9 พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ (1-2)

อุตรดิตถ์ หรือ เมืองท่าเหนือ เป็นจังหวัดหนึ่งที่ถูกกล่าวขานในด้านประวัติศาสตร์ไทย  ที่ก่อให้เกิดวีระบุรุษนักรบที่กล้าหาญชาญชัย และด้านการค้าพาณิชย์ทางน้ำมาแต่โบราณ  แต่หากจะกล่าวถึงพระพุทธรูปโบราณอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว  คงต้องพิจารณากันในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน  อาทิ  เช่น ประวัติความเป็นมา  พุทธลักษณะตามยุคสมัย และความเชื่อที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา เป็นต้น  ผู้เขียนได้พยายามศึกษาค้นคว้า รวบรวม สังเคราะห์ข้อมูล และเลือกที่จะนำเสนอ  9 พระพุทธรูปโบราณอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุตรดิตถ์  เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อการเรียนรู้แก่ผู้ที่สนใจทั่วกัน  ตามลำดับดังนี้

1. หลวงพ่อโต  (วัดหน้าพระธาตุ)                                                                   
              IMG0309A.jpg
                              เจดีย์เก่าแก่ที่สุดของวัดหน้าพระธาตุ  อ.พิชัย  จ.อุตรดิตถ์

เจดีย์เก่าที่วัดหน้าพระธาตุ  ซึ่งเป็นวัดที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต  เป็นหลักฐานเพียงแห่งเดียวที่แสดงว่าเมืองพิชัยเก่าจริง นับพันปีทีเดียว วัดหน้าพระธาตุ ตั้งอยู่ในตัวเมืองพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์  เป็นวัดโบราณที่เป็นที่ประดิษฐาน พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  และพระพุทธรูปหลวงพ่อโต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของอำเภอพิชัย ปัจจุบันวัดหน้าพระธาตุได้สร้างวิหารปราสาทจตุรมุขห้ายอดคลุมพระพุทธรูปหลวง พ่อโตและรอยพระพุทธบาท เป็นสถาปัตยกรรมทรงปราสาทแห่งเดียวของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ในกำแพงเมืองพิชัย เป็นที่เคารพกราบไหว้ของมหาชนมานับพันปี

                           
                                          หลวงพ่อโต
หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เนื้อปูน ปางมารวิชัย ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในวิหารวัดหน้าพระธาตุ  อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับการเคารพนับถือศรัทธาจากชาวเมืองพิชัย ในฐานะพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองพิชัย
  
อำเภอพิชัยเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 9 อำเภอของจังหวัดอุตรดิตถ์ พิชัยเป็นเมืองสำคัญมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เคยเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงสุโขทัย เมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเคยเป็นตัวจังหวัดเก่าอีกด้วย พิชัยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้สุดของจังหวัด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ตามทางรถไฟไปทางทิศใต้ ประมาณ 38 กิโลเมตร ตัวเมืองพิชัยเก่าอยู่ทางทิศเหนือของสถานีรถไฟขึ้นไปไม่ไกล ทิศเหนือติดต่อกับ อำเภอตรอน ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอทองแสนขัน และอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ทิศใต้ติดต่อกับ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย วัดหน้าพระธาตุตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน หมู่ 1 ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย อยู่ไม่ไกลจากบ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองพิชัยมาตั้งแต่โบราณนานเกือบ 1,000 ปี

ภายในบริเวณวัดมีโบราณวัตถุที่น่าสนใจคือ "หลวงพ่อโต" พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 3 วา เดิมทีมีตำนานเล่าขานกันมาว่าสร้างโดยพระยาโคตรบอง เมื่อ พ.ศ.1470 หลวงพ่อประดิษฐานอยู่ในวิหารแบบปราสาทจัตุรมุข มีเนื้อที่ 99 ตารางวา พระเจดีย์เป็น ยอด 5 องค์ ความสูง 49 เมตร
นอกจากเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตแล้ว ยังเป็นที่ประดิษฐาน "พระบรมสารีริกธาตุ" และรอยพระพุทธบาทจำลอง พระบรมสารีริกธาตุเป็นส่วนแห่งพระสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสแก่ พระอานนท์เมื่อใกล้ปรินิพพาน ให้ประดิษฐานในพระสถูปท่ามกลางชุมชนอันมีมาแต่ทิศทั้ง 4 เพื่อเป็นที่กราบไหว้ สักการบูชาของเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งโทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งถวายกษัตริย์และพราหมณ์ 8 นคร นำไปก่อพระสถูปบรรจุไว้ในนครต่างๆ เป็นครั้งแรก จนถึงรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้รวบรวมแจกจ่ายไปยัง นานาประเทศนอกชมพูทวีปที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง

