพันธุ์ยุง อย่าให้มีน้ำขัง ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกันต้องอยู่ภายใต้การแนะนำ และดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะวัคซีนนี้ยังใหม่มากสำหรับบ้านเรา แต่ก็สามารถรับบริการได้ตามโรงพยาบาลทั่วไป

 

2. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระผิดปกติ ซึ่งอุจจาระที่ถ่ายออกมานั้นจะมีลักษณะเหลวจำนวน      3 ครั้งติดต่อกัน หรือมากกว่าหรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นมูก หรือปนเลือด อย่างน้อย 1 ครั้ง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้ จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสน โปรโตซัว ปรสิต และหนอนพยาธิ  



       
 3. โรคปอดอักเสบ  
  
โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า ปอดบวม หมายถึง การอักเสบของเนื้อปอด      มีหนองขัง บวม จึงทำหน้าที่ไม่ได้เต็มที่ ทำให้การหายใจสะดุด เกิดอาการหายใจหอบ เหนื่อย อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ จึงนับว่าเป็นโรคร้ายเฉียบพลันชนิดหนึ่ง

สาเหตุของโรค เกิดจาก
 1.เชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยได้แก่ เชื้อ Pneumococcus และที่พบน้อย   แต่ร้ายแรง ได้แก่ Staphylococcus และ Klebsiella
 2.เชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ หัด สุกใส เชื้อไวรัสซาร์ส (SARS virus)
 3.เชื้อไมโคพลาสมา ทำให้เกิดปอดอักเสบชนิดที่เรียกว่า Atypical pneumonia เพราะมักจะไม่มีอาการหอบอย่างชัดเจน
 4.อื่นๆ เช่น สารเคมี, เชื้อ Pneumocystis carinii ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบในผู้ป่วยเอดส์ , เชื้อรา พบน้อย แต่รุนแรง เป็นต้น                                                      



4. โรคไข้ฉี่หนู   
โรคฉี่หนู หรือ ไข้ฉี่หนู หรือโรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นโรคระบาดในคน พบได้บ่อยในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูฝน สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เลปโตสไปรา (Leptospira sp.) ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์พาหะ โดยส่วนใหญ่คือ หนู แต่ก็ยังรวมถึงสุกร โค กระบือแพะ แกะ หรือสัตว์เลี้ยงใกล้ตัวอย่างแมว และสุนัขด้วย 
***ในภาวะที่ฝนตกหนักจนทำให้เกิดน้ำท่วมขังในหลาย ๆ พื้นที่ของประเทศไทยนั้น "น้ำท่วม" ที่เต็มไปด้วยเชื้อโรค และสิ่งปฏิกูลมากมาย นอกจากจะนำมาซึ่งโรคตาแดง น้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง ฯลฯ แล้ว อีกหนึ่งโรคที่ร้ายแรงไม่แพ้กันก็คือ "โรคฉี่หนู" นั่นเอง ซึ่งหากใครอยู่มีความจำเป็นต้องเดินลุยเท้า หรืออยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ต้องมาทำความรู้จัก "โรคฉี่หนู" เพื่อป้องกันอย่างเคร่งครัด เพราะโรคนี้มักระบาดในช่วงน้ำท่วม และยังเป็นโรคที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ด้วย

                                  
 5. โรคไข้เลือดออก    
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี้จะบรรยายถึงโรคไข้เลือดออกในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อต่อไปนี้ 
สาเหตุ : โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไ/วรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง

