การปลูกพืชด้วยน้ำเอนไซม์

สำหรับครั้งนี้ ขอนำเสนอเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ซึ่งผู้เขียนได้สืบค้น สังเคราะห์ เพื่อการใช้องค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ สู่การปฏิบัติจริง ได้คือ

การปลูกผักด้วยน้ำเอนไซม์และปุ๋ยหมักชีวภาพ

1. ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกเคล้าผสมดินในแปลงผัก อัตราส่วน 1/3/ตรม. ถ้าดินคุณภาพต่ำให้เพิ่มปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมากขึ้น

2. คลุมดินด้วยฟางหรือหญ้า หรือใบไม้ รดน้ำผสมน้ำเอนไซม์ 1/100 หมักดินไว้ 1-2 วัน


3. หลังจากปลูกผักแล้ว ควรเพิ่มปุ๋ยหมักชีวภาพทุก ๆ 7 หรือ 10 วัน และรดน้ำเอนไซม์ 1/500 ทุกวัน เจือจางมากหรือน้อยขึ้นอยู่ที่กล้าผัก

4. ก่อนหรือหลังเก็บเกี่ยวผัก 3 วัน ต้องปลูกผักใหม่ทันที ไม่ปล่อยให้แปลงผักว่างเปล่า

5. การฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพสะเดาหรือสมุนไพรอื่น ๆ ควรทำอย่างสม่ำเสมอในอัตราส่วน 1/500

6. อย่าปล่อยให้พืชผักมีอายุมากเกินกำหนด ควรเก็บเกี่ยวระยะที่มีอายุพอดีหรือก่อนกำหนด พืชผักจะมีรสชาติดี คุณภาพดี ถ้าพืชผักอายุมากกว่ากำหนดจะถูกทำลายจากแมลง

7. ควรปลูกพืชอย่างต่อเนื่อง ถ้าดินร่วนซุยไม่จำเป็นต้องไถพรวน และไม่ต้องตากดิน เพราะจุลินทรีย์ในดินจะตาย โครงสร้างดินจะเสีย


8. ปลูกพืชให้เหมาะสมกับฤดูกาล

9. ควรปลูกพืชมากกว่า 2 ชนิด ในแปลงเดียวสลับกัน เพื่อป้องกันการทำลายของหนอนและแมลง

10. พยายามป้องกันหนอนและแมลงก่อนที่จะเกิดขึ้นด้วยสารสกัดจากสมุนไพร

การปลูกพืชไร่

1. ไม่ควรเผาตอซังเก่าของพืชไร่ ควรทิ้งไว้ในไร่ หว่านปุ๋ยหมักชีวภาพลงไป 25 กก/ไร่/2 เดือน แล้วคลุมด้วยฟาง จึงปลูกพืชรอบใหม่ต่อไป

2. หลังจากปลูกพืช หรือหยอดเมล็ดแล้ว ควรเติมปุ๋ยหมักชีวภาพตามความเหมาะสม ฉีดพ่นน้ำเอนไซม์ตามอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง ในอัตราความเข้มข้น 1/500


3. ควรฉีดพ่นน้ำเอนไซม์สะเดาหรือสมุนไพรไล่แมลงชนิดอื่นทุกสัปดาห์ถ้าจำเป็น

4. การปลูกพืชไร่รอบ 1-2 อาจจะใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ และฉีดพ่นน้ำเอนไซม์ปริมาณมาก แต่รอบต่อ ๆ ไป จะลดลง เพราะดินจะดีขึ้น ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นด้วย

5. เมื่อไม่ปลูกพืชเศรษฐกิจ ควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วเพื่อรักษาดินให้ชุ่มชื้น เพื่อที่จะรักษาจุลินทรีย์ให้มีชีวิตต่อไป หรือปลูกพืชหมุนเวียนอื่น อย่าทิ้งให้ที่ว่างเปล่า


การปลูกพืชสวน

1. การปลูกพืชยืนต้น เช่น ไม้ผล ควรรองก้นหลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ หญ้าแห้ง ฟาง ใบไม้แห้งที่หาได้ และใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 กก. คลุกเคล้าผสมกับดินที่ขุดออกมาคลุมด้วยหญ้าแห้ง รดน้ำเอนไซม์ทิ้งไว้ 5-7 วัน จึงปลูกได้

2. ควรรดน้ำเอนไซม์ 1/ น้ำ 100 ทุก ๆ 7 วัน

3. ควรฉีดพ่นน้ำหมักสะเดา หรือสมุนไพรป้องกันโรคแมลงสัปดาห์ละครั้ง


4. ไม้ผลที่โตแล้ว ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพบริเวณเชิงพุ่มอย่างน้อยตารางเมตรละครึ่ง กก. โดยมีหญ้าแห้ง ฟาง ใบไม้แห้งคลุมดิน รดน้ำผสมน้ำเอนไซม์อย่างน้อยเดือนละครั้ง

5. ไม่ใช้ยาปราบวัชพืช แต่ใช้เครื่องตัดหญ้า ปล่อยให้คลุมดินจะเป็นประโยชน์มาก

6. ควรตัดแต่งกิ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลไม้แล้ว

7. เมื่อไม้ผลเริ่มผลิดอกให้ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ รดน้ำไปอย่างต่อเนื่องอย่าให้ขาด


