9 พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ (3-4)

9 พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ (3-4)  ต่อจากครั้งที่แล้ว...ครับ


3. หลวงพ่อเชียงแสน (วัดธรรมาธิปไตย)

                    หลวงพ่อเชียงแสน
                                                                    หลวงพ่อเชียงแสน


หลวงพ่อเชียงแสน (วัดธรรมาธิปไตย) เป็นพระประธานในอุโบสถธรรมสภา วัดธรรมาธิปไตย จังหวัดอุตรดิตถ์ (ขนาดหน้าตักกว้าง 38 นิ้ว สูง 67 นิ้ว) มีพุทธลักษณะปางมารวิชัย เนื้อโลหะสัมฤทธิ์บริสุทธิ์ สกุลช่างสุโขทัย-เชียงแสน สร้างในช่วงรอยต่อการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย มีอายุกว่า 800 ปี พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.8) อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมาธิปไตย และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้น ได้อัญเชิญมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ เมื่อปี พ.ศ. 2488

หลวงพ่อเชียงแสนเป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัย-เชียงแสนองค์สำคัญ ใน องค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้นำขึ้นมาจากวัดราชบุรณะในคราวเดียวกัน อีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดคุ้งตะเภา มีนามว่า หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์

พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.8) อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมาธิปไตย และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ (ในสมัยนั้น) นำหลวงพ่อเชียงแสนมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหารกรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ เมื่อปี พ.ศ. 2485 ด้วยวิธีจับสลากเลือก และอัญเชิญมาลงยังสถานีอุตรดิตถ์โดยทางรถไฟ และนำมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประธานอาคารอุโบสถธรรมสภา ที่สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2488 จนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อเชียงแสนเป็นพระพุทธรูปโบราณสำคัญ ใน องค์ และเป็นพระพุทธรูปยุคสุโขทัย-เชียงแสนองค์สำคัญ ใน องค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้นำขึ้นมาจากวัดราชบุรณะในคราวเดียวกัน โดยหลวงพ่อเชียงแสนนั้น ได้มีการจารึกที่ฐานพระระบุว่าสร้างใน พ.ศ. 2491 ซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจผิดหรืออาจเป็นกุศโลบายในการป้องกันพระจากการโจรกรรมก็เป็นได้

ขอบคุณ  :  http://th.wikipedia.org


4. หลวงพ่อพุทธโคดมศรีศาคยมุณี (วัดยางโทน)

                            หลวงพ่อพระพุทธโคดม
                                                             หลวงพ่อพุทธโคดมศรีศาคยมุณี

พระพุทธโคดมศรีศากยมุนี หรือ พระพุทธโคดม เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เนื้อโลหะสัมฤทธิ์โบราณ ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในวิหารวัดยางโทน บ้านยางโทน ตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

พระพุทธโคดมศรีศากยมุนี ได้อัญเชิญขึ้นมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  เมื่อปีพ.ศ. 2488  โดยนายขานุช จันทร์เขียว ผู้ใหญ่บ้านยางโทนในสมัยนั้น ได้ติดต่อขอรับพระพุทธรูปโบราณที่เหลือจากการทำลายเพื่อนำมาประดิษฐานที่วัดยางโทน โดยในครั้งนั้นกรมการศาสนาได้ส่งรูปพระอัครสาวกมาถวายวัดยางโทนพร้อมกันด้วยอีกสององค์ โดยได้ประดิษฐานในอุโบสถวัดยางโทนมาโดยตลอดจนทางวัดได้สร้างวิหารเพื่อประดิษฐานพระพุทธโคดมศรีศากยมุนีเป็นการเฉพาะในปี พ.ศ. 2552 

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พุทธศักราช ๒๔๘๔) ระหว่างญี่ปุ่นกับอังกฤษ กำลังดำเนินไปอย่างดุเดือด เอเชียบูรพาก็หนีไม่พ้นจากความพินาศย่อยยับในครั้งนี้ ญี่ปุ่นขอผ่านประเทศไทย ทำให้อังกฤษฝ่ายพันธมิตรไปทิ้งระเบิดทำลายสถานที่สำคัญของประเทศไทย และกรุงเทพมหานครก็เป็นเมืองหนึ่งที่โดนโจมตีทางอากาศอย่างรุนแรงจากเครื่องบินของสัมพันธมิตรไม่เว้นแต่ละวัน บริเวณย่านโรงไฟฟ้าวัดเลียบสะพานพุทธยอดฟ้า คือเป้าหมายที่ถูกระเบิดหล่นลงมาลูกแล้วลูกเล่า ชาวบ้านผู้หาเช้ากินค่ำ แม่ค้าวานิชที่ไม่อาจอพยพไปไหนได้แถบท่าเตียนเชิงสะพาน และด้านสำราญราษฎร์ก็หลั่งไหล เข้ายึดเอาพุทธานุภาพของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดเลียบเป็นที่พำนักของตน

