9 พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ (8-9)

พระพุทธรูปโบราณอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ (8-9)      ต่อจากครั้งที่แล้ว...ครับ


8. พระฝางทรงเครื่อง (วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ)

                           องค์พระฝางประดิษฐานบนบุษบกหน้าพระวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานครฯ
    องค์พระฝางทรงเครื่อง (องค์จริง)  ประดิษฐานบนบุษบกหน้าพระวิหารสมเด็จวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม                                                                               กรุงเทพมหานครฯ

                                        
  ฐานพระเปล่า ในอุโบสถวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ จังหวัดอุตรดิตถ์สถานที่ ๆ เคยประดิษฐานพระฝางในอดีต


                             
                                            องค์พระฝางจำลอง  ประดิษฐานในบุษบกชั่วคราว  
                             ในงานสมโภชองค์พระฝางทรงเครื่องจำลอง 9 วัน 9 คืน  พฤษภาคม 2551   

พระฝาง  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ศิลปะสมัยอยุธยาวัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 1 ศอก 1 คืบเศษ (31 นิ้ว) พระพุทธรูปองค์นี้สันนิษฐานว่าสร้างโดยเจ้าพระฝาง ในสมัยที่เป็นสังฆราชาเมืองฝาง และเคยเป็นพระประธานในอุโบสถวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ จนในปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้อัญเชิญองค์พระฝางไปประดิษฐานที่มุขเด็จ พระวิหารสมเด็จ ส.ผ. วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพมหานคร จนถึงปัจจุบัน

พระฝาง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ประมาณ พ.ศ. 2280 มีพุทธลักษณะที่งดงาม เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของแผ่นดินไทยอีกองค์หนึ่ง สันนิษฐานว่าผู้สร้างคือพระพากุลเถระ พระสังฆราชแห่งเมืองฝาง (เจ้าพระฝาง) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระฝางในขณะนั้น เดิมพระฝางเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดพระฝางหรือวัดสว่างคบุรีมุนีนาถ

พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกทัพหลวงมาตีชุมนุมพระฝางได้ และโปรดเกล้าฯ ให้รับละครขึ้นมาสมโภชพระพุทธรูปองค์สำคัญนี้ ที่วัดพระฝางถึง 7 วัน เท่ากันกับการสมโภชพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ซึ่งนับว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองไทยองค์หนึ่งในรัชสมัยของ สมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่5) ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระฝางไปประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรฯจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้อัญเชิญองค์พระประธาน ที่เรียกกันว่า “พระฝาง” ลงมายังวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ โดยทิ้งฐานพระไว้ที่เดิม
พ.ศ. 2451 ปรากฏพระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า
 “ให้จำลองรูปพระฝาง ได้สั่งให้ช่างรีบปั้นหุ่นถ่ายรูปไว้แล้ว ให้กระทรวงมหาดไทยคิดจัดพระฝางกลับคืนไปไว้ที่เมืองฝางตามเดิมให้ทันฤดูน้ำนี้

แต่ในปัจจุบันนี้ เกินเวลาหนึ่งร้อยปีแล้ว องค์พระฝางก็ยังประดิษฐานอยู่วัดเบญจมบพิตร  มิได้กลับคืนไปอุตรดิตถ์ ตามพระราชดำริแต่ประการใด 

ขอบคุณ  :  http://th.wikipedia.org


9. หลวงพ่อสัมฤทธิ์ (วัดหมอนไม้)

                                        หลวงพ่อสัมฤทธิ์วัดหมอนไม้ ประดิษฐานภายในอุโบสถหลังใหม่
                                                                      หลวงพ่อสัมฤทธิ์ 

หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ องค์พระพุทธรูปเป็นพระสกุลช่างสุโขทัย สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตัวองค์พระเป็นเนื้อโลหะสำริด ปางมารวิชัย ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในอุโบสถ วัดหมอนไม้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์  

เมื่อ พ.ศ. 2446 สมภารติ่ง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ในสมัยนั้น ได้พบหลวงพ่อสัมฤทธิ์ในวิหารเก่าในวัดร้างแห่งหนึ่งในอำเภอลับแล องค์พระเดิมมีความชำรุดมาก ท่านจึงได้นำชาวบ้านและพระสงฆ์มาอัญเชิญองค์พระกลับมายังวัดหมอนไม้เพื่อสักการบูชา โดยท่านเจ้าอาวาสองค์ต่อมาคือสมภารหวิง ได้ลงไปศีกษาพระปริยัติธรรมยังวัดสระเกษ กรุงเทพมหานคร จึงได้ชักชวนชาวบ้านเรี่ยไรได้เงินและโลหะทองแดงจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปให้ช่างทำการบูรณะหลวงพ่อให้สมบูรณ์ โดยสมภารหวิงได้อัญเชิญหลวงพ่อไปซ่อมแซมยังบ้านช่างหล่อ ธนบุรี (กรุงเทพมหานคร) ในปี พ.ศ. 2455 จึงอัญเชิญกลับมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถวัดหมอนไม้จนปัจจุบัน

ขอบคุณ  : http://th.wikipedia.org 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์