ปี 2509 ได้มีบุคคลคณะหนึ่งมีนายร้อยตำรวจโทเป็นหัวหน้า ทำการลักลอบขุดค้นในองค์พระสถูป แต่ถูกเจ้าอาวาสวัดและ ชาวบ้านช่วยกันจับได้ ผู้เป็นหัวหน้ามีความละอายและเสียใจอย่างยิ่งถึงกับยิงตัวตาย แต่การลักลอบก็มิได้หยุดยั้ง เผลอเมื่อไรก็มาลักขุดกันอีก เกรงว่าจะรักษาไว้ไม่ได้ จึงประชุมปรึกษาโดยความชอบธรรมของพระราชประสิทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์  เห็นควรให้ขุดขึ้นมาเสียก่อนเพื่อความปลอดภัย จึงตั้งกรรมการประกอบด้วย นายผิน แดงสอน นายอำเภอพิชัย เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยศึกษาธิการ สารวัตรใหญ่ เจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ และกรรมการวัด ช่วยกันขุดได้พระบรมสารีริกธาตุสัณฐานเมล็ดพันธุ์ผักกาด บรรจุไว้ในผอบทองคำ จำนวน 100 องค์ กับพระบูชาทองคำ พระเครื่องเนื้อชินเงิน พระบูชาทองคำจำนวนหนึ่งฝากเก็บไว้ที่สถานีตำรวจ

ความทราบถึง กรมศิลปากรได้ยื่นความจำนงมาทางผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ จะขอเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์  ผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งการให้วัดมอบให้กรมศิลปากร ฝ่ายคณะสงฆ์ไม่เห็นด้วย แต่ฝ่ายคฤหัสถ์แตกเป็น 2 ฝ่าย บ้างจะให้กรมศิลปากร เก็บเอาไป อีกฝ่ายไม่ยอมทำให้ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง จนทำให้เจ้าอาวาสถูกทำร้ายถึงมรณภาพ เมื่อต้นปี 2514  ไม่มีผู้แก้ไข  ขณะนั้น อาจารย์โหล น้อยหัวหาด อดีตเจ้าอาวาสที่ลาสิกขาไปนานถึง 25 ปี ถูกเรียกร้องให้เข้ามาดูแลช่วยกันแก้ไข  ด้วยเห็นแก่วัดและพระศาสนา  ประกอบด้วยเคารพบูชาในพระบรมสารีริกธาตุเป็นอย่างยิ่ง จึงรับเรื่องเข้าไปกราบเรียนปฏิบัติต่อสมเด็จพระสังฆราชวัดพระเชตุพน และพระเทพวิริยาภรณ์ วัดยานนาวา เจ้าคณะภาค 5 ในเวลานั้น 

ท่านให้สัญญาเสียก่อนว่า  ถ้าได้ของคืนไปต้องสร้างที่ประดิษฐานเสียใหม่ ทั้งๆ ที่รู้ตัวเองว่าไม่อยู่ในฐานะที่จะทำได้ แต่บังเกิดความมั่นใจในพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระพุทธองค์ตรัสสั่งไว้เมื่อใกล้ปรินิพพานให้ประดิษฐานในพระสถูปท่ามกลางชุมชนอันมาแต่ทิศทั้ง 4  เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการบูชาของเทพเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พอดีกับวิหารหลวงพ่อโตกับมณฑปรอยพระบาทจำลองก็ผุพังจนใช้การไม่ได้ จำเป็นต้องสร้างใหม่ โดยรวม เอาปูชนียวัตถุทั้ง 3 ไว้ในอาคารเดียวกัน เพื่อทุ่นเวลาทุ่นค่าก่อสร้างและบำรุงรักษา ทั้งนี้เพื่อได้สิ่งก่อสร้าง อันสวยงามสง่าควรแก่การเลื่อมใส  จึงได้ให้ช่างคือ อาจารย์จิตร์ บัวบุศย์ อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง เป็นผู้ออกแบบเป็นปราสาทจัตุรมุข  มีพระเจดีย์เป็นยอด 5 องค์ ความสูง 49 เมตร กว้าง 9 เมตร ยาว 26 เมตร ตัดกันเป็นรูปกาชาด มีเนื้อที่รวม 99 ตารางวา  มีระเบียงกำแพงแก้ว และชานโดยรอบประกอบด้วยสระน้ำ 4 สระ รวมเป็นเนื้อที่ก่อสร้าง 600 ตารางวา หรือ 1 ไร่ 2 งาน ให้คุณมนัส ปิติวงษ์  อธิบดีกรมชลประทานในขณะนั้น  มอบให้คุณเอกชัย ยอดยิ่ง ทำรายละเอียดแบบแปลนเป็นการดำเนินงานด้านธุรการ 