ระเบิดที่หล่นลงมาลูกแล้วลูกเล่า ตกลงมาทำลายสถานที่ต่าง ๆ อยู่มากมายที่เรียงรายอยู่รอบๆ วิหารนั่นเอง เป็นที่ล่ำลือกันว่าคุ้มครองภัยทางฟ้าได้ จนกระทั่งมีผู้เห็น พระในจีวรเหลืองอร่ามผุดขึ้นยืนทะมึนกลางกลุ่มควันไฟสูงใหญ่เหนือมหาเจดีย์ อ้าพระหัตย์รับลูกระเบิด และกวาดเอาไปทิ้งแม่น้ำเจ้าพระยา ก็มีปรากฏการณ์นี้เป็นที่ล่ำลือโจษขานกันทั่วไป จนกระทั่งผู้คนหลั่งไหลมาหลบภัยลูกระเบิดกันมากขึ้น

ถึงคืนหนึ่ง ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๒ ค่ำ เวลาตี ๒ หลังจากเครื่องบินข้าศึกโจมตีพระนครไปแล้ว ประมาณครึ่งชั่วโมง เสียงหวอดังบอกความปลอดภัยเพิ่งจะจางเสียงลง กลางความเงียบสงัดทุกคนก็ได้ยินเสียงร้องโหยหวยเหมือนคนได้รับความเจ็บปวดดังก้อง จนผู้ใหญ่และเด็กเล็กพากันตื่นลุกจากที่นอนมองหน้ากันด้วยความสนเท่ห์ แต่เสียงนั้นดังเพียงชั่วครู่เดียวก็เงียบหายไป

รุ่งขึ้นเช้า นายวัน กำจรขยาย พ่อค้าขายปูเค็มในตลาดท่าเตียน วัย ๖๒ ปี ตื่นนอนแล้วรีบปลุกภรรยา คือนางเปลี่ยน ด้วยความตื่นเต้นปกตินายวัน เป็นคนที่ทำบุญถือศีลรักษาอุโบสถในวันพระเป็นประจำ

ฉันฝันไป แม่เปลี่ยน ฝันว่าหลวงพ่อพระประธานในวัดนี้องค์หนึ่งท่านบอกกับฉันว่าให้เราออกไปจากวัดนี้เถิดพระรักษาไว้ไม่ไหวแล้ว ตัวท่านเองยกมือรับลูกระเบิดปัดเป่ากันจนเหนื่อยไม่มีที่สิ้นสุดและเมื่อคืนนี้ หลวงพ่อพระพุทธมารวิชัย ก็ได้รับบาดเจ็บที่ข้อพระหัตถ์ ถึงกระดูกซ้นร้าว แม้จะคอนบาตรก็ยังไม่ได้ เราไปดูกันทีรึ " 

สองตายายออกเดินสำรวจดูพระประธานที่อยู่เรียงรายตามระเบียง พอถึงหลวงพ่อมารวิชัย นายวันก็ตกตะลึงขนลุกซู่ จ้องดูข้อพระหัตถ์ของหลวงพ่อที่เมื่อก่อนยังเคยเป็นปกติ บัดนี้กลับหักซ้นที่แขนข้างซ้าย แกก็รีบกลับมาเล่าให้พรรคพวกฟัง

เช้าวันรุ่งขึ้นบริเวณแถวย่านวัดเลียบ มีผู้คนพากันหลั่งไหลไปดู "หลวงพ่อมารวิชัยรับลูกระเบิด" กันเนื่องแน่นเป็นครั้งแรก ในสัปดาห์นั้นเองทางกรมการศาสนาก็พิจารณาว่า บริเวณย่านวัดเลียบมักถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายกับพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ และมีความสำคัญทางศาสนาจึงได้แจ้งไปยังวัดตามหัวเมือง ต่างๆ ให้เข้ามารับพระพุทธรูปเหล่านั้นไป

บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ก็ได้ลงมารับไปเป็นจำนวนมากด้วยกันเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง ก่อนที่จะนำพระพุทธรูปออกไป จึงได้จัดการหุ้มปูนทั้งองค์ สำหรับพระพุทธรูป ที่สำคัญ ๆ และมีความงดงาม "หลวงพ่อมารวิชัย" องค์นี้ก็เป็นหนึ่งในจำนวนพระพุทธรูปที่มีผู้มารับไป "หลวงพ่อมารวิชัย"หรือ"หลวงพ่อรับระเบิด" และพระพุทธรูปรวม องค์ จากวัดเลียบ ได้ถูกนำมาไว้ที่ วัดธรรมาธิปไตย จังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยพระสุธรรมเมธี หรือ "เจ้าคุณบุญลือ" เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งในขณะนั้น ชาวอุตรดิตถ์ไม่รู้เลยว่า หลวงพ่อ ได้เข้ามาสู่จังหวัดตนแล้วจนกระทั่ง พ่อขานุช จันทร์เขียว ผู้ใหญ่บ้านยางโทน  พร้อมชาวบ้านเห็นว่าที่วัดยังขาดพระประธาน  จึงได้เดินทางมาขอพระพุทธรูปที่วัดธรรมาธิปไตย

ท่านเจ้าคุณบุญลือ ได้อนุญาตให้ชาวยางโทนเลือกพระพุทธรูปเองตามต้องการ ชาวยางโทนได้เลือกหลวงพ่อมารวิชัย และได้อันเชิญขึ้นเกวียนเดินทางมาประดิษฐานเป็น พระประธาน ในวัดยางโทน ณ ตอนนั้นเอง มีพวกลาวขาคำสองผัวเมียเดินทางมาจากป่า แวะเอาน้ำผึ้งกับงาช้าง และดอกบัว มานมัสการถวายเป็นพุทธบูชาและก่อนจะลาจากชาวบ้านไป เขาบอกกับคนไทยเหล่านั้นว่า

เป็นบุญของชาวบ้านในระแหวกนี้ ที่ได้พระพุทธรูปดีมีความศักดิ์สิทธิ์ในทางคุ้มภัยมาอยู่ในหมู่บ้านเพื่อระวังรักษาความปลอดภัยให้ ซึ่งตัวเองกับเมียรู้ข่าวว่าพระพุทธรูปองค์นี้จะมาอยู่ที่นี่  จึงลงมาจากเขาสูงและทำนายต่อไปอีกว่าระยะเวลาไม่เกินสี่สิบปีนับจากนี้ไป หลวงพ่อมารวิชัย  จะบันดาลให้ บ้านยางโทนเกิดความเจริญรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์ วัดจะฟูเฟื่องผู้คนจะหลั่งไหลเข้ามาบูชาท่านทั้ง ๘ ทิศ และลานวัดจะมีมโหรสพสมโภชน์ท่าน เป็นอาจินต์ วัดยางโทนจะเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่ง อย่างไม่มีใครคาดคิดมาก่อนเลย"

จากนั้นก็พากันเดินหายไป โดยไม่มีใครได้พบเห็นลาวขาคำทั้งสองมาปรากฏอีกเลย

อันชื่อ "หลวงพ่อมารวิชัย" นั้นเป็นชื่อที่คนทั่วไปเรียกกันตามพระพุทธลักษณะ ขององค์ท่าน (ปางสะดุ้งมาร) และที่เรียกกันว่า "หลวงพ่อรับระเบิด" นั้นก็เรียกกันตามที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นตอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั่นเอง แต่ภายหลังได้มีผู้ค้นพบว่า ท่านมีชื่อประจำองค์ของท่านอยู่แล้วว่า "พระพุทธโคดม ศรีศักยมุณี" ซึ่งตามประวัตินั้น ท่านมีอายุประมาณ ๘๐๐ ปี  ปัจจุบันทางวัดยางโทน กำลังก่อสร้าง "วิหารคด (วิหารเล็ก)" เพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธโคดม หรือ หลวงพ่อมารวิชัย ให้ท่านได้ประดิษฐานตามความเหมาะสมและปลอดภัยจากขโมย ชึ่งวัดได้ประเมินราคาค่าก่อสร้างประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐.- บาท  การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว   และวันที่ ๔-๕ เมษายน ๒๕๕๒ ได้จัดให้มีงานสมโภชวิหารแก้วประดิษฐานพระพุทธโคดม ณ วัดยางโทน จ.อุตรดิตถ์

ขอบคุณ  :  http://th.wikipedia.org  &  http://www.mettajetovimuti.org

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่ อินทปญโญ) วัดเจดีย์คีรีวิหาร อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อกล่อม พรมสโร วัดป่ากะพี้ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อฮวบ วัดสามัคยาราม ต.บ้านด่าน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์