8. การให้น้ำตามท่อ เช่น น้ำหยด สปริงเคอร์ จะสะดวกต่อการผสมน้ำ 100 ต่อ น้ำเอนไซม์

9. โปรดสังเกตดินดี ปุ๋ยดี ใบพืชใบอ่อน หนอนไม่กิน แต่จะกินใบแก่

10. ไม้ผลบางชนิดจะให้ผลตลอดปี หรือปีละสองครั้ง ถ้าดินดี ปุ๋ยดี เพราะปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือน้ำเอนไซม์ มีฮิวมัส และฮิวมิคแอซิค

การใช้น้ำเอนไซม์และปุ๋ยหมักชีวภาพในนาข้าว

ปลูกโดยวิธีนาดำ

1. แช่ข้าวเปลือกในน้ำเอนไซม์ 1 ต่อ น้ำ 100 แล้วนำเมล็ดข้าวไปหว่านในแปลงเพาะกล้า รดด้วยน้ำเอนไซม์ 1/น้ำ 500 เมื่ออายุของกล้าประมาณ 1 เดือน ต้นกล้าจะแข็งแรงเหมาะสำหรับปลูก

2. หว่านถั่วเขียวหรือถั่วต่าง ๆ 5 กก./ไร่ พอถั่วขึ้นได้ประมาณ 1-3 คืบ ไถกลบหรือไขน้ำเข้านาให้ถั่วตายกลายเป็นปุ๋ย พร้อมกับใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพอัตราส่วน 25 กก./ไร่

3. ปักดำต้นกล้า


4. หลังจากปักดำ 15 วัน เติมน้ำเอนไซม์ 50 ลิตร x น้ำ 100/ไร่ เพื่อเร่งให้ข้าวแตกกอได้เร็วยิ่งขึ้น ขยายกอมากขึ้น โดยทยอยใส่อาทิตย์ละ 10 กก.

5. ช่วยข้าวตั้งท้อง ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพเพิ่ม 10 กก./ไร่- ผสมน้ำเอนไซม์ 1 + น้ำตาล 1 + น้ำ 100 ฉีดพ่นที่รวงข้าว หรือเทลงในนา เพื่อเพิ่มน้ำหนักข้าว เมล็ดข้าวเต็มเมล็ด เมล็ดลีบจะไม่ค่อยมี

6. เวลาเก็บเกี่ยวตามชนิดของข้าว


7. หลังเกี่ยวข้าวแล้วให้ปลูกถั่ว ปลูกงา หรือพืชพวกเถาต่อเลย เพื่อมิให้วัชพืชขึ้นมาแทนที่

8. ถ้าทำนาโดยวิธีนี้ไปประมาณ 3 ปี พื้นดินจะร่วนซุย ปีต่อ ๆ ไป ก็ไม่ต้องไถอีก เพียงแต่ไขน้ำเข้านาให้ดินเป็นขี้ตม ก็สามารถปักดำได้โดยไม่ต้องไถ

หมายเหตุ

น้ำเอนไซม์ที่หมักจากฟางข้าว และข้าว จะยิ่งช่วยให้ต้นข้าวเติบโตแข็งแรง และให้ผลผลิตได้รวดเร็ว- คันนาควรจะทำคันให้กว้างประมาณ 2 เมตร เพื่อเพาะปลูกพืชผัก ผลไม้ต่าง ๆ เป็นไร่นาสวนผสม จะได้มีพืชผักได้กินทั้งปี

 

วิธีการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำเอนไซม์
ปุ๋ยหมักชีวภาพน้ำเอนไซม์
1. นาข้าว 25 กก./ไร่/2 เดือน1. นาข้าว 50 ลิตร x น้ำ 100/ไร่/2 เดือน
2. ผัก 2x3 ตรม./3 กก./แปลง2. ผัก 2x3 ตรม./1 ลิตร x น้ำ 100 ทุกวัน
3. ไม้ผลรองก้นหลุม 1 กก./ต้น3. ไม้ผล 1 ลิตร x น้ำ 100 /ต้น
4. ไม้ผล 6 เดือน 1 กก./ต้น/2 เดือน4. ไม้ผล 6 เดือน 1 ลิตร/ต้น/2 เดือน
5. ไม้ผล 1 ปี 1 กก./ต้น/2 เดือน5. ไม้ผล 1 ปี 1 ลิตร/ต้น/2 เดือน
6. ไม้ผล 2 ปี 2 กก./ต้น/2 เดือน6. ไม้ผล 2 ปี 2 ลิตร/ต้น/2 เดือน
7. ไม้ผล 3 ปี 3 กก./ต้น/2 เดือน7. ไม้ผล 3 ปี 2 ลิตร/ต้น/2 เดือน
8. มากกว่า 3 ปี 4 กก./ต้น/2 เดือน8. มากกว่า 3 ปี 4 ลิตร/ต้น/2 เดือน
9. สนามหญ้า 1 กก./50 ตรม./2 เดือน9. สนามหญ้า 1 x น้ำ 1,000 ทุก 7 วัน
10. ไม้ประดับ 1 กก./2x3 ตรม.10. ไม้ประดับ 1 ลิตร x น้ำ 100 รดเช้า-เย็น

หมายเหตุ ควรรดน้ำให้ชุ่มหลังใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพหรือน้ำเอนไซม์ เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่จุลินทรีย์ในดิน

 

 

ขอบคุณ  : https://www.ku.ac.th และภาพจาก Internet

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์