                           47156525.jpg
                                             ปราสาทพระนวมะราชบพิตร

เริ่มมาตั้งแต่ปี 2515 จนถึงปี 2524 จึงลงมือรื้อวิหารหลวงพ่อโตแล้วเริ่มดำเนินการก่อสร้างมาโดยลำดับในนามคณะพระสังฆาธิการ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยพระราชประสิทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ และอุปถัมภ์ ของเจ้าคณะจังหวัดทั่วราชอาณาจักร จนถึงปี พ.ศ.2531 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ปราสาทพระนวมะราชบพิตร" พร้อมด้วยตราสัญลักษณ์มหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ  ให้มาสถิตเป็นนิมิตหมายนำศรัทธามหาชนในการเสด็จพระราชกุศล ร่วมพระบารมี เป็นที่เชิดหน้าชูตาเป็นสง่าราศีของพวกเราชาวเมืองพิชัย จนกระทั่งการก่อสร้างได้ดำเนินมาโดยลำดับ

จนถึงปี 2546-2547 ขณะนี้ได้สร้างสิ่งดีมีค่าขึ้นหลายรายการ เช่น ปูพื้นด้วยหินอ่อน ในเนื้อที่ 99 ตารางวา ปูพื้นด้วยหินแกรนิตที่ระเบียงรอบนอกทั้งหมดจนถึงบันได  บานประตูเป็นไม้ตะเคียนทองจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ขนาดหนา 4 นิ้ว กว้าง 48 นิ้ว ยาว 5 เมตร 25 เซนติเมตร จำนวน 8 แผ่น แกะสลักด้วยฝีมือช่างผู้ชำนาญการจากเมืองแพร่ จารึกประวัติการก่อสร้างไว้ด้วยหน้าต่างเป็นลวดลายอัลลอย ซุ้มฐานด้านนอกประดิษฐานเทพพระเคราะห์ และพระพุทธรูปปฏิมากรปางต่างๆ เป็นพระประจำวันเกิด ส่วนในปราสาทจำลองผอบทองคำที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ขยายให้ใหญ่พอเหมาะสมกับเนื้อที่มุขปราสาท ด้านทิศเหนือเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และสร้างมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธ บาทจำลอง ที่มุขด้านทิศใต้ให้องค์หลวงพ่อโตอยู่ที่เดิมมุขตะวันตก สุดท้ายสร้างพญานาคประจำราวบันไดทั้ง 4 ทิศ 8 ตัว รวมราคาก่อสร้างตั้งแต่ต้นจนถึงสุดท้าย ประมาณ 25,814,927 บาท (ยี่สิบห้าล้านแปดแสนหนึ่งหมื่นสี่พันเก้าร้อยยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน)
ถ้าจะนับว่าสำเร็จก็ได้ แต่หมู่กุฏิสงฆ์ยังขวางหน้าปราสาทไม่เหมาะสม ได้ย้ายไปปลูกสร้างที่ด้านหลังปราสาท ให้เป็นเขตสังฆาวาสอย่างถูกต้องแล้ว แต่องค์หลวงพ่อโตยังอยู่ในสภาพชำรุด จะต้องบูรณะให้มั่นคงแข็งแรง และลงรักปิดทองเสียใหม่ให้สวยงามยิ่งขึ้น จึงได้ขอให้กรมศิลปากรมาสำรวจสภาพชำรุดและวิธีบูรณะที่ถูกต้อง พร้อมทั้งกำหนดมูลค่าราคากลางการบูรณะมาให้ ในวงเงิน 1,700,000 บาทถ้วน ให้แล้วเสร็จ ในช่วงเวลา 210 วัน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนธันวาคม 2548