                               
 6. โรคเยื่อบุตาอักเสบ  
เยื่อบุตาอักเสบ  คืออะไร เยื่อบุตา คือ เยื่อแผ่นบางๆ ครอบคลุมส่วนที่เป็นตาขาว และผลิตเมือกเพื่อเคลือบและหล่อเลี้ยงผิวของดวงตา เมื่อเยื่อบุตาเกิดการระคายเคืองหรือบวม เส้นเลือดบริเวณนั้นก็จะบวม และทำให้ตาค่อยๆ แดงขึ้น 
อะไรคือสาเหตุ   การระคายเคืองไม่ว่าจะเกิดจากอะไรก็ตามสามารถทำให้เยื่อบุตาอักเสบได้ 
อาการเป็นอย่างไร   การอักเสบจากไวรัสและแบคทีเรีย
    • ไวรัสเป็นสาเหตุที่ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ โดยทั่วไปตาแดงหมายถึง เยื่อบุตาอักเสบจากไวรัสที่ทำให้น้ำตาลลดลงและจะมีอาการประมาณ 1-2 สัปดาห์
    • แบคทีเรีย เช่น Staphylococus เป็นสาเหตุของตาแดงและจะมีขี้ตาเป็นเมือกออกมามาก เยื่อบุตาอักเสบสามารถติดต่อกันได้จากน้ำตาผู้ป่วย ควรหลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้าและผ้าเช็ดตัว การล้างมือบ่อยๆ เป็นการช่วยลดการติดต่อของการอักเสบ
   • ภูมิแพ้ และอาการระคายเคืองจากสภาพแวดล้อม เป็นสาเหตุของตาแดง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับน้ำตา และอาการคัน ในบางกรณีตาแดงเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอดได้ อาการเจ็บตา สายตามัว ตาไม่สู้แสงเป็นอาการทั่วไปของโรคนี้ หากมีอาการดังกล่าวควรพบจักษุแพทย์ให้เร็วที่สุด
                                                   

7. โรคเชื้อราบริเวณเท้า  

เท้าเป็นอวัยวะต่ำสุดของร่างกาย คนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเท้ามากนัก ทั้งที่จริงแล้วเท้ามีหน้าที่สำคัญหลายประการ เช่น เวลาที่คุณยืนเท้าต้องทำหน้าที่รองรับน้ำหนักตัว สร้างความสมดุลย์ทั้งในขณะยืน เดินและวิ่ง เป็นต้น เท้ายังมีหน้าที่อื่นอีกมากมาย 
โรคฮ่องกงฟุต เป็นโรคเชื้อราที่เท้า เกิดจากเชื้อกลากเดอร์มาโตไฟต์ เริ่มต้นโรคจะมีอาการคันที่ผิวหนังของง่ามนิ้วเท้า หรือฝ่าเท้าที่ง่ามนิ้วเท้าระหว่างนิ้วก้อยกับนิ้วนาง จะพบผิวหนังมีลักษณะเปื่อยยุ่ย และปริออกจากกัน และมีการกระจายตัวไปยังบริเวณผิวหนังใต้นิ้วเท้าที่เป็นโรค  ในบางรายอาจพบตุ่มน้ำพองใสเป็นปื้น ที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้า ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นแผ่นสะเก็ดแห้ง ๆ และหนาตัวขึ้น ในระยะเรื้อรัง คนที่เป็นโรคฮ่องกงฟุต อาจพบโรคเชื้อราที่เล็บเท้าร่วมด้วยก็ได้ 
คุณจะป้องกันการติดโรคฮ่องกงฟุตได้อย่างไร 
แหล่งรวมเชื้อ ได้แก่ ห้องอาบน้ำรวม เช่น ของนักกีฬา หรือโรงทหาร ซึ่งเชื้อราจากผู้ที่เป็นโรคนี้จะหลุดออกมาอยู่ที่พื้นห้องน้ำ และติดต่อไปยังเท้าผู้อื่นได้ ห้องอาบน้ำรวมจึงควรใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดพื้นห้องน้ำอย่างสม่ำเสมอ   ดูแลเท้า โดยเฉพาะง่ามนิ้วเท้าให้แห้งสะอาด  ควรเปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน และดูแลพื้นภายในรองเท้าให้แห้งอยู่เสมอ เช่น นำไปตากแดด หรือผึ่งลม และควรมีรองเท้าสับเปลี่ยนกัน  หากจำเป็นต้องลุยน้ำ หลังจากนั้นก็ให้ล้างเท้าด้วยสบู่ให้สะอาด เช็ดเท้าให้แห้ง และเช็ดผิวหนังด้วยแอลกอฮอล์อีกครั้งหนึ่ง
  
 ขอบคุณ   1)  http://www.thaihealth.or.th    2)  http://www.phyathai.com
             3)  http://health.kapook.com       4)  http://www.siamhealth.net
             5)  http://www.rutnin.com           6)  http://www.108health.com



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

ต่อหัวเสือ...ไม่ร้ายอย่างเสือ