เรื่องนี้เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระคุณท่านมีความสนใจได้ไปดู และรับทราบสภาพการณ์ต่างๆ แล้วเห็นสมควรจะช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟู ให้สถิตอยู่คู่พระศาสนา เป็นที่ดึงดูดศรัทธามหาชนเข้าสู่คลองพุทธธรรมนำสันติสุขมาสู่โลกสืบไป จึงตกลงให้หาช่างจากสุโขทัยมาทำสัญญาตามแนวทางที่ศิลปากรกำหนดไว้ในราคา 1,700,000 บาทถ้วน

ซึ่งในวันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชาที่มีพุทธศาสนิกชนมาชุมนุม กราบนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ รอยพระพุทธบาทจำลอง และหลวงพ่อโต ประจำทุกปี รวม 5 วัน 5 คืน

ขอบคุณ  :  http://www.panoramio.com  &  http://th.wikipedia.org 


2.หลวงพ่อเพ็ชร (วัดท่าถนน)

                      
                                  หลวงพ่อเพ็ชร

หลวงพ่อเพ็ชร  เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ (สีนาค)  ปางมารวิชัย  สร้างขึ้นสมัยเชียงแสน มีขนาดหน้าตักกว้าง  32  นิ้งฟุตครึ่ง  สูง  41  นิ้วฟุต  อายุประมาณ  900 ปีเศษ 
เมื่อปี พ.ศ. 2436 หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ อำเภอบางโพ ซึ่งเป็นอำเภอเมืองปัจจุบัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เดินทางผ่านอุโบสถร้างแห่งหนึ่ง  ตามแผนที่ระวาง ๔ ฏ ๑:๔ooo แสดงเขต ที่ตั้งพระอุโบสถเก่า (ชำรุด) (หลวงพ่อเพชร) ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ยืนยันถึงความมีตัวตนของขอบเขตสถานที่ว่าอุโบสถเก่าที่มีการตั้งป้ายเก่าของอุโบสถที่ระบุปีที่สร้าง พ.ศ. ๒o๑๙ ซึ่งเป็นพื้นที่ของวัดไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบันตามการทำบันทึกส่งมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ทะเบียนเลขที่ ๑๙๙ เล่ม ๒ ข. หน้า ๔๙ เลขที่ดิน ๔   โดยนางหนุน แก้วกุลศรี ให้แก่   วัดไผ่ล้อมเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2543 มีพยานรับรู้คือ คณะกรรมการบริหารชุมชนอนุรักษ์พิทักษ์พระพุทธสถานอุโบสถเก่า มีหลวงตาเตชะปัญโญ (นามเดิม นายสังเวียน คงนุ่น)เป็นผู้ดูแลพื้นที่ดังกล่าว ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 และยังมีหลักฐานสำคัญคือจดหมายสอบถามความจากกรมราชเลขานุการ พระราชทานมา วันที่ ๖ มิ.ย. ร.ศ.๑o๙ รับวันที่ 30 พ.ค. ร.ศ.๑๑๙ กรมหลวงดำรง ที่ ๑๑๗ ลงวันที่ ๒๙ พ.ค. ร.ศ. ๑๑๙ ข้อความเขียนว่า

ได้มีโทรเลขถามตำนานพระขัดสมาธิเพดวัดเตาหม้อ  ได้ความเดิมอยู่        วัดไผ่ล้อม  เจ้าอธิการวัดหมอนใหม่อาราธนามาไว้ที่วัดเตาหม้อ  จนถึงฟ้องร้องกันลงมาที่เมือง    พิไชยตัดสินว่าความบำรุงรักษาวัดเดิมสู้วัดเตาหม้อไม่ได้จึงให้คงอยู่วัดเตาหม้อตลอดมา และพระยาศรีสุริยาราชวรานุวัตรได้พบพระขัดสมาธิเพดน่าตัก ๒ ศอก ๖ นิ้ว จะได้ส่งลงมาทูลเกล้า ถวายในเร็ว ๆ นี้

ทั้งมวลจึงเป็นหลักฐานที่จะแสดงได้ว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวเป็นสถานที่ตั้งเดิมขององค์หลวงพ่อเพ็ชร   พบจอมปลวกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งรูปร่างรูปแหลมผิดกลับจอมปลวกทั่วไป จึงได้เอาไม้เคาะปลายแหลมที่เป็นยอดของจอมปลวกนั้นจนดินหลุดออก เห็นเกศพระพุทธรูปโผล่ออกมา หลวงพ่อด้วงจึงสั่งให้พระและลูกศิษย์วัดที่ร่วมเดินทางไปด้วยช่วยกันขุดดิน จอมปลวกออก ก็พบพระพุทธรูปขนาดค่อนข้างใหญ่ ฝังอยู่ในจอมปลวกแห่งนั้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นไปไว้ที่วัดหนอนไม้

                           
พระภิกษุเพชร หรือ หลวงพ่อเพ็ชร เจ้าอาวาสวัดท่าถนน ซึ่งเป็นเจ้าของหลวงพ่อเพ็ชร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ภาพนี้ถ่ายที่ประตูโบสถ์วัดวังเตาหม้อซึ่งถูกไฟไหม้ไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2475

ต่อมาหลวงพ่อด้วงเห็นว่า วัดหมอนไม้ไม่มีพระอุโบสถที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับมีประชาชนที่ทราบข่าวพระพุทธรูปองค์นี้ ได้มากราบไหว้บูชาสักการะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังอาจมีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้าย จึงพิจารณาเห็นว่า หากเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐานที่วัดวังเตาหม้อ (คือวัดท่าถนนในปัจจุบัน) ซึ่งมีหลวงพ่อเพ็ชรเป็นเจ้าอาวาสอยู่ วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถ และตั้งอยู่ในที่ชุมนุมชน สะดวกแก่การไปนมัสการของประชาชน ท่านจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อ และถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อเพ็ชร 

อัญเชิญไปวัดเบญจมบพิตร 

ปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ได้มีการรวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงาม ที่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ที่วัดเหล่านี้ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร มีพุทธลักษณะงาม ก็ได้รับเลือกสรรให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร พร้อมกับพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ จากทั่วราชอาณาจักร  การที่ต้องนำหลวงพ่อเพ็ชรไปจากวัดวังเต้าหม้อทำให้เจ้าอาวาสเสียใจมาก จึงได้ออกจากวัดธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ สุดท้ายได้มรณภาพบนภูเขาในป่า บ้านนาตารอด ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
อัญเชิญกลับมาจังหวัดอุตรดิตถ์ 

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร กลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อตามคำขอของชาวเมืองอุตรดิตถ์ ดังข้อความซึ่งปรากฏอยู่ที่ฐานของพระพุทธรูป " หลวงพ่อเพ็ชร " ว่า 

"พระพุทธรูปองค์นี้ เมื่อ ร.ศ.119 พระจุลจอมเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้อัญเชิญจาก วัดท่าถนนไปไว้วัดเบญจมบพิตร ครั้น ร.ศ. 129 หลวงนฤบาล (จะพันยา )อัญเชิญกลับมาไว้ วัดท่าถนน " 

เหตุที่มีรับสั่งให้นำหลวงพ่อเพ็ชรมาคืนชาวอุตรดิตถ์ครั้งนี้มี มีคำบอกเล่ามาว่าเทวดาประจำองค์หลวงพ่อได้ไปเข้าสุบินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า อยากกลับอุตรดิตถ์ พระองค์จึงทรงทำตามพระสุบินนั้น 
เมื่อปี พ.ศ. 2473 พระครูธรรมกิจจาภิบาล (ทองสุก) หรือพระสุธรรมเมธี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับประชาชนชาวเมืองอุตรดิตถ์ได้ช่วยกันสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ และอัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชรมาประดิษฐานไว้ในพระวิหาร เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาสักการบูชาได้สะดวก  ปัจจุบันหลวงพ่อเพ็ชรประดิษฐานอยู่ในวิหารทางด้านทิศเหนือของอุโบสถ

ขอบคุณ  :  http://th.wikipedia.org  &  http://forum.uamulet.com 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์